ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ผลงานของบุคคลสำคัญ ในการสร้างสรรค์ชาติไทย
2
พระมหากษัตริย์ที่มีบทบาทในการสร้างสรรค์ชาติไทย
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ มีบทบาทในการสถาปนากรุงสุโขทัย เป็นราชธานีของไทยและสร้างสรรค์ความเจริญให้ชาติไทยเป็นเวลานาน ๒๐๐ ปีเศษแสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำของพระองค์ที่เห็นความสำคัญของการสมัครสมานสามัคคีของคนไทยในยามที่บ้านเมืองคับขัน พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนศรีอินทรทิตย์ ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย
3
๒. พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
ได้ทรงขยายอาณาจักรสุโขทัยออกไปอย่าง กว้างขวางมากที่สุกในสมัยสุโขทัย พระองค์ทรงยังคิดประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใช้แทนอักษรขอมเมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๖ เรียกว่า “ลายสือไทย”และพระองค์ทรงมีบทบาทสำคัญทางพระพุทธศาสนาได้วาง รากฐานมั่งคงจนกลายเป็นศาสนาประจำ ชาติไทย พระแท่นมนังศิลาบาตรที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้น ปัจจุบันพระแท่นนี้เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร
4
๓. พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไทย) พระองค์ทรงมีบทบาทสำคัญในการสร้างสรรค์ชาติไทย ที่สำคัญคือ ทรงรวบรวมอาณาจักรสุโขทัยเป็นปึกแผ่นขึ้นใหม่อีกครั้ง พระองค์ทรงเผยแพร่แนวพระราชดำริทางการเมืองแบบ “ธรรมราชา”ซึ่งพระมหากษัตริย์ผู้ปกครองต้องวางพระองค์ตามหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า “ทศพิธราชธรรม”ที่ปรากฏในหนังสือ ไตรภูมิพระร่วง หนังสือ ไตรภูมิพระร่วง พระราชนิพนธ์ พระธรรมราชาที่๑ เป็นวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาที่ว่าด้วยเรื่อง นรก –สวรรค์ เพื่อใช้สั่งสอนราษฏรให้ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรม
5
๔. สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงสถาปนาราชวงศ์อู่ทองแห่งกรุงศรีอยุธยาจนกระทั่งอาณาจักรอยุธยามีความเจริญรุ่งเรือง ทรงนำเอารูปแบบการปกครองแบบ “จตุสดมภ์” และทรงรับเอาลัทธิ “เทวราชา” มาดัดแปลงให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมของไทย ทำให้พระมหากษัตริย์ทรงมีสถานะเป็น “สมมุติเทพ” พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระธรรมราธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา
6
๕. พระบรมไตรโลกนาถ พระองค์ทรงมีบทบาทสำคัญเรื่องระบบการปกครองแผ่นดินจากนั้นแบ่งการปกครองหัวเมืองต่างๆออกเป็นแขวง ตำบล และหมู่บ้าน เพื่อสะดวกในการกำกับดูแลควบคุมกำลังคน มาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ก่อนจะมีการปรับปรุงประเทศเข้าสู่ความทันสมัย พระบรมรูปสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถกษัตริย์นักปกครองแห่งกรุงศรีอยุธยา
7
๖. สมเด็จพระสุริโยทัย พระองค์ทรงมีบทบาทกลายเป็นแบบอย่างของสตรีไทยและคนไทยทั่วไปจะได้แสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อแผ่นดินและสถาบันพระมหากษัตริย์ อนุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย วีรสตรีแห่งกรุงศรีอยุธยา
8
๗. สมเด็จพระนเรศวรมหาราช แสดงออกถึงความกล้าหาญและความเป็นผู้นำในการปกป้องบ้านเมืองให้พ้นจากการรุกรานของข้าศึก คือการประกาศอิสรภาพของกรุงศรีอยุธยา และการทำสงครามยุทธหัตถี
9
๘. สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
๘. สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระองค์ทรงให้การสนับสนุนทางด้านวรรณกรรมเป็นอย่างดี จนเกิดวรรณคดีหลายเล่มที่เป็นมรดกของชาติและทรงต้อนรับชาวต่างชาติที่เข้ามาค้าขายกับอยุธยา เช่น จีน เปอร์เซีย โปรตุเกส ฮอลันดา อังกฤษ ฝรั่งเศส เป็นต้น พระบรมราชานุสาวรีย์สมแด็จพระนารายณ์มหาราช กษัตริย์นักทูต
10
๙. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระองค์ทรงมีบทบาทสำคัญในการกู้อิสรภาพอาณาจักรไทยให้พ้นจากการยึดครองอำนาจของพม่า และรวบรวมอาณาเขตให้เป็นปึกแผ่น และเป็นแบบอย่างของความเสียสละเพื่อความร่มเย็นของประเทศชาติ พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กษัตริย์ผู้กู้เอกราชแห่งชาติไทย
11
๑o. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี พระองค์ทรงพยายามฟื้นฟูศิลปวรรณธรรมของไทย กฎหมายตราสามดวง ได้รับอิทธิพลมาจากพระมนูธรรมศาสตร์ของอินเดีย ตราขึ้นใน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
12
๑๑. สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
๑๑. สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมีพระปรีชาสามารถทางด้านศิลปวัฒนธรรม ได้แก่ วรรณกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม นาฏศิลป์ และดนตรี ฯลฯ ด้านสถาปัตยกรรม ให้สร้างพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม ด้านประติมากรรม พระองค์ทรงแกะสลักบานประตูพระวิหารวัดสุทัศนเทพวราราม ด้านดนตรีและนาฏศิลป์ โปรดการเล่นซอสามสายมาก พระองค์ทรงพระราชนิพน์ทำนองเพลง “บุหลันลอยเลื่อน”
13
๑๒. พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระปรีชาสามารถมากทางด้านค้าขายกับต่างประเทศ พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯให้มีการลงนามในสนธิสัญญาทางไมตรีและการพาณิชย์ฉบับแรกกับประเทศอังกฤษ เรียกว่า “สนธิสัญญาเบอร์นี” เรือสำเภาวัดยานนาวาเป็นผลงานด้านสถาปัตยกรรมซึ่งพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้น เพื่อที่ประชาชนรุ่นหลังๆ จะได้รู้จักเรือสำเภา
14
๑๓. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระทัยศึกษาพระไตยปิฏกแล้วทรงแสวงหาความรู้ในวิชาการโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ และวิชาการด้านอื่นๆ เช่น วิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ คำนวณ ดาราศาสตร์และศาสนาต่างๆ
15
๑๔. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์มีพระบรมราโชบายในการยกเลิกระบบไพร่และทาสที่เคยมีมาช้านานทำให้สังคมไทยมีความเจริญก้าวหน้ามาจนถึงปัจจุบันและมีการเทิดพระเกียรติให้พระองค์ทรงเป็น “พระปิยมหาราช”
16
๑๕. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพัฒนากำลังคน ให้มีสติปัญญาเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ให้มีตราพระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ เป็นการกำหนดให้คนไทยทุกคนเข้าเรียนในระดับประถมศึกษาครบ ๔ ปี พระองค์ทรงก่อตั้งสถาบันการศึกษาเช่น โรงเรียนมหาดเล็กหลวง โรงเรียนเพาะช่าง และโรงเรียนฝึกหัดครูสตรี เป็นต้น
17
๑๖. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว กษัตริย์ผู้ทรงสละพระราชอำนาจเพื่อปวงชนชาวไทยในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระองค์ทรงตระเตรียมที่จะพระราชทานอำนาจอธิปไตย ให้แก่ราษฎรอยู่แล้ว แต่เมื่อมีคณะราษฏร์แสดงความปรารถนาอย่างแรงกล้า โดยเข้ายึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน ทรงละพระบรมเดชานุภาพลงด้วย ไม่มีพระประสงค์จะให้มีการขัดใจระหว่างชาวไทยด้วยกัน ทรงเสด็จออก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ทรงถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ ในพิธีสมโภชรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕
18
พระบรมวงศานุวงศ์ที่มีบทบาทสร้างสรรค์ชาติไทย
๑. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงรับผิดชอบการจัดการศึกษาให้กับราฎรได้มีความรู้ อ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น และปลูกฝังทางด้านศีลธรรมและจริยธรรมและศึกษาค้นคว้าวิชาการทางด้านประวัติศาสตร์ เช่น พงศาวดารสยาม ตำนานประเทศไทย
19
๒. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท
๒. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ทรงพระปรีชาสามารถในเรื่องยาไทยและแพทย์แผนไทย ทรงได้รับการแต่งตั้งให้ทรงว่าราชการกรมหมอและเป็นนายแพทย์ประจำพระราชสำนัก และทรงศึกษาวิชาแพทย์ฝรั่งจนมีความรู้ความสามารถได้รับการรับรองจากมหาวิทยาลัยสหรัฐอเมริกา
20
๓. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยา เทวะวงศ์วโรปการ
๓. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยา เทวะวงศ์วโรปการ พระองค์ทรงมีบทบาททางด้าน การเมืองการปกครองเพื่อให้รอดพ้นจากการรุกรานของมหาอำนาจ เป็นผลดีต่อการปรับปรุงประเทศเข้าสู่ความทันสมัย ที่สำคัญมีผลต่อการดำเนินนโยบายต่างประเทศเพื่อความมั่นคงความเจริญก้าวหน้าของชาติ
21
๔. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ทรงมีผลงานด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดีและศิลปวัฒนธรรมจำนวนมาก ทรงเป็นปราชญ์คนสำคัญของประเทศ จนได้รับการยกย่อง ว่าเป็น “พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย”
22
๕. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์
๕. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ทรงมีพระปรีชาสามารถด้านการช่างและศิลปะจนได้รับการยกย่องให้เป็นบรมครูในการช่างและศิลปะ ผลงานทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม ได้แก่ พระอุโบสถวัดราชาธิวาส พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ทรงดนตรี เช่น ขลุ่ย ระนาด เป็นต้น ผลงานทางด้านจิตกรรม เช่น เพลงเขมรไทรโยค เพลงมาลัย เป็นต้น สมเด็จฯ เจ้าฟ้าพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงออกแบบก่อสร้างพระอุโบสถเบญจมบพิตรดุสิตวรารามอย่างวิจิตรงดงามด้วยแบบอย่างศิลปะและสถาปัตยกรรมไทยโบราณ
23
ขุนนางและชาวต่างชาติที่มีบทบาทในการ สร้างสรรค์ชาติไทย
๑. ออกญาโกษาธิบดี (ปาน) ช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับฝรั่งเศสให้มีความใกล้ชิดและมีความเข้าใจต่อกันมากยิ่งขึ้น และเป็นหัวหน้าคณะฑูตเดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศส โกษาปาน ราชทูตแห่งกรุงศรีอยุธยา
24
๒. หม่อมราโชทัย อิศรางกูร
๒. หม่อมราโชทัย อิศรางกูร ได้ศึกษาภาษาอังกฤษจนสามารถใช้ได้ดีทั้งการพูดและการเขียนซึ่งเป็นประโยชน์ ต่อราชการแผ่นดิน ดำรงตำแหน่งล่ามหลวงแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ บทกวีนิพนธ์เรื่อง “นิราศลอนดอน” ซึ่งพรรณนาถึงความเจริญทาง ด้านเทคโนโลยี สภาพความเป็นอยู่ ชาวอังกฤษ
25
๓. สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุรียวงศ์ (ช่วง บุนนาค)
๓. สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุรียวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ดำรงตำแหน่งเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินและมีส่วนสำคัญในการทำนุบำรุงประเทศชาติให้มีความเจริญรุ่งเรือง เช่นสร้างวังที่เมืองเพชรบุรี เมืองลพบุรี ขยายถนนบำรุงเมือง เฟื่องนคร สั่งขุดคลองนครเนื่องเขตต์ และอำนวยการขุดคลองเปรมประชากร เป็นต้น
26
๔. ลาลูแบร์ (ชาวฝรั่งเศส)
ผู้บันทึกเรื่องราวของกรุงศรีอยุธยาเพื่อกลับไปรายงานให้ราชสำนักพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งฝรั่งเศสได้ทรงทราบ บันทึกเหล่านี้กลายเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีคุณค่าต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาเป็นอย่ามาก จดหมายเหตุ เดอ ลา ลูแบร์
27
๕. บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ สนใจเรียนรู้ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย จึงได้เขียนหนังสือว่าด้วยเมืองไทยเป็นภาษา ฝรั่งเศสแปลเป็นภาษาไทยว่า “เล่าเรื่องกรุง สยาม ” มี ๒๑ ตอน เช่น ภูมิประวัติศาสตร์และลักษณะการปกครองของกรุงสยาม เมืองขึ้นของประเทศสยาม และเรียบเรียง ปทานุกรมฉบับใหญ่มาก “ศิรพจน์ภาษาไทย” มี ๓ภาษา คือ ภาษาไทย ภาษาฝรั่งเศส และภาษาอังกฤษ เป็นต้น
28
๖. หมอบรัดเลย์ (ดร. แดน บีช บรัดเลย์)
๖. หมอบรัดเลย์ (ดร. แดน บีช บรัดเลย์) เป็นผู้บุกเบิกการพิมพ์แห่งสยาม ได้ออกหนังสือพิมพ์รายเดือน ชื่อ “บางกอกรีคอร์เดอร์” และยังเป็นผู้เผยแพร่ประวัติศาสตร์ไทย ตำนานไทย ขนบธรรมเนียมไทย ความรู้ในภาษาไทย รวมถึงศาสนาและประเพณีไทยให้ชาวต่างประเทศได้รู้จักอย่างทั่งถึง
29
๗. พระยารัษฎานุประดิษฐ มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง)
๗. พระยารัษฎานุประดิษฐ มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) เป็นผู้มีความสามารถในการจัดการปกครองบ้านเมือง การคมนาคม การค้าขาย การปราบปรามโจรผู้ร้าย และเป็นบุคคลแรกที่เชิญชวนให้เจ้านายและข้าราชการทำสวนยางพาราเพื่อเป็นแบบอย่างแก่ประชาชน พระยารัษฏานุประดิษฐ มหิศรภักดี นักพัฒนาแห่งหัวเมืองปักษ์ใต้
30
๘. พระยากัลยาณไมตรี (ดร. ฟรานซิส บี . แซร์)
๘. พระยากัลยาณไมตรี (ดร. ฟรานซิส บี . แซร์) ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการต่างประเทศของไทยดำเนินการแก้ไขข้อผูกพันที่ไทยมีต่อประเทศต่างๆเช่น โปรตุเกส เนเธอร์แลนด์ ออสเตรีย – ฮังการี เดนมาร์ก เบลเยียม อิตาลี สเปน สวีเดน ญี่ปุ่น เป็นต้น เพื่อให้ได้เอกราชทางด้านภาษีของไทยกลับคืนมา
31
๙. ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี
๙. ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี มีความสนใจและด้านศึกษาวิชาการทางด้านศิลปะ ประติมากรรม และจิตรกรรม ในการสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าแก่วงการศิลปะของไทย เป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.