ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
HUMAN RIGHTS สิทธิมนุษยชน สำนักงานพระธรรมนูญทหารบก
2
พัฒนาการของสิทธิมนุษยชน
สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้นำความหายนะมาสู่ชีวิตและทรัพย์สินของหลายประเทศทั่วโลก ชาวโลกได้ประจักษ์ถึงความรุนแรง โหดร้าย มีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และการกระทำย่ำยีศักดิ์ศรีของมนุษย์อย่างชัดเจน ดังนั้น ประเทศต่าง ๆ จึงแสวงหามาตรการ ที่เป็นมาตรการป้องกันมิให้มีการทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เกิดขึ้น จึงก่อตั้งองค์กรสหประชาชาติ โดยมีการรับรองกฎบัตรสหประชาชาติ โดยกฎบัตรมีหลายตอนที่เสดงถึงความมุ่งมั่นของสหประชาชาติ ในการ ทำหน้าที่ส่งเสริม และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
3
สิทธิมนุษยชนคืออะไร สิทธิมนุษยชน หมายถึง สิทธิขั้นพื้นฐานที่ทำให้มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความเท่าเทียมกันในแง่ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และสิทธิเพื่อดำรงชีวิตอย่าง มีศักดิ์ศรี โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างในเรื่องของ เชื้อชาติ สีผิว เพศ อายุ ภาษา ศาสนา และสถานภาพทางกายและสุขภาพ รวมทั้งความเชื่อทางการเมือง หรือความเชื่ออื่นๆ ที่ขึ้นกับพื้นฐานทางสังคม สิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งที่ไม่สามารถถ่ายทอดหรือโอนให้แก่ผู้อื่นได้
4
ขอบเขตสิทธิมนุษยชน สิทธิมนุษยชนแบ่งเป็น 5 ประเภท ได้แก่
สิทธิมนุษยชนแบ่งเป็น 5 ประเภท ได้แก่ 1. สิทธิพลเมือง คือ สิทธิในชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ และความมั่นคงในชีวิต สิทธิในกระบวนการยุติธรรม สิทธิที่จะได้รับการปกป้องจากการจับกุม หรือคุมขังโดยมิชอบ สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีในศาลอย่างยุติธรรม สิทธิในการได้รับสัญชาติ ความเชื่อต่างๆ
5
2. สิทธิทางการเมือง ได้แก่ สิทธิในการเลือกแนวทางของตนในการแสดงออกทางการเมือง ความคิดเห็น การมีส่วนร่วมกับรัฐในการดำเนินกิจการที่เป็นประโยชน์สาธารณะเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ เสรีภาพในการรวมกลุ่ม สิทธิในการเลือกตั้งอย่างเสรี
6
3. สิทธิทางเศรษฐกิจ ได้แก่ สิทธิในการเลือกทำงานอย่างอิสระ และได้รับค่าจ้างอย่างเป็นธรรม สิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน การได้รับมาตรฐานการครองชีพอย่างเพียงพอ
7
4. สิทธิทางสังคม ได้แก่ สิทธิในการได้รับการศึกษา ได้รับหลักประกันสุขภาพ ได้รับความมั่นคงทางสังคม มีเสรีภาพในการเลือกคู่ครอง และสร้างครอบครัว
8
5. สิทธิทางวัฒนธรรม ได้แก่ การมีเสรีภาพในการใช้ภาษาหรือสื่อความหมายในภาษาท้องถิ่น มีเสรีภาพในการแต่งกาย ตามวัฒนธรรม การปฏิบัติกิจตามวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นของตน
9
สรุป สิทธิมนุษยชน คือ สิ่งจำเป็นสำหรับทุกคนที่ต้องได้รับในฐานะ ที่เป็นคน เพื่อให้คนๆ นั้น มีชีวิตอยู่รอดได้
10
สิทธิมนุษยชนมี 2 ระดับ ระดับ 1
สิทธิมนุษยชนมี 2 ระดับ ระดับ 1 เป็นสิทธิที่ติดตัวทุกคนมาตั้งแต่เกิดไม่สามารถโอนต่อกันได้ ได้แก่ สิทธิในชีวิตและร่างกาย ห้ามฆ่า หรือทำร้ายชีวิต ห้ามทรมารอย่างโหดร้าย มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เหล่านี้ แม้ไม่มีกฎหมายบัญญัติรองรับแต่ทุกคนมีสำนึกรู้ได้ว่าเป็นเรื่องผิด เป็นบาปในทางศาสนา
11
ระดับ 2 เป็นสิทธิที่ต้องได้รับการรับรองในเรื่องของกฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือต้องได้รับการคุ้มครอง โดยแนวนโยบายพื้นฐานของรัฐ เพื่อเป็นหลักประกันว่าคนทุกคนที่อยู่ในรัฐนั้นจะได้รับความคุ้มครองชีวิตและความเป็นอยู่ให้มีความเหมาะสมแก่ความเป็นมนุษย์ ได้แก่ สิทธิในการได้รับสัญชาติ การมีงานทำ การได้รับการคุ้มครองแรงงาน สิทธิเด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ สตรี การได้รับการศึกษา การได้รับการบริการด้านสาธารณะสุข เป็นต้น
12
หลักการของสิทธิมนุษยชน 5 ด้าน ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
หลักการของสิทธิมนุษยชน 5 ด้าน ด้านที่ 1 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นสิทธิที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด หมายถึง คุณค่าของตนในฐานะที่เขาเป็นมนุษย์ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1.คุณค่าในฐานะการดำรงตำแหน่งทางสังคม 2.คุณค่าของมนุษย์ในฐานะที่เป็นมนุษย์ ไม่แบ่งแยก เท่าเทียมกัน
13
สิทธิมนุษยชนเป็นสากลไม่สามารถโอนถ่ายกันได้
ด้านที่ 2 สิทธิมนุษยชนเป็นสากลไม่สามารถโอนถ่ายกันได้ หมายความว่า สิทธิมนุษยชนไม่มีพรหมแดนไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนในโลก ไม่ว่าจะมีเชื้อชาติ สัญชาติ แหล่งกำเนิดใดก็ตาม ไม่ว่ายากจน หรือรวย สิทธินี้ไม่สามารถโอนหรือมอบอำนาจให้แก่กันได้ ไม่มีการครอบครองสิทธิแทนกัน แต่ได้จัดหมวดหมู่และกลุ่มเป็นสิทธิกลุ่มเฉพาะ เช่น สิทธิสตรี สิทธิเด็ก
14
แบ่งแยกไม่ได้ หรือไม่มีลำดับชั้น
ด้านที่ 3 แบ่งแยกไม่ได้ หรือไม่มีลำดับชั้น สิ่งใดที่บัญญัติให้เป็นสิทธิและเสรีภาพตามกฎหมาย บุคคลเข้าถึงสิทธินั้นโดยเสมอภาคกัน
15
ด้านที่ 4 ความเสมอภาค การปฏิบัติต่อบุคคลต้องคำนึงถึงความเสมอภาค กล่าวคือ หากบุคคลอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่เท่าเทียมกัน ด้วยเหตุจากความแตกต่าง อาทิ เผ่าพันธุ์ สีผิว เพศ ภาษา สัญชาติ เชื้อชาติ ชนชั้น เป็นต้น ก็ต้องมีการปฏิบัติต่อบุคคลให้เสมอภาคโดยเท่าเทียมกัน
16
ด้านที่ 5 ไม่เลือกปฏิบัติ ถึงแม้ว่าคนเราเกิดมาจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของฐานะ ความเป็นอยู่ การศึกษา เพศ ศาสนา หรือความบกพร่องของร่างกาย แต่ภายใต้ความคุ้มครองในบทบัญญัติทางกฎหมายเราต้องไม่อาศัยความแตกต่างเหล่านี้มาเป็นสาระสำคัญในการปฏิบัติหรือจำกัดสิทธิ หรือคัดกับบุคคลบางกลุ่ม
17
มาตรการและกลไกลการดำเนินงาน ด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
ประเทศที่เป็นสมาชิกองค์กรสหประชาชาติ มีพันธผูกพันกับกฎบัตรแห่งสหประชาชาติ และที่สำคัญเรื่องสิทธิมนุษยชนได้ถูกนำไปใช้ในทางการเมือง เศรษฐกิจระหว่างประเทศ
18
หากเรายังคงปล่อยให้พฤติกรรมการละเมิดสิทธิเหล่านี้ยังคงอยู่ วันหนึ่งเราอาจไม่มีพื้นที่ให้ลูกหลานเรา ปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพแห่งความเป็นมนุษย์ ซึ่งติดตัวมาตั้งแต่เกิดได้อีกต่อไป สิทธิมนุษยชนคือเรื่องของมนุษย์ โดยยอมรับนับถือในศักดิ์ศรีอันติดตัวมา ในสิทธิอันเท่าเทียมกัน และไม่อาจเพิกถอนได้ ของบรรดาสมาชิกทั้งปวง ในครอบครัวมนุษย์เป็นรากฐานของเสรีภาพ ความยุติธรรม และสันติสุขของโลก
19
The End HUMAN RIGHTS สิทธิมนุษยชน
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.