งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

หน่วยเรียนที่ 2 กฏหมายที่เกี่ยวข้อง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "หน่วยเรียนที่ 2 กฏหมายที่เกี่ยวข้อง"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หน่วยเรียนที่ 2 กฏหมายที่เกี่ยวข้อง
แนวคิด งานทางด้านวิศวกรรมโยธา เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของผู้คนจำนวนมาก วิศวกรควรมีความรู้ดี ในข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อผู้อื่น วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานทางด้านกฎหมายที่เกี่ยวกับงานทางวิศวกรรมโยธา

2 กฎหมายไทย ประเทศไทย มีกฎหมายแบบลายลักษณ์อักษร ซึ่งประกอบด้วย กฎหมายหลายระดับด้วยกัน เช่น รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ข้อบัญญัติจังหวัด เทศบัญญัติ ข้อบังคับตำบล ข้อบัญญัติ กทม ประกาศคณะปฏิวัติ ฯลฯ หลักการสำคัญอย่างหนึ่งของกฎหมายคือ ศักดิ์ของกฎหมาย นั่นคือเนื่องจากกฎหมายในประเทศไทยมีจำนวนมาก เกี่ยวพันกับผู้คนในหลากหลายสาขาอาชีพ จึงมีโอกาสสูงที่กฎหมายสองฉบับอาจมีเนื้อความขัดกันเอง ในกรณีนี้ ให้ถือตามกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่า ในหัวข้อนี้จะอธิบายศักดิ์ของกฎหมายต่างๆ ให้ทราบพอสังเขป ดังนี้

3 ลำดับศักดิ์ของกฎหมายในระบบกฎหมายไทย แบ่งอย่างละเอียดเป็น 7 ชั้น ได้แก่
1. รัฐธรรมนูญ 2. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ 3. พระราชบัญญัติ / ประมวลกฏหมาย 4. พระราชกำหนด 5. พระราชกฤษฎีกา 6. กฎกระทรวง 7. กฎหมายที่ตราโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

4 รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีศักดิ์สูงสุด ถือเป็นกฎหมายแม่บท ใช้เป็นหลักในการปกครอบประเทศ กฎหมายอื่นๆจะขัดแย้ง กับรัฐธรรมนูญไม่ได้ กฎหมายฉบับนี้จะได้กล่าวถึงลักษณะ หลักการ การใช้อำนาจของรัฐ ในการบริหารและปกครองประเทศในภาพรวมเท่านั้น ส่วนรายละเอียด รัฐธรรมนูญจะส่งต่อให้ไปออกเป็น พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด หรือพระราชกฤษฎีกาอีกทอดหนึ่ง แล้วแต่กรณี แล้วแต่ความสำคัญและความจำเป็นของเรื่อง พิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย 10 ธันวาคม 2475

5 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
เป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่ตราขึ้นในรูปแบบพระราชบัญญัติ ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติให้มีขึ้นอีกรูปแบบหนึ่งในระบบบทกฎหมายไทย เพื่อกำหนดรายละเอียดซึ่งเป็นกฎเกณฑ์สำคัญเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญฯ บางมาตราที่บัญญัติหลักการไว้อย่างกว้าง ๆ ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ให้มีความกระจ่างแจ้ง ชัดเจนและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องบัญญัติไว้ในตัวบทแห่งรัฐธรรมนูญให้มีความยาวมากเกินไป และเพื่อที่จะได้สะดวกแก่การแก้ไขเพิ่มเติม โดยไม่ต้องดำเนินการตามวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ทำได้ยากกว่าการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ

6 พระราชบัญญัติ เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ โดยใช้กระบวนการทางรัฐสภา กฎหมายส่วนใหญ่จะถูกออกใช้ด้วยวิธีการนี้ พระราชบัญญัติเป็นกฎหมาย ที่กล่าวถึงเรื่องราวที่จำเพาะจะจงและแคบลงมา โดยรับหลักการมาจากกฎหมายรัฐธรรมนูญ อีกทอดหนึ่ง กฎหมายประเภทนี้จะได้กล่าวถึงหลักการของแต่ละเรื่องโดยละเอียด แต่จะไม่กล่าวถึงรายละเอียดปลีกย่อย พระราชบัญญัติเกือบทุกฉบับ ได้แต่งตั้งเจ้าพนักงานเพื่อให้เป็นผู้ดำเนินการ ตามที่กำหนดใว้ในกฎหมายแต่ละฉบับ และได้ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานดังกล่าว ให้มีหน้าที่ในการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามเจตนารมย์ของพระราชบัญญัติฉบับนั้นๆ ดังนั้นคำสั่งที่เจ้าพนักงานตามกฎหมาย หากได้สั่งโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัตินั้นแล้ว คำสั่งนั้นจึงถือเป็นกฎหมาย

7 ประมวลกฎหมาย เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ มีศักดิ์และกระบวนการจัดทำ เช่นเดียวกับพระราชบัญญัติ แต่จะเป็นกฎหมายที่มีลักษณะพิเศษ คือ เป็นกฎหมายที่ ได้รวบรวมเอากฎหมายที่เป็นเรื่องเดียวกัน มาไว้ในกฎหมายฉบับเดียวกัน และนำมาจัดหมดหมู่ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ง่ายต่อการนำไปใช้ เช่น ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายที่ดิน เป็นต้น

8 พระราชกำหนด เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหาร การออกพระราชกำหนดจะต้องเป็นกรณี เพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยของสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ หรือแก้ไขภัยพิบัติสาธารณะ ซึ่งต้องเป็นกรณีฉุกเฉิน ที่มีความเร่งด่วน อันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ หรือ มีความจำเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตรา ซึ่งเป็นการด่วนและลับ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดิน เท่านั้น โดยมีข้อแม้ว่า เมื่อพระราชกำหนดมีผลใช้บังคับแล้ว คณะรัฐมนตรีต้องนำพระราชกำหนดฉบับนั้นๆ เสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาโดยมิชักช้า หากรัฐสภาไม่อนุมัติ พระราชบัญญัติฉบับนั้นต้องตกไป (ถูกยกเลิกไป) แต่ไม่กระทบถึงกิจการที่ได้ทำไปก่อนถูกยกเลิก หากรัฐสภาอนุมัติ ก็ให้พระราชกำหนดฉบับนั้นมีผลใช้บังคับเป็น "พระราชบัญญัติ" ต่อไป

9 พระราชกฤษฎีกา เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหาร โดยไม่ต้องผ่านการพิจารณาของรัฐสภา เนื่องจากเป็นกฎหมายที่ รัฐธรรมนูญ หรือ พระราชบัญญัติ หรือ พระราชกำหนด ได้เปิดช่องทางและมอบให้ฝ่ายบริหารสามารถออกกฎหมายที่กำหนดรายละเอียดปลีกย่อยเอาเอง เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด แล้วแต่กรณี เหตุที่ต้องให้อำนาจฝ่ายบริหารเป็นผู้มีอำนาจออกกฎหมายได้นั้น ก็เนื่องจากการออก รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนดนั้น ในเนื้อหารายจะกล่าวถึงกรอบใหญ่ๆอันเป็นหลักการเท่านั้น แต่รายละเอียดในทางปฏิบัติ จะให้อำนาจฝ่ายบริหารไปกำหนดรายละเอียดเอาเอง ทั้งนี้เพื่อให้กฎหมายหลัก เช่น พระราชบัญญัติ เป็นกฎหมายที่เหมาะสมและใช้ได้ตลอดไป และสามารถแก้ไขให้ทันต่อเหตุการณ์ได้ง่าย เนื่องจากการแก้ไขพระราชกฤษฎีกา ไม่จำต้องผ่านกระบวนการทางรัฐสภานั่นเอง (แต่ต้องทูลเกล้าฯถวายให้ทรงลงพระปรมาภิไธย)

10 กฎกระทรวง เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหาร การออกฎกระทรวงนี้เหตุผลและที่มา เช่นเดียวกับการออกพระราชกฤษฎีกาทุกประการ แล้วเมื่อใดต้องออกเป็นพระราชกฤษฎีกา หรือออกเป็นพระราชกำหนด อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับความสำคัญของเรื่องนั้นๆ กล่าวคือ ถ้าเป็นเรื่องที่สำคัญก็จะออกเป็นพระราชกฤษีกา หากเป็นเรื่องไม่สำคัญก็จะออกเป็นเพียง กฎกระทรวงเท่านั้น (ประกาศโดยรัฐมนตรีว่าการฯ)

11 กฎหมายที่ตราโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เช่น ข้อบัญญัติจังหวัด, เทศบัญญัติ, ข้อบังคับตำบล, ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร, ข้อบัญญัติเมืองพัทยา เป็นกฎหมายที่ออกโดยองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ซึ่งได้อำนาจ ในการออกกฎหมายมาจากพระราชบัญญัติบางฉบับแล้วแต่กรณี ทั้งนี้เพื่อใช้บังคับ เฉพาะในเขตปกครองของตนเท่านั้น

12 ประกาศคณะปฏิวัติ ถือเป็นกฎหมายชนิดพิเศษ เนื่องจากถือกำเนิดขึ้นด้วยวิธีการพิเศษ โดยทั่วไปแล้วอำนาจในการปกครองประเทศสูงสุดคือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ เมื่อคณะปฏิวัติทำการปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองทั้งหมด มาเป็นของคณะปฏิวัติแล้ว จึงถือว่าคณะปฏิวัติเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองสูงสุดในขณะนั้น ดังนั้นประกาศของคณะปฏิวัติในขณะนั้น จึงถือเป็นประกาศของคณะผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ อันถือเป็นกฎหมายนั่นเอง พิจารณาจากเนื้อหาของประกาศแต่ละฉบับว่า เทียบเท่ากฎหมายชั้นใด หากเป็นประกาศที่ออกมาเพื่อล้มล้างรัฐธรรมนูญ ก็ถือว่าประกาศคณะปฏิวัติฉบับนั้น มีศักดิ์เทียบเท่ากับรัฐธรรมนูญเลยทีเดียว / แต่ประกาศคณะปฏิวัติบางฉบับ ที่เป็นเพียงแถลงการณ์ ไม่มีสภาพบังคับ จึงถือว่าไม่มีสภาพเป็นกฎหมายแต่อย่างใด

13 ตัวอย่าง การจัดทำพระราชบัญญัติ
1. ผู้มีสิทธิเสนอ คณะรัฐมนตรีหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เท่านั้น 2. ขั้นตอน มี 3 วาระ วาระรับหลักการ วาระแปรญัตติ (ก. พิจารณาโดยคณะกรรมการที่สภาตั้งขั้น / ข.พิจารณาโดยที่ประชุมสภา ) วาระลงมติ ผู้พิจารณาได้แก่ สภาผู้แทนราษฏรและวุฒิสภา ก. สภาผู้แทนราษฏร เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ข. วุฒิสภา เห็นด้วย / ไม่เห็นด้วย / เห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมโดยให้สภาทั้งสองตั้ง คณะกรรมาธิการเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม แล้วเสนอใหม่

14 หลังจากมีมติเห็นชอบแล้ว ให้นายกรัฐมนตรี นำขึ้นทูลเกล้า ถวายพระมหากษัตริย์เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ต่อไป 1. ทรงเห็นชอบด้วย 2. ไม่ทรงเห็นชอบด้วย และพระราชทาน พรบ นั้นคืนมา 3. ไม่ได้พระราชทานร่าง พรบ. ภายใน 90 วัน กรณี 2 และ 3 ให้รัฐสภาลงมติใหม่ หากได้คะแนน 2 ใน 3 ให้นำขึ้นทูลเกล้าใหม่ หากไม่พระราชทานคืนมาภายใน 30 วันให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้เป็นกฎหมายบังคับใช้ต่อไป

15 ตัวอย่าง การจัดทำเทศบัญญัติ
กรณีปกติ 1. ผู้มีสิทธิเสนอ คณะเทศมนตรีหรือสมาชิกสภาเทศบาล เท่านั้น 2. การพิจารณาเทศบัญญัติ เมื่อสภาเทศบาลได้พิจารณาร่างแล้วเสร็จ (ภายใน 15 วัน) เทศบาลตำบล ให้ประธานสภาส่งไปยังนายอำเภอ แล้วส่งต่อไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด - เทศบาลเมือง/นคร ให้ประธานสภาส่งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด ก. เห็นชอบ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดลงชื่ออนุมัติภายใน 30 วัน ข. ไม่เห็นชอบ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดส่งคืนสภาฯ แล้วพิจารณาใหม่ภายใน 30 วัน หากสภาฯ ยืนยันร่างเดิม ให้ส่งให้ ผู้ว่าฯ เพื่อส่งต่อให้ รัฐมนตรีมหาดไทยภายใน 30 วัน หากรัฐมนตรีฯ เห็นชอบให้คืนมาที่ผู้ว่า ลงชื่อ ประกาศใช้ หากรัฐมนตรีฯ ไม่เห็นชอบให้ ร่างนั้นระงับไป กรณีฉุกเฉิน ประชุมสภาไม่ทัน / โดยได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัด / ประกาศใช้ / เสนอต่อที่ประชุมสภาในคราวต่อไป ประกาศโดยเปิดเผย ที่สำนักงานเทศบาล 7 วัน เว้นแต่กรณีฉุกเฉิน

16 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรโดยตรงในปัจจุบันคือ พระราชบัญญัติวิศวกร พ
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรโดยตรงในปัจจุบันคือ พระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542 ซึ่งสมาชิกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ช่วยกันผลักดันให้เกิดขึ้นอย่างยากลำบากกับกระบวนการนิติบัญญัติของประเทศ ที่ขึ้นกับรัฐบาลในแต่ละสมัยว่ามีนโยบายสนับสนุน ร่าง พรบ. ฉบับนี้หรือไม่ โดยใช้เวลาถึง 6 ปี (ตั้งแต่ พ.ศ. 2536) จึงสามารถประกาศใช้ได้สำเร็จ ผู้ที่สนใจสามารถอ่านประวัติของการตราพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ ได้ที่เวปไซด์ของ วสท. (

17 พรบ.วิศวกร 2542 ฉบับนี้แบ่งเป็น 8 หมวดกับ 1 บทเฉพาะกาล รวมทั้งสิ้น 80 มาตรา ซึ่งพอจะสรุปให้เห็นภาพรวมได้ดังนี้ มาตรา 1 พรบ. นี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติวิศวกร พศ. 2542” มาตรา 2 พรบ.นี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา มาตรา 3 ให้ยกเลิก พรบ.วิชาชีพวิศวกรรมฉบับก่อนหน้าทั้ง 3 ฉบับ มาตรา 4 อธิบายความหมายของ วิศวกรรมควบคุม ใบอนุญาต สมาชิก ฯลฯ มาตรา 5 ระบุอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีมหาดไทยซึ่งเป็นผู้รักษาการตาม พรบ. นี้ หมวดที่ 1 สภาวิศวกร (มาตรา 6 – 10) หมวดที่ 2 สมาชิก (มาตรา 11 – 23) หมวดที่ 3 คณะกรรมการ (มาตรา 24 – 34) หมวดที่ 4 การดำเนินการของคณะกรรมการ (มาตรา 35 – 42) หมวดที่ 5 ข้อบังคับสภาวิศวกร (มาตรา 43 – 44) หมวดที่ 6 การควบคุมการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม (มาตรา 45 – 65) หมวดที่ 7 การกำกับดูแล (มาตรา 66 – 70) หมวดที่ 8 บทกำหนดโทษ (มาตรา 71 – 74) บทเฉพาะกาล (มาตรา 75 – 80)

18 หมวดที่ 1 สภาวิศวกร (มาตรา 6 – 10)
มาตรา 6 ให้มีสภาวิศวกรซึ่งเป็นนิติบุคคล มาตรา 7 แสดงวัตถุประสงค์ของสภาวิศวกร มาตรา 8 แสดงอำนาจหน้าที่ของสภาวิศวกร มาตรา 9 แสดงรายได้ที่พึงได้ของสภาวิศวกร มาตรา 10 กำหนดให้ รมต.มหาดไทย ดำรงตำแหน่งเป็น สภานายกพิเศษ

19 หมวดที่ 2 สมาชิก (มาตรา 11 – 23)
มาตรา 11 สมาชิกมี 3 ประเภท สมาชิกสามัญ สมาชิกวิสามัญ และสมาชิกกิติมศักดิ์ มาตรา 12 แสดงคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของสมาชิก มาตรา 13 แสดงสิทธิและหน้าที่ของสมาชิก มาตรา 14 แสดงเงื่อนไขการสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิก มาตรา 15 กำหนดให้ มีการประชุมใหญ่สามัญ ปีละ 1 ครั้ง มาตรา 16 ให้คณะกรรมการทำหน้าที่จัดการประชุม มาตรา 17 กำหนดจำนวนสมาชิกขั้นต่ำที่เข้าร่วมประชุม (200 คน) มาตรา 18 กำหนดผู้ที่จะเป็นประธานการประชุม (นายกสภาวิศวกร) มาตรา 19 กิจอันพึงกระทำในการประชุม (เช่น พิจารณาและอนุมัติงบดุล เป็นต้น) มาตรา กำหนดให้มีการแต่งตั้งผู้ตรวจ ทำหน้าที่ตรวจสอบการดำเนินงานของคณะกรรมการ ทั้งนี้ผู้ตรวจสอบมีอำนาจในการเข้าตรวจ โดย กรรมการ อนุกรรมการ ฯลฯ ต้องให้ร่วมมือเมื่อผู้ตรวจร้องขอ เพื่อเสนอต่อที่ประชุมใหญ่พิจารณาต่อไป

20 หมวดที่ 3 คณะกรรมการ (มาตรา 24 – 34)
มาตรา 24 ให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการ สัดส่วนดังนี้ คณะกรรมการที่ไม่ใช่อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา 10 คน คณะกรรมการที่ไม่ใช่อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา 5 คน คณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งโดยการเสนอชื่อของรัฐมนตรี 5 คน มาตรา กำหนดให้คณะกรรมการเลือก นายกสภาวิศวกร อุปนายกคนที่ 1 และ 2 จากนั้นให้นายกสภาฯ แต่งตั้ง เลขาธิการ และเหรัญญิก ตามลำดับ มาตรา กำหนดคุณสมบัติของกรรมการ และวาระการดำรงตำแหน่ง (3 ปี และห้ามเป็นต่อเนื่อง 2 ครั้ง) รวมทั้งเงื่อนไขการพ้นจากตำแหน่ง และวิธีการเลือกตั้งใหม่หากกรรมการบางท่านพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ มาตรา กำหนดอำนาจหน้าที่ของ กรรมการ นายกสภาวิศวกร อุปนายกคนที่ 1 และ 2 เลขาธิการ และ เหรัญญิก

21 หมวดที่ 4 การดำเนินการของคณะกรรมการ (มาตรา 35 – 42)
มาตรา กำหนดการนับองค์ประชุมของคณะกรรมการ วิธีการออกเสียงเพื่อให้ได้มติของที่ประชุม ทั้งนี้สภานายกพิเศษ จะเข้าร่วมประชุมหรือไม่ก็ได้ มาตรา 37 กำหนดให้คณะกรรมการจัดทำแผนการดำเนินงาน งบประมาณประจำปี คำชี้แจงเกี่ยวกับนโยบาย งบดุลและบัญชีรายได้ เพื่อเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ภายใน 120 วันหลังวันสิ้นปีปฏิทิน มาตรา 38 คณะกรรมการจะแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติงานอย่างหนึ่งอย่างใดแทนได้ โดยใช้ระเบียบการประชุมเดียวกับคณะกรรมการ มาตรา ให้มีสำนักงานสภาวิศวกรทำหน้าที่ธุรการ ให้นายกสภาฯ แต่งตั้ง หัวหน้าสำนักงานสภา ตามมติของคณะกรรมการ ทั้งนี้ต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนด มาตรา กำหนด วาระการดำรงตำแหน่ง และอำนาจหน้าที่ของหัวหน้าสำนักงานสภาวิศวกร ทั้งนี้ ค่าจ้างและเงื่อนไขอื่นในการทำงานให้เป็นไปตามสัญญาจ้างที่สภาวิศวกรกำหนด

22 หมวดที่ 5 ข้อบังคับสภาวิศวกร (มาตรา 43 – 44)
มาตรา 43 ร่างข้อบังคับสภาวิศวกร ให้เสนอต่อที่ประชุมใหญ่สามัญ โดยต้องมีสมาชิกสามัญไม่น้อยกว่า 100 คนรับรองจึงจะเสนอได้ และห้ามเป็นวาระจร มาตรา 44 เมื่อที่ประชุมใหญ่ให้ความเห็นชอบร่างข้อบังคับนั้นแล้ว ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า กึ่งหนึ่ง ของผู้เข้าประชุม ให้นายกสภา เสนอร่างนั้นต่อ สภานายกพิเศษ เพื่อให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้สภานายกพิเศษอาจยับยั้งร่างดังกล่าวได้แต่ต้องแสดงเหตุผลโดยแจ้งชัดและหากไม่ยับยั้งร่างดังกล่าวภายใน 30 วันให้ถือว่าสภานายกพิเศษให้ความเห็นชอบร่างข้อบังคับนั้นแล้ว หากสภานายกพิเศษยับยั้งร่างข้อบังคับใด ให้กรรมการจัดประชุมอีกครั้งหนึ่งภายใน 30 วัน ถ้าในการประชุมครั้งหลังมีเสียงยืนยันมติไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ให้ถือว่า ร่างข้อบังคับนั้นได้รับความเห็นชอบจากสภานายกพิเศษแล้ว

23 หมวดที่ 6 การควบคุมการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม (มาตรา 45 – 65)
มาตรา ห้ามประกอบวิชาชีพวิศวกรรมหากไม่มีใบอนุญาต และกำหนดระดับของวิศวกร 4 ระดับ ได้แก่ วุฒิวิศวกร สามัญวิศวกร ภาคีวิศวกร และภาคีวิศวกรพิเศษ ทั้งนี้การออก ต่ออายุ พักใช้ หรือเพิกถอนใบอนุญาต รวมทั้งคุณสมบัติของผู้ขอใบอนุญาต ให้เป็นไปตามข้อบังคับสภาวิศวกร มาตรา วิศวกรจะต้องประพฤติตามจรรยาบรรณ ผู้เสียหายหรือบุคคลอื่นสามารถแจ้งต่อสภาวิศวกรได้ภายใน 1 ปีหลังจากรู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำผิด มาตรา ให้มีคณะกรรมการจรรยาบรรณ กำหนดคุณสมบัติ วาระการดำรงตำแหน่งและหน้าที่(วินิจฉัยกรณีวิศวกรถูกกล่าวหาประพฤติผิดจรรยาบรรณ) มาตรา คณะกรรมการจรรยาบรรณจะแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติหน้าที่แทนได้ และมีสิทธิเรียกวิศวกรผู้ถูกกล่าวหามาสอบสวนได้ (โดยต้องแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน) มาตรา คณะกรรมการจรรยาบรรณมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดดังนี้ ยกข้อกล่าวหา/ตักเตือน/ภาคทัณฑ์/พักใช้ใบอนุญาต/เพิกถอนใบอนุญาต ผู้ถูกวินิจฉัยมีสิทธิอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วันนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัย

24 หมวดที่ 7 การกำกับดูแล (มาตรา 66 – 70)
มาตรา ให้รัฐมนตรีมีอำนาจในการ กำกับดูแล การดำเนินงานของสภาวิศวกร แต่งตั้งพนักงานสอบสวน ฯลฯ และหากพบว่า คณะกรรมการ นายกสภาวิศวกร หรือ กรรมการคนหนึ่งคนใดกระทำผิดวัตถุประสงค์ของ สภาวิศวกร หรือกระทำให้เสื่อมเสียอย่างร้ายแรงต่อสภาวิศวกร ให้รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง (คำสั่งรัฐมนตรีถือเป็นที่สุด) และรัฐมนตรีมีอำนาจแต่งสมาชิกสามัญท่านอื่นเพื่อดำรงตำแหน่งชั่วคราว จนกว่าจะมีการเลือกตั้งคณะกรรมการสภาวิศวกรใหม่

25 หมวดที่ 8 บทกำหนดโทษ (มาตรา 71 – 74)
มาตรา 71 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 45 หรือ 63 (ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมโดยไม่มีหรือขณะถูกสั่งพักใบอนุญาต) ต้องระวางโทษ จำคุก 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 72 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 47 (แสดงตนว่าเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเกินกว่าที่กำหนดในข้อบังคับสภา) ต้องระวางโทษ จำคุก 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 73 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการจรรยาบรรณ หรือคณะอนุกรรมการ ตามมาตรา 49 หรือ มาตรา 67 (เรียกมาสอบสวน) ต้องระวางโทษ จำคุก 1 เดือน ปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 74 กรณีผู้กระทำผิดเป็นนิติบุคคล ให้ผู้แทนนิติบุคคลนั้นมีความผิดในฐานนะผู้ร่วม ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุนให้กระทำความผิด ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ และให้ปรับนิติบุคคลไม่เกิน 10 เท่าของอัตราโทษปรับนั้น

26 บทเฉพาะกาล (มาตรา 75 – 80) มาตรา 75 ให้คณะกรรมการ กว. และกองงาน กว.เดิม ทำหน้าที่สภาวิศวกรไปพลางก่อนจนกว่าจะมีการเลือกตั้งคณะกรรมการสภาวิศวกรแล้วเสร็จ (ภายใน 180 วันนับจากวันที่ พรบ.นี้ประกาศใช้) มาตรา 76 ให้ผู้มีใบประกอบวิชาชีพเดิมเป็นสมาชิกสามัญ และถือว่าปริญญาที่ได้รับรอง กว. ก่อนหน้านี้ผ่านการรับรองโดยสภาวิศวกร ด้วย มาตรา 77 ให้ถือว่าผู้ได้รับใบอนุญาต วุฒิวิศวกร สามัญวิศวกร และภาคีวิศวกร เดิมได้รับใบอนุญาตใน พรบ. วิศวกร 2542 นี้ด้วย มาตรา 78 คำขอรับใบอนุญาตที่ยื่นก่อน พรบ.นี้ประกาศใช้ ให้ดำเนินการต่อไปจนแล้วเสร็จ มาตรา 79 ในขณะที่ยังไม่ได้ออก กฎกระทรวง ข้อบังคับ ระเบียบหรือประกาศ ตาม พรบ. นี้ให้ใช้ กฎกระทรวง ข้อบังคับ ประกาศ ใน พรบ.วิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ มาใช้โดยอนุโลม มาตรา 80 ให้ถือว่าการทำผิด มารยาทแห่งวิชาชีพ ใน พรบ.วิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ ก่อนการประกาศใช้ เป็นการผิดจรรยาบรรณใน พรบ.นี้ และให้ดำเนินการต่อไปตาม พรบ.นี้

27 พระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542
การบ้าน จงสรุปขั้นตอนการดำเนินคดีจรรยาบรรณและขั้นตอนการอุธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการจรรยาบรรณ (ให้สรุปผู้ที่เกี่ยวข้องและกรอบเวลาต่างๆ ด้วย)

28 บรรณานุกรม ดร.เธนศ วีระศิริ, เอกสารประกอบการบรรยายเรื่อง “กรณีศึกษา…จรรยาบรรณวิศวกร”, สภาวิศวกร 25xx ดร.สุขุม สุขพันธ์โพธาราม (อุปนายก วสท.), บทความ วสท. ผู้ก่อกำเนิด สภาวิศวกร, พระราชบัญญัติ วิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. 2505 พระราชบัญญัติ วิชาชีพวิศวกรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2512 พระราชบัญญัติ วิชาชีพวิศวกรรม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2520 พระราชบัญญัติ วิศวกร พ.ศ. 2542 กฎกระทรวง ฉบับที่ 1-8 ออกตามความใน พรบ.วิชาชีพวิศวกรรม พศ. 2505


ดาวน์โหลด ppt หน่วยเรียนที่ 2 กฏหมายที่เกี่ยวข้อง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google