ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยVirote Chaisurivirat ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
คุณสมบัติของคอนกรีตที่แข็งตัวแล้ว (Hardened Concrete)
203332, Concrete Technology 18 December 2003
2
กำลังต้านทานคอนกรีต (Strength of Concrete)
เป็นคุณสมบัติที่สำคัญอันดับต้นๆ กำลังต้านทานหรือรับแรงแบบอื่นๆของคอนกรีตล้วนเป็นสัดส่วนกับกำลังต้านทานแรงอัด (Compressive Strength) ของคอนกรีต กำลังต้านทานของคอนกรีตจะได้จากการทดสอบแท่งคอนกรีตตัวอย่างซึ่งกำลังต้านทานอาจมีค่าแตกต่างกันแม้จะมาจากวิธีการและส่วนผสมเดียวกันก็ตาม
3
กำลังต้านทานแรงอัด (Compressive Strength)
เป็นตัวบอกให้ทราบคุณสมบัติอื่นๆได้เป็นอย่างดี คอนกรีตมีกำลังต้านทานต่อแรงอัดมากกว่ากำลังต้านทานแรงดึง (Tensile Strength) หลายเท่า ค่ากำลังต้านทานต่อแรงอัดนี้ขึ้นอยู่กับอัตราส่วนผสมปริมาณน้ำ อายุ การบ่ม ตลอดจนรูปร่างและขนาดของแท่งทดสอบ
4
กำลังอัดของคอนกรีตขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ 3 ประการ
กำลังของมอร์ต้า กำลังและโมดูลัสยืดหยุ่นของมวลรวม แรงยึดเหนี่ยวระหว่างมอร์ต้ากับผิวของมวลรวม
5
ปัจจัยที่มีผลต่อกำลัง
คุณสมบัติของวัศดุที่ใช้ผสมคอนกรีต ปูนซีเมนต์ มวลรวม น้ำ
6
ปัจจัยที่มีผลต่อกำลัง
การทำคอนกรีต การชั่งตวงส่วนผสม การผสมคอนกรีต การเทคอนกรีตเข้าแบบหล่อและการอัดแน่น
7
ปัจจัยที่มีผลต่อกำลัง
การบ่มคอนกรีต ความชื้น อุณหภูมิ เวลาที่ใช้ในการบ่ม
8
ปัจจัยที่มีผลต่อกำลัง
การทดสอบ ขนาดและลักษณะของแท่งทดสอบ วิธีการทำตัวอย่าง ความชื้นในแท่งทดสอบ อัตราการกด เครื่องทดสอบ
9
กำลังดึง (Tensile Strength)
ความต้านทานในด้านรับแรงดึงของคอนกรีตมีค่าประมาณ 10% ของกำลังอัด การทราบค่ากำลังดึงจะช่วยในการควบคุมการแตกร้าวของคอนกรีต วิธีวัดค่าแรงดึงในคอนกรีตทำได้ 3 วิธีคือ Direct Tensile Test Flexural Strength Test Splitting Test
10
Splitting Test การทดสอบวิธีนี้ให้ค่าสม่ำเสมอดีกว่า 2 วิธีข้างต้น
แต่ก็ไม่ได้ค่ากำลังที่แท้จริงเพราะบริเวณปลายทั้งสองจะเป็นบริเวณรับแรงอัด (Compression Zone) ค่าที่ได้จะสูงขึ้นกว่าแรงดึงจริงของคอนกรีตประมาณ 15%
11
แรงยึดเหนี่ยวต่อเหล็กเสริม (Bond Strength)
ความต้านทานการลื่นไถลของเหล็กเสริมที่หล่ออยู่ภายในเนื้อคอนกรีตซึ่งเกิดจากการยึดติดกันกับซีเมนต์เพสต์ที่แข็งตัวแล้ว แรงยึดเหนี่ยวกับเหล็กเสริมในแนวนอนจะน้อยกว่าในแนวตั้ง เพราะน้ำที่เกิดจากการเยิ้ม (Bleeding) อาจไปเกาะอยู่ใต้เหล็กเสริมตามแนวนอนได้
12
กำลังกระแทก (Impact Strength)
เช่นคอนกรีตสำหรับงานตอกเสาเข็ม ซึ่งต้องมีความสามารถที่จะทนต่อการกระแทกและดูดซับพลังงานได้เป็นอย่างดี ปัจจัยที่กระทบต่อกำลังกระแทก ชนิดของมวลรวมหยาบ ความชื้นของคอนกรีต ลักษณะของมวลรวม ปริมาณปูนซีเมนต์
13
การเจาะพื้นที่หรือโครงอาคาร (Core Boring Test)
ในกรณีที่สงสัยในคุณภาพของคอนกรีต เส้นผ่านศูนย์กลางไม่ควรต่ำกว่า 10 ซม. และความสูงควรจะเป็น 2 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางโดยประมาณ
14
การทดสอบแบบไม่ทำลาย (Nondestructive Test)
ไม่ได้ค่าที่แท้จริงแต่สามารถให้ค่าเฉลี่ยที่ใกล้เคียงในเกณฑ์ที่น่าพอใจ ค่าตัวเลขสะท้อนกลับ (Rebound Number) ทดสอบโดยเครื่องมือ Schmidt Hammer Ultrasonic Pulse Velocity การวัดทำโดยส่งสัญญาณผ่านคอนกรีต อ่านค่าความเร็วของคลื่น
15
การทดสอบการรับน้ำหนักของโครงสร้างจริง
ในกรณีที่แท่งทดสอบให้กำลังต่ำกว่ากำหนดหรือเมื่อโครงสร้างบางส่วนหล่อไม่ถูกต้อง เมื่อมีเหตุเกิดขึ้น อาทิเช่นอาคารเกิดไฟไหม้ ทดสอบโดยกระทำในที่ทำโดยการวางน้ำหนัก ถ้าส่วนของโครงสร้างที่ทดสอบเกิดการอ่อนตัวมากเกินขนาดหรือเห็นว่าอาจเกิดการพังทลายก็ควรดัดแปลงโครงสร้างเสียใหม่หรือกำหนดอัตราน้ำหนักที่จะยอมให้รับได้ใหม่ให้ต่ำลงกว่าเดิม
16
คุณสมบัติยืดหยุ่นของคอนกรีต
โมดูลัสยืดหยุ่น (Modulus of Elasticity) เป็นตัวบ่งถึงความต้านทานต่อการเสียรูปของวัศดุ โดยหาจากอัตราส่วนของหน่วยแรง(stress) ต่อหน่วยการหดตัว (strain) ซึ่งเกิดจากการกระทำของหน่วยแรงนั้น Initial Tangent Modulus Secant Modulus Tangent Modulus
17
การล้าของคอนกรีต (Creep)
เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของคอนกรีตที่ทำให้เกิดการเสียรูปถาวรเพิ่มมากขึ้นภายใต้น้ำหนักคงที่ ที่ถูกทิ้งให้กระทำค้างไว้เป็นเวลานาน ปัจจัยที่มีผลต่อความล้าของคอนกรีต น้ำหนักบรรทุกค้าง ความแข็งแรงของคอนกรีต ชนิดของปูนซีเมนต์ อัตราส่วนผสมของคอนกรีต วัศดุผสม การบ่ม อายุ่ของคอนกรีต
18
คุณสมบัติอื่นๆของคอนกรีต
การเปลี่ยนแปลงปริมาตรของคอนกรีต หน่วยน้ำหนักของคอนกรีต ปัวซองส์เรโช การนำความร้อนของคอนกรีต ความคงทน (Durability) ของคอนกรีต
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.