ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยChandra Pibul ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
วิชายาและการใช้ยาสัตว์ (Animal Drugs and Usage) รหัสวิชา 515-463
สพ.ญ.อุษา เชษฐานนท์
2
บทนำ วัตถุประสงค์ เพื่อให้นักศึกษาได้ทราบ
1. ความรู้พื้นฐานในการออกฤทธิ์ของยาซึ่งเกี่ยวข้องกับ การดูดซึม การกระจาย และการขับออกของยา 2. ความรู้พื้นฐานในการเลือกใช้ยาซึ่งเกี่ยวข้องกับรูปแบบ ประสิทธิภาพ ความปลอดภัยและข้อบ่งใช้อื่น ๆ ในการให้ยา 3. ยากลุ่มต่างๆ ที่มีการใช้มากในการเลี้ยงสัตว์ ประกอบกับหลักในการเลือกใช้ยาแต่ละกลุ่มอย่างถูกต้องและเหมาะสม เช่น ยาต้านจุลชีพ ยาถ่ายพยาธิ วัคซีน และอื่น ๆ
3
พ.ร.บ. ยา พ.ศ. 2510 (8) คำว่า “ยา” หมายความว่า
1. วัตถุที่รับรองไว้ในตำรายา ที่ รัฐมนตรีประกาศ 2. วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการวิเคราะห์ บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกัน โรค หรือความเจ็บป่วยของมนุษย์หรือสัตว์ 3. วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้างหรือการกระทำหน้าที่ใดๆ ของร่างกายมนุษย์หรือสัตว์ที่รัฐมนตรีประกาศ วัตถุตาม (1) หรือ (2) ไม่รวมถึงวัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้เป็นอาหาร เครื่องกีฬา เครื่องสำอาง เครื่องมือที่ใช้ในการประกอบโรคศิลป์ และส่วนประกอบของเครื่องมือที่ใช้ในการนั้น
4
สรุป ยาคือ สารเคมีทุกชนิด ยกเว้นอาหาร ซึ่งใช้ในการบำรุง ป้องกัน หรือ รักษาสุขภาพ ของคนและสัตว์
5
เภสัชวิทยา (Pharmacology)
เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับยา โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1.Pharmacokinetics (เภสัชจลนศาสตร์: ร่างกาย ยา) การออกฤทธิ์ของยา : การดูดซึม การกระจาย และการขับออกของยา 2. Pharmacodynamics (เภสัชพลศาสตร์: ยา ร่างกาย) กลไกการออกฤทธิ์ ผลที่ใช้รักษา รูปแบบและขนาดของยา อาการที่ไม่พึงประสงค์
7
ชนิดของยาที่ใช้ในการรักษาโรค
แบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ 1. ยาที่มีผลต่อการทำลาย / ยับยั้งเชื้อ ยาต้านแบคทีเรีย ยาถ่ายพยาธิ เป็นต้น 2. ยาที่ใช้รักษาตามอาการ ยาแก้ไข้ แก้ปวด วิตามินต่างๆ เป็นต้น
8
แหล่งกำเนิดของยา 1. ยาสังเคราะห์ 2. ยาที่ได้จากธรรมชาติ
ได้จากพืช เช่น สมุนไพร ได้จากสัตว์ เช่น ตับ น้ำดี ได้จากแร่ธาตุ เช่น ยาเคลือบ ลำไส้ (kaolin) ได้มาจาก ดินขาว
9
กลุ่มยา สำคัญ ที่ใช้ในการเลี้ยงสัตว์ มีดังนี้
ยาที่มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ยาที่มีผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติ ฮอร์โมน เบต้าอะโกนิสต์และสารเร่งการเจริญเติบโต วัคซีน ยาฆ่าเชื้อและยาล้างเชื้อ ยาต้านแบคทีเรีย ยากำจัดพยาธิภายในและภายนอก สมุนไพร
10
การใช้ยา มีหัวข้อที่จำเป็นต้องทราบ (อย่างน้อยที่สุด) ดังนี้
1. ชื่อยา ชื่อทางเคมี/ ชื่อสามัญ/ ชื่อทางการค้า 2. สรรพคุณ 3. รูปแบบและวิธีที่เหมาะสมในการให้ยา 4. เวลาและตำแหน่งที่ยาออกฤทธิ์ 5. ขนาดของยาที่ให้ 6. การเป็นพิษ หรือ อาการข้างเคียง
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.