งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เรื่องเล่าคนชายขอบต่างชาติพันธุ์ในวรรณกรรมไทยร่วมสมัย พ.ศ. ๒๕๔๕ - ๒๕๕๕

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เรื่องเล่าคนชายขอบต่างชาติพันธุ์ในวรรณกรรมไทยร่วมสมัย พ.ศ. ๒๕๔๕ - ๒๕๕๕"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เรื่องเล่าคนชายขอบต่างชาติพันธุ์ในวรรณกรรมไทยร่วมสมัย พ.ศ. ๒๕๔๕ - ๒๕๕๕
อ.ดร.ธนิกาญจน์ จินาพันธ์

2 เรื่องเล่าคนชายขอบต่างชาติพันธุ์ในวรรณกรรมไทยร่วมสมัย (๒๕๔๕ - ๒๕๕๕)
วรรณกรรมไทย ๒๐ เรื่อง นวนิยาย ๒ เรื่อง เรื่องสั้น ๑๘ เรื่อง

3 วรรณกรรมที่นำเสนอเกี่ยวกับคนชายขอบต่างชาติพันธุ์
ตาเฒ่าแขกแดง เรื่องเล่าของชายลึกลับผู้มากับอดีต ดอยรวก งานเลี้ยงหมูป่า ปัจจัยแห่งชีวิต มีเรื่องใดบ้างในโลกนี้ ความเข้าใจเบื้องต้นเรื่องวัวในประเทศพม่า เมียนมาร์ ซูเปอร์มาเก็ต แมวพม่า คล้ายว่าเริ่มจากฝน โลกประหลาดในประวัติศาสตร์ความเศร้า เกียวบาวนาจอก คนขายโรตีจากศรีลังกา คลื่นภายใน ฝั่งเมืองตระนอม(วันเขมรพนมเปญเมาแดด) บัณฑิตเปื้อนโคลน ขวัญ – เรียม และรถไฟฟ้า เรื่องร่วมสมัย คนทะเล ล่า

4 ชาติพันธุ์ในวรรณกรรมร่วมสมัย ๒๐ เรื่อง (นวนิยาย ๒ เรื่อง เรื่องสั้น ๑๘ เรื่อง)
ศรีลังกา เวียดนาม คนพลัดถิ่น ลาว แรงงานข้ามชาติ กัมพูชา พม่า มอญ

5 วัตถุประสงค์ของงานวิจัย
เพื่อศึกษาการประกอบสร้างความหมายให้แก่ “คนชายขอบต่างชาติพันธุ์” ในวรรณกรรมไทยร่วมสมัย พ.ศ. ๒๕๔๕ – ๒๕๕๕ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่าง คนไทยกับคนชายขอบต่างชาติพันธุ์บนแผ่นดินไทยในวรรณกรรมไทยร่วมสมัย พ.ศ. ๒๕๔๕ – ๒๕๕๕

6 เรื่องเล่าคนชายขอบต่างชาติพันธุ์
เรื่องเล่า (Narrative) / การเล่าเรื่อง การเล่าเรื่อง เป็นการสร้างความหมายให้กับเรื่องที่เล่า การที่มนุษย์แต่ละสังคมจะ “รับรู้ความหมาย” เกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างไร ขึ้นอยู่กับ “กระบวนการประกอบสร้างความหมาย” ให้แก่สิ่งนั้น

7 อำนาจของเรื่องเล่า เรื่องเล่ามีอำนาจที่จะ “สร้างความหมาย” (construct) “รื้อสร้างความหมาย” (deconstruct) และ “ใส่ความหมายใหม่เข้าไป” (reconstruct) ให้แก่บรรดาสัญญะต่างๆ

8 บทบาทหน้าที่หลักของการเล่าเรื่อง คือการประกอบสร้างความหมาย (Construction of Meaning) ให้แก่สรรพสิ่งต่างๆ

9 อาชีพของคนชายขอบต่างชาติพันธุ์ในวรรณกรรม
แรงงานประมง คนงานกรีดยาง แรงงานก่อสร้าง เด็กทำงานบ้าน เด็กเสิร์ฟร้านอาหาร

10 เรื่องเล่าของคนชายขอบต่างชาติพันธุ์
เรื่องเล่าระยะแรก (พ.ศ. ๒๕๔๕ - ๒๕๕๒) - แรงงานชาย - ความดิบเถื่อน ความดุดันอันตราย - อยู่ในพื้นที่ปิด หรือห่างไกลจากชุมชน เช่น ป่าสวนยาง กลางทะเลลึก - เสียงเงียบ เสียงร้องอย่างสัตว์ เสียงพูดไม่เป็นภาษา

11 เรื่องเล่าของคนชายขอบต่างชาติพันธุ์
เรื่องเล่าระยะต่อมา (พ.ศ. ๒๕๕๓ - ๒๕๕๕) - แรงงานหญิงเริ่มปรากฏตัว - สถานที่ทำงานอยู่ในชุมชน หรือพื้นที่สาธารณะที่เป็นที่เปิดเผย เช่น ร้านกาแฟ ร้านอาหาร - มีบทพูด บทสนทนา

12 ภาพของคนชายขอบต่างชาติพันธุ์ที่นำเสนอในเรื่องเล่า
ถูกเปรียบว่าเป็นสัตว์ การส่งเสียงร้องอย่างสัตว์ การเป็นดั่งสัตว์ที่ถูกตามล่า ใกล้ชิดและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับสัตว์ เป็นบุคคลผู้ทุพพลภาพ เป็นผู้ถูกกระทำอย่างยินยอม เป็นผู้ถูกรังเกียจจากคนในชุมชน (ถูกกันให้อยู่ในพื้นที่เฉพาะที่อยู่ห่างไกลชุมชน)

13 ความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างคนไทยในชุมชนกับ แรงงานข้ามชาติ
ความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างคนไทยในชุมชนกับ แรงงานข้ามชาติ การเป็นผู้ให้กับการเป็นผู้รับ การเป็นนายจ้างกับลูกจ้าง การเป็นเจ้าหน้าที่รัฐกับผู้ลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย ประเทศไทยในฐานะการเป็นจุดสิ้นสุดแห่งความทุกข์ยาก เป็นที่พึ่ง และเป็นความหวังของคนชายขอบต่างชาติพันธุ์

14 บทสุดท้ายของคนชายขอบต่างชาติพันธุ์ในแผ่นดินไทย
ตาย สาบสูญ / หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย ถูกจับกุม และถูกส่งตัวกลับประเทศ (ผู้ชาย) ถูกข่มขืน และถูกส่งตัวกลับประเทศ (ผู้หญิง)

15 Title Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit. Vivamus et magna. Fusce sed sem sed magna suscipit egestas.

16 Title Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit. Vivamus et magna. Fusce sed sem sed magna suscipit egestas.


ดาวน์โหลด ppt เรื่องเล่าคนชายขอบต่างชาติพันธุ์ในวรรณกรรมไทยร่วมสมัย พ.ศ. ๒๕๔๕ - ๒๕๕๕

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google