งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เขียนบทความวิจัยส่งอย่างไร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เขียนบทความวิจัยส่งอย่างไร"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เขียนบทความวิจัยส่งอย่างไร
มุมวิจัย จุลสารสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ฉบับที่ 1 ปีที่ 1 เดือนกุมภาพันธ์ 2548 เขียนบทความวิจัยส่งอย่างไร รองศาสตราจารย์ ดร.พรทิพย์ เกยุรานนท์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ผู้รับผิดชอบมุมวิจัย

2 เขียนบทความวิจัยส่งอย่างไร
จุลสารฉบับนี้ เป็นฉบับแรกทางเว็บไซต์ของสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ดิฉันขอเชิญชวนผู้สนใจส่งบทความวิจัยทางด้านสาธารณสุข บริหารสาธารณสุข บริหารโรงพยาบาล อาชีวอนามัยและความปลอดภัย สิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม และแพทย์แผนไทย มาลงในมุมวิจัยนี้ เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยของท่านสู่นักศึกษาและบัณฑิตของสาขาวิชาฯ บุคลากรสาธารณสุข และสาธารณชนที่สนใจงานวิจัยในด้านดังกล่าว ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่องานสาธารณสุขของประเทศในด้านต่างๆ มุมนี้ยินดีต้อนรับนักวิจัยทุกท่านค่ะ

3 การส่งบทความวิจัยนั้น ขอให้ท่านเขียนบทความที่มีความยาวไม่เกิน
2 หน้ากระดาษขนาด 4A โดยนำเสนอสิ่งที่เป็นสาระสำคัญเท่านั้นค่ะ เนื่องจากความจำกัดในเนื้อที่ ซึ่งหัวข้อของบทความที่นำเสนอ มีดังนี้ ชื่อเรื่อง (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) ชื่อผู้วิจัย (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) คุณวุฒิ ตำแหน่ง สถานที่ทำงานของผู้วิจัย บทคัดย่อภาษาไทย ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ของการวิจัย สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี)

4 วิธีดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล และ การวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัย 10. สรุปผลการวิจัย การอภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 11. เอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรม โดยยึดการเขียนเอกสารอ้างอิงตามรูปแบบของ APA

5 โดยท่านสามารถส่งบทความวิจัยมาได้ที่
รองศาสตราจารย์ ดร.พรทิพย์ เกยุรานนท์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120 หรือ ทาง yahoo.com

6 ดิฉันมีบทความวิจัยสั้นๆ มานำเสนอกับท่านพอเรียกน้ำย่อยเล็กน้อยค่ะ
ดิฉันได้อ่านบทความวิจัยในหนังสือพิมพ์คมชัดลึก ฉบับวันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2548 หน้า 11 คอลัมภ์ “อยากหุ่นดีต้องหมั่นแปรงฟัน” แล้วสนใจ เพราะเกิดความสงสัยตามประสานักวิจัยว่า จะเกี่ยวกันอย่างไร? หุ่นจะดีได้อย่างไร? บทความวิจัยกล่าวถึงว่า

7 ดร.ทากาชิ วาดะ และทีมนักวิจัยของมหาวิทยาลัยจิเคอิ กรุงโตเกียว
ประเทศญี่ปุ่น ได้ทำการสำรวจกิจวัตรประจำวันของชาวญี่ปุ่นวัยกลางคน จนถึงอายุ 40 ปี พบว่า คนวัยกลางคนที่หมั่นดูแลรูปร่างให้เพรียวบาง มีแนวโน้มที่จะแปรงฟันหลังอาหารทุกมื้อ ส่วนคนอ้วนนั้น ในบางครั้ง ออกจากบ้านโดยไม่ได้แปรงฟันเลย และเมื่อเปรียบเทียบวิถีชีวิตของคน ที่มีรูปร่างผอมบางกับคนที่มีรูปร่างอ้วน ในด้านนิสัยการรับประทาน การดื่ม การนอน การทำงาน และการออกกำลังกาย พบว่า คนที่หมั่นแปรงฟันมีแนวโน้มที่จะดูแลสุขภาพตนเองและต้องการ รักษาฟันให้ดูดี ป้องกันกลิ่นปาก ดังนั้น คนที่มีนิสัยชอบแปรงฟัน จึงมีพฤติกรรมที่จะห่วงใยสุขภาพ ซึ่งช่วยป้องกันโรคอ้วนไปในตัว ฉะนั้น อย่าลืมดูแลสุขภาพของคุณและส่งบทความมานะค่ะ

8 ขอบคุณที่สนใจมุมนี้ค่ะ


ดาวน์โหลด ppt เขียนบทความวิจัยส่งอย่างไร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google