ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การใช้งานฐานข้อมูล Business Sources Complete
โดย...รุจิรดา ระวีศรี บรรณารักษ์ ฝ่ายบริการทรัพยากรสารนิเทศ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง สวัสดีค่ะ ดิฉันรุจิรดา ระวีศรี บรรณารักษ์ ฝ่ายบริการทรัพยากรสารนิเทศ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงค่ะ วันนี้จะมาแนะนำวิธีการสืบค้นฐานข้อมูล Business Sources Complete ซึ่งเป็นฐานข้อมูลออนไลน์อีกฐานหนึ่งที่ศูนย์บรรณสารฯ จัดให้บริการ หลายท่านอาจจะสงสัยว่า เอ๊ะ..ฐานข้อมูลนี้คืออะไร เนื้อหาเป็นอย่างไร และจะเข้าสืบค้นจากที่ไหนใช่มั้ยคะ งั้นเดี๋ยวเราจะพาท่านไปทำความรู้จักกับฐานข้อมูลนี้ค่ะ
2
เนื้อหา : บริหารธุรกิจ /สังคมศาสตร์
เป็นฐานข้อมูลทางด้านบริหารธุรกิจ โดยรวบรวมวารสารมากกว่า 2,300 ชื่อเรื่อง ให้ข้อมูลในลักษณะบรรณานุกรม บทคัดย่อ และวารสารฉบับเต็ม สามารถสืบค้นย้อนหลังได้ตั้งแต่ ค.ศ.1886-ปัจจุบัน ฐานข้อมูล Business Sources Complete เป็นฐานข้อมูลออนไลน์ ให้บริการและสืบค้นได้ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต มีขอบเขตเนื้อหาข้อมูลคลอบคลุมทางด้านบริการธุรกิจและสังคมศาสตร์ ประกอบด้วยวารสารกว่า 2300 ชื่อ ให้ข้อมูลทั้งบทคัดย่อและฉบับเต็ม หรือ Full Text โดยสามารถสืบค้นและได้ข้อมูลตั้งแต่ปี 1886 จนถึงปัจจุบัน สามารถสืบค้นได้ไม่จำกัดเวลาและจำนวนผู้เข้าใช้
3
วิธีการสืบค้น / Search
Search Option (เลือกรูปแบบการสืบค้น) Basic Search (การสืบค้นขั้นพื้นฐาน) Advanced Search (การสืบค้นขั้นสูง) Visual Search (สืบค้นแบบแสดงผลเป็นรูปภาพ) Search History (ประวัติการสืบค้น) Publication (รายชื่อวารสารในฐานนี้) Thesaurus (ศัพท์สัมพันธ์) Author Profiles (สืบค้นตามผู้แต่ง) วิธีการสืบค้นมีหลายวิธี ดังนี้ Search Option (เลือกรูปแบบการสืบค้น) Basic Search (การสืบค้นขั้นพื้นฐาน) Advanced Search (การสืบค้นขั้นสูง) Visual Search (สืบค้นแบบแสดงผลเป็นรูปภาพ) Search History (ประวัติการสืบค้น) Publication (รายชื่อวารสารในฐานนี้) Thesaurus (ศัพท์สัมพันธ์) Author Profiles (สืบค้นตามผู้แต่ง) ท่านสามารถเลือกรูปแบบการสืบค้นต่างๆ นี้ได้ และการแสดงผลลัพธ์นั้นจะคล้ายกัน
4
การเข้าใช้ ให้บริการสืบค้นผ่านหน้าโฮมเพจศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา โดยมีวิธีเข้าสืบค้นได้ 2 ช่องทางคือ หากอยู่ภายในมหาวิทยาลัยสามารถเข้าสืบค้นได้ทันที หากอยู่ภายนอกมหาวิทยาลัยสามารถสืบค้นผ่านเว็บไซต์ ให้ login ดังนี้ User ID: mflu Password: library ฐานข้อมูล Business Sources Complete นี้ให้บริการสืบค้นที่หน้าโฮมเพจศูนย์บรรณสารฯ ที่ โดยสามารถเข้าสืบค้นได้ 2 ช่องทาง ช่องทางแรกหากอยู่ภายในมหาวิทยาลัย สามารถเข้าเข้าใช้งานและสืบค้นข้อมูลได้ทันที แต่หากอยู่นอกเครือข่ายหรือภายนอกมหาวิทยาลัยให้เข้าโดยตรงที่เว็บไซต์ของบริษัท EBSCO โดยตรงที่เว็บไซต์ จากนั้นให้ login โดยใช้ User ID คือ mflu และ password คือ library ก็สามารถเข้าสืบค้นข้อมูลได้เช่นกัน
5
กรณีอยู่ภายนอกมหาวิทยาลัย --> http://search.ebscohost.com
mflu library หากท่านอยู่ภายนอกมหาวิทยาลัย ให้สืบค้นผ่าน url: ก็จะเข้าสู่หน้าหลักของ EBSCO โดยท่านจะต้อง login ก่อนถึงจะเข้าสืบค้นฐานข้อมูลนี้ได้ ซึ่งศูนย์บรรณสารฯ ได้กำหนดการเข้าใช้คือ user ID ใช้คำว่า mflu และรหัสผ่านใช้คำว่า library จากนั้นให้กดที่ปุ่ม Login เพื่อเข้าสู่หน้าสืบค้นหลักของฐานข้อมูลบริษัท EBSCO
6
กรณีอยู่ภายในมหาวิทยาลัย --> สืบค้นได้ทันที ทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์
(eResources) สำหรับวันนี้ดิฉันขอยกตัวอย่าง กรณีการสืบค้นฐานข้อมูลนี้จากภายในมหาวิทยาลัย อันดับแรกเข้าไปที่เว็บไซต์ของศูนย์บรรณสารฯ คือ เมื่ออยู่ในหน้าเว็บของศูนย์บรรณสารฯ จะมีข้อมูลเกี่ยวกับห้องสมุด ข่าวสาร การสืบค้น และบริการออนไลน์ต่างๆ ให้ท่านดูหัวข้อสืบค้น จากนั้นคลิกเลือกเมนูทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ หรือ eResources ดังภาพ
7
คลิกเลือกจากกลุ่ม Online Databases
เข้าสู่หน้ารายการทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งทางมีหลายประเภท ได้แก่ eBooks eJournals eTheses eNewspapers ฐานข้อมูลทดลองใช้หรือ Trial Databases สำหรับฐานข้อมูล Business Resources Complete นี้ จัดอยู่ในกลุ่มของ Online Databases คือฐานที่รวบรวมบทความจากวารสารต่างๆ และนำมาจัดกลุ่มตามสาขาเฉพาะทาง ทำให้ได้บทความเรื่องคล้ายกันจากวารสารหลากชื่อเรื่อง เข้าไปคลิกที่เมนู Online Databases ดังภาพ
8
เลือกฐานข้อมูล Business Source Complete
จากนั้นก็จะเจอฐานข้อมูลต่างๆ เรียงลำดับจากอักษร A-Z ให้เลือกที่ชื่อฐาน Business Sources Complete อ่านรายละเอียด ขอบเขตของฐานข้อมูล และดูตัวอย่างวิธีการสืบค้นฐานข้อมูลนี้ได้ในรูปแบบ PowerPoint คลิกที่ชื่อฐานข้อมูล หรือที่ icon เพื่อเข้าสู่ฐานข้อมูล
9
คลิกที่ EBSCOhost Research Database
ฐานข้อมูลของบริษัท EBSCO นั้น ประกอบด้วยฐานข้อมูลย่อยหลากฐาน หลายสาขา แต่ที่แสดงในหน้าแรกนี้จะพบ 2 เมนู คือ EBSCOhost Research Databases และ Nursing Reference Center ดังนั้นหากเราต้องการเลือกฐานเพื่อสืบค้นข้อมูล ให้คลิกเลือกเมนู EBSCOhost Research Databases เพื่อเข้าสู่หน้าฐานข้อมูลย่อยต่อไป * EBSCO ประกอบด้วยข้อมูลย่อยหลายฐาน ดังนั้นเริ่มต้นการ สืบค้นจึงต้องคลิกเข้าสู่ฐานก่อน จากนั้นจึงเลือกฐานที่ต้องการ
10
คลิกที่ชื่อฐาน --> จากนั้นคลิกที่ปุ่ม Continue
นี่คือฐานข้อมูลของบริษัท EBSCO ทั้งหมด มีหลายฐานข้อมูลหลายสาขา ทั้งสหสาขา สาขาเฉพาะทางอย่าง Cinahl, ebook ซึ่งฐานข้อมูลทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในนี้ท่านสามารถสืบค้นได้ทุกฐานตามความสนใจ วันนี้จะแนะนำการสืบค้นฐานข้อมูล Business Source Complete ค่ะ ให้คลิกที่บ๊อกหน้าทื่ชื่อฐานข้อมูล จากนั้นกดที่ปุ่ม Continue ดังภาพ หรือจะคลิกที่ชื่อฐานข้อมูลเลยก็ได้
11
การสืบค้นแบบ Basic Search
เข้าสู่หน้าสืบค้นค้นหลักฐานข้อมูล Business Sources Complete ในหน้าสืบค้นนี้จะแสดงเมนูหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการสืบค้นแบบง่าย หรือ Basic, advance, visual เป็นต้น หน้าจอที่แสดงขณะนี้คือวิธีการสืบค้นแบบง่ายหรือ Basic search มีขั้นตอนการสืบค้นดังนี้ 1.ระบุคำค้น เช่น market จะมีระบบ Auto Suggestion แสดงคำค้นคำให้ต่อท้ายให้อัตโนมัติ ซึ่งเป็นคำที่ได้จากการ Index ในบทความต่างๆ ในฐานนี้ 2. เลือกคำที่ต้องการ เช่น market research and brands 3. คลิกที่ Search 1.ระบุคำค้น เช่น market จะมีระบบ Auto Suggestion แสดงคำค้นคำให้ต่อท้ายให้อัตโนมัติ ซึ่งเป็นคำที่ได้จากการ Index ในบทความต่างๆ ในฐานนี้ เลือกคำที่ต้องการ เช่น market research and brands คลิกที่ Search
12
ผลลัพธ์ / Results 1.ผลลัพธ์ทั้งหมด
2.ผลลัพธ์แต่ละรายการเรียงลำดับจากคำที่เกี่ยวข้องมากที่สุด 3.ปรับปรุงผลลัพธ์ใหม่ โดยกำหนดขอบเขตข้อมูล และช่วงปีได้ 2 3 หน้าแสดงผลลัพธ์จากคำที่ค้นหา market research and brands พบข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 6070 รายการ ส่วนตรงการเป็นการแสดงผลลัพธ์ทั้งหมดโดยเรียงจากคำที่เกี่ยวข้องมากที่สุดไปน้อยสุด โดยให้รายละเอียดคือ ประเภทสิ่งพิมพ์ ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง หากมีภาพประกอบก็จะแสดงไว้ด้วย หากผลลัพธ์มากเกินไปต้องการจำกัดผลลัพธ์ให้แคบลงหรือตรงตามความต้องการมากยิ่งขึ้น ให้เลือกจากเมนูทางด้านซ้ายทั้งหมด ในหัวข้อ Refine your results ซึ่งจะเลือกกำหนดเงื่อนไข เช่นเลือกเฉพาะเอกสารฉบับเต็ม หรือ Full text เท่านั้น เลือกช่วงปี เลือกประเภทเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ต้องการ เช่นเฉพาะหนังสือ เฉพาะวารสารวิชาการ หรือเลือกหัวเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแต่ละหัวข้อ ให้ทำทีละขั้นตอนดังนี้
13
ปรับปรุงผลลัพธ์ (Refine your results)
1. เลือกแสดงข้อมูลเฉพาะ Full Text 2. กำหนดช่วงปีข้อมูลตั้งแต่ ปี 3. คลิกที่เมนู Update ตัวอย่าง การจำกัดผลลัพธ์โดยเลือกเฉพาะเอกสารฉบับเต็มหรือ Full Text จากนั้นเลือกขอบเขตข้อมูลช่วงปี 2000 – และให้คลิกที่เมนู update
14
ผลลัพธ์ใหม่-->เลือกอ่านข้อมูลแบบย่อ / อ่านแบบ Full Text
แสดงหน้าผลลัพธ์ใหม่ จะเห็นว่าลดลงเหลือ 3456 รายการ ซึ่งเป็นเอกสารฉบับเต็ม และปี เท่านั้น หน้าตรงการก็แสดงข้อมูลทั้งหมดเรียงลำดับคำที่เกี่ยวข้องมากสุดไปน้อยเช่นกัน นอกจากนี้ยังคลิกที่สัญลักษณ์แว่นขายบนโฟเดอร์สีเหลือง จะปรากฏหน้าต่างขึ้นมาเพื่อแสดงข้อมูลย่อ ก่อนที่จะตัดสินใจดาวน์โหลดไฟล์ หากท่านต้องการแอกสารฉบับเต็มทั้งหมดให้เลือกที่สัญลักษณ์ PDF Full Text ดังภาพ
15
การจัดการผลลัพธ์ จากเมนู Tools
หน้าแสดงการจัดการผลลัพธ์ สามารถนำผลลัพธ์ออกได้หลายวิธี จากเมนู Tools ได้แก่ Print, , Add to Folder, Cite, Export, Permalink, Bookmark ขอยกตัวอย่างนำผลลัพธ์ออกโดยส่งเข้า คลิกที่สัญลักษณ์ ดังภาพ
16
e-mail 1.ระบุอีเมล์ที่จะส่งถึง
2.ระบุหัวเรื่อง และข้อความ (มีหรือไม่มีก็ได้) 3.เลือกรูปแบบอ้างอิงตามต้องการ 4.คลิก Send 1 2 3 เข้าสู่หน้าการส่งอีเมล์ เนื่องจากบทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท EBSCO ดังนั้นในช่อง From: จะปรากฏคำว่า เสมอ ดังนั้นให้ท่านระบุเฉพาะอีเมล์ที่ต้องการจะส่งถึง หัวเรื่อง คำอธิบาย จากนั้น ให้เลือกรูปแบบการอ้างอิงเอกสารตามต้องการ ในที่นี้ขอให้เลือกรูปแบบเป็น APA เนื่องจาก มฟล. กำหนดให้ใช้รูปแบบ APA นี้ในการอ้างอิงผลงานวิชาการ จากนั้นให้คลิกที่ปุ่ม Send
17
ยืนยันการส่งอีเมล์ --> คลิก Continue เพื่อกลับไปหน้าผลลัพธ์ทั้งหมดอีกครั้ง
ระบบจะแจ้งว่าได้ส่งบทความดังกล่าวเข้าอีเมล์ที่ระบุเรียบร้อยแล้ว ให้คลิกที่ปุ่ม Continue และหากต้องการกลับไปหน้าผลลัพธ์เดิม ให้คลิกที่ปุ่ม Result List
18
การอ้างอิงข้อมูล --> Cite
19
เลือกรูปแบบการอ้างอิงโดย Copy & Paste
ระบบจะมีรูปแบบการอ้างอิงเอกสารหลากรูปแบบ ให้เลือกรูปแบบ APA จากนั้นคลุมพื้นที่ข้อมูลตั้งแต่ชื่อผู้แต่ง จนถึงข้อมูลสุดท้าย คลิกขวาที่เม้าส์ จากนั้นเลือกคำสั่ง Copy
20
นำไปวางในโปรแกรม MS word/Notepad
เปิดโปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด จากนั้นคลิกขวาที่เมาส์อีกครั้ง คลิกเลือกคำสั่ง Paste หรือ วาง ก็จะได้รูปแบบการอ้างอิงตามต้องการ ปรับแต่งอีกนิดหน่อยให้ถูกต้องตามรูปแบบของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จัดรูปแบบโดยยึดตามรูปแบบการอ้างอิง APA ของ มฟล.
21
การสืบค้นแบบ Basic Search
นอกจากการสืบค้นแบบง่าย หรือ Basic แล้ว ยังมีวิธีการสืบค้นรูปแบบต่างๆ เช่น Search Option, Advanced Search, Visual Search, Search History และหากต้องการทราบรายชื่อสิ่งพิมพ์ทั้งหมดในฐานนี้ ให้เลือกทีเมนู Publications ค้นหาแบบศัพท์สัมพันธ์ Thesaurus หรือค้นจากผู้แต่งบทความ รวมทั้งหากมีข้อสงสัยในการสืบค้น ฝากคำถามได้ทีเมนู Ask A-Librarian ค่ะ ซึ่งแต่ละเมนูนั้น ขออธิบายให้ทราบคร่าวดังต่อไปนี้ค่ะ
22
Search Option (เลือกรูปแบบการสืบค้น)
เลือกกำหนดรูปแบบการค้น ขอบเขตข้อมูล ด้วยตนเอง จาก option ที่ให้ระบุตามต้องการ ด้วยวิธี SmartText Searching เมนู Search Option เป็นการเลือกรูปแบบการใส่คำค้น และกำหนดเงื่อนไขต่างๆ ไปได้พร้อมๆ กัน ยกตัวอย่างเลือกการสืบค้นแบบ SmartText Search ก็จะปรากฏช่องสืบค้นที่กว้างขึ้น สามารถใส่คำค้นได้หลากคำ เช่น Thailand market research and goods เลือกผลลัพธ์แบบ Full Text เท่านั้น และช่วงปีที่ต้องการคือ ปี 2000 – จากนั้นให้คลิกที่ปุ่ม Search
23
ผลลัพธ์การสืบค้นแบบ SmartText Searching
แสดงจำนวนผลลัพธ์ และรายละเอียดของเอกสารที่พบทั้งหมด เรียงลำดับตามความเกี่ยวเนื่องเกี่ยวข้อง หากต้องการให้เรียงลำดับใหม่-เก่า ให้คลิกเลือกที่เมนู Relevance Sort จากนั้นเลือกเป็น Date Descending
24
Advanced Search (การสืบค้นขั้นสูง)
กำหนดเงื่อนไขคำค้นได้หลายคำโดยใส่เงื่อนไขการค้น และกำหนดขอบเขตข้อมูลอื่นๆ ตามต้องการได้ การสืบค้นแบบ Advanced Search หรือการสืบค้นขึ้นสูง จะมีลักษณะคล้ายกับ Search Option แต่ในการระบุคำค้น สามารถเลือกใส่คำค้นและใช้คำเชื่อม AND OR NOT และเลือกจากเขตข้อมูลคำค้นต่างๆ ได้ จะทำให้ได้ผลลัพธ์เฉพาะเจาะจง หรือตรงความต้องการมากขึ้น นอกจากนี้ยังระบุเงื่อนไขอื่นๆ ได้ จากนั้นคลิก Search
25
ผลลัพธ์การสืบค้นแบบ Advanced Search
แสดงผลลัพธ์ที่ได้ทั้งหมด โดยเรียงจากความเกี่ยวเนื่องเกี่ยงข้องจากคำที่ค้นหา เลือกแสดงข้อมูลแบบ PDF Full Text เพื่อจัดการผลลัพธ์ได้หลายวิธีดังตัวอย่างแสดงไว้ก่อนหน้านี้
26
Visual Search (สืบค้นแบบแสดงผลเป็นรูปภาพ)
วิธีการสืบค้นแบบ Visual Search คือการค้นหาแบบแสดงข้อมูลเป็นภาพ หรือกราฟฟิก ขั้นตอนคือระบุคำค้นหาในช่อง Searching จากนั้นเลือกเอาเฉพาะเอกสารฉบับเต็ม หรือ Full Text เท่านั้น จากนั้นคลิกที่ปุ่ม Search
27
ผลลัพธ์การสืบค้น Visual Search
หน้าแสดงผลลัพธ์แบบที่ 1 คือ Blocks จะมีเครื่องมือคุมคุม ย่อ-ขยาย-ไปซ้าย-ขวา และมีสัญลักษ์ block เล็กๆ แสดงความหนาแน่นของคำที่เกี่ยวข้อง มากสุด block หากต้องการเปลี่ยนเป็นรูปแบบแสดงผลลัพธ์แบบที่ 2 คือ Columns สามารถคลิกเลือกได้เช่นกัน
28
เลือกบทความ drag-and-drop -->Collect Articles
วิธีการเลือกผลลัพธ์ใช้วิธี drag and drop ไปวางไว้ที่ช่อง Collect Article จากนั้นหากต้องการดูผลลัพธ์รายการไหน ก็เอาเม้าส์คลิกรายการนั้นๆ จะมีข้อมูลสรุปย่อบทความให้ในชอง summary และหากต้องการดูฉบับเต็มให้คลิกที่คำสั่ง More ดังภาพ
29
แสดงรายละเอียดบทความ และจัดการผลลัพธ์
กลับไปยังผลลัพธ์ก่อนหน้านี้ จะปรากฎหน้าเอกสารฉบบเต็มหรือ Full Text จากหน้านี้ก็สามารถจัดการผลลัพธ์ได้ตามต้องการ เช่นกัน แล หากต้องการกลับไปยังผลลัพธ์ก่อนหน้านี้ก็ให้คลิกที่ปุ่มเดิม ดังภาพ
30
Search History (ประวัติการสืบค้น)
ประวัติการสืบค้นฐานข้อมูลนี้ทั้งหมด โดยสามารถกลับไปดูข้อมูลได้ที่ปุ่ม View Details สำหรับ Search History เป็นการสรุปประวัติการสืบค้นทั้งหมดที่ในฐานนี้ ที่เราได้สืบค้นไป สามารถเรียกดูและเข้าถึงข้อมูลได้อีกครั้งโดยคลิกที่ปุ่ม View Details
31
Publications (สืบค้นจากรายสิ่งพิมพ์)
2.แสดงรายชื่อวารสาร A-Z 3.ค้นหาวารสารด้วยตนเอง Alphabetical ขึ้นต้นด้วยอักษรแรกของวารสาร By Subject & Description ค้นจากสาขา/เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง Match Any Words จำชื่อวารสารได้เพียงบางส่วน หากต้องการตรวจสอบว่าฐานข้อมูล Business Source Complete มีสิ่งพิมพ์รายชื่ออะไรบ้าง ให้เลือกจากเมนู Publications โดยระบบจะแสดงรายชื่อเรียงตาม A-Z หรือจะสืบค้นด้วยตนเองก็ได้ ตัวอย่างกรณีจำชื่อสิ่งพิมพ์ได้ไม่หมด ให้ระบุคำค้นหา เช่นAviation เลือกแบบ Match Any Words จากนั้นคลิกปุ่ม Browse
32
ตย. จำชื่อวารสารได้เพียงบางส่วน -->Aviation
1.แสดงรายชื่อวารสารที่เกี่ยวข้อง 2.แสดงขอบเขตการเข้าใช้วารสารแต่ละชื่อเรื่อง 1 ระบบจะแสดงผลลัพธ์โดยหาคำว่า Aviation จากชื่อสิ่งพิมพ์ โดยจะสังเกตว่าไม่ว่าคำนั้นจะอยู่ส่วนใดของชื่อเรื่องก็ตาม จะปรากฏผลลัพธ์ทั้งหมด และพร้อมกันนี้จะให้รายละเอียดและขอบเขตวารสารหรือสิ่งพิมพ์นั้นๆ ไว้ด้วย 2
33
Thesaurus (ศัพท์สัมพันธ์)
ระบุคำค้น และเลือกคำค้นจากคำเริ่มต้นด้วย Aviation สำหรับการค้นหาแบบ Thesaurus หรือศัพท์สัมพันธ์ คือหาคำอื่นๆ ที่มีความหมายเดียวกัน แต่อาจจะใช้คำแตกต่างกันไป เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่กว้างมากขึ้น ตัวอย่าง Aviation จาก Term begins with จากนั้นคลิกปุ่ม Browse
34
ผลลัพธ์การสืบค้น Thesaurus
ระบบจะค้นหา พร้อมกับแนะนำคำศัพท์อื่นที่มีความหมายเดียวกันมาให้ และอาจจะมีการแนะนำว่าให้ใช้คำนี้แทน แนะนำคำที่ถูกต้อง/คำที่ใช้
35
Author Profiles (สืบค้นตามผู้แต่ง)
แสดงชื่อสกุลผู้แต่งบทความในฐานนี้ แสดงผลดังนี้ เรียงตามนามสกุล A-Z ระบุการสืบค้นด้วยตนเอง (ใส่นามสกุล) Author Profiles วิธีการสืบค้นรูปแบบนี้ เหมาะสำหรับผู้สืบค้นที่ทราบข้อมูลผู้แต่งมาบ้าง แต่จะต้องเป็นนามสกุล หากจำไม่ได้ระบบก็จะมีรายการชื่อสกุลของผู้แต่งสิ่งพิมพ์ต่างๆ ในฐานนี้มาให้เลือก โดยเรียงลำดับอักษร A-Z หากต้องการระบุก็ทำให้เช่นกัน ตัวอย่าง Federic จากนั้นคลิกปุ่ม Browse
36
Help เมนูแนะนำการใช้ฐานข้อมูลแต่ละหัวข้อ
นอกจากนี้บริษัท EBSCO ได้จัดมีรายละเอียด คู่มือ คำอธิบายต่างๆ ของแต่ละฐานข้อมูลไว้ ซึ่งผู้ใช้สามารถอ่านและศึกษาด้วยตนเอง เช่น วิธีการสืบค้นฐานข้อมูลแบบ Tutorial ให้เลือกที่เมนู EBSCOhost Tutorials ดังภาพ
37
Ask-A-Librarian ระบุชื่อ อีเมล์ และคำถาม จากนั้นคลิกที่ปุ่ม Send
38
ระบบแจ้งผลการส่งคำถามถึงบรรณารักษ์
ระบบจะแจ้งการส่งอีเมล์ให้ จากนั้นคลิกที่ปุ่ม Continue ซึ่งข้อมูลคำถามนี้จะแจ้งไปยังบรรณารักษ์งานบริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า และจะเป็นผู้ให้ข้อมูล/คำตอบ กับท่านต่อไป
39
หากต้องการคำแนะนำการสืบค้นเพิ่มเติม
โปรดติดต่อ บรรณารักษ์บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า Tel , และทั้งหมดนี้ก็คือการสืบค้นฐานข้อมูล Business Sources Complete และท่านยังสามารถเรียนรู้วิธีการสืบค้นได้จากเมนู Help หรือหากต้องการสอบถามอื่นๆ เพิ่มเติมโปรดติดต่อบรรณารักษ์บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า ทางอีเมล์ ที่ หรือทางโทรศัพท์ ที่หมายเลข หรือ ค่ะ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.