ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยOn Kongkatitum ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
ชื่อตัวบ่งชี้ 2.3 : เงินสนับสนุนงานวิจัยและงาน สร้างสรรค์จากภายนอกสถาบันต่อ อาจารย์ประจำ ( บาท ) 1. จุดอ่อน 1. อัตรากำลังของคณะฯ มีจำนวนน้อยและมีภาระ งานรับผิดชอบที่หลากหลาย ทำให้มีข้อจำกัดและมี ผลกระทบต่อระยะเวลาในการทำงานสร้างสรรค์และวิจัย ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด จึงเป็นข้อจำกัด ในการหาแหล่งทุนจากภายนอก 2. หน่วยงานภายนอกยังขาดความมั่นใจในการ จัดสรรทุนสำหรับการทำงานสร้างสรรค์ในศาสตร์ ศิลปกรรม 2. จุดแข็ง บุคลากรคณะฯ เห็นความสำคัญต่อการทำงาน สร้างสรรค์ ถึงแม้จะต้องใช้เงินทุนส่วนตัวก็ตาม
2
3. โอกาส จากความหลากหลายทางความเชื่อ ศาสนา ขนบประเพณี ศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม มีส่วน ทำให้บุคลากรมีแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน ศิลปะและคาดว่าคณะฯ สามารถนำเสนอผลงานการ สร้างสรรค์ของบุคลากรให้เป็นที่ยอมรับเพื่อนำไปสู่การ ขอทุนวิจัย / สร้างสรรค์ จากแหล่งทุนสร้างสรรค์ / วิจัยจาก ภายนอกได้
3
4. อุปสรรค 1. ข้อจำกัดเรื่องภาระงาน ระยะเวลาในการ ปฏิบัติงานและจำนวนอาจารย์ ทำให้ ขาดการสรรหา แหล่งทุนสร้างสรรค์ / วิจัยจากภายนอก 2. แหล่งทุนภายนอกสถาบันที่สนับสนุนการ ทำงานสร้างสรรค์โดยส่วนใหญ่ตั้งอยู่บนพื้นที่แหล่ง ธุรกิจการค้าหรือเมืองใหญ่ ๆ เนื่องจากการขอทุน สนับสนุนการทำงานสร้างสรรค์ ผู้ให้ทุนส่วนใหญ่จะ พิจารณาจากผลงานจริงเป็นข้อมูลในการตัดสินใจให้ทุน จึงทำให้ไม่สะดวกในการนำเสนอและขนส่งผลงาน สร้างสรรค์เพื่อเสนอต่อแหล่งทุน 3. เนื่องจากหน่วยงานภายนอกมุ่งให้ความสำคัญ ความมั่นคง ต่อการดำเนินชีวิตในปัจจัยสี่เป็นหลัก ดังนั้น การสนับสนุนให้ทุนวิจัย / สร้างสรรค์ในศาสตร์ศิลปกรรม จึงมีความสำคัญเป็นลำดับรองลงไป
4
5. กลยุทธ์ / แผนพัฒนา 1. กำหนดแผนการขอสนับสนุนอัตรากำลัง เพิ่มเติมจากมหาวิทยาลัย 2. คณะฯ ผลักดันผลงานสร้างสรรค์สู่การขอทุน วิจัย / สร้างสรรค์จากภายนอก 3. จัดหาสถานที่ ครุภัณฑ์พร้อมทั้งวัสดุ อุปกรณ์ ต่าง ๆ ให้บุคลากรได้ใช้ในการวิจัย / สร้างสรรค์ผลงาน ศิลปะได้อย่างเต็มที่
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.