งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การศึกษาชีววิทยา หน้าถัดไป.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การศึกษาชีววิทยา หน้าถัดไป."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การศึกษาชีววิทยา หน้าถัดไป

2 การศึกษาชีววิทยา ชีววิทยา เป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง ดังนั้นการศึกษา ทางชีววิทยาจึงต้องอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (scientific method) ซึ่งเป็นเครื่องมือในการสืบเสาะแสวงหาความจริง หรือความรู้ต่างๆ ในธรรมชาติของนักวิทยาศาสตร์ นัก ชีววิทยา เพื่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีซึ่งจะเป็นประโยชน์ ต่อการดำรงชีวิตของ มนุษย์ในปัจจุบันและอนาคตต่อไป หน้าถัดไป

3 วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Process)
1. ขั้นตั้งปัญหาที่ได้จากการสังเกต 2. ขั้นตั้งสมมติฐาน 3. ขั้นตรวจสอบสมมติฐาน 4. ขั้นแปรผลและสรุปผลการทดลอง หน้าถัดไป

4 1.ตั้งปัญหา แอลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักฟิสิกส์ชาวอเมริกา ได้กล่าวว่า “การตั้งปัญหานั้นสำคัญกว่าการแก้ปัญหา” หลักการ ต้องสัมพันธ์กับข้อมูลที่มีอยู่กะทัดรัดชัดเจน หน้าถัดไป

5 2.ตั้งสมมติฐาน ขั้นตั้งสมมติฐาน เป็นการพยายามหาคำตอบหรือคำอธิบาย ซึ่งอาจเกิดจากการคาดคะเนหรือสมมติขึ้นซึ่งอาจเป็นจริงหรือไม่จริงก็ได้ ดังนั้นการตั้งสมมุติฐานต้อง “สัมพันธ์กับปัญหา หารแนวทางการตรวจสอบสมมติฐานได้” และมักอยู่ในรูป ถ้า ดังนั้น หน้าถัดไป

6 3.ขั้นตรวจสอบสมมติฐาน 1.ตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น 2.ตัวแปรตาม
การตรวจสอบสมมติฐานของนักวิทยาศาสตร์มักใช้ วิธีการทดลอง สำรวจ หรือการค้นคว้าเพิ่มเติมจากผลงานวิจัยที่มีผู้ทำการศึกษามาก่อนแล้ว หรือใช้ทั้ง 3 อย่าง ประกอบกันประเมินดูว่า สมมติฐานที่ตั้งไว้นั้นเป็นจริงได้หรือไม่เพียงใด ตัวแปร (variable) คือ ปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการทดลอง ตัวแปรมี 3 ชนิด คือ 1.ตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น 2.ตัวแปรตาม 3.ตัวแปรควบคุม หน้าถัดไป

7 ตัวแปรอิสระ (independent variable)
คือ ตัวแปรที่เราต้องการศึกษาโดยผู้ทำการทดลอง เป็นผู้กำหนด เช่น เราจะศึกษาเรื่อง “แสงสว่างมีความ จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชหรือไม่” แสงสว่าง จะต้องเป็นตัวแปรอิสระ หรือถ้าศึกษาเรื่อง “ชนิดของดิน มีอิทธิพลต่อการเจริญงอกงามของต้นกุหลาบหรือไม่” ในที่นี้ตัวแปรอิสระคือ ชนิดของดิน หน้าถัดไป

8 ตัวแปรตาม (dependent variable)
คือ ตัวแปรที่แปรเปลี่ยนไปตามตัวอิสระ เช่น จากตัวอย่างในเรื่องตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม คือ อัตรา การเจริญเติบโตของพืช และอัตราการเจริญงอกงามของ ต้นกุหลาบโดยที่ เมื่อปริมาณแสงสวางเปลี่ยนไป อัตราการ เจริญเติบโตของพืชก็จะเปลี่ยนแปลงไปด้วย เมื่อชนิดของดินเปลี่ยนแปลงไป อัตราการเจริญงอก งามของต้นกุหลาบก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย หน้าถัดไป

9 ตัวแปรควบคุม ตัวแปรที่ต้องควบคุมหรือ ตัวแปรคงที่ สิ่งที่ต้องจัดให้เหมือนกันในการทดลองเพื่อไม่ให้ กระทบผลการทดลอง เช่น เรื่อง “แสงสว่างมีความ จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชหรือไม่” ตัวแปรที่ต้อง ควบคุมตลอดการทดลอง คือ ชนิดของดิน อุณหภูมิ ปริมาณน้ำ ชนิดของพืช ขนาดที่ใช้ในการปลูก ฯลฯ โดยต่างกันเรื่องเดียว คือ เรื่องแสงสว่างที่เป็นตัวแปร อิสระ หน้าถัดไป

10 4.ขั้นแปรผลและสรุปผลการทดลอง
เมื่อจบการทดลอง เราจะได้ข้อมูลหรือผลการทดลองออกมา ผลการทดลองก็คือข้อเท็จจริงจากการทดลองนั่นเอง การแปรผลและสรุปผลการทดลองก็คือการวิเคราะห์ ผลการทดลองนั้นว่ามีความเป็นไปได้ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ หรือไม่อย่างไร เสร็จแล้วจึงแปรผล และสรุปผลการทดลองเพื่อเป็นคำตอบของปัญหาต่อไป หน้าถัดไป

11 จบบทเรียนแล้วค่ะ เก่งมากเลย...


ดาวน์โหลด ppt การศึกษาชีววิทยา หน้าถัดไป.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google