งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ER 3409 การวิจัยเพื่อการพัฒนาการเรียนการสอน 3(3-0)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ER 3409 การวิจัยเพื่อการพัฒนาการเรียนการสอน 3(3-0)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ER 3409 การวิจัยเพื่อการพัฒนาการเรียนการสอน 3(3-0)
ผู้สอน อ.ไพรศิลป์ ปินทะนา สาขาวิชาการประเมินและการวิจัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

2 การติดต่อผู้สอน อ.ไพรศิลป์ ปินทะนา
การติดต่อผู้สอน อ.ไพรศิลป์ ปินทะนา ห้องพักอาจารย์ อาคาร 29 สาขาวิชาการประเมินและการวิจัย & MSN & facebook : HomePage : โทรศัพท์ (กรุณาใช้เบอร์โทรที่ให้ไว้กับผู้สอนโทรถึงผู้สอน)

3 คำอธิบายรายวิชา ER การวิจัยเพื่อการพัฒนาการเรียนการสอน 3(3-0) Research for Teaching and Learning Development ความหมายและลักษณะของการวิจัย วิวัฒนาการของการแสวงหาความรู้ ประโยชน์ความสำคัญ และประเภทของการวิจัย ขั้นตอนการวิจัย จรรยาบรรณของนักวิจัย ฝึกปฏิบัติ การวางแผนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน โดยมุ่งเน้นให้สามารถทำวิจัยในชั้นเรียน การเขียนรายงานการวิจัย การนำเสนอผลการวิจัย การประเมินผลงานวิจัยและการนำผลการวิจัยไปใช้พัฒนาการเรียนการสอน

4 แนวการสอน เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานการวิจัยทางการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการวิจัย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถวางแผนการวิจัยและฝึกปฏิบัติการวิจัยทางการศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถแสดงความคิดเห็น เพื่อวิจารณ์ผลงานวิจัยอย่างสร้างสรรค์ เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาแนวทางการใช้ผลงานวิจัยเพื่อประโยชน์ต่อการศึกษา

5 บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย
ความหมายของการวิจัย จุดมุ่งหมายของการวิจัย ประโยชน์ของการวิจัย พัฒนาการของวิธีแสวงหาความรู้ คุณสมบัติของนักวิจัย จรรยาบรรณของนักวิจัย ประเภทของการวิจัย ขั้นตอนของการวิจัย

6 ความหมายตามพจนานุกรมของคำว่า “วิจัย” หรือ “การวิจัย”หมายถึง การสะสม การรวบรวม การค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา ( พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2525, 2531 : 754 ) พจนานุกรมภาษาอังกฤษ (WebSter 1977 : ) : การศึกษาค้นคว้าอย่างถี่ถ้วนรอบคอบ อย่างมีระบบ และอย่างเพียรพยายามในแขนงวิชาความรู้แขนงใดแขนงหนึ่ง เพื่อค้นพบและสร้างสรรค์ความจริงหรือหลักการต่าง ๆ

7 พจน์ สะเพียรชัย ( 2528 : 17 ) กล่าวว่าการวิจัยเป็นการเสาะแสวงหาความรู้ความจริงเพื่อเสริมสร้างกฏเกณฑ์และทฤษฎี เพื่อประโยชน์ในการอธิบาย ทำนาย และควบคุมปรากฏการณ์ ประคองกรรณสูตร ( 2528 : 1 ) อธิบายว่าการวิจัยเป็นขบวนการศึกษาค้นคว้าหาความรู้และข้อเท็จจริง โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการวิเคราะห์ปัญหาอย่างมีระบบยึคหลักการสรุปที่ใช้ข้อเท็จจริงและตรรกวิทยาเป็นแนวทางแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความคิดที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้คำตอบที่ถูกต้องมากที่สุด นิภา ศรีไพโรจน์ (2531: 3 ) ให้ความหมายการวิจัยว่าเป็นกระบวนการแสวงหาความรู้อย่างมีระบบและมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอน ภายในขอบเขตที่กำหนดไว้ โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ความจริงในสิงที่วิจัยนั้น

8 บุญชม ศรีสะอาด ( 2532 : 1 ) ให้ความหมายไว้ว่าการวิจัยคือกระบวนการค้นคว้าหาความรู้ที่เชี่อถือได้ โดยมีลักษณะดังนี้ เป็นกระบวนการที่มีระบบแบบแผน มีจุดมุ่งหมายที่แน่นอนชัดเจน ดำเนินการศึกษาค้นคว้าอย่างรอบคอบ ไม่ลำเอียง มีหลักเหตุผล บันทึกและรายงานออกมาอย่างระมัดระวัง บุญเรียง ขจรศิลป์ ( 2533 : 5 ) ก็กล่าวในทำนองเดียวกันว่า ถ้าแปลตามตำราแล้วการวิจัยหมายถึงการค้นหาซ้ำแล้วซ้ำอีก แต่ความหมายทางวิชาการ การวิจัยหมายถึงกระบวนการเสาะแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ หรือกระบวนการเสาะแสวงหาความรู้เพื่อตอบปัญหาที่มีอยู่ อย่างมีระบบและมีวัตถุประสงค์ที่แน่นอน โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ พวงรัตน์ ทวีรัตน์ ( 2531:12 ) ให้นิยามของการวิจัยว่าเป็นการค้นคว้าหาความรู้ความจริงที่เชื่อถือไค้ โดยวิธีการที่มีระบบแบบแผนที่เชื่อถือได้ เพื่อนำความรู้ที่ไดันั้นไปสร้างกฎเกณฑ์ทฤษฎีต่างๆ เพื่อไว้ใช้ในการอ้างอิงอธิบายปรากฏการณ์เฉพาะเรื่อง และปรากฏการณ์ทั่วไป และเป็นการทำให้สามารถทำนายและควบคุมการเกิดปรากฎการณ์ต่างๆ ได้

9 เครือวัลย์ ลิ้มปิยะศรีสกุล ( 2530 : 18 ) อธิบายเกี่ยวกับการวิจัยว่าหมายถึงกระบวนการแสวงหาความจริงหรีอพิสูจน์ความจริง เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ที่ถูกต้องและเชื่อถือได้กระบวนการแสวงหาความจริงจะต้องมีลักษณะสำคัญดังนี้คือ น้องเป็นการแสวงหาหรือพิสูจน์ความจริงที่เป็นข้อเท็จจริง ต้องเป็นการกระทำโดยมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอน แล้วต้องดำเนินไปอย่างมีระเบียบแบบแผนที่เเน่นอนตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ บญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ ( 2532 : 96 ) ได้อธิบายไว้อย่างละเอียดในลักษณะเดียวกันว่าการวิจัย เป็นกระบวนการค้นคว้าหาข้อเท็จจริง หรือปรากฏการณ์ตามธรรมชาติอย่างมีระบบระเบียบ แล้วมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอนเพื่อให้ได้ความรู้ที่เชื่อถือได้ ตามความหมายนี้การวิจัยหรืองานที่เป็นการวิจัยจะค้องประกอบด้วยลักษณะ 3 ประการเป็นกระบวนการค้นหาข้อเท็จจริงหรือปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ เป็นกระบวนการหรือการกระทำที่มีระบบระเบียบ เป็นการกระทำที่มีจุดมุ่งหมายที่แน่นอน การศึกษาค้นคว้าใด ๆที่ขาดลักษณะ 3 ประการนี้ไม่ถืว่าเป็่นการวิจัย

10 ที่ประชุม Pan Pacific Scince Congress 1961 ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา
R = Recruitment & Relationships E = Education & Efficieancy S= Science & Simulation E = Evaluation & Environment A = Aim & Attitude R = Result C = Curiosity H = Horizin ที่ประชุม Pan Pacific Scince Congress 1961 ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา

11 ที่ประชุม Pan Pacific Scince Congress ปี 1961 ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา
Wiersma ( 1986 : 10 ) ได้สรุปลักษณะสำคัญูของการวิจัยไว้อย่างสั้นๆว่า เป็นกระบวนการเเสวงหาความรู้ที่เป็นระบบ ( Systematic ) และดำเนินการตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ที่ประชุม Pan Pacific Scince Congress ปี 1961 ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา

12 ความหมายของการวิจัย กระบวนการเสาะแสวงหาความรู้ที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้ได้ความรู้ใหม่และเพื่อนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์

13 จุดมุ่งหมายของการวิจัย
จุดมุ่งหมายหลักของการวิจัย มี 2 ประการ เพื่อให้ใด้ความรู้ใหม่หรือเพื่อสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ในหลายๆ ด้าน

14 นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์
2.1 ใช้สำหรับบรรยายสภาพของปัญหา หรืออธิบายสาเหตุของปัญหาของสถานการ์ณ หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้เราเข้าใจในสิ่งเหล่านั้นได้ดียิ่งขึ้น 2.2 ใช้สำหรับพยากรณ์หรือทำนายเหตุการณ์ สถานการณ์หรือปรากฏการณ์ หรือ แนวโน้มของปัญหาทีอาจเกิดขึ้นในอนาคต ทำให้เราสามารถเตรียมป้องกันรับสถานการณ์นั้นๆ ได้ 2.3 ใช้สำหรับปรับปรุงและพัฒนาสภาพการ สถานการ์ณหรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้ดให้ ดียิ่งขึ้น 2.4 ใช้สำหรับควบคุมปัญหา สถานการณ์หรือปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ช่วยในการวางแผนเตรียมการควบคุมได้อย่างรัดกุม 2.5 ใช้สำหรับแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างตรงจุด ทำให้การแก้ปัญหาเป็นไปอย่างรวดเร็วและช่วยขจัดปัญหาให้หมดไปได้

15 ประโยชน์ของการวิจัย ประโยชน์ต่อสังคม ประโยชน์ต่อผู้วิจัย

16 พัฒนาการของวิธีแสวงหาความรู้
แบ่งเป็น 3 ระยะ การแสวงหาความรู้อย่างไม่มีระบบแบบแผน การแสวงหาความรู้ด้วยระบบเหตุผล การแสวงหาความรู้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์

17 การแสวงหาความรู้อย่างไม่มีระบบแบบแผน
ใช้กันมาตั้งเเต่สมัยโบราณจนถึงราว 400 ปีก่อนคริสตศักราช ( 40O B.C. ) 1.1 การได้รับความรู้โดยบังเอิญ ( By chancc ) 1.2 การได้รับความรู้โดยการลองผิดลองถูก ( Trial and Error ) 1.3 การได้รับความรู้จากผู้รู้ ( Authority ) 1.4 การได้รับความรู้จากผู้เชี่ยวชาญูหรือนักปราชญ์ ( Expert or wiseman ) 1.5 การได้รับความรู้จากประเพณีและวัฒนธรรม (Tradition and culture ) 1.6 การได้รับความรู้จากประสบการณ์ของตนเอง ( personaI Experience)

18 การแสวงหาความรู้ด้วยระบบเหตุผล
2.1 วิธีอนุมานหรือนิรนัย ( Deductive Method หรือ syllogistic Resoning ) อริสโตเติล ( Aristotle ) นักปราชญ์ชาวกรีกผู้ได้ชื้อว่าเป็นบิดาของตรรกศาสตร์ ตัวอย่าง Major Premise พรีไมส์ ข้ออ้างหลัก : ทุกคนต้องตาย Minor Premise : นายสมชายเป็นคน Conclusion : นายสมชายต้องตาย

19 2.2 วิธีอุปมานหรืออุปนัย (Inductive Method) เป็นการแสวงหาความรู้ด้วยเหตุผลที่เริ่มขึ้นเมื่อประมาณคริสตศควรรษที่ 17 ผู้ริเริ่มคิดวิธีนี้คือ เซอร์ ฟรานซิส เบคอน(Sir Francis Bacon ) ตัวอย่างของ การตั้ง Major Premise ที่ไม่ใช่ความจริงแน่นอนซึ่งจะนำสู่การลงสรุปที่ผิดได้ด้วยวิธีอนุมาน เช่น Major Premise : นกบินได้ Minor Premise : นกกระจอกเทศเป็นนกชนิดหนึ่ง Conclusion : นกกระจอกเทศบินได้( แต่ความจริงนกกระจอกเทศบินไม่ได้)

20 วิธีการอุปมานแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ
1. เก็บรวบรวมข้อมูลหรือข้อเท็จจริงย่อย ๆที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เราต้องการทราบ( collecting Data ) 2. นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ และสังเคราะห์ ( Analyzing and synthesizing ) 3. สรุปเป็นข้อเท็จจริงใหญ่ หรือความรุ้ใหม่ ( Drawing conclusion )

21 ตัวอย่าง รวบรวมข้อมูล : จากการศึกษาสังเกตสิ่งที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติ พบว่า วัวกินหญ้าเป็นอาหาร ควายกินหญ้าเป็นอาหาร แพะกินหญ้าเป็นอาหาร แกะกินหญ้าเป็นอาหาร กวางกินหญ้าเป็น อาหาร เก้งกินหญ้าเป็นอาหาร ช้างกินหญ้าเป็นอาหาร ม้ากินหญู้าเป็นอาหาร ลากินหญ้าเป็นอาหาร วิเคราะห์/สังเคราะห์ : วัว ควาย แพะ แกะ กวาง เก้ง ช้าง ม้า และ ลาที่เป็นสัตว์กินหญ้าเป็นอาหารเหล่านี้มี 4 ขา สรุป : สัตว์สี่ขากินหญ้าเป็นอาหารหรือสัตว์ที่กินหญ้าเป็นอาหารมีสี่ขา

22 2.3 วิธีอนุมาน - อุปมาน ( Deductive - Inductive Method ) วิธีการนี้เริ่มใช้ตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 19 ผู้เริ่มคิดวิธีนี้คือนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ชื่อชาร์ลส์ ดาร์วิน(charles Darwin ) การแสวงหาความรู้ด้วยวิธีอนุมาน - อุปมาน มี 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1.ใช้วิธีอนุมานในการตั้งเป็นสมมุติฐาน ( Hypothesis Stting ) 2.ใช้วิธีอุปมานในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์/สังเคราะห์และยืนยันหรือคัดค้านสมมุติฐานที่ตั้งไว้ (Data Collecting and Hypothesis Testing ) 3. สรุปเป็นความรู้ใหม่ ( Drawing conclusion )

23 ตัวอย่าง ตั้งสมมุติฐูาน : ผู้ชายมีความสามารถในการเเก้ปัญหาได้ดีกว่าผู้หญิง รวบรวมข้อมูล : ใช้การสังเกตจากสถานการณ์ที่เป็นปัญหาหลายๆสถานการณ์ และดูว่าผู้ชายหรือผู้หญิงจะแก้ปัญหาได้ดีกว่ากัน สรุป : ลงสรุปตามข้อมูลที่ได้จากการสังเกต เช่น ในสถานการณ์ปัญหา ถ้าผู้ชายแก้ปัญหาได้เร็วกว่า ใช้วิธีแก้ปัญหาที่ดีกว่า และแก้ปัญหาได้เป็นผลสำเร็จมากกว่าผู้หญิง ก็สามารถสรุปยืนยันได้ว่าผู้ชายมีความสามารถในการแก้ปัญหาได้ดีกว่าผู้หญิง แต่ในทางกลับกัน ถ้าในสลานการณ์ปัญหาดังกล่าวผู้หญิงสามารถทำได้ดีกว่าผู้ชาย ก็สรุปว่าสมมุติฐานที่ตั้งไว้นั้นไม่จริง ที่จริงแล้วผู้หญิงมีความสามารถในการแก้ปัญหาได้ดีกว่าผู้ชาย เป็นต้น

24 การแสวงหาความรู้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
จอห์น ดิวอี้ (John Dewey ) นักจิตวิทยาชาวอเมริกันซึ่งมีชีวิตอยู่ระหว่างปี คศ ได้ดัดแปลงแนวคิดแบบอนุมาน-อุปมาน ของชาร์ลส์ ดาร์วิน มาเป็นกระบวนการคิดแบบ Reflective Thinking หรือแบบใคร่ครวญ คิดทบทวนกลับไปกลับมา 3.1 ขั้นระบุปัญหาหรือกำหนดปัญหา ( Identifying the problem )เป็นการตระหนักว่ามีปัญหา และมีความต้องการที่จะแก้ปัญหา เป็นการบอกให้ทราบอย่างชัดเจนว่าปัญหาหรือสิ่งที่คนสงสัย อยากทราบ อยากหาคำตอบหรือสิ่งที่ต้องการศึกษานั้นคืออะไร 3.2 ขั้นตั้งสมมุติฐาน ( Formulating Hypotheses ) เป็นการคาดคะเนความน่าจะเป็นหรือความเป็นได้ของคำคอบของปัญหาที่ศึกษา เป็นการเดาหรือคาดหมายคำตอบของปัญหาไว้ล่วงหน้า ส่วนมากการตั้งสมมุติฐานจะได้มาจากการใช้เหตุผล ประสบการณ์ แนวคิคหลักการ ทฤษฎี หรือผลงานวิจัยที่ได้มีผู้ทำไว้ มาเป็นข้อสนับสนุน 3.3 ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล ( Collecting Data ) เป็นการเก็บรวบรวมข้อเท็จจริงทีเกียวข้องกับปัญหาทีศึกษาค้วยวิธีการต่างๆ เช่นนี้การสอบถาม การสัมภาษณ์ การสังเกตการทดลอง การทดสอบการศึกษาหรือดรวจสอบเอกสาร เป็นต้น 3.4 ขั้นวิเคราะห์และตีความข้อมูล ( Analyzing Data ) เป็นการแยกแยะและแปลผลข้อมูล นำข้อมูลมาพิจารณาตรวจสอบหรือทดสอบสมมุติฐานที่ตั้งไว้ว่าเป็นไปตามนั้นหรือไม่จะยอมรับหรือปฎิเสธสมมุติฐานนั้น 3.5 ขั้นสรุปผล ( Drawing conclusion ) เป็นการลงสรุปผลที่ได้จากการวิเคราะห์และการตีความข้อมูล ซึ่งจะทำให้ได้คำตอบของปัญหาที่ศึกษา อันถือเป็นความรู้หรือความจริงที่เชื่อถือได้ และเพื่อนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อไป

25 ประเภทของการวิจัย 1. การจำเเนกประเภทตามลักษณะของข้อมูล ได้แก่ 1.1 การวิจัยเชิงคุณภาพ หรือการวิจัยเชิงคุณลักษณะ (Qualitative Research ) 1.2 การวิจัยเชิงปริมาณ ( Quantitive Research ) 2.การจำแนกประเภทตามจุดมุ่งหมายของการวิจัย ได้แก่ 2.1 การวิจัยพื้ฐานหรือการวิจัยบริสุทธิ์ (Basic Research or Pure Research ) 2.2 การวิจัยประยุกต์ ( Applied Research )

26 3. การจำแนกประเภทตามระเบียบวิธีวิจัย
3.1 การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ ( HistoricaI Research ) เป็นการวิจัยเพื่อบีบคั้นหรือสืบสวนปัญหาทางด้านประวัติความเป็นมา เหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นและผ่านพ้นมาแล้ว โดยอาศัยความสัมพันธ์หรือปรากฏการณ์ต่างๆที่เกี่ยข้องมาอธิบาบเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริง 3.2 การวิจัยเชิงบรรยายหรือเชิงพรรณา ( Dcscriptive Research )

27 การวิจัยเชิงบรรยายหรือเชิงพรรณนา ( Dcscriptive Research )
การวิจัยเชิงบรรยายแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ( สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ 2527 : ) คือ 1. การศึกษาสำรวจ ( Survay studies ) 2. การศึกษาสัมพันธภาพ ( Interrelationship studies ) 2.1 การศึกษาเฉพาะกรณี ( case studies ) 2.2 การติดตามผล ( Fol11ow-Up studies ) 2.3 การศึกษาเชิงเปรียบเทียบเหตุผล ( Causal - Comparative studies ) หรือการวิจัยย้อนรอย หรือการวิจัยย้อนหลัง ( Ex Post Facto Research ) 2.4 การศึกษาสหสัมพันธ์ ( Correlation studies ) 2.5 การวิเคราะห์เอกสาร ( Documentary Analysis )

28 การวิจัยเชิงบรรยายหรือเชิงพรรณนา ( Dcscriptive Research )
3. การศึกษาพัฒนาการ (Development studies) 3.1 การศึกษาความเจริญเติบโต ( Growth studies ) 3.2 การศีกษาแนวโน้ม ( Trend studies ) 3.3 การวิจัยเชิงทดลอง ( ExperimentaI Research ) 1. การวิจัยเชิงทดลองแท้ ( True Experimental Research ) 2. การวิจัยกึ่งทดลอง ( Quasi ExperimentaI Research )

29 ขั้นตอนของการวิจัย ( wiersma.1986 : 7 - 12 )
6.1 การเลือกและกำหนดปัญหา (Identifying the Problem) 6.2 การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ( Reviewing Information ) 6.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collecting Data) 6.4 การวิเคราะห์ข้อมล ( Analyzing Data ) 6.5 การสรุปผลการวิจัย (Drawing Conclusion)

30 กิจกรรมฝึกปฏิบัติที่ 1 การวิเคราะห์ขั้นตอนการวิจัยในชั้นเรียน
กิจกรรมฝึกปฏิบัติที่ 1 การวิเคราะห์ขั้นตอนการวิจัยในชั้นเรียน กรณีศึกษาที่ เรื่อง จากกรณีศึกษาที่ได้ศึกษาให้สรุปสาระสำคัญตามขั้นตอนการวิจัยในชั้นเรียน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 สำรวจและวิเคราะห์ปัญหา ขั้นตอนที่ 2 วางแผนแก้ไขปัญหา / พัฒนา ขั้นตอนที่ 3 พัฒนานวัตกรรม (สร้างและหาประสิทธิภาพ) ขั้นตอนที่ 4 นำนวัตกรรมไปใช้ ขั้นตอนที่ 5 สรุปผลการแก้ปัญหา/พัฒนา ขั้นตอนที่ 6 นำผลการวิจัยไปใช้ / เผยแพร่

31 คุณสมบัติของนักวิจัย
ด้านความรู้หรือพุทธิพิสัย (C: Cognitive) ด้านเจตคติหรือจิตพิสัย (A: Affective) ด้านความสามารถหรือทักษะพิสัย (P: Psychomotor)

32 ใบงานที่ 1 การวิเคราะห์กระบวนการวิจัย
ให้นักศึกษาเลือกรายงานการวิจัยทางการศึกษาคนละ 1 เรื่อง ที่ไม่ซ้ำกัน แล้วศึกษา สรุปกระบวนการวิจัย ลักษณะที่ดี และข้อบกพร่องของงานวิจัย ลงในแบบที่กำหนดให้

33 ใบงานที่ 2 การนิยามปัญหา
1.ชื่อปัญหาการวิจัย (ควรตั้งชื่อให้กะทัดรัด ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ให้ความหมายที่ชัดเจนว่าจะทำอะไรกับใครที่ไหนโดยมุ่งหาคำตอบอะไร) การพัฒนา ของนักเรียนชั้น ปีการศึกษา 2553 โรงเรียน อำเภอ จังหวัด ผลการใช้ เพื่อพัฒนา เรื่อง ของนักเรียนชั้น ปีการศึกษา 2553 โรงเรียน อำเภอ จังหวัด 2.ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (เป็นความนำที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นที่ต้องทำวิจัยเรื่องนั้นๆ โดยกล่าวนำด้วยแนวคิด ทฤษฎีหรือหลักการที่น่าชื่อถือและมีเนื้อความที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะวิจัย(ย่อหน้าที่ 1) ตามด้วยปัญหาที่พบ(ย่อหน้าที่ 2) วิเคราะห์ปัญหาให้ผู้อ่านตระหนักในปัญหาร่วมกับผู้วิจัย (ย่อหน้าที่ 3) ประโยชน์และคุณค่าของงานวิจัย(ย่อหน้าสุดท้าย))

34 อ้างอิงในเนื้อความ/ท้ายเนื้อความ
อ้างอิงต้นเนื้อความ ศักดิ์ศรี ขยันดี(2553:2) ได้อธิบายว่า (ศักดิ์ชาย มุ่งดี,2552:33) อ้างอิงในเนื้อความ/ท้ายเนื้อความ


ดาวน์โหลด ppt ER 3409 การวิจัยเพื่อการพัฒนาการเรียนการสอน 3(3-0)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google