ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ
โดย... ห้องตรวจพิเศษศัลยกรรม 2 รพ.มหาราชนครเชียงใหม่
2
รูปแสดงอวัยวะของระบบทางเดินปัสสาวะ
ไต ท่อไต ท่อปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะ
3
นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ
นิ่วเกิดจากสารประกอบในน้ำปัสสาวะตกตะกอน รวมตัวจับเป็นก้อนมีลักษณะคล้ายกรวด หิน ทราย
4
สาเหตุการเกิดนิ่ว 1.อายุ เพศ พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง 2.กรรมพันธุ์
3.ภาวะขาดน้ำอย่างเรื้อรัง 4.มีการคั่งของน้ำปัสสาวะ 5.การดื่มน้ำน้อยกว่าความต้องการของร่างกาย
5
นิ่วในไต อาการและอาการแสดง 1.ปวดตื้อๆ บริเวณสีข้าง
2.มีก้อนนิ่วหรือเม็ดทรายหลุดมากับน้ำปัสสาวะ 3.ปัสสาวะเป็นเลือด 4.ถ้ามีการติดเชื้อร่วมจะมีไข้สูง หนาวสั่น 5.กดเจ็บบริเวณหลัง
6
นิ่วในท่อไต อาการและอาการแสดง 1ปวดร้าวไปตามท่อไต หรือปวดตื้อๆ
2.ปัสสาวะเป็นเลือด 3.มีอาการคลื่นไส้อาเจียน 4.กดเจ็บบริเวณหลังหรือสีข้าง 5.มีไข้ หนาวสั่น ปัสสาวะขุ่นปนหนอง
7
นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ.....
อาการและอาการแสดง 1.ปัสสาวะสะดุด ปัสสาวะขัด 2.ปวดเบ่งและปวดร้าวไปยังส่วนปลาย องคชาต 3.ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะขุ่น 4.ปัสสาวะเป็นเลือด 5.อาจคลำได้ก้อนบริเวณท้องน้อย
8
ถ่ายปัสสาวะไม่ออกทันที
นิ่วในท่อปัสสาวะ อาการและอาการแสดง 1.ปัสสาวะขัดหรือ ถ่ายปัสสาวะไม่ออกทันที 3.ปัสสาวะมีขนาดเล็กลง และพุ่งไม่แรง 2.ปวดร้าวไปที่ ส่วนปลาย องคชาต 5.อาจคลำได้ก้อนนิ่ว ในท่อปัสสาวะ 4.มีก้อนนิ่วปนออกมา กับน้ำปัสสาวะ
9
การวินิจฉัยโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ
1.ตรวจปัสสาวะ เพาะเชื้อปัสสาวะ 2.ตรวจเลือด 3.การเอกซเรย์(KUB)
10
1. การผ่าตัดเพื่อเอานิ่วออก
การรักษา 1. การผ่าตัดเพื่อเอานิ่วออก 2. การเอานิ่วออก โดยการส่องกล้อง เจาะเข้าทางผิวหนัง
12
3. การสลายนิ่วในไตและท่อไต
4. การขบนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
13
โดยวิธีการสลายนิ่ว การรักษานิ่ว
การรักษานิ่วในไตและท่อไตด้วยเครื่องสลายนิ่วจะเริ่มด้วยการหาตำแหน่งก้อนนิ่วสัมพันธ์กับตำแหน่งจุดโฟกัสของคลื่นสั่นสะเทือน โดยใช้เอกซเรย์ หรืออุลตราซาวน์ เมื่อก้อนนิ่วตรงกับจุดโฟกัส จะเริ่มปล่อยคลื่นสั่นสะเทือนเข้าหาตำแหน่งก้อนนิ่วเป็นระยะๆ จนก้อนนิ่วถูกสลายเป็นผง ถ้ามีก้อนนิ่วเหลืออยู่จะนัดมาทำในครั้งต่อไป
14
การปฏิบัติตัวหลังได้รับการสลายนิ่ว
1. ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 3000 ซีซี / วัน 2. หลังการสลายนิ่วอาจมีปัสสาวะเป็นสีแดง เหมือนน้ำล้างเนื้อในระยะ วันแรก 3. ถ้ารู้สึกปวดมาก มีไข้ หรือปัสสาวะไม่ออก ให้รีบมาพบแพทย์ทันที 4. มารับการตรวจตามที่แพทย์นัดทุกครั้ง
15
ข้อควรปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดนิ่ว
1. ควรดื่มน้ำสะอาดวันละ 3 ลิตร / วัน 2. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ 3. ลดอาหารที่มีสารแคลเซียมสูง เช่น ผักโขม ใบชะพลู เพราะจะตกผลึกกลายเป็นก้อนนิ่วได้
16
4. ควรหลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มจัด
5. ควรรับประทานอาหารที่มีวิตามินเอ เช่น ฟักทอง มะละกอ 6. ควรออกกำลังกายเป็นประจำ โดยการวิ่งเหยาะ ๆ จะทำให้นิ่วก้อนเล็กๆ หลุดออกมาได้ 7. ไม่ควรกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.