ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
สารกัดกร่อน
2
สัญลักษณ์สารกัดกร่อน
3
สารกัดกร่อน หมายถึง สารเคมีที่มีความสามารถในการทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อของร่างกายเมื่อสัมผัสโดยตรงหรือจากการสูดดม และการกลืนกิน ได้แก่สารพวกกรดและด่างต่างๆ กรด ในภาษาอังกฤษคือ acid มาจาก acidus เป็นภาษาละตินแปลว่าเปรี้ยว เป็นคุณสมบัติของกรด ทางเคมีหมายถึงสารที่ให้โปรตอน กรดแบ่งเป็น 2 พวกคือ กรดอนินทรีย์ที่ไม่ไวไฟ ไม่ลุกติดไฟ กับกรดอินทรีย์ที่สามารถลุกไหม้ไฟได้ แต่ส่วนใหญ่จะมีจุดลุกติดไฟสูง
4
ด่าง มีฤทธิ์กัดกร่อนมากจะเป็นสารอนินทรีย์ ด่างที่เข้มข้นมากเป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อ เช่น sodium hydroxide และ ammonia ด่างเป็นอันตรายมากกว่ากรด เพราะกรดสามารถทำให้เกิดชั้นของโปรตีนเป็นม่านกั้น มิให้สารแทรกซึมผ่านลึกลงไป ส่วนด่างนั้นไม่สามารถทำให้เกิดชั้นของโปรตีนกั้นไว้ได้ นอกจากกรดและด่างแล้ว ยังมีสารชนิดอื่นๆบางตัวมีฤทธิ์กัดกร่อนได้ คือ bromine ซึ่งเป็นของเหลวให้ไอสีน้ำตาลแดงออกมาได้มาก และสามารถกัดผิวหนังไหม้ ไอเมื่อสูดดมจะทำให้ระคายจมูก ทำให้แสบตาได้
5
กรด Sulfuric (กรดกำมะถัน) กรด sulfuric เป็นกรดที่สำคัญ และใช้กันมากในอุตสาหกรรมแทบทุกประเภท อุตสาหกรรมที่ใช้กรด sulfuric มี การทำปุ๋ย ทำแผ่นดีบุก ทำสบู่ สี กรด Nitric (กรดดินประสิว) กรดนี้ใช้ในการผลิตปุ๋ย ammonium nitrate และวัตถุระเบิด เช่น TNT และ nitroglycerine ใช้ในการสังเคราะห์สารประกอบพวก nitrate fortis
6
กรด Hydrochloric (กรดเกลือ) ถึงแม้ว่าปริมาณการใช้กรด hydrochloric จะไม่มากเท่ากรด sulfuric กรด hydrochloric ก็เป็นกรดที่สำคัญตัวหนึ่ง ผลิตขึ้นจากปฎิกิริยาระหว่าง sodium กับกรด sulfuric กรดนี้มีทั้งชนิดที่เป็นก๊าส hydrogencloride บรรจุถัง และชนิดที่เป็นสารละลาย ใช้ในการสังเคราะห์สารประกอบพวก chloride ใช้ในการบัดกรี ใช้ทำความสะอาดโลหะก่อนนำไปชุบ และถ้าทำกรดหกจะให้ควัน hydrogen chloride กัดเยื่อจมูก
7
กรด Perchloric กรดนี้นอกจากจะมีฤทธิ์กัดกร่อนแล้ว ยังเป็นตัวให้ oxygen ได้ดี จึงเป็นอันตรายเมื่อกรดนี้ถูกเชื้อเพลิง เช่น ไม้ หรือสารอินทรีย์ต่างๆ กับ alcohol จะระเบิดได้ กรดเข้มข้นหยดลงบนกระดาษลุกไหม้เป็นไฟง่ายมาก ความร้อนทำให้เกิดการระเบิดได้ กรด Hydrofluoric ทำมาจากปฎิกิริยาระหว่างหิน fluospar กับกรด sulfuric เป็นกรดที่ใช้มากในอุตสาหกรรมแก้ว เพราะสามารถละลายแก้วได้ เมื่อถูกผิวหนังจะกัดผิวหนัง ทำให้ขาว เนื้อเยื่อภายใต้จะตายและทำให้ปวดมาก
8
กรด Phosphoric กรด phosphoric บริสุทธิ์เป็นของแข็ง ถ้าเข้มข้นน้อยลงจะเป็นของเหลว ทำจากปฎิกิริยาระหว่างกรด sulfuric หรือกรด hydrochloric กับหิน phosphate ใช้ในการทำสารพวก phosphate ที่ใช้เป็นปุ๋ย และผลิตผงซักฝอก Acetyl chloride เป็นของเหลวที่ให้ควัน ใช้ในการทำปฎิกิริยาสังเคราะห์สาร ทำปฎิกิริยารุนแรงกับน้ำ ให้ hydrogen chloride และกรด acetic เป็นสารกัดกร่อนและลุกติดไฟได้
9
กรด Formic กรด formic เป็นกรดอินทรีย์ มาจากคำละตินว่า formic แปลว่า มด เพราะเป็นกรดที่ได้จากมด ผลิตขึ้นจากปฎิกิริยาระหว่าง carbon monoxide กับ sodium hydroxide ที่ 200 c ภายใต้ความดันอากาศสูง หรือเป็นผลพลอยได้ จากการผลิตกรด acetic โดยการ oxidise naphtha กรด formic เจือจางใช้ฆ่าเชื้อโรค ถ้ากรดเข้มข้นจะเป็นพิษ และกัดผิวหนังเป็นแผลที่เจ็บปวดมาก สลายตัวช้าๆหรือกับเป็นกรด
10
กรด Acetic(กรดน้ำส้ม)
ในน้ำส้มสายชูมีกรดแอซิติกผสมร้อยละ 3-6 ส่วนกรด galcial acetic คือกรดอะซิติกอยู่ร้อยละ 99.5 กรดนี้แข็งตัวที่อุณหภูมิที่17 องศาเซลเซียส จึงมีลักษณะเหมือนน้ำแข็งจึงอาจสร้างปัญหาในการเก็บเพราะมันจะขยายตัวเมื่อแข็ง ทำให้ภาชนะที่ใส่แตกได้กรดอะซิติกเป็นกรดที่สำคัญที่สุดอุตสาหกรรมที่ใช้กรดอะซิติกมีการทำสีการจับก้อนของยางดิบทำน้ำส้มสายชูใช้เป็นตัวทำละลายในผลิตcellulose acetate ,aceticanhydride เป็นอนุพันธ์ของกรด ใช้ทำแอสไพริน
11
Sodium hydroxide,potassium hydroxide
เป็นด่างที่ผลิตจากกระไฟฟ้าลงไปในสารละลายของเกลือChloride มีจำหน่ายในรูปของเม็ดแข็ง มีคุณสมบัติในการละลายไขมันจึงมักใช้ในอุตสาหกรรมที่ล้างไขมันออก ใช้ในอุตสาหกรรมทำสบู่ ใช้ในอุตสาหกรรมกระดาษเพื่อแยก lignin ที่ไม่ต้องการออกจากเยื่อไม้ สารละลายที่เข้มข้นกัดโลหะบางชนิดได้ เช่น อะลูมิเนียม สังกะสี และตะกั่ว ละลายน้ำให้ความร้อนสูง
12
Ammonia เป็นสารเคมีที่มีการใช้มากลองลงมาจากกรด sulfuric อุตสาหกรรมที่ใช้ Ammonia มากคือ ในการทำปุ๋ย ใช้ผลิตสารเคมีอื่นๆ เช่น ammonium sulfate nitrate sodium bicarbonate และ carbonate calcium ,carbonate sodium ,nitrate ,urea ใช้ทำวัตถุระเบิดใช้ในการกลั่นน้ำมัน ใช้ในระบบทำความเย็น ฟอกน้ำตาล ฟอกหนัง ใช้ในการย้อมสีเส้นใย ในการผลิต Nylon- 66 Ammonia มีทั้งชนิดที่เป็นก๊าซและเป็นสารละลาย Ammonium hydroxide ก๊าซและไอจากสารละลายทำให้แสบตา ตาแดง แสบจมูก สารละลายเข้มข้นไวไฟและมีฤทธิ์กัดกร่อนมากควรเก็บถังก๊าซและขวดให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดอันตราย
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.