งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การเพิ่มคำ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การเพิ่มคำ."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การเพิ่มคำ

2 คำ เปรียบได้กับสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย คือมีเกิด ดำรงอยู่ แล้วก็ตายไป คำจำนวนไม่น้อยที่ เคยใช้กันมาแต่โบราณ ปัจจุบันได้สูญไปจาก ภาษา มีคำใหม่เกิดขึ้น คำใหม่ที่เกิดขึ้นนี้ บางคำเพียงแต่ใช้พูดกันเฉพาะกลุ่ม เฉพาะ โอกาส แล้วเสื่อมความนิยมไป คำเช่นนี้มีผู้ เรียกว่า คำคะนอง

3 ข้อสันนิษฐานอย่างหนึ่งเกี่ยวกับที่มาของคำ บางคำในภาษาไทย คือ การเลียนเสียง ธรรมชาติ
เสียงธรรมชาติ หมายถึง เสียงต่างๆที่คนเรา ได้ยิน เช่น เสียงสัตว์ร้อง เสียงลม เสียงฝน

4 มีคำจำนวนมากในภาษาที่มิได้เป็นคำคิดขึ้น ใหม่แต่ป็นคำที่เพิ่มขึ้นโดยซ้ำเสียงคำที่มีอยู่แล้ว นำคำที่มีอยู่มาซ้อนหรือเข้าคู่กัน หรือประสมคำ ที่มีอยู่แล้ว จนกลายดป็นคำในภาษาของเรา

5 คำซ้ำ คำซ้ำเป็นชนิดของคำที่เพิ่มขึ้นโดยออกเสียงซ้ำคำ เดิมให้ต่อเนื่องกัน เมื่อเขียนจะใช้เครื่องหมาย “ๆ” เติมหลังคำเดิม ตัวอย่าง เด็กกำลังไม่สบาย เด็ก อาจหมายถึง เด็กคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ แต่ถ้าพูกว่า เด็กๆกำลังไม่สบาย เด็กๆ จะ หมายถึง เด็กหลายคน

6 ข้อสังเกตเกี่ยวกับคำซ้ำ
เมื่อซ้ำคำนาม จะมีความหมายเท่ากับเพิ่มจำนวนของ คำนานนั้น คำนานที่ซ้ำ จึงมีความหมายชัดเจนว่า เป็นพหูพจน์ มีบางคำออกเสียงซ้ำเสมอ เฉพาะในภาษาพูดที่ไม่เป็นทางการ อาจออกเสียง เน้นหนักที่คำหน้าของคำซ้ำ ในสมัยก่อน เมื่อเขียนคำซ้ำในบทร้อยแก้วหรือบทร้อย กรอง จะใช้ไม้ยมก แทนเสียงที่ซ้ำเสมอไป แต่ใน ปัจจุบัน ใช้ไม้ยมกเฉพาะในบทร้อยแก้วเท่านั้น ส่วน ในบทร้อยกรอง ถ้าเขียนคำนั้นซ้ำ จะไม่ใช้ไม้ยมก เพราะต้องการให้เห็นจำนวนคำในวรรคอย่างชัดเจน

7 คำซ้อน คำซ้อนเป็นชนิดของคำที่เพิ่มขึ้นโดยนำคำมา ประกอบกันตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป เมื่อประกอบกัน แล้ว จะทำให้มีคำใช้เพิ่มขึ้นในภาษา

8 ข้อสังเกตเกี่ยวกับคำซ้อน
คำซ้อนจำนวนไม่น้อยประกอบด้วยคำที่มีเสียง พยัญชนะต้นเสียงเดียวกัน เช่น เกลี้ยงเกลา แกว่ง ไกว คำพยางค์เดียวกันหรือคำ 2 พยางค์ อาจซ้อนกันได้ กลายเป็นคำซ้อน 4 พยางค์ เช่น ป่าดงพงไพร หากซ้อนคำพยางค์เดียวกับคำ 2 พยางค์ มักมีการ เติมพยางค์อีกหนึ่งพยางค์ เพื่อให้กลายเป็นคำซ้อน 4 พยางค์ เช่น ขโมยขโจร

9 4. คำซ้อน 4 พยางค์ อาจมีสัมผัสสระ เช่น คุยโม้โอ้ อวด
5. มีคำซ้อนจำนวนไม่น้อยที่บัญญัตืขึ้นในภาษาไทยเพื่อ ใช้เทียบกับศัพท์ต่างประเทศ ตัวอย่าง ผูกพัน เทียบกับ obligate ผูกมัด เทียบกับ commit 6. การซ้อนคำ นอกจากช่วยให้มีคำเพิ่มในภาษา ยังมี ประโยชน์ในการแปลความหมายของคำที่นำมาซ้อนอีก ด้วย ข่มเหง เรารูความหมายของ คำ ข่ม คำ เหง ก็น่าจะมีความหมายทำนองเดียวกับคำ ข่ม (เหงเป็นคำภาษาถิ่นใต้ แปลว่าทับหรือ ข่ม

10 7. คำซ้อนบางคำ ถ้าเปลี่ยนตำแหน่งของคำ ความหมายจะเปลี่ยนแปลงไป และมักมีที่ใช้ ต่างกับคำเดิม
ตัวอย่าง แหลกเหลว หมายถึง ละเอียดเป็นชิ้นเล็กชิ้น น้อย ใช้กับวัตถุ เหลวแหลก หมายถึง ไม่ดี ใช้กับความ ประพฤติ

11 คำประสม การเพิ่มคำโดยวิธีการประสม โดยนำคำตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปมาประสมกัน ทำให้เกิดคำใหม่ มี ความหมายใหม่ แต่ก็พอมีเค้าความหมายเดิม อยู่บ้าง

12 ข้อสังเกตเกี่ยวกับคำประสม
คำประสมมักจะเป็นคำนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์ เช่น สมุดดำ จัดการ คอตก คำประสมที่เป็นคำนาม คำกริยา คำวิเศษณ์นั้น ไม่ จำเป็นว่าคำแรกจะต้องเป็น คำนาม คำกริยา หรือ คำวิเศษณ์เสมอไป เช่น รองเท้า บังตา คำประสมจำนวนมากมีคำแรกซ้ำกัน ถือเป็นคำตั้ง แล้วมีคำต่างๆ ช่วยเสริมความหมาย เช่น คน คนใช้ คนนำทาง คนสวย คำประสมจำนวนมากมีความหมายเปรียบเทียบ เช่น ไก่อ่อน หมายถึง คนที่ไม่เจนโลก มักเพลี่ยง พล้ำแก่ผู้อื่น

13 คำจากภาษาอื่น ในพจนานุกรมฉบับราชบัณพิตยสถาน พ.ศ  ระบุภาษาต่างๆ ที่ภาษาไทยรับมาใช้ นับได้ถึง 14 ภาษา เช่น เขมร จีน ชวา บาลี สันสกฤต อังกฤษ ฯลฯ

14 ข้อสังเกตเกี่ยวกับคำจากภาษาอื่น
คำที่มาจากภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตมีที่ใช้ อย่างกว้างขวางและมีจำนวนมากที่สุด ภาษาทั้ง สองนี้เราใช้ในเรื่องทางศาสนา ไม่เฉพาะแต่ พุทธศาสนาเท่านั้น แม้ในคริสต์ศาสนาก็มีใช้ อยู่เป็นปกติ เช่น บุญ บาป กุศล คนไทยได้ผูกคำขึ้นใช้โดยอาศัยวิธีการสมาสคำ กล่าวคือ นำคำบาลีหรือสันสกฤตมาประกอบกัน เกิดเป็นคำใหม่ขึ้น เช่น ธนกิจ เป็นคำสมาส ผูกขึ้นจากคำ ธน+กิจ แปลว่ากิจที่เกี่ยวกับ การเงิน

15 นางสาวนัสวิวรรณ อานามวัฒน์ ม.5/2 เลขที่ 8


ดาวน์โหลด ppt การเพิ่มคำ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google