ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
หอผู้ป่วยทารกแรกเกิด 2
งานการพยาบาลผู้ป่วยกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
2
ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด
3
อาการตัวเหลือง เกิดจากการมีสารสีเหลือง ที่เรียกว่า “บิลิรูบิน” ในเลือดสูงกว่าปกติ สารนี้ไปจับตามผิวหนัง ทำให้มองเห็นตัวเหลือง ทารกที่ตัวเหลือง จะมีตาเหลืองด้วย
4
สารบิลิรูบินเกิดจากการแตกทำลายของเม็ดเลือดแดง
5
สาเหตุของภาวะตัวเหลือง
เม็ดเลือดแดงของเด็กมีอายุสั้น จึงเกิดการแตกทำลายมาก ทำให้มีสารบิลิรูบินมาก และไปจับตามผิวหนัง ตับของทารกยังทำหน้าที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้การขับสารบิลิรูบินออกจากร่างกายไม่ดีเท่าที่ควร สารบิลิรูบินจึงคั่งค้างในร่างกายมากขึ้น
6
สาเหตุของภาวะตัวเหลือง (ต่อ)
บางรายหมู่เลือดของมารดาและทารกไม่เข้ากัน บางรายเม็ดเลือดแดงของทารกขาดเอนไซม์ จี -6พีดี ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่ายกว่าปกติ
7
สาเหตุของภาวะตัวเหลือง (ต่อ)
จากสาเหตุอื่น ๆ เช่น โลหิตเป็นพิษ ตับอักเสบจากเชื้อไวรัส ท่อนำดีอุดตัน เป็นต้น
8
ภาวะตัวเหลืองอันตรายอย่างไร
ทารกที่มีระดับบิลิรูบินสูงมาก เหลืองเร็ว เหลืองนาน ถ้าไม่ได้รับการรักษา อาจเกิดอาการดีซ่านขึ้นสมอง มีอาการซึม ดูดนมไม่ดี แขนขาอ่อนแรง ชักกระตุก ร้องเสียงแหลม กล้ามเนื้ออ่อนแรง เนื่องจากสารบิลิรูบินไปจับเซลสมอง
9
การรักษา การสังเกต การส่องไฟ การถ่ายเปลี่ยนเลือด
10
การสังเกต ในรายที่ไม่เหลืองมากนัก ไม่จำเป็นต้องรักษา เพียงแต่เจาะเลือดดูระดับสารบิลิรูบิน หากผลเลือดสารบิลิรูบินไม่สูงนัก แพทย์อาจอนุญาตให้กลับบ้านได้
11
การสังเกต (ต่อ) หากเหลืองในระดับปานกลางหรือยังไม่แน่ใจ แพทย์อาจเจาะเลือดซ้ำในวันรุ่งขึ้น เพื่อดูว่าระดับสารสีเหลืองลดลงจากวันก่อนหรือไม่
13
การส่องไฟ ใช้รักษาทารกที่มีระดับบิลิรูบินปานกลางถึงสูง โดยนำหลอดฟูโอเรสเซนต์ ทำเป็นแผงไฟ มาส่องเหนือตัวทารก
15
การส่องไฟ (ต่อ) แสงไฟสามารถเปลี่ยนสภาพของบิลิรูบินจนสามารถขับออกทางอุจจาระหรือปัสสาวะได้ดี การรักษาด้วยวิธีนี้อาจใช้เวลา วัน
16
การถ่ายเปลี่ยนเลือด การถ่ายเปลี่ยนเลือด จะทำไม่บ่อย เป็นการถ่ายเอาเลือดที่มีบิลิรูบินสูงออกจากตัวทารกแล้วเอาเลือดใหม่ซึ่งไม่มีปฏิกิริยากับเลือดของทารกเข้าไปแทน
17
การถ่ายเปลี่ยนเลือด (ต่อ)
จะทำในทารกที่มีหมู่เลือดไม่เข้ากับของมารดาและมีอาการเหลืองเร็วภายหลังคลอด หรือในทารกที่มีระดับบิลิรูบินอยู่ในระดับอันตราย หรือในทารกที่เริ่มปรากฏอาการทางสมอง
18
การตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อการช่วยเหลือ
ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ว่าจะตรวจหาอะไรบ้าง ตรวจหาระดับบิลิรูบินทุกวัน เจาะเลือดส่งตอนเช้า ทราบผลเวลาประมาณ น. ในวันราชการ ยกเว้นวันหยุดทราบผลเวลาประมาณ น.
19
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ (ต่อ)
ตรวจหาเอนไซม์ จี-6พีดี ทำในวันราชการ ทราบผลเวลาประมาณ น. ตรวจหาหมู่เลือดทารก ทราบผลเวลาประมาณ น. ตรวจหาเม็ดเลือดแดงที่แตก
20
คำแนะนำสำหรับการดูแลทารกตัวเหลือง
เมื่อมารดาสังเกตว่าทารกตัวเหลืองควรให้ 1. ทารกดูดนมมารดาบ่อย ๆ เพื่อช่วยการขับสารบิลิรูบินออกทั้งปัสสาวะ และอุจจาระ
21
คำแนะนำ (ต่อ) 2. ให้ทารกนอนในที่มีแสงสว่างมาก ๆ อาจเปิดไฟช่วยได้
22
คำแนะนำ (ต่อ) 3. ให้สังเกตว่าทารกตัวเหลืองเพิ่มขึ้นหรือไม่
หากเหลืองมากขึ้น ซึม ไม่ดูดนม ควรปรึกษาแพทย์
23
แบบทดสอบ 1. สารสีเหลือง หรือบิลิรูบินเกิดจากอะไร
2. สาเหตุของภาวะตัวเหลืองมีอะไรบ้าง
24
แบบทดสอบ (ต่อ) 3. ภาวะตัวเหลืองมีอันตรายอย่างไร
4. ภาวะตัวเหลืองมีการรักษาด้วยวิธีใดบ้าง
25
แบบทดสอบ (ต่อ) 5. มีการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อเจาะเลือดหาอะไรบ้าง
26
แบบทดสอบ (ต่อ) 6. ถ้าหากทารกกลับไปอยู่บ้าน และมารดาสังเกตเห็นว่าทารกตัวเหลือง มารดาควรทำอย่างไรบ้าง
27
จบการนำเสนอ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.