ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
สมาชิกในกลุ่ม การพัฒนาหรือการดำเนินการ
เกี่ยวกับการให้ความเห็นการพัฒนาสาระหลักสูตรท้องถิ่น สมาชิกในกลุ่ม 1. นายศราวุฒิ มั่นคง รหัส 2. นายธันยธรณ์ คำเพียว รหัส 3. นางสาวอรพิน สุภาวงศ์ รหัส 4. นางสาวอัจฉรา กฐินเทศ รหัส 5. นางสาวณัฎจิตา บุญวรรณี รหัส 6. นางสาวพิกุลทอง อินทร์วงศ์ รหัส
2
ความหมายของหลักสูตรท้องถิ่น
อุดม เชยกีวงศ์ กล่าวว่า หลักสูตรท้องถิ่น หมายถึง หลักสูตรที่สถานศึกษา หรือครูหรือผู้เรียนร่วมกันพัฒนาขึ้นเพื่อมุ่งเน้นให้ผู้เรียน ได้นำไปใช้ในชีวิตจริงเรียนแล้วเกิดการเรียนรู้ สามารถนำไปใช้อย่างมีคุณภาพและเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมอย่างมีความสุข
3
ความหมายของหลักสูตรท้องถิ่น
ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์ กล่าวว่า หลักสูตรท้องถิ่น หมายถึง มวลประสบการณ์ที่สถานศึกษาหรือหน่วยงานและบุคคลในท้องถิ่นจัดให้แก่ผู้เรียนตามสภาพและความต้องการ ของท้องถิ่นนั้นๆ
4
ความหมายของหลักสูตรท้องถิ่น
วิชัย ประสิทธิ์วุฒิเวชช์ กล่าวว่า หลักสูตรท้องถิ่น หมายถึง การนำหลักสูตรแกนกลางทั้งเอกสารหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตร ที่พัฒนามาจากส่วนกลางมาปรับขยายหรือเพิ่ม หรือสร้างหลักสูตรย่อยขึ้นใหม่ให้เหมาะสมกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ และการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น
5
สรุปความหมายของหลักสูตรท้องถิ่น
หลักสูตรท้องถิ่น หมายถึง หลักสูตรที่ครู สถานศึกษา ผู้เรียน และชุมชนหรือคนในท้องถิ่น ร่วมกันพัฒนาขึ้นเพื่อมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้นำไปใช้ในชีวิตจริงแล้วเกิดการเรียนรู้สามารถนำไปใช้ได้ อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับสภาพปัญหาในชุมชน สังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณสมบัติอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดี ของครอบครัว ชุมชน สังคมและประเทศชาติ
6
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ตามขั้นตอน ดังนี้ 1. จัดตั้งคณะทำงาน ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน 3. กำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร เลือกและจัดเนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้ 5. กำหนดเกณฑ์การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 6. ตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรก่อนนำไปใช้ 7. เสนอขออนุมัติใช้หลักสูตร 8. นำหลักสูตรไปใช้ 9. ประเมินหลักสูตร
7
การพัฒนาสาระหลักสูตรท้องถิ่นในสถานศึกษา
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 31 อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน เมื่อปี พ.ศ. 2553
8
ข้อมูลทั่วไปของสถานศึกษา
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ตั้งอยู่เลขที่ 99 หมู่ 10 ตำบลช่างเคิ่ง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ โทรสาร Website:
9
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 31
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 31 ผู้ให้สัมภาษณ์ นายพนม บุญตอม ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย พัฒนาวิชาข้าวไทย (พันธุ์เหมยนอง) สาขาวิชางานเกษตร กลุ่มสาระการ เรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพและเทคโนโลยี โดยมีขั้นตอนหรือกระบวนการพัฒนา หลักสูตรท้องถิ่น ดังนี้ 1. ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงาน 2. ศึกษาปัญหาและความต้องการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยให้เป็นไป ตามมาตรฐานตัวชี้วัดกลุ่มสาระงานของหลักสูตรแกนกลาง ของสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี 2551
10
3. กำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร คือ ผู้เรียนสามารถรู้ถึงทฤษฎีและปฏิบัติจริงในกระบวนการ ผลิตข้าวไทย(พันธุ์เหมยนอง) รวมถึง ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่ใช้ในการผลิตข้าวไทย 4. เลือกและจัดเนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้ โดยมีการประชุมร่วมภาคี 4 ฝ่าย มี ผู้เรียน ผู้ปกครอง ชุมชน และคณะกรรมการสถานศึกษา ทำแบบสอบถามถึงความต้องการ และเลือกเนื้อหาเป็นหลักสูตรนี้ ซึ่งจัดเป็นหน่วยการเรียนรู้ 4 หน่วย คือ
11
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ข้าวไทยและการจำแนกพันธุ์ข้าวทางพฤษศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง การปลูกข้าว (พันธุ์เหมยนอง) เป็นพันธุ์ข้าวดั้งเดิมของแม่แจ่ม รวมไปถึงวิธีการดูแลรักษาต้นข้าวอย่างถูกวิธี และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิธีการทำนาในรูปแบบต่างๆ และวิธีปฏิบัติดูแลรักษาข้าว หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง การเก็บเกี่ยวผลผลิต บอกถึงวิธีการใช้งานเครื่องมือและอุปกรณ์ เข้าใจวิธีการเก็บเกี่ยวข้าว หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง การจัดการผลผลิต รู้ถึงวิธีการเก็บรักษา บริโภคและจำหน่าย
12
5. กำหนดเกณฑ์การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการอิง ตามหลักสูตรแกนกลางของสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน 6. การตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรก่อนนำไปใช้ โดยร่วมกับภาคี 4 ฝ่าย คือ ผู้เรียน ผู้ปกครอง ชุมชน และคณะกรรมการสถานศึกษา 7. เสนอขออนุมัติใช้หลักสูตร โดย นำเสนอประธาน คณะกรรมการสถานศึกษาลงนามเพื่อใช้หลักสูตร 8. นำหลักสูตรไปใช้ โดยการบูรณาการเข้ากับกลุ่มสาระ การเรียนรู้ต่างๆ มีการนำวิทยากรหรือปราชญ์ในท้องถิ่นเข้ามาให้ความรู้ แก่ผู้เรียน ฝึกปฏิบัติจริง
13
*ยังไม่มีการประเมินหลักสูตร
9. ประเมินหลักสูตร ได้เตรียมการมีแบบสอบถามและแบบประเมิน โดยผู้สอนรายวิชา กับ ผู้เรียน ผู้ปกครอง ชุมชน และคณะกรรมการสถานศึกษา นำมาวิเคราะห์ เพื่อเป็นผลสัมฤทธิ์ของหลักสูตรท้องถิ่นนี้ *ยังไม่มีการประเมินหลักสูตร เนื่องจากการนำหลักสูตรไปใช้ถึงหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่องการปลูกข้าว และวิธีการดูแลรักษาต้นข้าวในนา
14
แผนผังการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 31
ตั้งคณะทำงาน 1ชุด ศึกษาปัญหาและความต้องการ วิเคราะห์ข้อมูลสรุป ( ข้าวไทย) กำหนดเกณฑ์การประเมินตามหลักสูตรแกนกลาง ภาคี 4 ฝ่ายเลือกและจัดเนื้อหาหน่วยการเรียนรู้ กำหนดจุดมุ่งหมาย ผู้เรียนได้เรียนรู้ทฤษฎี + ปฏิบัติ อนุมัติใช้หลักสูตร โดยประธานคณะกรรมการ นำหลักสูตรไปใช้ บูรณาการเข้ากับกลุ่มสาระต่างๆ ตรวจสอบคุณภาพหลักสูตร ประเมินหลักสูตร (แบบสอบถาม+แบบประเมินตามหลักสูตร
15
ข้าวไทย (พันธุ์เหมยนอง) พันธุ์ข้าวดั้งเดิมของแม่แจ่ม
16
ภาพกิจกรรม
17
ภาพกิจกรรม
18
ภาพกิจกรรม
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2025 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.