งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การคุ้มครองความลับทางการค้า ภายใต้กฎหมายความลับทางการค้า

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การคุ้มครองความลับทางการค้า ภายใต้กฎหมายความลับทางการค้า"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การคุ้มครองความลับทางการค้า ภายใต้กฎหมายความลับทางการค้า
เรียบเรียงจากบทบรรยาย ของ นายยรรย พวงราช อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา นายสุชาติ ธรรมาพิทักษ์กุล สภาทนายความ นายจักรกฤษณ์ เจนเจษฎา ศาลทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศ ภญ.ดารณี เพ็ญเจริญ สำนักงานคณะกรรมการ อาหารและยา

2 ความลับทางการค้า คือข้อมูลทางการค้าซึ่งได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. ความลับทางการค้า พ.ศ. 2545 ข้อตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (TRIPS) ส่วนที่ 2 หมวดที่ 7 มาตรา 39 ที่ระบุให้สมาชิกคุ้มครองข้อสนเทศที่ไม่เปิดเผย เพื่อให้เกิดการแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรม

3 พ.ร.บ. ความลับทางการค้า พ.ศ. 2545
พ.ร.บ. ความลับทางการค้า พ.ศ. 2545 ยกร่าง พ.ศ. 2539 ประกาศในราชกิจจาฯ 23 เม.ย. 2545 บังคับใช้ 22 ก.ค. 2545

4 ลักษณะของความลับทางการค้า
ยังไม่รู้จักกันทั่วไปหรือเข้าถึงไม่ได้ในหมู่คนที่เกี่ยวข้อง สูตรอาหาร สูตรเครื่องดื่ม สูตรยา มีประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ นำข้อมูลวิจัยตลาดไปใช้ผลิตสินค้าออกสู่ตลาด ผู้ควบคุมความลับได้ใช้มาตรการที่เหมาะสมเพื่อรักษาไว้เป็นความลับ เก็บในตู้นิรภัย เครื่องคอมพิวเตอร์ จำกัดการเข้าถึงข้อมูล

5 สิ่งที่ได้รับความคุ้มครอง
แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ข้อมูลทางการค้าด้านอุตสาหกรรม ข้อมูลเกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์ ลิปสติก สบู่ สูตรเครื่องดื่ม เคล็ดลับการประกอบอาหาร

6 สิ่งที่ได้รับความคุ้มครอง (ต่อ)
ข้อมูลการค้าที่เป็นกรรมวิธีหรือขั้นตอน เทคนิคการผลิต กรรมวิธีถนอมอาหาร ข้อมูลการค้าที่ข้อมูล/ผลการวิจัย การวิจัยเพื่อผสมพันธ์กล้วยไม้

7 สิ่งที่ได้รับความคุ้มครอง (ต่อ)
ข้อมูลทางการค้าด้านพาณิชยกรรม ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจ ข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า ข้อมูลเกี่ยวกับราคาสินค้า ข้อมูลเกี่ยวกับการวางแผนโฆษณาสินค้า ข้อมูลการค้าที่เป็นข้อมูล/ผลการวิจัย ข้อมูลวิเคราะห์/วิจัยตลาดหรือผู้บริโภค

8 เงื่อนไขความคุ้มครอง
ไม่ต้องจดทะเบียน รักษาสภาพให้คงเป็นความลับ ระบบขึ้นทะเบียนข้อมูลเพื่อนำหนังสือรับรองไปใช้เป็นหลักฐานในการแปลงทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทุน

9 อายุการคุ้มครอง สิทธิที่ได้
คุ้มครองตลอดไปตราบเท่าที่ยังเป็นความลับอยู่ สิทธิที่ได้ เปิดเผย เอาไปใช้ หรือใช้ อนุญาตให้บุคคลอื่นเปิดเผย เอาไปใช้ หรือใช้ โอนสิทธิ

10 การละเมิด รู้หรือมีเหตุอันควรรู้ เปิดเผย
เอาไป เช่น ถ่ายภาพ ถ่ายสำเนา ท่องจำ ใช้ความลับทางการค้า เช่น นำข้อมูลที่ได้ไปผลิตสินค้า

11 การละเมิด (ต่อ) เจ้าของไม่ยินยอม
การกระทำในลักษณะที่ขัดต่อแนวทางปฏิบัติในเชิงพาณิชย์ที่สุจริตต่อกัน เช่น การจารกรรมข้อมูลการค้า ทางคอมพิวเตอร์ ผิดสัญญา การติดสินบนลูกจ้างของคนอื่นเปิดเผยความลับให้

12 ข้อยกเว้นการกระทำที่ถือว่าไม่เป็นการละเมิด
เปิดเผยหรือใช้ความลับทางการค้าที่ได้มา โดยทางนิติกรรม โดยไม่รู้ว่าคู่สัญญาละเมิด สิทธิของผู้อื่น หน่วยงานรัฐเปิดเผย หรือใช้เพื่อคุ้มครอง สุขภาพอนามัยของสาธารณชน การค้นพบโดยอิสระ การทำวิศวกรรมย้อนกลับ

13 มาตรการการคุ้มครองความลับทางการค้า
ควรมีมาตรการเก็บรักษาที่เหมาะสม เช่น เก็บในตู้นิรภัย การจำกัดการ เข้าถึงข้อมูลเฉพาะบุคคลที่เกี่ยวข้อง การติดบัตรของพนักงาน ระมัดระวังในการเปิดเผยข้อมูลแก่ บุคคลที่เกี่ยวข้อง

14 มาตรการการคุ้มครองความลับทางการค้า (ต่อ)
พนักงานหรือลูกจ้าง ระบุในสัญญาจ้าง หรือสัญญาห้ามเปิดเผยความลับทางการ ค้า คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ระบุในสัญญาก่อน เจรจาและหลังสัญญาสิ้นสุด บุคคลภายนอก ต้องแจ้งให้ทราบและห้าม เปิดเผย

15 มาตรการการคุ้มครองความลับทางการค้า (ต่อ)
ควรมีระบบหรือแผนงานในการเก็บรักษา ความลับทางการค้าในทุกหน่วยงานของ องค์กร ควรบังคับใช้สิทธิทั้งทางแพ่งและทาง อาญาในกรณีที่มีการละเมิดเกิดขึ้น

16 ความลับทางการค้ากับสิทธิบัตร
ไม่มีสิทธิผู้เดียว เป็นเรื่องการได้เปรียบเชิงเวลา (leadtime) ระยะเวลาไม่จำกัดตายตัว สิ่งที่จะได้รับการคุ้มครองนั้นกว้างกว่าสิทธิบัตร การละเมิดสิทธิบัตรจะจำกัดอยู่ที่การละเมิดข้อถือสิทธิ เป็นความลับทางการค้าและสิทธิบัตรในขณะเดียวกันไม่ได้

17 ความลับทางการค้ากับลิขสิทธิ์
แนวความคิดไม่มีลิขสิทธิ์ แต่อาจเป็น ความลับทางการค้า การกระทำที่เป็นการละเมิดความลับทาง การค้ากว้างกว่า อาจได้รับการคุ้มครองเป็นความลับทาง การค้าและลิขสิทธิ์พร้อมกันได้

18 สิ่งที่ไม่ได้รับการคุ้มครอง
ข้อมูลที่รู้กันโดยทั่วไปหรือในหมู่คนที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลที่สาธารณชนโดยทั่วไปเข้าถึงหรือรับรู้ ข้อมูลสิทธิบัตร ข้อมูลที่ไม่มีประโยชน์เชิงพาณิชย์ ข้อมูลที่เจ้าของไม่ได้สงวนไว้เป็นความลับ ข้อมูลที่เจ้าของไม่ได้ใช้มาตรการรักษาไว้ให้เป็นความลับ

19 การละเมิดสิทธิในความลับทางการค้า
การกระทำที่เป็นการเปิดเผย เอาไปหรือ ใช้ความลับของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับ ความยินยอมจากเจ้าของความลับ มีลักษณะที่ขัดต่อแนวทางปฏิบัติในเชิง พาณิชย์ที่สุจริตต่อกัน ผู้ละเมิดรู้หรือมีเหตุควรรู้ว่าการกระทำ นั้นขัดต่อแนวทางปฏิบัติดังกล่าว

20 การกระทำที่ไม่ถือเป็นการละเมิด
การเปิดเผยหรือใช้ความลับโดยบุคคลที่ได้รับความลับมาโดย ทางนิติกรรม โดยไม่รู้ว่าคู่สัญญาได้ความลับนั้นมาโดยการ ละเมิด การเปิดเผยหรือใช้ความลับโดยหน่วยงานของรัฐที่ดูแลรักษา ความลับนั้น เพื่อคุ้มครองสุขภาพอนามัยหรือความปลอดภัยของ สาธารณชน การค้นพบโดยอิสระของบุคคลอื่น ด้วยความรู้ ความชำนาญ ของผู้นั้นเอง การทำวิศวกรรมย้อนกลับ

21 ข้อต่อสู้เกี่ยวกับข้อหาการละเมิด ความลับทางการค้า
ไม่มีลักษณะเป็นความลับ สร้างสรรค์หรือค้นพบตัวเอง มีเอกสิทธิ์ตามกฎหมายหรือกระบวนการทาง ศาล การไม่ใช้สิทธิในเวลาอันสมควรของเจ้าของ สิทธิ์ ไม่รู้ถึงการละเมิดมาก่อน การทำวิศวกรรมย้อนกลับ

22 การระงับข้อพิพาทและ การดำเนินคดีความลับทางการค้า
การเจรจาต่อรอง (Negotiation) การไกล่เกลี่ยและการประนีประนอม (Mediation or conciliation) อนุญาโตตุลาการ (Arbitration) ศาล (Court) ใช้กำลัง (Force)

23 การไกล่เกลี่ยและการประนีประนอมข้อพิพาท
การระงับข้อพิพาทที่เป็นทางเลือกอื่นนอกจากศาล (Alternative Dispute Resolution) การเจรจาต่อรอง การไกล่เกลี่ยและการประนีประนอมข้อพิพาท ประหยัดค่าใช้จ่าย รวดเร็ว เป็นความลับ ผลลัพธ์เป็นประโยชน์ต่อคู่กรณีตามที่พอใจจะตกลงกัน

24 การระงับข้อพิพาทที่เป็นทางเลือกอื่นนอกจากศาล (Alternative Dispute Resolution)
อนุญาโตตุลาการ เป็นไปตามความตกลงกันระหว่างคู่สัญญา หรือคู่กรณี มีกระบวนการและขั้นตอนในการดำเนินการ ใกล้เคียงการพิจารณาคดีของศาล แต่มี ขั้นตอนที่รวดเร็วกว่า ผลลัพธ์คือการชี้ขาดข้อพิพาท

25 การระงับข้อพิพาทโดยศาล (Litigation)
ศาล (Court) ลักษณะของคดีอยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ การดำเนินคดีในศาล มาตรการคุ้มครองชั่วคราวก่อนฟ้อง ร้องขอต่อศาลให้ผู้ที่ละเมิดหรือกำลังละเมิดความลับทางการค้าหยุดการกระทำชั่วคราว (Interim Injunction) ร้องขอต่อศาลเพื่อขอให้ยึดหรืออายัดหลักฐานที่เป็นความผิดในการละเมิดเครื่องหมายการค้าหรือหลักฐานที่ใช้ในการทำละเมิดเครื่องหมายการค้า (Anton Piller Type pf Order)

26 การดำเนินคดีในศาล (ต่อ)
กระบวนการพิจารณาเฉพาะของศาลทรัพย์สินทาง ปัญญาฯ ที่อำนวยต่อการดำเนินคดีความลับ ทางการค้า การกำหนดแนวทางในการดำเนินกระบวนการพิจารณา (Pre-trial Conference) ขอให้ศาลพิจารณาลับและห้ามโฆษณาข้อมูลในการ พิจารณาคดี (In camera Proceeding) การใช้บันทึกถ้อยคำในการสืบพยาน (Written Statement) และการใช้บันทึกถ้อยคำของพยาน ต่างประเทศ (Affidavit)

27 การดำเนินคดีในศาล (ต่อ)
การใช้การประชุมเพื่อพิจารณาคดีทางจอภาพ (Video Conference Procedure) การสืบพยานบุคคลโดยใช้ระบบการ บันทึกเสียงคำเบิกความของพยาน (Digital Recording) สามารถตกลงใช้เอกสารภาษาอังกฤษเป็น พยานหลักฐานได้โดยไม่ต้องแปลเป็น ภาษาไทย เว้นแต่ข้อมูลในเอกสารเป็นประเด็น หลักแห่งคดี

28 การดำเนินคดีในศาล (ต่อ)
การใช้พยานผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญ (Amicus or Expert Witness) พิจารณา ประเด็นทางเทคนิค องค์คณะของผู้พิพากษา มีผู้พิพากษาสมทบ ซึ่งมีความรู้ในศาสตร์สาขาที่เกี่ยวข้องกับ ความลับทางการค้า นั่งพิจารณาคดีร่วมด้วย (Technical Judge) เมื่อศาลพิพากษา กฎหมายให้สามารถอุทธรณ์ คดีไปยังศาลฎีกาได้

29 ลักษณะพิเศษในการพิจารณาคดี ความลับทางการค้า
การตกลงกันขอให้คณะกรรมการความลับทางการค้า ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง ข้อสันนิษฐานว่าผู้ละเมิดได้ใช้ความลับทางการค้า ตาม มาตรา 12 ให้เสียค่าตอบแทน แทนการยุติการละเมิด ตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง ภายหลังการฟ้องคดี ปรากฏว่าความลับทางการค้าถูก เปิดเผย หรือสิ้นสภาพไป จำเลยอาจขอให้ศาลยกเลิก คำสั่งห้ามมิให้ละเมิดได้ ตามมาตรา 11 วรรคสอง

30 ลักษณะพิเศษในการพิจารณาคดี ความลับทางการค้า (ต่อ)
โจทก์อาจขอให้ทำลายหรือริบ สิ่งที่ใช้ในการละเมิด เครื่องหมายการค้าได้ ตามมาตรา 11 วรรคสาม ส่วนผลิตภัณฑ์ที่ทำขึ้นโดยละเมิดที่ยังคงเป็นของ จำเลย อาจตกเป็นของแผ่นดิน หรือโจทก์ ได้ตามคำสั่ง ศาล หรือถ้ามีไว้เป็นความผิดก็ให้ทำลายได้ ตาม มาตรา 11 วรรคสี่ การกำหนดค่าสินไหมทดแทน ตามมาตรา 13

31 การได้มาซึ่งสิทธิบัตร
ประเภทของคำขอรับสิทธิบัตร ผู้มีสิทธิขอบรับสิทธิบัตร เอกสารประกอบการขอรับ สิทธิบัตร ขั้นตอนการออกสิทธิบัตร

32 อายุการคุ้มครอง อายุสิทธิบัตรที่เหมาะสมควรมี กำหนดใด
การชำระค่าธรรมเนียมรายปี กำหนดเวลาการคุ้มครอง ผลิตภัณฑ์ยา

33 สิทธิบัตรกับการคุ้มครองเทคโนโลยีชีวภาพ
ความเป็นมาของการคุ้มครองเทคโนโลยีชีวภาพ ในประเทศสหรัฐอเมริกา สำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าของสหรัฐฯ เคยมีคำวินิจฉัยปฏิเสธที่จะออกสิทธิบัตรให้กับสิ่งมีชีวิต โดยใช้ทฤษฎีผลผลิตของธรรมชาติ (Product of Nature Theory) ซึ่งแนวปฏิบัติดังกล่าวได้ถูกถือปฏิบัติต่อเนื่องกันมาเป็นเวลายาวนาน อย่างไรก็ดี ในปี ค.ศ ศาลฎีกาสหรัฐฯ ได้ตัดสินคดี Diamond v Chakrabarty, 206 USPQ 193 (1980) กลับแนวคำ วินิจฉัยที่มีมาก่อนหน้านั้น ซึ่งคำพิพากษาของศาลในคดีนี้ได้นำไปสู่ มิติใหม่ของการคุ้มครองการประดิษฐ์ที่เป็นสิ่งมีชีวิต และได้ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในแนวความคิดของการคุ้มครอง เทคโนโลยีชีวภาพในประเทศต่างๆ

34 ความตกลงระหว่างประเทศ เกี่ยวกับการคุ้มครองเทคโนโลยีชีวภาพ
ความตกลงทริปส์ได้กำหนดหลักการเกี่ยวกับสิ่งที่อาจได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายสิทธิบัตรไว้ในข้อ 27 โดยบทบัญญัติข้อ 27 มีสาระสำคัญที่อาจแปลความได้ ดังนี้

35 ภายใต้บังคับบทบัญญัติของวรรคสองและสาม ให้มีสิทธิบัตรสำหรับการประดิษฐ์ใดๆ ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีในทุกสาขาเทคโนโลยี โดยมีเงื่อนไขว่าการประดิษฐ์นั้นมีความใหม่ มีขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรมได้ ภายใต้บังคับแห่งข้อ 65 วรรคสี่ ข้อ 70 วรรคแปด และข้อ 27 วรรคสาม การให้สิทธิบัตรตลอดจนสิทธิบัตรนั้นจะต้องให้โดยไม่มีการเลือกปฎิบัติในเรื่องสถานที่ที่ทำการคิดค้นการประดิษฐ์ สาขาเทคโนโลยี และไม่ว่าผลิตภัณฑ์นั้นจะถูกนำเข้าหรือผลิตขึ้นภายในประเทศ

36 บรรดาสมาชิกอาจไม่ให้สิทธิบัตรในการประดิษฐ์เพื่อป้องกันมิให้มีการแสวงประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ภายในดินแดนของตน อันเป็นความจำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน รวมทั้งการคุ้มครองชีวิตหรือสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ หรือพืช หรือเพื่อ หลีกเลี่ยงความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีเงื่อนไขว่าการไม่ให้สิทธิบัตรดังกล่าวไม่ได้กำหนดขึ้นเพียงเพราะกฎหมายของตนห้ามการใช้ประโยชน์ไว้ สมาชิกอาจไม่ให้สิทธิบัตรในสิ่งต่อไปนี้ได้เช่นเดียวกัน

37 (เอ) วิธีการวินิจฉัย อายุรกรรม และศัลยกรรมสำหรับการรักษามนุษย์หรือสัตว์
(บี) พืช และสัตว์ นอกเหนือจากจุลชีพ และกรรมวิธีทางชีววิทยาที่จำเป็นสำหรับการผลิตพืชและสัตว์ นอกเหนือจากกรรมวิธีซึ่งไม่ใช่กรรมวิธีทางชีววิทยาและจุลชีววิทยา อย่างไรก็ตาม สมาชิกจะกำหนดให้มีการคุ้มครองพันธุ์พืชไม่ว่าโดยสิทธิบัตร หรือระบบกฎหมายเฉพาะที่มีประสิทธิภาพ หรือโดยใช้วิธีการคุ้มครองดังกล่าวร่วมกัน บทบัญญัติในวรรคนี้จะได้รับการพิจารณาทบทวนในเวลา 4 ปี หลังจากที่ความตกลงจัดตั้งองค์การการค้าโลกมีผลใช้บังคับ

38 สำหรับข้อ 27.3 (บี) ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการคุ้มครองเทคโนโลยีชีวภาพนั้นความตกลงทริปส์กำหนดให้มีการทบทวนบทบัญญัตินี้ภายใน 4 ปี นับจากวันที่ความตกลงจัดตั้งองค์การการค้าโลกมีผลใช้บังคับ (TRIPs Agreement, Art (b))

39 แนวทางแรก ข้อเสนอไม่ให้มีการกำหนดบทยกเว้นสำหรับการประดิษฐ์ในสาขาเทคโนโลยีชีวภาพเลย โดยทุกประเทศต้องคุ้มครองสิทธิบัตรการประดิษฐ์ในสิ่งมีชีวิตโดยปราศจากเงื่อนไขใดๆ

40 แนวทางที่สอง ข้อเสนอที่ว่าควรมีการยกเว้นการให้สิทธิบัตรแก่พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์และกรรมวิธีทางชีววิทยาที่จำเป็นสำหรับการผลิตพืชหรือสัตว์ ที่มิได้เป็นกรรมวิธีทางจุลชีววิทยารวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกรรมวิธีทางจุลชีววิทยา

41 แนวทางที่สาม ข้อเสนอที่ว่าควรจะมีการคุ้มครองพันธุ์พืชโดยกฎหมายสิทธิบัตร หรือโดยกฎหมายเฉพาะที่มีประสิทธิภาพ หรือทั้งสองระบบร่วมกัน

42 การเจรจาในประเด็นนี้ได้ข้อสรุปลง ด้วยการที่สหรัฐฯ ยินยอมประนีประนอมรับเอาข้อเสนอในแนวทางที่สองและสาม ภายใต้เงื่อนไขว่า ข้อยกเว้นในประเด็นนี้จะต้องไม่ถูกกำหนดไว้อย่างถาวร หากแต่จะต้องมีการทบทวนสาระสำคัญภายในเวลาที่กำหนด ดังที่ปรากฏในตอนท้ายของข้อ 27.3 (บี) ด้วยเหตุนี้ บทบัญญัติในข้อ 27.3 (บี) ของความตกลงทริปส์ จึงมีสาระสำคัญเป็นไปตามข้อเสนอในแนวทางที่สองและสามผสมผสานกัน

43 3 ปัญหาการคุ้มครองพันธุ์พืช
3.1 วิวัฒนาการของกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืช 3.2 การคุ้มครองพันธุ์พืชตามพันธกรณีขององค์การการค้าโลก 3.3 กฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชของประเทศไทย เจตนารมณ์ของกฎหมาย การคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ การคุ้มครองพันธุ์พืชพื้นเมือง

44 4 ปัญหาการคุ้มครองพันธุ์สัตว์
4.1 กฎหมายสิทธิบัตรสหรัฐฯ เกี่ยวกับการคุ้มครองพันธุ์สัตว์ 4.2 อนุสัญญาสิทธิบัตรยุโรปเกี่ยวกับการคุ้มครองพันธุ์สัตว์

45 5 ปัญหาเกี่ยวกับการคุ้มครองจุลชีพ

46 6 ปัญหาเกี่ยวกับการคุ้มครองกรรมวิธีทางเทคโนโลยีชีวภาพ
6.1 กรรมวิธีทางชีววิทยาที่จำเป็นสำหรับการผลิตพืชหรือสัตว์ 6.2 กรรมวิธีทางจุลชีววิทยา ความหมายของกรรมวิธีทางจุลชีววิทยา ขอบเขตของสิทธิบัตรในกรรมวิธีทางจุลชีววิทยา


ดาวน์โหลด ppt การคุ้มครองความลับทางการค้า ภายใต้กฎหมายความลับทางการค้า

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google