ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยPhueng Sepsook ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. 2547
2
แนวคิดระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
เป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารพนักงานราชการ สอดคล้องกับแนวทางการบริหารภาครัฐแนวใหม่ - เน้นความยืดหยุ่น แก้ไขง่าย - กระจายอำนาจการบริหารจัดการ - มีความคล่องตัว - มีเจ้าภาพที่ชัดเจน สอดคล้องกับหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
3
สาระสำคัญในระเบียบนี้
4
ได้ให้ความหมายของพนักงานราชการว่า
“บุคคลซึ่งได้รับการจ้างตามสัญญาจ้างโดยได้รับ ค่าตอบแทนจากงบประมาณของส่วนราชการ เพื่อเป็นพนักงานของรัฐในการปฏิบัติงาน ให้กับส่วนราชการนั้น”
5
ความหมายของ “ส่วนราชการ” ประกอบด้วย
ส่วนราชการฝ่ายพลเรือน ส่วนราชการฝ่ายทหาร ยกเว้นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
6
กำหนดให้เลขาธิการ ก.พ. เป็นผู้รักษาระเบียบนี้
โดยแบ่งกลุ่มของเนื้อหาออกเป็น 6 หมวด และบทเฉพาะกาล คือ หมวด 1 พนักงานราชการ หมวด 2 ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ หมวด 3 การประเมินผลการปฏิบัติงาน หมวด 4 วินัยและการรักษาวินัย หมวด 5 การสิ้นสุดสัญญาจ้าง หมวด 6 คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ บทเฉพาะกาล
7
หมวด 1 พนักงานราชการ
8
กำหนดพนักงานราชการ เป็น 2 ประเภท คือ
พนักงานราชการทั่วไป ได้แก่ พนักงานราชการที่ปฏิบัติงานประจำทั่วไปในด้านงานบริการ งานเทคนิค งานบริหารทั่วไป งานวิชาชีพเฉพาะ และงานเชี่ยวชาญเฉพาะ พนักงานราชการพิเศษ ได้แก่ พนักงานราชการซึ่งปฏิบัติงานที่ต้องใช้ความรู้ ความเชี่ยวชาญสูงมาก เป็นพิเศษ ในงานที่มีความสำคัญ หรือมีความจำเป็นต้องใช้บุคคลในลักษณะดังกล่าว
9
หมวด 2 ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์
10
มีสาระสำคัญเฉพาะในเรื่องค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์
โดยพนักงานราชการจะได้รับสิทธิประโยชน์และ มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม ส่วนรายละเอียดเรื่องค่าตอบแทนจะเป็นไปตามที่ คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการจะกำหนด
11
หมวด 3 การประเมินผลการปฏิบัติงาน
12
มีสาระสำคัญเฉพาะในเรื่องการประเมินผลการปฏิบัติงาน
โดยคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการจะ เป็นผู้กำหนดแนวทางการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อ เป็นมาตรฐานทั่วไปให้ส่วนราชการถือปฏิบัติ
13
หมวด 4 วินัยและการรักษาวินัย
14
มีสาระสำคัญเฉพาะเรื่องวินัยและการรักษาวินัย
โดยระเบียบได้กำหนดกรณีการกระทำผิดวินัยร้ายแรง ไว้ประกอบด้วย การทุจริตต่อหน้าที่ การจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบของทางราชการ หรือคำสั่งของผู้บังคับบัญชา หรือการ ประมาทเลินเล่อ หรือการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในสัญญา หรือประพฤติชั่วหรือการละทิ้งหน้าที่จนทำให้งานไม่แล้วเสร็จ ตามกำหนด จนเป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหายอย่าง ร้ายแรง ตลอดจนการละทิ้งหน้าที่ติดต่อกันเกิน 7 วัน กรณีการ กระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรงให้ส่วนราชการกำหนด
15
หมวด 5 การสิ้นสุดสัญญาจ้าง
16
มีสาระสำคัญเฉพาะในเรื่องการสิ้นสุดสัญญาจ้าง
การสิ้นสุดสัญญาจ้างที่กำหนดลักษณะของ การสิ้นสุดสัญญาจ้าง เช่น ครบกำหนดตามสัญญา เสียชีวิต ไม่ผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงาน กระทำ ผิดวินัย หรือขาดคุณสมบัติ เป็นต้น
17
หมวด 6 คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ
18
รองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย ประธาน เลขาธิการ ก.พ รองประธาน ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการ เลขาธิการประกันสังคม กรรมการ อัยการสูงสุด กรรมการ อธิบดีกรมบัญชีกลาง กรรมการ ผู้แทนกระทรวงกลาโหม กรรมการ ผู้แทนกระทรวงการคลัง กรรมการ ผู้แทนกระทรวงแรงงาน กรรมการ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น กรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานบุคคล กรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเศรษฐศาสตร์ กรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย กรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านแรงงานสัมพันธ์ กรรมการ ผู้แทนของสำนักงาน ก.พ. กรรมการและเลขานุการ ผู้แทนสำนักงบประมาณ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ผู้แทนกรมบัญชีกลาง กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
19
บทเฉพาะกาล
20
มีสาระสำคัญในการกำหนดกรณีต่าง ๆ ที่เอื้อให้
ส่วนราชการสามารถจ้างพนักงานราชการได้ทันที ในปีงบประมาณ 2547 เช่น กรณีที่ส่วนราชการ สามารถจ้างบุคคลในกลุ่มเชี่ยวชาญพิเศษได้มี งบประมาณแล้ว เป็นต้น
21
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
22
1. การกำหนดแผนงานและแนวปฏิบัติในเรื่องต่าง ๆ
ตามที่ระเบียบฯ กำหนด 2. การให้ความเห็นชอบกรอบอัตรากำลัง 3. การตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้ระเบียบฯ 4. การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้ โดยมีสำนักงาน ก.พ. เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ งานธุรการของคณะกรรมการชุดดังกล่าว
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.