ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
วรรณคดีกับวิทยาศาสตร์: อมตะ ของวิมล ไทรนิ่มนวล
โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์
2
นวนิยายซีไรต์ประจำปี 2543
“Amata is an imaginative novel about the future. It concerns the search for immortal life and is focused on the conflict between consumerism and religious belief of the East. The plot of the novel concerns cloning of human beings and organ transplantation, which leads to ethical and humanitarian problems. The outstanding point of this novel is that the author tackels the issues that could post problems in the future and takes these issues as the main plot…. The novel … challenges us to think further what is the real meaning f humanity and immortality.”
3
ประเด็นสำคัญของนวนิยาย
การต่อสู้ระหว่างธรรมะกับอธรรม ธรรมะ --> พุทธศาสนา, ความรัก, การต่อสู้เพื่อรักษาเอกลักษณ์ดั้งเดิม อธรรม --> วิทยาศาสตร์. เทคโนโลยี, ธุรกิจข้ามชาติ, โลกาภิวัตน์
4
แก่นเรื่อง การทำสำเนาพันธุกรรมมนุษย์ (human cloning)
ปัญหาเกี่ยวกับการทำสำเนาพันธุกรรม ขาดเอกลักษณ์ทางพันธุกรรม ความเป็นไปได้ในการปลูกถ่ายอวัยวะโดยที่ร่างกายไม่ต่อต้าน --> หนทางสู่ความเป็นอมตะ ช่องทางสำหรับการทำธุรกิจบนร่างกายของมนุษย์
5
ความเชื่อพื้นฐาน ผู้แต่งดูจะเชื่อว่า ที่อยู่ของเอกลักษณ์ส่วนบุคคลอยู่ที่หัวใจ แทนที่จะเป็นสมองอย่างที่นักวิชาการส่วนมากคิด ด้วยเหตุนี้ เมื่ออรชุนเปลี่ยนสมองกับพรหมมินทร์ การเปลี่ยนตัวตนจึงไม่เกิดขึ้น ironic twist กลุ่มนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการเปลี่ยนตัวตนเกิดขึ้นแล้ว แต่จริงๆในเรื่องไม่เป็นเช่นนั้น ชัยชนะของภูมิปัญญาดั้งเดิม (?) ต่อวิทยาศาสตร์โลกาภิวัตน์
6
การมองงานศิลปะว่าเป็นตัวบ่งชี้สถานการณ์ทางสังคม
นิธิ เอียวศรีวงศ์, “ปากไก่และใบเรือ” เป็นการมองงานวรรณกรรมของสุนทรภู่ในฐานะเป็นตัวบททางประวัติศาสตร์สมัยต้นรัตนโกสินทร์ เรามองงานศิลปะเช่นนี้ได้ ก็เพราะว่างานศิลปะใดๆก็ตาม ย่อมเป็นผลผลิตของคน เป็นการแสดงออกของความคิดความเชื่อ ทัศนคติของสังคม ในยุคสมัยนั้นๆ Zeitgeist
7
ระเบียบวิธี การมองงานศิลปะว่าเป็นผลิตผลทางสังคมและวัฒนธรรมเช่นนี้ ต่างจากแนวทางการศึกษาโดยทั่วไปของวรรณคดีศึกษาหรือวรรณคดีวิจารณ์ ที่มุ่งหา “คุณค่าทางวรรณศิลป์” ของตัวงานเป็นหลัก หรือหา “ความหมาย” ของตัวบทผ่านการตีความของผู้ศึกษา โดยไม่สนใจกับบริบททางสังคมวัฒนธรรม
8
ระเบียบวิธี การศึกษาเช่นนั้นเป็นสิ่งดี แต่ทำให้เราเลือกที่จะไม่มองผลผลิตทางวัฒนธรรมอื่นๆ ที่ไม่ได้มี “คุณค่าทางวรรณศิลป์” เท่าใด เช่นละครน้ำเน่า หรือวรรณกรรมชาวบ้าน หรือภาพยนตร์ เรากำลังทำ cultural studies ไม่ใช่ literary criticism อย่างแรกเป็นการรวมกันระหว่างสังคมศาสตร์กับมนุษยศาสตร์
9
เรื่อง อมตะ บอกอะไรเราเกี่ยวกับสังคมไทยปัจจุบัน
การปะทะกันระหว่างกระแสความคิดวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีจากตะวันตก กับภูมิปัญญาดั้งเดิมของไทย การมองว่ามีการประสานกันระหว่างวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีกับโลกาภิวัตน์ พุทธศาสนาในฐานะแก่นรากของภูมิปัญญาของไทย กับวิทยาศาสตร์
10
อมตะ บอกอะไรเราได้อีก
นวนิยายเรื่องนี้เป็นความพยายามหนึ่งของสังคมไทย ในการตอบโต้กับวิกฤติทางเศรษฐกิจในปี 2540 วิกฤตนี้เป็นผลพวงของการเปิดเสรีทางการเงิน ทำให้คนไทยติดพันอยู่กับกระแสโลกมากจนเกินไป แรงต้านอยู่ที่การมองหาแหล่งทรัพยากรทางปัญญาที่เป็นของของเราเอง
11
จริยศาสตร์ของการโคลนนิ่ง
ในเรื่องนี้การทำสำเนาพันธุกรรม หรือ “โคลนนิ่ง” ทำไปเพื่อจุดประสงค์ในการยืดชีวิตของคนบางคน โดยอาศัยชีวิตของอีกคนหนึ่ง การทำเช่นนี้ผิดหลักจริยธรรมของทุกศาสนา ดังนั้นเหตุผลที่วิมลเสนอเช่นนี้ ก็น่ามาจากว่าเขามีทรรศนะในเชิงลบต่อเทคโนโลยี วิมลดูจะเชื่อว่าวิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยีต้องขัดกับหลักจริยธรรมเสมอ
12
วิทยาศาสตร์ พุทธศาสนา โลกาภิวัตน์
เพื่อให้เข้าใจเรื่องทั้งหมด เราต้องแยกแยะความสัมพันธ์กันในด้านต่างๆระหว่างวิทยาศาสตร์ (รวมเทคโนโลยี) พุทธศาสนา กับโลกาภิวัตน์ วิมลเชื่อว่าวิทยาศาสตร์กับโลกาภิวัตน์ต้องไปด้วยกัน และพุทธศาสนาอยู่อีกฝ่ายหนึ่ง
13
วิทยาศาสตร์ พุทธศาสนา โลกาภิวัตน์
แต่เราก็มีพุทธศาสนาที่แนบแน่นกับโลกาภิวัตน์ (พุทธพาณิชย์ การเผยแพร่ธรรมะในต่างแดน วัดธรรมกาย ฯลฯ) นอกจากนี้เราก็อาจมีวิทยาศาสตร์ที่ไม่ผูกพันกับโลกาภิวัตน์ก็ได้ (วิทยาศาสตร์ชุมชน) ทางเลือกใหม่ๆเรานี้เปิดให้เราเห็นได้จากการอ่านและวิเคราะห์งานของวิมล
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.