งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ER 3409 การวิจัยเพื่อการพัฒนาการเรียนการสอน 3(3-0)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ER 3409 การวิจัยเพื่อการพัฒนาการเรียนการสอน 3(3-0)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ER 3409 การวิจัยเพื่อการพัฒนาการเรียนการสอน 3(3-0)
ผู้สอน อ.ไพรศิลป์ ปินทะนา สาขาวิชาการประเมินและการวิจัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

2 บทที่ 2 ปัญหาเพื่อการวิจัย
บทที่ 2 ปัญหาเพื่อการวิจัย ความหมาย แหล่งที่มาของปัญูหา เกณฑ์ในการเลือกหัวข้อปัญูหา การตั้งชื่อปัญหาเพื่อการวิจัย การนิยามปัญหา 1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 2. จุดมุ่งหมาย 3. ขอบเขตของการวิจัย 4. ข้อตกลงเบื้องต้น 5. นิยามศัพท์

3 ความหมาย ความหมายโดยทั่วไปของปัญหาก็คือ สิ่งที่ไม่เป็นไปตามปกติ ไม่เป็นไปตามความคาดหวัง หรือตามเกณฑ์ ภาวะไม่ปกติหรือภาวะที่ไม่พึงปรารถนา เป็นสภาพการที่ต้องถูกเปลี่ยนแปลงเป็นสถานการณ์ที่ต้องการพัฒนา เป็นข้อยุ่งยากที่ต้องการกำจัดให้หมดไป สำหรับทางวิชาการนั้นถือว่าปัญหาคือสิ่งที่ยังไม่มีคำตอบ สิ่งที่ไม่สามารถอธิบายได้ เป็นประเด็นข้อสงสัยข้อขัดแย้งหรึอ ข้อคิดที่ทั้งไม่กระจ่างชัด เป็นสิ่งที่ต้องการคำอธิบายหรือคำตอบที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ปัญูหาเพื่อการวิจัยจึงเป็น ประเด็นสงสัย หรือเรื่องที่ผู้วิจัยต้องการศึกษาหาคำตอบด้วยวิธีการที่เป็นระบบแบบแผนด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้และความจริงที่เชื่อถือได้ ปัญหานับเป็นจุดเริ่มต้นของการวิจัย เพราะปัญหาจะเป็นตัวกำหนดจุดมุ่งหมายของการวิจัย และเป็นเครื่องชี้แนวทางในการทำวิจัยทุกขั้นตอน

4 แหล่งที่มาของปัญหา 1. คิดหรือกำหนดหัวข้อปัญหาด้วยตนเอง
1.1 ประสบการณ์ของตนเอง 1.2 การอ่าน 1.3 การเข้าร่วมประชุมสัมมนา ประชุมทางวิชาการ การฟังบรรยาย 1.4 การติดต่อ สนทนา ปรึกษาหารือ หรือการขอคำแนะนำจากอาจารย์ ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิ 1.5 การฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์

5 แหล่งที่มาของปัญหา 2. ให้ผู้อี่นกำหนดหัวข้อให้
ผู้วิจัยอาจได้หัวข้อปัญูหาการวิจัยจากองค์กรหรือหน่วยงานที่ให้ทุนส่งเสริมสนับสนุนหรืออุดหนุนการวิจัย ซึ่งจะเป็นผู้กำหนดหัวข้อเรื่องหรือกรอบอย่างกว้างๆ ให้องค์กรหรือหน่วยงานเหล่านี้อาจมีเช่น หน่วยงานของราชการ สถาบันการศึกษา มูลนิธิ สมาคม บริษัทเอกชน นอกจากนี้อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้บังคับบัญชา หรือเพื่อนร่วมงานก็อาจแนะนำหรือกำหนดหัวข้อการวิจัยให้แก่ผู้วิจัยได้

6 เกณฑ์ในการเลือกหัวข้อปัญหา
1. เกณฑ์เกี่ยวกับตัวผู้วิจัย 2. เกณฑ์เกี่ยวกับตัวเรื่องที่วิจัย 3. เกณฑ์เกี่ยวกับสภาพที่เอื้อต่อการวิจัย

7 เกณฑ์ในการเลือกหัวข้อปัญหา
1. เกณฑ์เกี่ยวกับตัวผู้วิจัย 1.1 คนสนใจเเละต้องการรู้อย่างแท้จริงซึ่งเป็นความสนใจที่มาจากภายในตัวผู้วิจัยเอง 1.2 สอดคล้องกับความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญและความถนัดของผู้วิจัย 1.3 เหมาะกับทุนทรัพย์และเวลาของผู้วิจัย

8 เกณฑ์ในการเลือกหัวข้อปัญหา
2. เกณฑ์เกี่ยวกับตัวเรื่องที่วิจัย 2.1 น่าสนใจ มีความสำคัญ มีคุณค่า และมีประโยชน์ ทั้งต่อตัวผู้วิจัยเอง ต่อสังคม และต่อศาสตร์นั้นๆ 2.2 เป็นเรื่องใหม่ซึ่งไม่ซ้ำซ้อนกับงานวิจัยของผู้อื่น เป็นเรื่องที่แสดงความริเริ่มสร้างสรรค์ หรือความคิดที่เป็นของตนเองของผู้วิจัย 2.3 ทันสมัย คือเป็นเรื่องที่กำลังอยู่ในความสนใจของคนในวงการนั้นๆ หรือคนในสังคมทั่วไป 2.4 ทำแล้วให้ผลคุ้มค่า ทั้งในแง่ของเงินทุน เวลา เเรงงาน ตลอดจนผลที่ได้รับ

9 เกณฑ์ในการเลือกหัวข้อปัญหา
2.5 หาข้อยุติได้หรือสามารถลงสรุปได้ซึ่งไม่ใช่ปัญหาที่เป็นข้อโต้แย้งถกเถียงไม่รู้จบ หรือปัญหาโลกแตก หรือปัญหาที่หาข้อยุติไม่ได้ (Controversal Subject ) 2.6 เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องแก้ไขโดยเร็วเพื่อป้องกันอันตรายและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น 2.7 มีความพอเหมาะพอดี คือไม่กว้างหรือแคบเกินไป คือกว้างครอบจักรวาลอย่างไร้ขอบเขตหรือครอบคลุมประเด็นใหญ่ๆหลายประเด็น หรือแคบเกินไปจนไม่มีประโยชน์หรือมีประโยชน์น้อยไม่คุ้มกับเวลา แรงงาน และทุนทรัพย์ที่เสียไป 2.8 ไม่เป็นอันตรายคือผู้วิจัยเองและต่อผู้อื่นในระหว่างทำการวิจัย และหลังการวิจัย

10 เกณฑ์ในการเลือกหัวข้อปัญหา
3. เกณฑ์เกี่ยวกับสภาพที่เอื้อต่อการวิจัย 3.1 มีข้อมูลเพื่อเป็นหลักฐานในการศึกษาอ้างอิงและสนับสนุนอย่างเพียงพอ 3.2 มีแหล่งสำหรับค้นคว้า เช่น ห้องสมุด หรือบริการสืบค้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ 3.3 มีเครื่องมือ หรือสามารถสร้างเครื่องมือเพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูลได้

11 เกณฑ์ในการเลือกหัวข้อปัญหา
3.4 มีผู้ให้ความสนับสนุนหรือให้ทุนอุดหนุนในการวิจัย ซึ่งผู้ให้อาจเป็นหน่วยงานราชการ สถาบัน องค์กร บริษัท สมาคม มูลนิธิต่างๆ เป็นต้น 3.5 สามารถขอความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้องในการวิจัยได้ เช่นขอความร่วมมือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้บังคับบัญชา อาจารย์ที่ปรึกษา เป็นต้น

12 การตั้งชื่อปัญหาเพื่อการวิจัย
1. ควรตั้งชื่อให้ตรงกับประเด็นปัญหาที่ต้องการศึกษา คือเมื่ออ่านหัวข้อหรือชื่อเรื่องแล้วสามารถทราบได้ทันทีว่า ผู้วิจัยจะศึกษาวิจัยเกี่ยวกับอะไร 2. ควรตั้งชื่อเรื่องให้ชัดเจนโดยใช้ภาษาที่กระทัดรัด เข้าใจง่าย ใช้คำเฉพาะเจาะจงหรือสื่อความหมายเฉพาะเรื่อง มีความสละสลวยได้ใจความสมบูรณ์ 3. ควรหลีกเลี่ยงการตั้งชื่อเรื่องที่ยาวเกินไป เพราะจะทำให้สาระสำคัญอ่อนความสำคัญลงได้ โดยปกติความยาวประมาณสองบรรทัดก็นับว่าเพียงพอแล้ว

13 การตั้งชื่อปัญหาเพื่อการวิจัย
4. ควรหลีกเลี่ยงการตั้งชื่อที่สั้นเกินไป เช่นเพียงสองสามคำ เพราะจะทำให้กว้าง คลุมเคลือ เเละไม่ทราบว่าผู้วิจัยต้องการศึกษาสาระสำคัญใดในเรื่องนั้น 5. ควรตั้งชื่อเรื่องรวมองค์ประกอบสำคัญๆ ไว้ เช่น ตัวแปรตามและตัวแปรอิสระวิธีดำเนินการกับกลุ่มตัวอย่าง เป้าหมายของการศึกษา เป็นต้น

14 การนิยามปัญหา การนิยามปัญหา หมายถึง การอธิบายเกี่ยวกับปัญหาที่จะทำการวิจัยให้เป็นที่เข้าใจอย่างชัดเจน และเป็นการกำหนดขอบเขตปัญหาที่จะวิจัยให้อยู่ในวงจำกัด การนิยามปัญหาเป็นสิ่งสำคัญและเป็นประโยชน์แก่ผู้วิจัยมาก เพราะจะช่วยให้ผู้วิจัยมองเห็นภาพรวมขอสิ่งที่จะวิจัย ตลอดจนทราบถึงแนวทางและวิธีดำเนินการที่จะใช้ในการวิจัยโดยตลอด ทั้งยังช่วยให้ผู้วิจัยสามารถประมาณค่าใช้จ่ายและเวลา และช่วยในการวางแผนเตรียมการใช้ล่วงหน้าได้

15 การนิยามปัญหา 1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 2. จุดมุ่งหมาย
3. ขอบเขตของการวิจัย 4. ข้อตกลงเบื้องต้น 5. นิยามศัพท์

16 1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
หลังจากที่ระบุชื่อเรื่องหรือหัวข้อปัญหาที่จะทำการวิจัยแล้ว ผู้วิจัยจะเขียนบทนำที่เกี่ยวกับความเป็นมา หรือภูมิหลังของปัญหานั้น โดยเขียนในเชิงวิเคราะห์ปัญหาเพื่อชี้ให้ผู้อ่านได้เข้าใจอย่างชัดเจนว่า ปัญหาคืออะไร เกิดขึ้นและเป็นมาอย่างไร มีสภาพหรือสถานการณ์เป็นอย่างไร มีความเข้มข้นรุนแรงหรือการเเผ่กระจายของปัญหาครอบคลุมไปกว้างไกลมากน้อยเพียงใด สาเหตุของปัญหาคืออะไรหรือสาเหตุของปัญหาที่อาจเป็นไปได้คืออะไร

17 1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ผู้วิจัยอาจอ้างอิงทฤษฏี กฏเกณฑ์ หลักการที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจถึงรากฐานของปัญหาดีขึ้น หรืออาจสอดแทรกผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง หรือข้อคิดของผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มเติมลงไปได้ เพื่อเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้กับความสมบูรณ์ของเรื่องที่วิจัย และช่วยกระตุ้นความสนใจและความคิดของผู้อ่านให้มองเห็นภาพปัญหาได้ดีขึ้นหรีอ นอกจากผู้วิจัยจะระบุถึงที่มาและสภาพของปัญหาแล้ว ยังต้องอธิบายถึงสาเหตุหรือเเรงจูงใจทีทำให้ผู้วิจัยสนใจและตัดสินใจศึกษาวิจัยเรื่องนั้น ๆ ด้วย

18 1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
สำหรับความสำคัญของปัญหานั้นผู้วิจัยจะเขียนบรรยายถึงความสำคัญของปัญหา รวมทั้งประโยชน์และคุณค่าของการวิจัยว่ามีอะไรบ้าง ทั้งในแง่ของความรู้ที่จะได้รับและในการนำผลของการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆต่อไป ทั้งนี้เพื่อเน้นไห้ผู้อ่านมองเห็นความสำคัญของการทำวิจัยเรื่องนั้นชัดเจนยิ่งขึ้น การเขียนความสำคัญและประโยชนที่คาดว่าจะได้รับนี้ ผู้วิจัยไม่ควรเขียนให้เกินความเป็นจริง แต่ควรเขียนให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการวิจัย

19 2. จุดมุ่งหมาย เป็นการระบุอย่างชัดเจนว่าผู้วิจัยมุ่งศึกษาค้นคว้าอะไร มุ่งหาคำตอบอะไรต่อปัญหาที่วิจัย เป็นการนำเอาปัญหาที่วิจัยมาแยกแยะออกเป็นประเด็นย่อยๆ เพื่อให้ผู้วิจัยมองเห็นแนวทางในการทำวิจัยต่อไป

20 2. จุดมุ่งหมาย 2.1 เขียนระบุอย่างชัดเจนว่าต้องการศึกษาอะไร สิ่งใด หรือใคร เป็นการบอกให้ทราบ ถึงตัวแปร กลุ่มตัวอย่าง และลักษฌะของการศึกษาโดยครอบคลุมทุกปรเภทที่ต้องการศึกบา 2.2 เขียนจุดมุ่งหมายทุกข้อให้สัมพันธ์ สอดคล้องและอยู่ภายใต้หัวข้อปัญูหาที่วิจัย 2.3 ใช้ภาษาที่กระทัดรัด ชัดเจน เข้าใจง่ายแลพยายามหลีกเลียงการใช้คำซำซ้อน 2.4 เขียนเพื่อเป็นแนวทางในการหาคำตอบ อาจจะเขียนในรูปของประโยคคำถามหรือประโยคบอกเล่าก็ได้แล้วแต่ความถนัดของผู้วิจัย เขียนในเป็นจุดมุ่งหมายทั่วไปหรือเขียนเป็นจุดมุ่งหมายเฉพาะแยกเป็นรายข้อ หรือเขียนทั้งสองแบบก็ได้ จุดมุ่งหมายเป็นการระบุอย่างชัดเจนว่าผู้วิจัยมุ่งศึกษาค้นคว้าอะไร มุ่งหาคำตอบอะไรต่อปัญูหาที่วิจัย เป็นการนำเอาปัญหาที่วิจัยมาแยกแยะออกเป็นประเด็นย่อยๆ เพื่อให้ผู้วิจัยมองเห็นแนวทางในการทำวิจัยต่อไป

21 2. จุดมุ่งหมาย 2.5 ไม่เขียนจุดมุ่งหมายกว้างเกินไป เพราะจะทำให้คลุมเครือและยากแก่การหาคำตอบหากจุดมุ่งหมายนั้นเกี่ยวข้องกับตัวแปรหลายอย่างก็ควรเขียนแยกเป็นรายข้อย่อย 2.6 ไม่ควรเขียนจุดมุ่งหมายแคบเกินไปหรืฉแยกเป็นข้อย่อยๆ หลายข้อเกินไปเพราะ จะทำให้ไม่น่าสนใจ และอาจทำให้การวิจัยลคความสำคัญลงไป 2.7 เขียนเรียงตามลำดับความสำคัญของจุดมุ่งหมาย โดยเขียนจุดมุ่งหมายหลักก่อนแล้วตามด้วยจุดมุ่งหมายรองๆ ลงไป 2.8 ไม่ควรตั้งจุดมุ่งหมายมากข้อเกินไป จำนวนข้อของจุดมุ่งหมายนั้นไม่มีการกำหนดที่แน่นอนตายตัว แต่การวิจัยโดยทั่วไปจุดมุ่งหมาย ข้อก็นับเป็นการเพียงพอ จุดมุ่งหมายเป็นการระบุอย่างชัดเจนว่าผู้วิจัยมุ่งศึกษาค้นคว้าอะไร มุ่งหาคำตอบอะไรต่อปัญูหาที่วิจัย เป็นการนำเอาปัญหาที่วิจัยมาแยกแยะออกเป็นประเด็นย่อยๆ เพื่อให้ผู้วิจัยมองเห็นแนวทางในการทำวิจัยต่อไป

22 3.ขอบเขตของการวิจัย ขอบเขตของการวิจัย เป็นการจำกัดหรือระบุขอบเขตว่าจะศึกษาปัญหาในแง่มุมใดและศึกษาแค่ไหน ผู้วิจัยไม่สามารถทำการวิจัยให้ครบถ้วนวนทุกแง่ทุกมุมได้ จึงต้องวางกรอบไว้โดยให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายของการวิจัย การกำหนดขอบเขตจึงเป็นการตีกรอบความคิดของผู้วิจัยและผู้อ่านให้อยู่วงจำกัด โดยปกติการจำกัดขอบเขตมักเป็นเรี่องของตัวแปร ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เช่นตัวเเปรคืออะไร จะศึกษาเฉพาะแง่มุมใดของตัวแปรนั้น ประชากรที่ศึกษาคือใคร กลุ่มตัวอย่างคือใคร จำนวนเท่าใด ได้มาอย่างไร เป็นต้น

23 3.ขอบเขตของการวิจัย การกำหนดขอบเขตของการวิจัยเป็นประโยชน์ต่อผู้วิจัยในการดำเนินการวิจัย การแปลผล และการนำผลการวิจัยไปใช้ นอกจากตัวแปร ประชากร และกลุ่มตัวอย่างที่ผู้วิจัยมักต้องกำหนดขอบเขตแล้ว ผู้วิจัยอาจกำหนคขอบเขตของเวลา และสถานที่ด้วยก็ได้ เพื่อช่วยให้มองเห็นแนวทางในการทำวิจัยชัดเจนขึ้น

24 4. ข้อตกลงเบื้องต้น เป็นข้อความ ที่อธิบายถึง สถานการณ์ เงื่อนไข หรือความจริงพื้นฐานบางอย่างที่ผู้วิจัยต้องการทำความตกลงกับผู้อ่านให้ยอมรับโดยไม่ต้องมีการพิสูจน์หรือทดสอบ โดยปกติจะเป็นข้อตกลงที่มีเหตุผลรองรับ หรือมีประจักษ์พยานยืนยันพอสมควร เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจงานวิจัยนั้นอย่าง ไม่มีข้อขัดแย้งใดๆ และให้เกิดความเข้าใจตรงกันระหว่างผู้วิจัยและผู้อ่าน เพื่อป้องกันความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง ข้อตกลงเบื้องต้นคือเป็นกติกาของการยอมรับด้วยเหตุผล

25 4. ข้อตกลงเบื้องต้น การเขียนข้อตกลงเบื้องต้น อาจเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับทฤษฎีพื้นฐาน หลักการ หรือแนวคิดที่นำมาใช้อ้างอิงหรือเป็นหลักในการวิจัย เกี่ยวกับตัวแปร กลุ่มตัวอย่าง วิธีวิจัย การวัด การจัดกระทำข้อมูล การแปลผลข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น ข้อควรระวังในการกำหนดข้อตกลงเบื่องต้นก็คือ อย่าถือเอาข้อบกพร่องหรือจุดอ่อนของการวิจัยมาเป็นข้อตกลงเพราะจะทำให้การวิจัยนั้นขาดคุณค่าและความน่าเชื่อถือลงไป

26 5. นิยามศัพท์ นิยามศัพท์ เป็น การให้นิยามหรือคำจำกัดความ ให้คำอธิบาย ให้ความหมายแก่คำบางคำที่ใช้ในการวิจัยอย่างเฉพาะเจาะจงลงไปในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยนั้นเพื่อสื่อความหมายและช่วยให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างผู้วิจัยและผู้อ่าน

27 5. นิยามศัพท์ สิ่งที่ควรนิยามในการวิจัยมี เช่น
ตัวแปรกลุ่มตัวอย่าง คำที่ใช้ในการวิจัย คำย่อ คำสั้นๆ ที่มีความหมายกว้าง คำศัพท์ที่มีความหมายเฉพาะที่ผู้อ่านไม่ทราบมาก่อน คำศัพท์เทคนิค คำที่มีลักษณะเป็นนามธรรมที่มีความหมายไม่ชัดเจนและเข้าใจยาก คำใดที่คิดว่าเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปอยู่แล้วไม่ควรนิยาม แต่ควรนิยามเฉพาะคำที่เห็นว่าจำเป็นเท่านั้น

28 การนิยามมี 2 เเบบ 5.1 การนิยามทั่วไป เป็นการนิยามความหมายของคำศัพท์ตามปกติอาจนิยามตามที่ระบุไว้ในพจนานุกรม ปทานุกรม สารานุกรม ตำรา หรือที่ผู้ทรงคุณวุฒิได้นิยามไว้ ถ้าผู้วิจัยมีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นอาจนิยามด้วยตนเองก็ได้

29 การนิยามมี 2 เเบบ 5.2 การนิยามปฎิบัติการ (Operational Definition) เป็นการอธิบายความหมายของคำที่มีลักษณะเฉพาะที่ใช้จริงในการวิจัยแต่ละเรื่องเท่านั้น ไม้ใช่คำจำกัดความแบบทัวไปหรือ คำจำกัดความตามพจนานุกรม เป็นนิยามทีสามารถเอาผลมาปฏิบัติได้จริง เป็นนิยามที่นอกจากจะให้ความหมายของคำศัพท์นั้น ๆ แล้ว ยังอธิบายว่าพฤติกรรมหรือตัวแปรที่ต้องการศึกษานั้นจะวัดหรือสังเกตได้ด้วยอะไร และอย่างไร


ดาวน์โหลด ppt ER 3409 การวิจัยเพื่อการพัฒนาการเรียนการสอน 3(3-0)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google