งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทความดีๆ จากพ่อหลวงของเรา...

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทความดีๆ จากพ่อหลวงของเรา..."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทความดีๆ จากพ่อหลวงของเรา...
จดหมายข่าว KM สำนักวิชาการ ปีที่ 2 ฉบับที่ 7 เดือนสิงหาคม 2550 สว. รวมใจ สานสายใย เรียนรู้ร่วมกัน บทความดีๆ จากพ่อหลวงของเรา... ไม่ใช่คำว่า ทำงานร่วมกัน...อยู่ร่วมกันไม่น้อยกว่าวันละ 8 ชั่วโมง...ทุกวัน... ไม่เพียงแต่พูดคุยเรื่องงาน...หากแต่ต้องมีความรู้สึกที่ดีต่อกันด้วย... แม้จะมีความสัมพันธ์ที่ตึงเครียด...สู่ปล่อยตัวให้สบาย สบาย ไม่ได้... พบกันถือว่ามีวาสนาต่อกัน...อยู่ร่วมกันก็ยิ่งควรจะ...เข้าใจกัน... ให้อภัย...และใส่ใจซึ่งกันและกัน... กับเพื่อนร่วมงาน กับหัวหน้า บางครั้งก็เอาใจเขามาใส่ใจเราบ้าง เขามักจะมาต่อว่ามากกว่ายอมรับ สิ่งที่เขาให้ทำก็มักจะเหมือนกับว่า ไม่รู้จักจบสิ้น หากลองกลับกัน ให้เราไปอยู่ในตำแหน่งที่เขายืนอยู่ เราคงจะเข้าใจเขาได้ง่ายหน่อย...และให้อภัยเขาได้ กับหัวหน้า...ไม่จำเป็นต้องเป็นคู่ปรับกัน แต่จะต้องรู้จักที่จะแบ่งปัน...เรียนรู้...และเติบโตไปด้วยกัน กับลูกน้อง เป็นเพราะรู้จักให้ ผลตอบแทนก็กลับมามาก กับลูกน้อง ไม่ใช่เป็นความสัมพันธ์เฉพาะเบื้องบนกับเบื้องล่างเท่านั้น ยังมีความสัมพันธ์ทางด้านหุ้นส่วนอยู่ด้วย รู้จักเข้าใจและให้อภัยซึ่งกันและกัน หากรู้จักยอมรับมากกว่าที่จะจับผิด ให้รอยยิ้มมากกว่าสายตาอันตำหนิติเตียน ผลตอบแทนที่ทั้งสองฝ่ายจะได้รับก็ยิ่งจะมากตามไปด้วย กับเพื่อน แค่คิดถึงกันบ้างก็ดีใจแล้ว พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ข้อมูลโดย ผู้แทนสำนักงานเลขานุการ นางลัดดา ปกป้อง

2 กิจกรรมเก็บตกจากเดือนกรกฎาคม
เกิดอะไรขึ้น วิกฤตภาษาไทย วิกฤตภาษาไทยจะเปรียบก็คือ อาการของ “โรคภาษา” ดังนี้ “โรครากลอย” คือ อาการไม่รู้ภาษาของคนไทย เช่น การใช้ภาษาฉาบฉวย เข้าใจความหมาย ไม่ตรงกันหรือใช้ศัพท์แสงจนไม่รู้เรื่อง โดยเฉพาะศัพท์ทางวิชาการทั้งเก่าใหม่ เช่น เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ กระบวนทัศน์ ฯลฯ ปัญหาคือ เราเอาศัพท์ทางภาษาของเขามา แต่หาได้เอาความหมาย ที่แท้ของเขามาด้วย “โรคมือถือ” อาการของโรคนี้ คือ “พูดมาก ฟังกันน้อย เข้าใจกันยาก” อาการข้างเคียงที่อันตราย คือ โกรธกันง่าย หน่ายกันเร็ว ขาดความยับยั้งชั่งใจ “โรคแชตมั่ว” ส่งรับในอินเทอร์เน็ต น่าห่วงตรงการผสมคำมั่วพอให้รู้กันง่ายๆ ใช้ตัวฝรั่งช่วย เช่น คำว่า พี่ ก็ใช้เป็น “P” หรือ ดี ก็ใช้ตัว “D” รวมทั้งการรวบคำเช่น “ไม่เป็นไร” เป็น “เป็นงัย” “โรคแสลง” เช่น แอ็บแบ๊ว ที่มาแรงของวิกฤตภาษาไทยวันนี้ เป็นคำใหม่ที่สร้างขึ้นเอง ของคนไทยยุคหนึ่งๆ แต่ที่น่าสนใจ คือ กระบวนการเกิดขึ้นของคำนั้นๆ รวมทั้งปฏิภาณในการคิด การใช้คำนั้นๆ ด้วย “โรคพันธ์ฝรั่ง” โรคนี้ระบาดจากเพลงไทยจากค่ายเพลงต่างๆ ที่ปรับวิธีการเปล่งคำไทยให้เป็น อย่างฝรั่ง ด้วยการเน้นเสียงระเบิดออก เช่น ชะอ๊วน(ฉัน) ระอ๊าก(รัก) เทอะเออ(เธอ) แทบทุกตัว อักษรไทยจะออกเสียงเป็นแบฝรั่งได้หมด โรคพันธ์ฝรั่งนี้น่าวิตกสุด ด้วยมันมาเปลี่ยนฐาน การออกเสียงภาษาไทยอย่างสำคัญ เพราะเป็นฐานการพูดโดยตรงของคนไทย ทุกโรคดังยกตัวอย่างมานี้เป็นดังอาการเบื้องต้น ทางแก้คงต้องให้หมอเฉพาะโรคเฉพาะทางช่วยวินิจฉัย แล้ววางยาให้ถูกขนานถึงขนาดและทันการณ์ ที่มา มติชนสุดสัปดาห์ฉบับประจำวันที่ สิงหาคม ข้อมูลโดย ผู้แทนฝ่ายประสบการณ์วิชาชีพ นางสุมิตรา วิจิตรพลเกณฑ์ กิจกรรมเก็บตกจากเดือนกรกฎาคม วันที่ 3 ก.ค.50 จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักวิชาการ ณ ห้องประชุมสารนิเทศ 2 อาคารบริการ 1 วันที่ 25 ก.ค.50 การจัดเสวนา ครั้งที่ 3 เรื่อง “การจัดทำแผนและการติดตามผลการดำเนินการประจำปี” ณ ห้องประชุม 8228 อาคารบริภัณฑ์ เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2550 คณะศึกษาดูงานวิทยาลัยชุมชนตากได้เข้าเยี่ยมชม การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ในช่วงเช้าคณะศึกษาดูงานดังกล่าว ไปศึกษาดูงานระบบงานของสำนักทะเบียนและวัดผลและระบบการจัดเก็บเอกสารของ สำนักบรรณสารสนเทศ สำหรับช่วงบ่ายได้มาดูงานเกี่ยวกับหลักสูตรของสำนักวิชาการ โดยมีวัตถุประสงค์ของการดูงานครั้งนี้ คือ การนำความรู้และประสบการณ์ไป ประยุกต์ใช้พัฒนาระบบงานวิชาการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นตามบริบทของวิทยาลัยชุมชน ผู้มาเยือน ขอเชิญชาว สว ส่งข่าวสารความรู้เผยแพร่ในจดหมายข่าว KM ได้ที่ผู้แทนสำนักงานเลขานุการ (รัตนา เที่ยงธีระธรรม) โทร 7509 จัดทำจดหมายข่าว โดย น.ส.รัตนา เที่ยงธีระธรรม


ดาวน์โหลด ppt บทความดีๆ จากพ่อหลวงของเรา...

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google