ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ความหมาย ขอบเขต กำเนิดนาฏกรรม
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ความหมาย ขอบเขต กำเนิดนาฏกรรม 1.1 ความหมาย ขอบเขต ราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของนาฏยศิลป์ไว้กว้างๆ ตลอดจนกำหนดการออกเสียงไว้ในพจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกรียติ พ.ศ ดังนี้
2
ศิลปะ คือ การแสดงออกมาให้ปรากฏขึ้นอย่างงดงาม
นาฏ, นาฏ-(นาด, นาตะ-นาดตะ-) น. นางละคร, นางฟ้อนรำ, ไทยใช้ความหมาย หญิงสาวสวย เช่น นางนาฏ นุชนาฏ (ป., ส.) ศิลปะ คือ การแสดงออกมาให้ปรากฏขึ้นอย่างงดงาม น่าพึงชมก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ ตรงกับภาษาอังกฤษ“ARTS” เมื่อนำสองคำมารวมกันมีความหมาย ดังนี้ นาฏศิลป์ (นาดตะสิน) น. ศิลปะแห่งการละครหรือการฟ้อนรำ
3
นาฏก (นาตะกะ (หลัก), นาดตะกะ (นิยม)) น. ผู้ฟ้อนรำ
นาฏย (นาดตะยะ-) ว. เกี่ยวกับการฟ้อนรำ, เกี่ยวกับการแสดงละคร (ส.) นาฏกรรม (นาดตะกำ) น. การละคร การฟ้อนรำ นาฏศิลป์ และ นาฏยศิลป์ หมายถึงศิลปะการฟ้อนรำ ทั้งที่เป็นระบำ รำ เต้น และอื่นๆ ดังกล่าวแล้ว รวมทั้งละครรำ โขน หนังใหญ่ ฯลฯ ปัจจุบันมักมีคนคิดชื่อใหม่ให้ดูทันสมัยคือ นาฏกรรม สังคีตศิลป์ วิพิธทัศนา และศิลปะการแสดง ซึ่งมีความหมายใกล้เคียงกันเพราะเป็นคำที่ครอบคลุมศิลปะแห่งการร้อง การรำ และการบรรเลงดนตรี
4
คำศัพท์ ระบำ มักหมายถึงการที่คนหมู่หนึ่งตั้งแต่สองคนขึ้นไป ทำท่าทางเหมือนๆกันบ้าง แตกต่างกันบ้าง ในการแสดงชุดหนึ่งๆและอาจมีการแปรแถว หรือตั้งซุ้มเป็นรูปต่างๆเป็นระยะๆ เช่น ระบำดาวดึงส์ ระบำโบราณคดี ระบำสุโขทัย
5
รำ มีความหมายคล้ายระบำ แต่มักเป็นการแสดงเดี่ยวและแสดงคู่ ที่สำคัญเน้นการใช้มือและแขน ทำท่าต่างๆ เช่น รำอวยพร รำเหย่ย รำฉุยฉายพราหมณ์ ฉุยฉายพราหมณ์
6
เต้น มีความหมายถึงการออกท่าทาง โดยเน้นการใช้ขาและเท้า เป็นท่าและจังหวะต่างๆ เช่น เต้นโขน เต้นสาก
7
ฟ้อน เป็นคำกลางๆ ที่ส่วนใหญ่ใช้แทนคำแรกในการแสดงภาคเหนือและภาคอีสาน เช่น ฟ้อนเล็บ ฟ้อนลาวแพน ฟ้อนม่านมงคล การแสดงอีสาน เช่น ฟ้อนภูไท
8
เรือม เป็นภาษาถิ่นการแสดงนาฏกรรมของแถบอีสานใต้ ซึ่งรวมหมายถึง รำ เต้น อาทิ เรือมอันเร เรือมซันตรูจน์ ส่วนคำว่า เจรียง หมายถึง การร้อง เซิ้ง เป็นคำที่มีสองความหมาย ความหมายแรกในอีสานใช้เรียกการแห่ เช่น แห่บั้งไฟที่มีการร้อง (การลำ) การแห่บั้งไฟ และการฟ้อนในขบวนแห่นั้น แต่ในภาคกลางนิยมเรียกการฟ้อนต่างๆของภาคอีสานว่า เซิ้ง ยกเว้นการฟ้อนของพวกภูไท การเต้นของพวกแสก การรำของพวกเขมร
9
ซัด เป็นคำเฉพาะที่ใช้ในการรำละครชาตรีและโนรา ที่เรียกว่าซัดชาตรี หรือรำซัด ซึ่งหมายถึงการวาดแขนและมืออย่างรวดเร็ว เต้นรำ เป็นคำรวม หมายถึงการที่ชายหญิงจับคู่กันแล้วออกท่าทางของขาและเท้าผสมผสานกัน โดยมีจังหวะเพลงต่างๆบรรเลงประกอบ เช่น วอลซ์ แทงโก้ ช่าช่าช่า การเต้นรำนี้บางทีเรียกว่า ลีลาศ แต่ในกรณีบางคู่เต้นอาจเต้นตามใจชอบ โดยไม่จำเป็นต้องรักษาการเคลื่อนไหวให้เข้าขากัน ซึ่งมักเรียกว่า “ดิ้น”
10
นาฏลีลา และ ด๊านซ์ เป็นคำที่ใช้แทนกันเพื่อหมายถึงการแสดงสมัยใหม่หรือทางสากล ปัจจุบันคำว่านาฏลีลาไม่ค่อยนิยมใช้เท่ากับคำว่า ด๊านซ์ และพลอยเรียกคนที่เต้นเป็นอาชีพว่า ด๊านซ์เซอร์ ซึ่งตรงกับคำไทยอีกคำหนึ่งว่า “หางเครื่อง”
12
การกำเนิดและความเป็นมาทางด้านนาฏกรรม มูลเหตุในการเกิดนาฏศิลป์
1. เกิดจากการที่มนุษย์ต้องการแสดงอารมณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ 1.1 มนุษย์แสดงอารมณ์ตามธรรมชาติออกมาตรงๆ เช่น การเสียใจก็ร้องไห้ ดีใจก็ปรบมือ หรือส่งเสียงหัวเราะ
13
1.2 มนุษย์ใช้กิริยาอาการเป็นสื่อความหมายให้ชัดเจนขึ้น กลายเป็นภาษาท่า เช่น กวักมือเข้าหาตัวเองมูลเหตุในการเกิดนาฏศิลป์ 1.3 มีการประดิษฐ์คิดท่าทางให้มีลีลาที่วิจิตรบรรจงขึ้น จนกลายเป็นท่วงทีลีลาการฟ้อนรำที่งดงามมีลักษณะที่เรียกว่า “นาฏยภาษา” หรือ “ภาษานาฏศิลป์” ที่สามารถสื่อความหมายด้วยศิลปะแห่งการแสดงท่าทางที่งดงาม มนุษย์ต้องการแสดงอารมณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
14
2. เกิดจากการที่มนุษย์ต้องการเอาชนะธรรมชาติด้วยวิธีต่างๆ อาทิ การฟ้อนผีฟ้า เรือมมฆ๊วต บายศรีสู่ขวัญ เป็นต้น 3. เกิดจากการที่มนุษย์ประดิษฐ์หาเครื่องบันเทิงใจ หรือการเกี้ยวพาราสี อาทิ ฟ้อนกระโป๋ เรือมซันตูจ เป็นต้น 4. เกิดจากการเล่นเลียนแบบของมนุษย์ อาทิ เรือม กระโน๊บติงตอง มวยโบราณ ฟ้อนแมงตับเต่า เป็นต้น
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.