งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

: ความหมาย และประเภทการวิจัย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: ": ความหมาย และประเภทการวิจัย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 : ความหมาย และประเภทการวิจัย
ระเบียบวิธีวิจัย RESEARCH METHODOLOGY : ความหมาย และประเภทการวิจัย : ประเด็นและหัวข้อการวิจัย

2 ความหมายการวิจัยทั่วไป
“Research” การค้นคว้าหาสิ่งใดสิ่งหนึ่งหลายๆ ครั้ง ซ้ำแล้วซ้ำอีกจนกระทั่งมั่นใจว่า ค้นพบข้อเท็จจริงที่สามารถจะคาดการณ์ ทำนาย และอธิบายในเรื่องนั้นๆ ได้อย่างถ้วนถี่และเชื่อถือได้ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน (2542) กำหนดให้ความหมายการวิจัยว่า “การวิจัยเป็นการค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตาม หลักวิชา” “การวิจัยเป็นการสะสมและรวบรวม”

3 ความหมายการวิจัยทั่วไป
พจนานุกรม Webster’s New Twentieth Century Dictionary (1966) ให้คำจำกัดความ “Research” - การสอบสวน/ตรวจสอบในความรู้สายใดสายหนึ่งอย่าง ระมัดระวัง อดทน อย่างเป็นระบบ ระเบียบและขันแข็งเพื่อ ให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริง และกฎเกณฑ์ต่างๆ - การแสวงหาความจริงอย่างคร่ำเคร่งและต่อเนื่อง

4 ความหมายการวิจัยทั่วไป
Williams and Stevenson (1963) ให้ความหมาย Research ว่า “การค้นหาโดยวิธีครุ่นคิด/การแสวงหาอย่างคร่ำเคร่ง เพื่อให้เกิดความแน่นอน” Plutchick (1968) ให้ความหมายในทำนองว่า การ วิจัยเป็นการสำรวจเพื่อให้เข้าใจธรรมชาติได้ดีขึ้น ซึ่งจะมี ส่วนประกอบ 2 อย่าง : - การพยายามอย่างเข้มแข็งที่จะค้นหาข้อเท็จจริงใหม่ - การพยายามจัดระเบียบข้อเท็จจริงที่ค้นพบให้เป็น แบบแผนที่มีความหมาย

5 Kerlinger (1986) ให้ความหมายของ “การวิจัย” ว่า
การวิจัยเป็นการไต่สวนสืบค้นปรากฏการณ์ตามต่างๆ ธรรมชาติอย่างมีระบบ มีการควบคุม มีการสังเกตการณ์จริง และการวิพากษ์วิจารณ์ โดยใช้ทฤษฎีและสมมติฐานเป็น แนวทางค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์นั้น Schumacher และ Mcmillan (1993) อธิบายถึง “การวิจัย” ว่า การวิจัยเป็นกระบวนการเชิงระบบในการ รวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างสมเหตุสมผล เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง

6 - การศึกษาค้นคว้าหาข้อเท็จจริง = ผู้วิจัยต้องค้นคว้า
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ (2540) ให้ความหมาย “การวิจัย” ว่า กระบวนการค้นคว้าหาข้อเท็จจริงหรือปรากฏการณ์ตาม ธรรมชาติอย่างมีระบบและมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอนเพื่อให้ ได้ความรู้ที่เชื่อถือได้ - การศึกษาค้นคว้าหาข้อเท็จจริง = ผู้วิจัยต้องค้นคว้า ให้ได้มาทั้งข้อเท็จและข้อจริง ศึกษาค้นคว้าครบถ้วนทุกแง่ ทุกมุมทั้งข้อสนับสนุนและข้อคัดค้าน - การศึกษาค้นคว้าต้องทำเป็นระบบระเบียบเป็นขั้นตอน มีเหตุมีผล = วิธีทางวิทยาศาสตร์ - การศึกษาค้นคว้าต้องเป็นการกระทำที่มีจุดมุ่งหมาย อย่างใดอย่างหนึ่ง/หลายอย่างผสมกัน

7 สุชาติ ประสิทธิรัฐสินธุ์ (2540) ให้ความหมาย การวิจัย ว่า
กระบวนการแสวงหาความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องใน สิ่งที่ต้องการศึกษา โดยที่มี… - การเก็บรวบรวมข้อมูล - การจัดระเบียบข้อมูล - การวิเคราะห์ข้อมูล - การตีความหมายผลการวิเคราะห์ ทั้งนี้เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบอันถูกต้อง กระบวนการ = กิจกรรมต่างๆ ที่ได้กระทำขึ้นโดยมีความ เกี่ยวโยงต่อเนื่องกันอย่างมีระบบเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมาย

8 จุมพล สวัสดิยากร (2520) อธิบายว่า “การวิจัย”
เป็นวิธีการศึกษาค้นคว้าหาข้อเท็จจริงด้วยระบบอันถูกต้องเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ในสิ่งที่วิจัยนั้น

9 ในที่ประชุม Pan Pacific Science Congress ปี
1961 ประเทศสหรัฐ ได้มีการอธิบายถึงความหมายคำว่า “ R E S E A R C H ” R = Recruitment and Relationship E = Education and Efficiency S = Science and Stimulation E = Evaluation and Environment A = Aim and Attitude R = Result C = Curiosity H = Horizon

10 ผู้วิจัยจะต้องมีการศึกษา มีความรู้และมีสมรรถภาพสูงใน
R = Recruitment and Relationship การฝึกฝนให้คนมีความรู้ การรวบรวมผู้ที่มีความรู้เพื่อ ปฏิบัติงานร่วมกัน รวมทั้งการติดต่อสัมพันธ์และประสานงานกัน E = Education and Efficiency ผู้วิจัยจะต้องมีการศึกษา มีความรู้และมีสมรรถภาพสูงใน การวิจัย S = Science and Stimulation การวิจัยเป็นศาสตร์ที่ต้องพิสูจน์ค้นคว้าเพื่อหาความจริง โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และผู้วิจัยต้องมีความคิด ริเริ่ม การกระตือรือร้นที่จะศึกษาวิจัย

11 ผู้วิจัยต้องรู้จักการประเมินคุณค่าของผลงานวิจัประโยชน์
E = Evaluation and Environment ผู้วิจัยต้องรู้จักการประเมินคุณค่าของผลงานวิจัประโยชน์ มาก/น้อย และต้องรู้จักใช้เครื่องมือ อุปกรณ์และอาจรวมถึง กำลังคนในการวิจัยอย่างเหมาะสม A = Aim and Attitude การวิจัยจะต้องมีจุดมุ่งหมาย/เป้าหมายที่แน่นอนและ ผู้วิจัยต้องมีทัศนคติที่ดีต่อการวิจัยตั้งแต่เริ่มปฏิบัติ และติดตาม ผลการวิจัย R = Result ผลการวิจัยที่เกิดขึ้นจะต้องยอมรับกันอย่างดุษฎี เพราะ เป็นผลที่ได้จากการค้นคว้า ศึกษาอย่างมีระบบระเบียบที่ดีและ ถูกต้อง

12 ผู้วิจัยต้องมีความอยากรู้อยากเห็น ความสนใจ ความสงสัย
C = Curiosity ผู้วิจัยต้องมีความอยากรู้อยากเห็น ความสนใจ ความสงสัย และขวนขวายในการศึกษาวิจัยตลอดเวลา H = Horizon ผลงานการวิจัยย่อมทำให้ทราบและเข้าใจถึงปัญหาต่างๆ ซึ่งเสมือนกับเกิดแสงสว่าง หากการวิจัยยังไม่บรรลุผลจะต้องหา ทางศึกษาค้นคว้าต่อไปจนสำเร็จ

13 ความหมายการวิจัยทางธุรกิจ
การวิจัยทางธุรกิจ ---> Business Research จะเป็นกระบวนการศึกษาค้นคว้าที่มีระบบระเบียบ อย่างถูกต้องตามวิธีทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เกิดผลตาม วัตถุประสงค์ที่ต้องการ โดยปราศจากอคติและมี ประสิทธิภาพ ผลวิจัยสามารถนำมาเป็นเครื่องมือในกระบวนการ ตัดสินใจ/การแก้ไขปัญหาการบริหารทุกลักษณะของ ธุรกิจ

14 Zikmund (2000) ให้ความหมาย “การวิจัยทางธุรกิจ” ว่า
การรวบรวมข้อมูล / สารสนเทศที่มีกระบวนการ อย่างเป็นระบบระเบียบและมีวัตถุประสงค์ : - การรวบรวม (Gathering) - การบันทึก (Recording) - การวิเคราะห์ข้อมูล (Analyzing Data) ทั้งนี้เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ Cooper และ Schindler (2003) อธิบายความหมายว่า เป็นระบบที่มีจุดประสงค์เกี่ยวกับการจัดเตรียมหา คำแนะนำเพื่อที่จะใช้ในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการจัดการ

15 การวิจัยด้านการจัดการ การตลาด การเงิน การ
นราศรี ไววนิชกุล และชูศักดิ์ อุดมศรี (2542) ได้ให้ ความหมาย “การวิจัยธุรกิจ” หมายถึง การศึกษาค้นคว้าถึงความจริงเกี่ยวกับธุรกิจด้วยวิธีการ ที่มีหลักเกณฑ์ (Scientific Method) ถูกต้องตามระบบที่ มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ธุรกิจ ดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ สถานการณ์ที่ใช้วิจัยทางธุรกิจ ตั้งแต่… การวิจัยด้านการจัดการ การตลาด การเงิน การ บัญชี การผลิต เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ และการวิจัยทาง สังคมศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง

16 ประเภทของการวิจัย หลักการจำแนกประเภท
1. ต้องมีกลุ่มให้ครบถ้วน (mutually exhaustive) 2. แต่ละกลุ่มที่กำหนดเมื่อกำหนดประเภทจะต้องแยกออก จากกันและกันโดยเด็ดขาด (mutually exclusive) 3. กลุ่มแต่ละกลุ่มควรจะมีความหมายที่ชัดเจน และมี จำนวนมากเพียงพอ

17 มิติต่างๆ ของการวิจัย
เหตุผลของการทำวิจัย วัตถุประสงค์ของการวิจัย วิธีการวิจัย สถานที่หรือทำเลของการวิจัย วัตถุหรือสิ่งที่ต้องการวิจัย ผู้กระทำการวิจัย

18 การจำแนกตามเหตุผลของการวิจัย
การวิจัยพื้นฐาน (Basic research) : การวิจัยแสวงหาความรู้และความเข้าใจประเด็นเรื่อง ต่างๆ ให้มากขึ้น มุ่งแสวงหาความจริง ใช้ทดสอบ/สร้าง ทฤษฎี จะไม่มีวัตถุประสงค์ใช้ประโยชน์ทันที แต่เพิ่มพูน ความรู้ทางวิชาการและวิจัยต่อไป การวิจัยประยุกต์ (Applied research) : การวิจัยที่นำผลการวิจัย/ข้อค้นพบไปใช้ในทาง ปฏิบัติจริง โดยมุ่งหาข้อเท็จจริง/ความสัมพันธ์ระหว่าง ข้อมูล/ตัวแปรในการแก้ไขปัญหาจริง

19 การจำแนกตามวัตถุประสงค์
การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) : การวิจัยมุ่งพรรณนาสภาพที่เป็นอยู่และลักษณะสำคัญ ของปรากฏการณ์หรือพฤติกรรมเกิดขึ้น การวิจัยเชิงอธิบาย (Explanatory research) : การวิจัยมุ่งอธิบายสาเหตุการเกิดขึ้นสภาพที่เป็นอยู่ ของปรากฏการณ์หรือพฤติกรรม โดยหาเหตุผล

20 การจำแนกตามวิธีการเก็บข้อมูล
การวิจัยแบบอาศัยการทดลอง (Experimental research) : กระบวนการวิจัยที่มีการวางแผน โดยที่มีการกระตุ้น เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายใต้การควบคุม ควบคุม ดูแลและเฝ้าสังเกตอย่างเป็นระบบ การวิจัยแบบไม่อาศัยการทดลอง (Non-experimental research) : กระบวนการวิจัยที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ ตามสภาพเป็นจริงโดยไม่มีการจัดกิจกรรม/ การกระตุ้น ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ

21 การจำแนกตามสภาวะการวิจัย
การวิจัยสภาวะที่ควบคุมเต็มที่ (Highly controlled settings) : การวิจัยที่ควบคุมปัจจัยการเปลี่ยนแปลงต่างๆ อย่าง ครบถ้วนเต็มที่ การวิจัยสภาวะที่ควบคุมได้บ้าง (Partially controlled settings) : การวิจัยที่ควบคุมปัจจัยการเปลี่ยนแปลงต่างๆ บาง ประการเท่านั้น เพื่อสังเกตการกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงโดย วิธีการหนึ่งวิธีการใด

22 การจำแนกตามสภาวะการวิจัย
การวิจัยสภาวะที่ควบคุมไม่ได้ (Uncontrolled settings) : การวิจัยที่ไม่มีการควบคุมปัจจัยที่จะก่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงต่างๆ โดยทำการศึกษาเก็บข้อมูลตามสภาพ ลักษณะหรือพฤติกรรมตามธรรมชาติที่เกิดขึ้น

23 การจำแนกตามสิ่งที่ต้องการวิจัย
มนุษย์ : บุคคล กลุ่มบุคคล สัตว์ พืช และอื่นๆ : สิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่ต้องการศึกษา สิ่งไม่มีชีวิต : สิ่งของ/วัตถุต่างๆ การจำแนกตามผู้กระทำการวิจัย การวิจัยโดยบุคคลเดียว : การวิจัยที่ต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้เพียงคนเดียว การวิจัยคณะบุคคล : การวิจัยที่ต้องอาศัยผู้ที่มีความหลากหลายสาขา

24 การจำแนกตามระดับหน่วยวิเคราะห์
การวิจัยระดับจุลภาค (Micro level) : การวิจัยปรากฏการณ์เกี่ยวกับลักษณะต่างๆ บุคคล อาจจะเป็นพฤติกรรม ทัศนคติและความคิดเห็น การวิจัยระดับมหภาค (Macro level) : การวิจัยปรากฏการณ์เกี่ยวกับลักษณะรวมๆ ระดับ ชุมชน สังคม หรือประเทศในหลายจุดเวลา

25 การจำแนกตามความลึกของข้อมูล
การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) : การวิจัยที่อาศัยข้อมูลตัวเลขเพื่อยืนยันพิสูจน์ความ ถูกต้องของข้อค้นพบและข้อสรุปต่างๆ การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) : การวิจัยที่ไม่เน้นข้อมูลตัวเลขยืนยันความถูกต้องของ ข้อค้นพบและข้อสรุปต่างๆ

26 การกำหนดประเด็นปัญหาการวิจัย
ความสำคัญของปัญหาการวิจัย 1. ปัญหาการวิจัยแต่ละปัญหาจะมีตัวแปร (variables) ที่เปลี่ยนแปลงตามบุคคล เวลาและสถานที่ 2. ข้อเท็จจริงของปัญหาการวิจัยเป็นความจริงเชิง สัมพันธ์ (relative truth) ไม่ใช่ความจริงเชิงสมบูรณ์ (absolute truth) 3. ข้อสรุปทั่วไป แนวคิด ทฤษฎีและกฎต่างๆ ต้องการ การยืนยัน (confirm) และตรวจสอบ (verify)

27 หลักเกณฑ์ในการกำหนดประเด็น
ความชัดเจนของประเด็น ความไม่ซ้ำซ้อนของประเด็นที่จะวิจัย ความสัมพันธ์ระหว่างประเด็น

28 ประโยชน์ของการกำหนดประเด็น
ทำให้ผู้วิจัยเกิดความชัดเจนว่าต้องการศึกษาในเรื่องอะไรบ้างเกี่ยวกับหัวข้อนั้นๆ ทำให้ผู้วิจัยทราบว่าจะต้องเก็บข้อมูลที่สำคัญในเรื่องอะไรบ้าง ทำให้ผู้อ่านรายงานผลของการวิจัย สามารถติดตามและประเมินผลของการวิจัยได้

29 การกำหนดหัวข้อการวิจัย
กระบวนการต่างๆ ที่ใช้ในการระบุให้ชัดเจนว่า ผู้ที่จะ ทำการวิจัย หรือผู้วิจัยมีความประสงค์จะศึกษาเรื่องอะไร ที่มาของหัวข้อสำหรับการวิจัย ผู้ที่จะทำการวิจัย วรรณกรรมในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ผู้นำทางวิชาการ แหล่งทุนอุดหนุนการวิจัย หน่วยที่ผู้วิจัยทำอยู่

30 การกำหนดหัวข้อจากมิติต่างๆ
สาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ลักษณะของการเก็บข้อมูล ประชากรเป้าหมายหรือสถานที่ การกำหนดประเด็นสาระสำคัญ การผสมผสานหลายประการ

31 หลักเกณฑ์การเลือกหัวข้อ
ความสำคัญของปัญหา ความเป็นไปได้ ความน่าสนใจและการทันต่อเหตุการณ์ ความสนใจของผู้ที่จะวิจัย ความสามารถที่จะทำให้ลุล่วง


ดาวน์โหลด ppt : ความหมาย และประเภทการวิจัย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google