ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยMae-khao Chan'ocha ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
2
การสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนชาวไทย Assistant Professor Dr. Christopher Johnson
4
วงจรการเรียนรู้ 4 ขั้น ขั้นเตรียม(Preparation)
ขั้นตอนนี้ใช้เร้าความสนใจเรื่องที่กำลังจะเรียน สามารถใช้สื่อการสอนที่มีสีสันวูบวาบได้เพราะเป้าหมายหลักอยู่ที่การดึงความสนใจ
5
ขั้นนำเสนอ(Presentation)
การนำเสนอเนื้อหาสาระเป็นครั้งแรก ผู้เรียนอาจหมดความสนใจตั้งแต่ขั้นนี้หากผู้สอนไม่ได้มีการเตรียมตัวมาให้ดีว่าต้องสอนอย่างไร ถึงจะตรึงความสนใจและความความสงสัยของผู้เรียนได้โดยตลอด
6
ขั้นทดลองฝึก(Practice)
เป็นการบูรณาการทางความรู้ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ไม่ควรข้ามไปและควรฝึกให้เร็วที่สุด โดยผลจากการวิจัยชี้ว่าต้องฝึกสิบครั้งขึ้นไป ถึงจะทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
7
ขั้นปฏิบัติ(Performance)
เป็นการนำความรู้และทักษะใหม่ไปใช้ในสถานการณ์จริง สมควรทำให้เร็วที่สุด
8
สาเหตุที่ทำให้การเรียนน่าเบื่อ
ไม่มีการเตรียมการที่ดี การเรียนกับความทุกข์ทรมานจึงถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันและพยายามหลีกเลี่ยงการเรียน โดยมีนิสัยกลัวการตอบผิดหรือกลัวขายหน้าเป็นพื้นฐาน คนไทยส่วนใหญ่กลัวการเรียนเพราการเรียนมาพร้อมความกดดันและอาจทำให้อับอายได้ เมื่อไหร่ที่ผู้เรียนเครียดการเรียนย่อมไม่เกิดผล
9
การนำเสนอไม่ดี การสอนแบบผู้เรียนเป็นฝ่ายรับที่พบมากในประเทศไทยให้ผลดีน้อยกว่าการสอนเชิงรุก เพราะความสนใจของผู้เรียนลดต่ำลงตั้งแต่นำเข้าสู่บทเรียนและจะยังคงอยู่ในระดับต่ำเช่นนั้นไปจนสิ้นสุดการเรียน กลุ่มผู้เรียนที่ได้รับผลเสียจากการสอนแบบถ่ายโอนข้อมูลมากที่สุด คือ กลุ่มที่เรียนรู้จากการเคลื่อนไหวและการลงมือกระทำ เพราะเมื่อขาดประสบการณ์จริงแล้วพวกเขาก็โยงเอาไปใช้ไม่ได้
10
ทดลองฝึกมากไม่พอ หลังการเรียนการสอนไม่มีการบูรณาการกับความรู้เดิม สิ่งที่จะหายไปได้แก่ ระบบดัชนีสำหรับดึงความรู้ออกมาใช้ ซึ่งถ้าขาดหายไปจะไม่สามารถเรียกใช้ความรู้ใหม่ได้
12
ไม่ยอมปฏิบัติ จากรูปปิรามิดการเรียนรู้ผู้ที่นำความรู้มาปฏิบัติทันทีสามารถจดจำเนื้อหาได้ถึง 90% ซึ่งการนำเสนอที่เน้นกันมากให้ผลการเรียนรู้แค่ 20%
13
เป้าหมายของวงจรการเรียนรู้
14
ขั้นตอนที่1 เตรียมการ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ รู้สึกดีกับการเรียนการสอนที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งช่วยเตรียมความพร้อมและลดความกังวลก่อนเรียน
15
บอกประโยชน์ที่ผู้เรียนจะได้รับ เป้าหมายชัดเจนและมีความหมาย
สิ่งที่ต้องทำ บอกประโยชน์ที่ผู้เรียนจะได้รับ เป้าหมายชัดเจนและมีความหมาย สร้างบรรยากาศเชิงบวกทั้งกายภาพ อารมณ์ความรู้สึก สังคม คลายความกลัวของผู้เรียน กำจัดอุปสรรค เร้าให้ผู้เรียนสงสัยใคร่รู้ ทำให้ผู้เรียนสบายใจที่จะถาม
16
ขั้นตอนที่ 2 นำเสนอ เพื่อแนะนำเรื่องที่กำลังจะเรียนด้วยวิธีการที่สนุกสนานและจุดประกายความคิดโดยมีความเกี่ยวข้องอยู่ในความสนใจของผู้เรียนอีกทั้งสอดคล้องต่อลีลาการเรียนรู้ของพวกเขา โปรดระลึกไว้เสมอว่า คนไทยชอบพูด ชอบฟัง และชอบดู แต่มักจะหลีกเลี่ยงการเขียนและการอ่านเชิงพินิจพิเคราะห์
17
สิ่งที่ต้องทำ งานคู่ /กลุ่มกิจกรรมที่ใช้ทักษะการแก้ปัญหาด้วยการแลกเปลี่ยนความรู้ สังเกตและวิเคราะห์ปรากฏการณ์จริงว่านักศึกษาชาวไทยกระตือรือร้นเวลาได้ถกถึงการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในที่ทำงาน สร้างบรรยากาศเชิงรุก นำเสนอแบบมีปฏิสัมพันธ์ คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล การเรียนรู้แบบค้นพบผ่านบริบทจริง
18
ขั้นตอนที่ 3 ทดลองฝึก ขั้นตอนนี้สำคัญมาก เพราะผู้เรียนจะเกิดการบูรณาการและสร้างระบบดรรชนีตามความเข้าใจของตัวเองหรือไม่ก็อยู่ที่ขั้นตอนนี้ โดยพวกเขาจะได้เรียนรู้ผ่านหลากหลายวิธีการ ซึ่งน่าสนใจ สนุกสนาน มีความเกี่ยวข้องและสอดคล้องต่อลีลาการเรียนรู้
19
สิ่งที่ต้องทำ ทดลอง ฟังผลป้อนกลับ ไตร่ตรอง ทดลองซ้ำ กิจกรรมที่ใช้ทักษะการแก้ปัญหาและการจำลองสถานการณ์จริง ไตร่ตรองและสรุปเป็นภาษาของตนเอง การฝึกปรือ การสอนกลับ
20
ขั้นตอนที่ 4 ปฏิบัติ เพื่อให้ผู้เรียนได้นำทักษะและความรู้ใหม่มาต่อยอดและประยุกต์ใช้จริง ความรู้จะได้ติดตัว อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาฝีมือให้ดียิ่งๆขึ้น
21
สิ่งที่ต้องทำ ประยุกต์ใช้จริงทันที วางแผนและดำเนินตามแผน สร้างแรงจูงใจด้วยการเสริมแรง จับกลุ่มช่วยกันเรียนช่วยกันสอนในหมู่เพื่อนร่วมเรียน
22
รูปแบบการเรียนรู้แบบ SAVI
23
รูปแบบการเรียนรู้แบบ SAVI
S : Somatic เรียนรู้จากการเคลื่อนไหวและการลงมือกระทำ A : Auditory เรียนรู้จากการฟังและพูด V : Visual เรียนรู้จากการสังเกตและสร้างจินตภาพ I : Intellectual เรียนรู้จากการไตร่ตรองและแก้ปัญหา
24
การเรียนรู้จากการเคลื่อนไหว และการลงมือกระทำ S: Somatic
การเคลื่อนไหว ขยับร่างกาย การลงมือกระทำ วิธีการเรียนในปัจจุบันเน้นความเป็นองค์รวมระหว่างกายกับจิต แม้ว่าบางเรื่องสามารถเรียนรู้ได้โดยไม่จำเป็นต้องทำกิจกรรม แต่การสลับไปสลับมาระหว่างการเรียนรู้เชิงรุกและเชิงรับ ก็ถือว่าเป็นการกระตุ้นผู้เรียนแล้ว
25
การเรียนรู้จากการฟังและพูด A : Auditory
เป็นการเรียนรู้ที่เก่าแก่ที่สุดของคนทุกเชื้อชาติ เรียนด้วยฟังเสียงสนทนา การอ่านออกเสียง การเล่าถึงประสบการณ์ การคุยกับตนเอง การจดจำบทเพลง การท่องโคลงกลอน การท่องอาขยาน การท่องในใจ สำหรับผู้เรียนที่เรียนรู้ได้ดี ผู้สอนต้องเปิดโอกาสให้พวกเขาได้พูดออกมาระหว่างที่ทำกิจกรรมต่างๆ ช่วงการแก้ปัญหา ตอนศึกษาแนวคิด ระหว่างควบคุมข้อมูลหรือวางแผนปฏิบัติงาน รวมทั้งฝึกฝนและทบทวนความรู้ หรือโดยการให้พวกเขาสรุปออกมาเป็นคำพูดของตัวเองได้
26
การเรียนรู้จากการสังเกต และสร้างจินตภาพ V : Visual
ผู้ที่สามารถสร้างจินตภาพอย่างเป็นระบบระเบียบขณะมีการเรียนรู้สามารถดึงสิ่งที่เพิ่งเรียนได้ไวกว่าคนที่ไม่ทำ 12 % และมีความทรงจำระยะยาวดีกว่า 26% ผู้เรียนที่เรียนรู้จากการสังเกตและสร้างจินตภาพจะเรียนได้ดีที่สุด เมื่อได้เห็นตัวอย่างจริง แผนภาพ ผังความคิด รูปภาพ รูปทุกประเภท แผนที่ความคิด(Mind-Mapping)
27
การเรียนรู้จากการไตร่ตรอง และแก้ปัญหา I : Intellectual
การเรียนรู้โดยใช้ปัญญา หมายถึง การสร้างตรรกะหรือการที่มนุษย์คิดและเชื่อมโยงประสบการณ์แล้วสรุปเป็นความรู้ความเข้าใจ ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ด้วยวิธีนี้เมื่อได้ทำกิจกรรม แก้ปัญหา วิเคราะห์สิ่งที่เกิดขึ้น วางแผนกลยุทธ์ ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ตีโจทย์และตั้งคำถาม สร้างมโนภาพ สรุปเป็นความเข้าใจ หาวิธีนำความรู้ใหม่ไปใช้ในงาน
28
บทสรุป
29
รูปแบบการเรียนการสอนนี้เสนอเพื่อเป็นทางเลือกแทนการสอนแบบถ่ายโอนข้อมูล
เราโตมาในระบบที่คำตอบที่ถูกต้องเท่านั้นที่สำคัญ ขณะที่การตั้งคำถามให้ถูกต้องได้รับการคำนึงถึงเพียงเล็กน้อย ในการวางแผนจัดการเรียนการสอนโปรดหยุดถามตนเองว่าใช้โจทย์ถูกต้องหรือไม่จากนั้นค่อยวางแผนให้สอดคล้อง ไม่ใช่วางตามคำตอบที่คิดไปเองว่าถูกต้อง
30
ชีวิตคือการเรียนรู้ และ การเรียนรู้คือชีวิต
ชีวิตคือการเรียนรู้ และ การเรียนรู้คือชีวิต
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.