งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การเขียนโครงงานนักศึกษา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การเขียนโครงงานนักศึกษา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การเขียนโครงงานนักศึกษา
เขียนอย่างไรจึงจะดี มีคุณภาพ และถูกต้อง

2 กำหนดการในการจัดทำโครงงาน
วันที่ กิจกรรม สิ่งที่ต้องส่ง วิธีดำเนินการ/ผู้รับผิดชอบ 20 มี.ค. 50 - - เสนอหัวข้อโครงงานรอบที่ 1 - เอกสาร 2 - ขอรับและส่งเอกสารกับ อ. ชัยนันท์ 10 เม.ย. 50 - น.ศ. ประสานกับอาจารย์ที่ปรึกษา 19 เม.ย. 50 - ประกาศหัวข้อที่ผ่านการพิจารณารอบที่ 1 - - ปิดบอร์ดประกาศหน้าโปรแกรมวิชา ชั้น 3 ผู้รับผิดชอบ อ. ชัยนันท์ 25 เม.ย. 50 - เสนอหัวข้อโครงงานรอบ 2 (กรณีที่ไม่ผ่าน) - เอกสาร 2-1 27 เม.ย. 50 - ประกาศหัวข้อที่ผ่านการพิจารณา รอบที่ 2 - ประกาศสอบหัวข้อโครงงาน 2 – 9 พ.ค. 50 - สอบหัวข้อโครงงาน - อาจารย์ที่ปรึกษา/คณะกรรมการ 14 พ.ค. 50 - ประกาศผลสอบหัวข้อโครงงาน

3 กำหนดการในการจัดทำโครงงาน (ต่อ)
วันที่ กิจกรรม สิ่งที่ต้องส่ง วิธีดำเนินการ/ผู้รับผิดชอบ 18 – 22 มิ.ย. 50 - เสนอความก้าวหน้าครั้งที่ 1 - เอกสาร 3 - ขอรับเอกสารกับ อ.ชัยนันท์ (บทที่ 1,2,3) - เสนอความก้าวหน้ากับอาจารย์ที่ปรึกษา 16 – 20 ก.ค. 50 - เสนอความก้าวหน้าครั้งที่ 2 (บทที่ 3,4) 6 – 10 ส.ค. 50 - เสนอความก้าวหน้าครั้งที่ 3 - - นักศึกษา - นำเสนอแนวความคิดในการจัดทำโครงงาน 17 – 18 ส.ค. 50 - นำเสนอผลงานในงานวันวิทยาศาสตร์ 1 – 14 ก.ย. 50 - เสนอสอบโครงงาน - เอกสาร 4 24 – 28 ก.ย. 50 - สอบโครงงานนักศึกษา - เอกสารฉบับสมบูรณ์ - อาจารย์ที่ปรึกษา/คณะกรรมการ - โปรแกรม

4 การเขียน Proposal ข้อกำหนดในการทำโครงงาน
จะต้องมีอาจารย์ที่ปรึกษา และผ่านการเสนอเนื้อหาโครงงานนักศึกษาเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2550 ประเภทของโครงงานที่อนุมัติให้ทำ มักจะมีกิจกรรมต่อไปนี้รวมอยู่ด้วย 1. การศึกษาระบบงานปัจจุบันขององค์กรที่เลือกไว้ 2. การรวบรวมความต้องการของผู้บริหารองค์กรนั้น 3. การวิเคราะห์ปัญหาในองค์กรนั้น

5 การเขียน Proposal (ต่อ)
4. การออกแบบแนวทางการทำงานที่สามารถแก้ปัญหาขององค์กร และสนองตอบความต้องการขององค์กร 5. มีระบบการจัดการข้อมูลให้ถูกต้องและสมบูรณ์ 6. มีระบบสำหรับการจัดทำรายงานเชิงบริหาร 7. มีการทดสอบความถูกต้องของระบบที่พัฒนาขึ้น 8. มีการสำรวจความพึงพอใจของระบบที่พัฒนาขึ้น 9. มีการเขียนโปรแกรมตามแนวทางที่ได้เลือกไว้

6 การเขียนชื่อโครงงานควรทำอย่างไรบ้าง
สั้น กระชับ ได้ใจความ ประกอบด้วย สิ่งที่ต้องการศึกษา ระบุความสัมพันธ์/วัตถุประสงค์ ระบุขอบเขตของโครงงาน เช่น กลุ่มตัวอย่าง พื้นที่ สาขา/ทฤษฎีที่ศึกษา ตรงประเด็นปัญหาวิจัย ขึ้นต้นด้วยคำนาม ระบุประเภทของการทำโครงงานได้

7 ขั้นตอนการเตรียมตัวเขียนโครงงาน
เขียนโครงร่างของหัวข้อที่ควรศึกษา ทบทวน รวบรวมความรู้ตามที่เขียนในโครงร่าง จัดหมวดหมู่ของสิ่งที่รวบรวมไว้ จัดลำดับให้เป็นระบบระเบียบ ทบทวนโครงร่างที่วางไว้ และปรับปรุงแก้ไขหากจำเป็น

8 รูปแบบในการเขียนข้อเสนอโครงงาน
ตัวอย่างการเขียนข้อเสนอ หน้า 52 หลักการและเหตุผล ตัวอย่างการเขียนข้อเสนอ หน้า 52

9 แบบฟอร์มหัวข้อโครงงานนักศึกษา
แบบเสนอเนื้อหาโครงงานนักศึกษา แบบเสนอหัวข้อโครงงานนักศึกษา แบบเสนอการแก้ไขโครงงานนักศึกษา แบบรายงานความก้าวหน้าโครงงาน ครั้งที่ แบบฟอร์มการเสนอสอบโครงงาน แบบฟอร์มแสดงข้อมูลโครงงาน แบบฟอร์มส่งโครงงานฉบับสมบูรณ์ แบบฟอร์มตรวจเอกสารโครงงาน ครั้งที่ ……..

10 แบบเสนอหัวข้อโครงงานนักศึกษา
สาระสำคัญของการพัฒนาโครงงาน ต้องสรุปถึงที่มาในส่วนที่เราจะทำในโครงการ ขอบเขตของระบบงานที่เราจะพัฒนา ตลอดจนถึงเทคโนโลยีที่เราจะใช้ในการพัฒนา

11 การจัดทำเอกสารการเสนอหัวข้อโครงงาน
การเสนอเนื้อหารายละเอียดของโครงงาน นักศึกษาทุกคนต้องส่งแบบฟอร์มเสนอเนื้อหาโครงงาน ในการเสนอนั้น ให้นักศึกษาอธิบายว่าลักษณะของโครงงานที่ต้องการจัดทำมีรูปแบบเป็นอย่างไร ใช้เทคโนโลยีใด เพราะเหตุใดจึงเลือกทำระบบงานนี้ โดยแนบรายละเอียดที่นักศึกษาศึกษามาประกอบด้วยในการส่ง และคณะกรรมการจะทำการพิจารณาขั้นต้นว่าโครงงานใดควรปรับปรุงอย่างไร

12 การเสนอหัวข้อโครงงาน
นักศึกษาจะต้องทำการติดต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อกำหนดหัวข้อและแนวทางในการศึกษา นักศึกษาทุกคนต้องส่งแบบฟอร์มเสนอหัวข้อโครงงาน พร้อมลายเซ็นอาจารย์ที่ปรึกษาและเอกสารเสนอหัวข้อโครงงาน หากนักศึกษาคนใดที่ไม่สามารถส่งแบบฟอร์มดังกล่าวตามระยะเวลาที่กำหนด โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร จะต้องดำเนินการถอนรายวิชาดังกล่าว มิฉะนั้นจะถูกปรับตกทันที ดำเนินการสอบอนุมัติหัวข้อโครงงานโดยคณะกรรมการเพื่อพิจารณาความเหมาะสมของหัวข้อโครงงาน กรณีที่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงหัวข้อโครงงาน ให้นักศึกษาดำเนินการยื่นเรื่องขอเปลี่ยนหัวข้อโดยความเห็นชอบของอาจารย์ที่ปรึกษา ในแบบฟอร์มการแก้ไขโครงงาน

13 รูปแบบเอกสารเสนอหัวข้อโครงงาน
ชื่อโครงงานภาษาไทย ชื่อนักศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม (ถ้ามี) ระดับการศึกษา วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ

14 รูปแบบเอกสารเสนอหัวข้อโครงงาน
สาขาวิชา สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ปีการศึกษา ปีการศึกษาที่จบ

15 เนื้อหาเอกสารโครงงาน
ปกโครงงาน ปกโครงงานนักศึกษา เฉพาะรายงานต้นฉบับ ใช้กระดาษขาว พร้อมพิมพ์ชื่อเรื่อง ชื่อนักศึกษา ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา รหัสประจำตัว รหัสวิชาและชื่อวิชา ประกอบด้วย ปกนอก กระดาษรองปก ปกใน ปกเอกสารฉบับสุดท้าย (หลังจากที่ได้รับอนุมัติแล้ว) - ปกนอก ปกแข็งสีน้ำเงินเดินทอง ตรงสันให้มีชื่อเรื่อง และปี พ.ศ. (ปีการศึกษา) - ปกใน พิมพ์บนกระดาษสีขาว A4 ข้อความเหมือนปกนอก

16 เนื้อหาเอกสารโครงงาน
หน้าอนุมัติ เฉพาะรายงานฉบับสมบูรณ์ คือใบรับรองการตรวจสอบและอนุมัติรายงาน ต้องมีวันที่อนุมัติ รายชื่อคณะกรรมการสอบพร้อมลายเซ็นจริงของกรรมการ

17 เนื้อหาเอกสารโครงงาน
บทคัดย่อภาษาไทย ประกอบด้วยหัวข้อโครงงาน ชื่อนักศึกษา ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา ระดับการศึกษา พ.ศ. และเนื้อหาบทคัดย่อ บทคัดย่อ คือ ข้อมูลสรุปเนื้อหาของโครงงาน ทำให้ผู้อ่านทราบถึงเนื้อหาของโครงงานได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งบทคัดย่อนี้ควรอธิบายถึงวัตถุประสงค์ ขอบเขตการดำเนินงาน วิธีการพัฒนา เครื่องมือและโปรแกรมที่ใช้ ลักษณะของงาน ผลของการทำโครงงานว่าได้ระบบอะไร อย่างไร

18 เนื้อหาเอกสารโครงงาน
กิตติกรรมประกาศ กิจติกรรมประกาศ คือข้อความกล่าวขอบคุณผู้ช่วยเหลือและให้การสนับสนุนในการจัดทำโครงงาน สารบัญ สารบัญ เป็นรายการที่แสดงถึงส่วนประกอบสำคัญทั้งหมดของโครงงานเรียงลำดับตามเลขหน้า สารบัญภาพ เป็นส่วนที่ที่ระบุตำแหน่งหน้าของภาพทั้งหมดที่มีอยู่ในเอกสาร สารบัญตาราง เป็นส่วนที่ระบุตำแหน่งหน้าของตารางทั้งหมดที่มีอยู่ในเอกสารโครงงาน

19 รูปแบบเอกสารเสนอหัวข้อโครงงาน
หลักการและเหตุผล ในการเขียนให้แบ่งเขียนเป็นย่อหน้า โดยแบ่งเป็นประเด็นต่อไปนี้ ความเป็นมาของระบบ ลักษณะการดำเนินงานปัจจุบัน ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการดำเนินงานปัจจุบัน เทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีส่วนเกี่ยวข้องหรือสนับสนุนในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นหรือสิ่งที่ต้องการพัฒนาอย่างไร แนวทางในการแก้ไข โดยการนำระบบคอมพิวเตอร์มาช่วยในการดำเนินงาน และระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่ออะไร

20 การเขียนวัตถุประสงค์ของโครงงาน
1. เขียนเป็นข้อ ๆ เป็นประโยคบอกเล่า 2. ขยายรายละเอียด + สอดคล้องกับหัวข้อวิจัย 3. แต่ละข้อ ระบุประเด็นการศึกษาหรือเกี่ยวข้องเพียง ประเด็นเดียว 4. มีความชัดเจนในตัวเองว่าต้องการศึกษาหรือพัฒนาโครงการในประเด็นใด

21 แนวทางในการพัฒนาโครงงาน
เชื่อมโยงไปที่ตัวอย่างการเขียนแนวทาง

22 วัตถุประสงค์ในการเขียนแนวทางในการพัฒนาโครงการ
1. อธิบายงานที่ทำอย่างเป็นขั้นตอนถูกต้อง ใช้ภาษาที่ดี อ่านแล้วรู้เรื่อง ใช้ศัพท์ถูกต้องทั้งไทยและอังกฤษ ไม่คัดลอกเนื้อหาของผู้อื่นมาแอบอ้างเป็นของตนเอง 2. สามารถประยุกต์ความรู้ที่ได้ศึกษามาในการทำโครงงานอย่างถูกต้อง และอธิบายให้กรรมการสอบฟังได้ชัดเจนว่าทำมาอย่างไร 3. สามารถแสวงหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อนำมาใช้ในการทำโครงงานได้ 4. สามารถอธิบายเหตุผลในการทำงานแต่ละขั้นตอนของโครงงานได้อย่างชัดเจนและด้วยความเข้าใจลึกซึ้ง 5. โครงงานทั้งหมดสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงงานที่นักศึกษานำเสนอ

23 การเขียนขอบเขตของโครงงาน
โดยปกติการเขียนขอบเขตโครงงานนั้น นักศึกษาจะต้องคำนึงถึง ขอบเขตในเชิงการประยุกต์ขององค์กร คือทำสำหรับใช้ในแผนกใด หรือที่ไหน หรือให้ใครใช้ ขอบเขตในเชิงฟังก์ชันของระบบ คือระบบจะทำงานส่วนใดได้บ้าง ขอบเขตในเชิงข้อมูล คือระบบจะทำงานกับข้อมูลอะไรบ้าง ทำงานกับข้อมูลมากขนาดไหน ขอบเขตในเชิงเอาต์พุต ระบบจะจัดทำผลลัพธ์อะไรบ้าง ขอบเขตในเชิงอินเตอร์เฟส ระบบจะทำงานเกี่ยวข้องกับระบบอื่นใดได้บ้าง ขอบเขตในเชิงอุปกรณ์และ Platform

24 การเขียนประโยชน์ที่ได้รับ ควรเขียนอย่างไร
เขียนไปการคาดคะเนว่า หากหน่วยงานที่เราศึกษาจัดทำระบบนี้ นำระบบไปใช้จริงจะเกิดประโยชน์อะไรบ้าง อย่าคาดคะเนให้เกินจริง นักศึกษาต้องเชื่อมโยงได้ว่า ประโยชน์ที่เขียนนั้นเกิดจากงานส่วนใดของระบบที่พัฒนาขึ้น ต้องระบุประโยชน์ที่ชัดเจน และสามารถเป็นไปได้จริง

25 ทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน
ควรเขียนรายละเอียดอุปกรณ์ที่ใช้อย่างไร เขียนไปตามจริง คือ ใช้เครื่องอะไร ระบบปฏิบัติการอะไร และซอฟต์แวร์อะไรก็เขียนไปตามนั้น อย่าเขียนในแบบที่เป็น Specification สำหรับใช้กำกับซอฟต์แวร์สำเร็จสำหรับขาย เช่น - เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้โพรเซสเซอร์ เพนเทียม iv หรือเทียบเท่า - หน่วยความจำ 256 Mbyte หรือมากกว่า แบบนี้เขียนไม่ถูก ต้องบอกว่าเครื่องที่ใช้ในการทำโครงงานนั้นใช้โพรเซสเซอร์อะไร และมีหน่วยความจำเท่าใด

26 ระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน
โครงงานนี้จะใช้ระยะเวลาในการดำเนินโครงงานรวมทั้งสิ้น 5 เดือน ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ เสนอหัวข้อโครงงาน ศึกษาระบบการทำงานของ และกำหนดความต้องการของระบบ ศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ใช้ในการทำโครงงาน

27 ระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน
ออกแบบฐานข้อมูล และระบบสารสนเทศ เขียนโปรแกรมที่ใช้ติดต่อกับฐานข้อมูลพร้อมทั้งส่วนประกอบต่างๆ นำโปรแกรมเชื่อมต่อเข้ากับฐานข้อมูลที่สร้างไว้แล้ว ทดสอบและแก้ไขโปรแกรมเพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างสมบูรณ์ ทดสอบและปรับปรุงโปรแกรมทั้งหมด จัดทำเอกสาร

28 เนื้อหาเอกสารโครงงาน
บทที่ 1 บทนำ - หลักการและเหตุผล - วัตถุประสงค์ - ขอบเขตโครงงาน - ขั้นตอนการดำเนินงาน - แผนการดำเนินงาน - ทรัพยากรที่ใช้ในการจัดทำโครงงาน - ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

29 เนื้อหาเอกสารโครงงาน
บทที่ 2 ทฤษฎีและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยหัวข้อย่อยต่อไปนี้ - ทฤษฎีที่มีความเกี่ยวข้องกับงาน - เทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการพัฒนาระบบ - ระบบงานหรือโครงงานที่ใกล้เคียง

30 ซื่อสัตย์ ชัดเจน ไม่ลวดลาย หลากหลาย
Literature review ไม่มีใครเขียนเก่งมาตั้งแต่เกิด มีแต่เขียนเก่งเพราะฝึกฝน ไม่เคยมีใครเขียนได้ดีในครั้งเดียว ไม่มีใครเขียนได้ถูกต้องถ้าไม่ได้ศึกษาข้อมูล. เขียนให้ดี มีคุณภาพ และถูกต้อง ซื่อสัตย์ ชัดเจน ไม่ลวดลาย หลากหลาย Dr.Nattavee Utakrit

31 Literature review (Cont.)
การเขียนส่วนของบทนำ (Introduction) ตัวอย่างที่ บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การพัฒนาระบบการตรวจสอบความบกพร่องบนระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ครั้งนี้ ได้ทำการศึกษา เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยครอบคลุมหัวข้อต่างๆ ดังนี้ 2.1 ความรู้พื้นฐานในการบุกรุกระบบ 2.2 ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์เบื้องต้น 2.3 ภาษาเพิร์ล 2.4 กรอบแนวคิดในการพัฒนาระบบ 2.5 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง Dr.Nattavee Utakrit

32 Literature review (Cont.)
ตัวอย่างที่ 2 บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การจัดทำโครงการปัญหาพิเศษครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการตรวจสอบความบกพร่องบนระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ ดังนั้นเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ในการพัฒนาระบบดังกล่าว ผู้จัดทำโครงการปัญหาพิเศษจึงได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยครอบคลุมหัวข้อต่างๆ ดังนี้ 2.1 ความรู้พื้นฐานในการบุกรุกระบบ 2.2 ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์เบื้องต้น 2.3 ภาษาเพิร์ล 2.4 กรอบแนวคิดในการพัฒนาระบบ 2.5 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง Dr.Nattavee Utakrit

33 Literature review (Cont.)
ตัวอย่างการเขียนสรุปของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่ดี แบบที่ 1 เจตริน (2543) ได้ศึกษาเรื่อง……………………………………………………………………...………………………………………………….. สมชาย (2539) ได้พัฒนาระบบ จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังกล่าวพบว่ายังมีข้อแตกต่างจากระบบฐานความรู้เพื่อตอบปัญหาสุขภาพบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตโดยใช้ฟัซซีลอจิกที่ผู้วิจัยได้จัดทำขึ้น โดยงานวิจัยบางชิ้นไม่มีการนำทฤษฎีฟัซซีมาใช้ ทำให้ระบบที่ได้เป็นเพียงแค่ระบบสืบค้นเท่านั้น และไม่ได้มีการทำเป็นระบบผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งถือว่าเป็นจุดด้อยของงานวิจัย หรืองานวิจัยบางชิ้นได้นำทษฎีฟัซซีมาใช้แล้วแต่ ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้นำจุดเด่น และจุดด้อยของงานวิจัยที่ได้ศึกษามาใช้ในพัฒนาระบบ โดยมีกรอบแนวคิดของการโครงการปัญหาพิเศษดังนี้ Dr.Nattavee Utakrit

34 Literature review (Cont.)
ตัวอย่างการเขียนสรุปของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่ดี แบบที่ 2 หยาดทิพย์ (2545) ได้ศึกษาเรื่อง……………………………………………………………………...………………………………………………….. เจษฎาภรณ์ (2539) ได้พัฒนาระบบ จากงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ผู้จัดทำโครงงานปัญหาพิเศษ ได้พิจารณาปัจจัย ที่มีผลกระทบกับประสิทธิภาพของการพยากรณ์ได้ดังนี้คือ โมเดลที่ใช้พยากรณ์ ตัวแปรที่มากระทบข้อมูล และ ระยะเวลาสำหรับการพยากรณ์ งานวิจัยของหยาดทิพย์ (2545) สรุปว่าการพยากรณ์ปริมาณการใช้ยาแบบรายวันมีความถูกต้องมากกว่าการพยากรณ์ปริมาณการใช้ยาแบบสัปดาห์ แสงให้ทราบว่า ระยะเวลาล่วงหน้าในการพยากรณ์มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพของการพยากรณ์ และงานวิจัยของเจษฎาภรณ์ (2539) กล่าวไว้ว่าเทคนิคเครือข่ายประสาทเทียมให้ผลการพยากรณ์ที่มีความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยน้อยว่าเทคนิคการถดถอยแบบพหุ ดังนั้นโครงงานปัญหาพิเศษนี้ได้เลือกใช้เทคนิควิธีโครงข่ายประสาทเทียมมาสร้างโมเดล และทำการทดสอบโมเดลที่มีประสิทธิภาพที่ดีที่สุดมาใช้ในการพัฒนาระบบการพยากรณ์ยอดขายสินค้าล่วงหน้าแบบเดือนต่อเดือน Dr.Nattavee Utakrit

35 Literature review (Cont.)
การเขียนส่วนของบทสรุปในบทที่ 2 (Conclusion) จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโครงงานปัญหาพิเศษนี้ สามารถสรุปได้เป็น 5 ประด็น ดังต่อไปนี้ ประเด็นแรกเป็นการกล่าวถึงความรู้พื้นฐานในการบุกรุกระบบ ซึ่งประกอบไปด้วยปัญหาที่เกิดขึ้นจากการบุกรุก สาเหตุ และวิธีการแก้ไข ประเด็นที่สองเป็นระบบปฏิบัติการลีนุกซ์เบื้องต้น ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้ในการจัดทำโครงงานครั้งนี้เนื่องจาก ประเด็นที่สามกล่าวถึงภาษาเพิร์ลซึ่งเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเขียนระบบครั้งนี้ ประเด็นที่สี่ได้นำเสนอแนวคิดในการพัฒนาระบบ และประเด็ดสุดท้ายผู้จัดทำได้ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องและได้นำจุดเด่น จุดด้อยของแต่ละงานวิจัยมาประยุกต์และปรับปรุงใช้ในการจัดทำโครงงานปัญหาพิเศษครั้งนี้ ในบทต่อไปจะกล่าวถึงขั้นตอนและวิธีดำเนินการ Dr.Nattavee Utakrit

36 Q&A Dr.Nattavee Utakrit

37 เนื้อหาเอกสารโครงงาน
บทที่ 3 ขั้นตอนการดำเนินงาน ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ระบบงานปัจจุบัน ระบบงานที่พัฒนาใหม่ การทดสอบ และการวัดผลระบบงานใหม่

38 เนื้อหาเอกสารโครงงาน
บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน และผลการทดสอบระบบ ผลที่ได้จากขั้นตอนการดำเนินงาน - แสดงผลที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนของการดำเนินงาน - ผลที่เกิดอาจแสดงในรูปของ รูปภาพ ตารางข้อมูล หรือคำอธิบาย ผลการทดสอบระบบงาน - ผลการทดสอบระบบภายใต้ตามเงื่อนไขขอบเขตของโครงงานที่ได้รับการออกแบบไว้ในบทที่ 3 การวัดผลการดำเนินงานคือประสิทธิภาพของระบบงานใหม่ที่พัฒนาขึ้น เป็นข้อมูลที่ได้จากการทดสอบระบบ และนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับโครงงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงต่อไป

39 เนื้อหาเอกสารโครงงาน
บทที่ 5 สรุปผลและข้อเสนอแนะ เนื้อหาประกอบด้วย สรุปผลการพัฒนาระบบ อธิบายให้เข้าใจว่าระบบสามารถดำเนินงานอะไรได้บ้าง และสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ อย่างไร พร้อมทั้งแสดงความคิดเห็นว่ามีผลกระทบอะไรบ้างต่อผลของาน ปัญหาและแนวทางแก้ไข บรรยายปัญหาที่เกิดขึ้นขณะทำการพัฒนาโครงงาน พร้อมบอกแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ข้อเสนอแนะ โดยเน้นว่าระบบที่พัฒนาขึ้นนั้นสามารถนำไปขยายผลต่อในการพัฒนาได้ในอนาคตในแนวทางใดได้บ้าง

40 เนื้อหาเอกสารโครงงาน
คู่มือการใช้งาน -วิธีการใช้งาน -วิธีการติดตั้งระบบ -โปรแกรมที่ต้องใช้ในระบบ

41 เนื้อหาเอกสารโครงงาน
บรรณานุกรม แสดงชื่อหนังสือ แหล่งอ้างอิงที่ใช้ประกอบในการจัดทำโครงงาน การพิมพ์บรรณานุกรมให้แยกเป็นภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และเรียงตามอักษร ก-ฮ และ A-Z

42 เนื้อหาเอกสารโครงงาน
ภาคผนวก หน้าแรกของภาคผนวกให้ขึ้นหน้าใหม่มีคำว่า ภาคผนวก อยู่กลางกระดาษ บรรทัดต่อมาพิมพ์ชื่อภาคผนวก ถ้ามีหลายภาคผนวก ให้ใช้เป็น ภาคผนวก ก ภาคผนวก ข แต่ละภาคผนวกให้ขึ้นหน้าใหม่ ภาคผนวก เป็นส่วนที่ใช้ในการให้ข้อมูลเสริมเพื่อให้ผู้อ่านมีความเข้าใจในเนื้อหามากยิ่งขึ้น หรือเป็นแหล่งอ้างอิงถึงในส่วนของเนื้อหาหลักก็ได้ ดัชนีไฟล์ ดัชนีไฟล์ เป็นส่วนที่อธิบายรายละเอียดไฟล์ที่ผู้จัดทำโครงงานพัฒนาขึ้น

43 เนื้อหาเอกสารโครงงาน
ประวัติผู้จัดทำโครงงาน ข้อมูลเกี่ยวกับผู้จัดทำประกอบด้วย -คำนำหน้าชื่อ ตามด้วยชื่อ -วันเดือนปีเกิด -สถานที่เกิด -วุฒิการศึกษา สถานที่ศึกษา และพ.ศ. ที่สำเร็จการศึกษา -สถานที่ที่ติดต่อได้

44 รูปแบบการพิมพ์รายงาน
การทำสำเนา ตัวพิมพ์ กระดาษที่ใช้พิมพ์ การเว้นระยะการพิมพ์ การเว้นระยะห่างจากริมกระดาษ การลำดับหน้าและการพิมพ์เลขหน้า การแบ่งบท หัวข้อใหญ่และหัวข้อย่อย การพิมพ์ตาราง

45 รูปแบบการพิมพ์รายงาน
การพิมพ์รูปภาพ การพิมพ์สารบัญ สารบัญตาราง สารบัญภาพ การพิมพ์รายการคำย่อหรือรายการสัญลักษณ์ การพิมพ์ชื่อวิทยาศาสตร์ สมการคณิตศาสตร์ การพิมพ์ภาษาต่างประเทศ การพิมพ์เครื่องหมายวรรคตอนสำหรับการพิมพ์เนื้อหา การอ้างอิงและเขียนบรรณานุกรม

46 การตั้งค่าหน้ากระดาษของเอกสารโครงงาน
3.81 ซ.ม (1.5 นิ้ว) ตัวอักษรไทย ใช้ตระกูล UPC ขนาด 16 ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ใช้ Time New Roman ขนาด 12 2.54 ซ.ม (1 นิ้ว) 3.81 ซ.ม (1.5 นิ้ว) 2.54 ซ.ม (1 นิ้ว) Dr.Nattavee Utakrit


ดาวน์โหลด ppt การเขียนโครงงานนักศึกษา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google