งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

310471:Electronic Commerce การพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "310471:Electronic Commerce การพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 310471:Electronic Commerce การพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์
เสรี ชิโนดม ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ Electronic Commerce

2 การเรียนการสอน วิชา การพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์
ภาคต้น ปีการศึกษา 2546 Electronic Commerce

3 คำอธิบายรายวิชา ความรู้เบื้องต้น แนวโน้ม และเทคนิคต่าง ๆ ทางด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงปัจจัยพื้นฐานทางด้านโครงสร้าง เทคนิคทางด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบดั้งเดิม ได้แก่ อีดีไอ การใช้อินเทอร์เน็ตสำหรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แบบจำลองทางด้านธุรกิจสำหรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แบบธุรกิจสู่ธุรกิจและแบบธุรกิจสู่ผู้บริโภค การตลาดบนระบบอินเทอร์เน็ต ระบบการปฏิบัติตามสัญญาและการชำระเงิน ปัจจัยเกี่ยวกับกฎข้อบังคับและการรักษาความปลอดภัยทางด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ Electronic Commerce

4 จุดม่งหมายของวิชา เพื่อให้นิสิตเห็นความสำคัญและเข้าใจหลักการของพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์ สามารถพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์อย่างมีระบบ มีคุณภาพและมีความปลอดภัย สามารถพัฒนาระบบงานโดยใช้หลักการของวิศวกรรมซอฟต์แวร์ Electronic Commerce

5 ลักษณะการเรียนการสอน
การบรรยาย สัปดาห์ละ 3 คาบ วันพุธ น. วันศุกร์ น. ต้องอ่านหนังสือก่อนเข้าเรียน กรุณาตรงต่อเวลา สามารถ download เอกสารได้ที่ Electronic Commerce

6 ลักษณะการเรียนการสอน
โครงงานคนละ 1 เรื่อง พัฒนาระบบงานพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์ 1 ระบบ เอกสารประกอบโปรแกรม Problem statement ส่งวันที่ 20 มิ.ย.46 Requirements specification Document ส่งวันที่ 30 มิ.ย.46 Design Document ส่งวันที่ 24 ก.ค.46 Testing Plans and User Manual ส่งวันที่ 17 ก.ย..46 Demonstration 19 ก.ย. 46 แบบฝึกหัดและรายงาน Electronic Commerce

7 เอกสารประกอบการเรียน
หนังสือหลัก Efraim Turban,Jae Lee, David King and H. Michael Chung: Electronic Commerce : A Managerial Perspective, Prentice-Hall,Inc., 2002 หนังสือประกอบ Jim Perry and Gary Schneider, Electronic Commerce. Margaret Melvin and Marilyn Greenstein. Electronic commerce: security, risk management and control, 2 ed. McGraw-Hill, 2001. ศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ E-commerce Business on the internet, สวทช 2544 Electronic Commerce

8 การปฏิบัติการ เนื่องจากรายวิชานี้ไม่มีชั่วโมงปฏิบัติการ แต่จะมีกิจกรรมที่นิสิตต้องปฏิบัติ โดยนิสิตจะต้องไปหาเวลาในการฝึกปฏิบัติการ เขียนโปรแกรมบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล ภาษา Perl PHP ASP Java, Servlet, JSP ฯลฯ ฐานข้อมูล MySQL MS SQL Oracle ProsgetSQL ฯลฯ Electronic Commerce

9 การส่งงาน ต้องตรงต่อเวลา เวลาเรียนไม่ครบ 80% ไม่มีสิทธิ์สอบ
ส่งช้าหักวันละ 10 % จัดทำเป็นรายงานและแฟ้ม pdf หรือ doc เก็บใน personal homepage ของตนเองใน directory ชื่อ Electronic Commerce

10 เกณฑ์การให้คะแนน โครงงาน 40 % แบบฝึกหัด/รายงาน/Quiz 15 %
โครงงาน % แบบฝึกหัด/รายงาน/Quiz 15 % การเข้าเรียน และการเข้าร่วมกิจกรรม การเรียนการสอน % สอบกลางภาค % สอบปลายภาค % Electronic Commerce

11 การประเมินผล ตามเกณฑ์ดังนี้ 86 - 100 เกรด A 81 - 85 เกรด B+
เกรด C+ เกรด C เกรด D+ เกรด D ต่ำกว่า 50 เกรด F Electronic Commerce

12 รายงานเรื่องที่ 1:กรณีศึกษาบริษัท dot com
จัดทำเป็นรายงานฉบับสมบูรณ์และนำเสนอโดยใช้ PowerPoint อธิบายถึง the company's concept, business plan, achievements and failures, and current status. Predict whether the dot com will succeed or fail and justify your prediction. Electronic Commerce

13 กำหนดการสอบ สอบกลางภาคเรียน ต้นเดือน ส.ค. 2546 สอบปลายภาคเรียน
ตามกำหนดการของมหาวิทยาลัย ปลายเดือนกันยายน 2546 Electronic Commerce

14 สิ่งที่คาดว่าผู้เรียนจะได้รับ
สามารถเขียนโปรแกรมเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ มีความเข้าใจในหลักการของพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์ สามารถพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับการพาณิชย์ อิเลกทรอนิกส์ได้เป็นอย่างดี Electronic Commerce

15 ความหมายการพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์
Electronic Commerce

16 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คืออะไร
“พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การดำเนินธุรกิจโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์” (ECRC Thailand, 1999) “พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การผลิต การกระจาย การตลาด การขาย หรือการส่งผลิตภัณฑ์และบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์” (WTO,1998) Electronic Commerce

17 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คืออะไร?
“พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง ขบวนการที่ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อทำธุรกิจที่จะบรรลุเป้าหมายขององค์กร พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ใช้เทคโนโลยีประเภทต่าง ๆ และครอบคลุมรูปแบบทางการเงินทั้งหลาย เช่น ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ การค้าอิเล็กทรอนิกส์ อีดีไอหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ โทรสาร แคตะล็อกอิเล็กทรอนิกส์ การประชุมทางไกล และรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นข้อมูลระหว่างองค์กร” (ESCAP, 1998) Electronic Commerce

18 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คืออะไร ?
“พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ธุรกรรมทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเชิงพาณิชย์ทั้งในระดับองค์กรและส่วนบุคคล บนพื้นฐานของการประมวลและการส่งข้อมูลดิจิทัลที่มีทั้งข้อความ เสียง และภาพ” (OECD, 1997) Electronic Commerce

19 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คืออะไร ?
“พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การทำธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งขึ้นอยู่กับการประมวลและการส่งข้อมูลที่มีข้อความ เสียง และภาพ ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์รวมถึงการขายสินค้าและบริการด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การขนส่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อหาข้อมูลแบบดิจิทัลในระบบออนไลน์ม การโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ การจำหน่ายหุ้นทางอิเล็กทรอนิกส์ ใบตราส่ง การประมูล การออกแบบและวิศวกรรมร่วมกันการจั้ดซื้อจ้ดจ้างของภาครัฐ การขายตรง การให้บริการหลังการขาย ทั้งนี้ใช้กับสินค้า (เช่น สินค้าบริโภค อุปกรณ์ทางการแพทย์) และบริการ (เช่น บริการขายข้อมูล บริการด้านการเงิน, บริการด้านกฎหมาย) รวมทั้งกิจการทั่วไป (เช่น สาธารณสุข การศึกษา ศูนย์การค้าเสมือน (Virtual Mall)) ” (European Union, 1997) Electronic Commerce

20 สรุป จากนิยามทั้งหมดข้างต้น สรุปได้ว่า
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การดำเนินธุรกิจโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ แสดงให้เห็นว่าพาณิชย์มีขอบเขตที่กว้างขวางอย่างยิ่ง ทั้งในเชิงเทคโนโลยีที่มีการใช้อุปกรณ์พื้นฐานจำพวกโทรศัพท์ โทรสาร บาร์โค้ด บัตรแถบแม่เหล็ก บัตรอัจฉริยะ (Smart Card) ตลอดจนระบบที่มีขนาดและความซับซ้อนมากขึ้น เช่น ระบบอีดีไอ ระบบการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีที่มีผลต่อการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้แก่ “เครือข่ายอินเทอร์เน็ต” ที่เอื้ออำนวยให้ผู้ประกอบการสามารถสื่อถึงผู้บริโภค ทั่วโลกได้ตั้งแต่การโฆษณาสินค้า สั่งซื้อ ชำระเงิน จัดการระบบขนส่งสินค้า ตลอดจนบริการหลังการขาย Electronic Commerce

21 ประเภทของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถจัดประเภทของการดำเนินธุรกิจออกได้เป็นสามรูปแบบคือ Business-to-Business (B to B) Business-to-Consumer (B to C) Business-to-Government (B to G) Electronic Commerce

22 Business-to-Business (B to B)
เป็นการทำการค้าระหว่างองค์กรธุรกิจด้วยกันเอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการติดต่อค้าขาย เพื่อการจัดการการผลิตหรือวัตถุดิบ ตัวอย่างเช่น การสั่งซื้อสินค้าสำหรับห้างสรรพสินค้าไปยังผู้ผลิต หรือการสั่งซื้อชิ้นส่วนที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมเป็นต้น ในประเทศไทยนั้นปัจจุบันมีใช้งานกันอย่างพอสมควร เช่น ระบบการนำเข้า-ส่งออกระหว่างคู่ค้าโดยใช้อีดีไอผ่านกรมศุลกากร หรือการติดต่อธุรกิจระหว่างสำนักงานใหญ่และตัวแทนจำหน่ายผ่านอินเทอร์เน็ต ระบบ B to B นี้ทำให้ผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุนได้เป็นที่พอใจ Electronic Commerce

23 Business-to-Consumer (B to C)
เป็นธุรกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ประกอบการกับผู้บริโภคโดยตรงโดยใช้อินเทอร์เน็ตเป็นส่วนใหญ่ แม้ว่าจะมีมูลค่าน้อยกว่า B to B แต่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการทุกประเภทสามารถเริ่มหรือขยายฐานธุรกิจได้อย่างกว้างขวางทั่วโลก เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการรายเล็กและระดับกลาง (SMEs) Electronic Commerce

24 Business-to-Government (B to G)
เป็นธุรกรรมระหว่างภาคธุรกิจกับภาครัฐ ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (Government Procurement) ตัวอย่างของประเทศที่รัฐบาลมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้อย่างแพร่หลาย คือ กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาจะทำการประกาศและจัดซื้อครุภัณฑ์โดยใช้ระบบอีดีไอ ผู้ที่สนใจจะค้าขายด้วยนั้นต้องสามารถใช้ระบบอีดีไอ ในการรับส่งข้อมูลได้ Electronic Commerce

25 ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรือ การทำธุรกิจโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สามารถทำได้หลายวิธี ไม่มีข้อจำกัดในการประยุกต์ใช้ ไม่จำกัดเวลาสามารถซื้อขายได้ 24 ชั่วโมงต่อวัน 7 วันต่อสัปดาห์ ไม่มีข้อมูลจำกัดด้านสถานที่หรือภูมิศาสตร์มีประโยชน์ต่อทั้งผู้บริโภค ผู้ประกอบการ และผู้ผลิต Electronic Commerce

26 ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ : สำหรับผู้บริโภค
ได้รับความสะดวกในการซื้อสินค้าอย่างครบวงจร มีสินค้าและบริการให้เลือกมากขึ้น ในสินค้าชนิดเดียวกันผู้ซื้อสามารถหาราคาเปรียบเทียบได้มาก และสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลความคิดเห็นในสินค้าก่อนตัดสินใจซื้อได้ผ่านทางเว็บบอร์ดต่าง ๆ ราคาถูกลงเพราะสามารถซื้อโดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง ได้รับสินค้าอย่างรวดเร็ว ในกรณีที่สินค้านั้นสามารถส่งผ่านมาทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ถึงผู้ซื้อได้โดยตรง Electronic Commerce

27 ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ : สำหรับผู้ประกอบการ
ไปถึงลูกค้าทั่วโลก เพิ่มยอดขาย ลดต้นทุน ผู้ประกอบการรายย่อยมีโอกาสเท่าเทียมกับรายใหญ่บนอินเทอร์เน็ต เพิ่มประสิทธิภาพในการขายและประสิทธิภาพภายในสำนักงานโดยนำระบบสำนักงานอัตโนมัติมาใช้ ลดภาระสินค้าคงคลัง ให้บริการและทำการตลาดต่อลูกค้ารายบุคคลได้ มีลูกเล่นการโฆษณาเชิงลึกและน่าสนใส Electronic Commerce

28 ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ : สำหรับผู้ผลิต
เพิ่มช่องทางในการจัดจำหน่ายมากขึ้น เปิดตลาดใหม่ เพิ่มความสัมพันธ์กับลูกค้า ลดค่าใช้จ่ายในการประกอบการ ลดความผิดพลาดในเรื่องข้อมูลการซื้อขาย เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการ Electronic Commerce

29 ข้อควรพิจารณา เมื่อกล่าวถึงประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้วก็คงต้องพิจารณาถึงข้อพึงตระหนักเพื่อป้องกันผลเสียที่อาจขึ้น ดังต่อไปนี้ Electronic Commerce

30 ประโยชน์ของพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์
เพิ่มความสัมพันธ์กับลูกค้าได้ทั่วถึง หาข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบ ราคาสินค้าและบริการ เพิ่มยอดขาย สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล สินค้าระหว่างผู้บริโภคด้วยกันผ่านทางเว็บบอร์ด เพิ่มประสิทธิภาพในระบบ ภายในสำนักงาน ผู้ขาย ลดภาระสินค้าคงคลัง มีร้านค้าให้เลือกมากขึ้น ผู้ซื้อ ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา สถานที่ เพิ่มสินค้า/บริการใหม่ ได้รับสินค้าอย่างรวดเร็ว (Electronic Delivery) เปิดตลาดใหม่ ลดพ่อค้าคนกลาง ลดเวลาในการจัดซื้อ/ ส่งมอบสินค้า ผู้ผลิต ลดความผิดพลาด ในการสื่อสาร เพิ่มประสิทธิภาพในระบบภายใน สำนักงาน ลดเวลาในการผลิต เพิ่มยอดขาย Electronic Commerce

31 ผู้บริโภค การซื้อของผ่านทางอินเทอร์เน็ตควรเลือกใช้บริการเว็บไซต์ที่มีระบบรักษาความปลอดภัย ควรทำการพิจารณาในตัวสินค้าและบริการอย่างระเอียดรอบคอบ เนื่องจากผู้ซื้อไม่สามารถจับต้องสินค้าได้โดยตรง มาตราป้องกันการพนันบนอินเทอร์เน็ต การเผยแพร่ภาพลามกอนาจาร เนื้อหาบางเรื่องอาจขัดต่อขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมของไทย Electronic Commerce

32 ผู้ขาย/ผู้ผลิต ระบบความปลอดภัยของการค้าแบบออนไลน์ต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีป้องกันผู้ไม่ประสงค์ดีมาบุกรุกและทำความเสียหายต่อระบบและข้อมูลของลูกค้า คู่แข่งมากขึ้น เมื่อมีการนำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้แล้วผู้ผลิตสามารถขายตรงให้ลูกค้าได้ในอีกด้านหนึ่งพ่อค้าคนกลางแบบเดิมจะไม่สามารถอยู่ได้ เช่น นักท่องเที่ยว สั่งจองบริการท่องเที่ยวโดยตรงโดยไม่ผ่านตัวแทน ซึ่งจะบังคับให้มีการปรับตัวทางธุรกิจ ในขณะเดียวกันเกิดคนกลางรูปแบบใหม่ขึ้นแทน Electronic Commerce

33 ภาคสนับสนุน ในที่นี้ก็คือภาครัฐจะต้องมีการปรับตัวเพื่อรับกับความเปลี่ยนแปลงในการดำเนินธุรกิจรูปแบบใหม่และสนับสนุน ทั้งในเรื่องนโยบายด้านการเงิน การคลังของประเทศ การระงับข้อพิพาทที่อาจเกิดขึ้น การรักษาความปลอดภัยระดับประเทศ บทบาทและหน้าที่ของภาครัฐคือ การมีนโยบายที่ชัดเจนในการสนับสนุนการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศ มาตรการทางด้านความปลอดภัยทั้งส่วนรายย่อยและความปลอดภัยระดับประเทศ Electronic Commerce

34 ภาคสนับสนุน(ต่อ) มาตรการทางด้านภาษีทั้งภาษีสรรพากร และภาษีศุลกากร ที่จะต้องพิจารณาความเหมาะสมในการจัดเก็บ หรือละเว้นจากการจัดเก็บ มาตรการทางด้านการเงินการธนาคาร มาตรการการคุ้มครองผู้บริโภค มาตรการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ Electronic Commerce

35 ประเด็นในการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
มีประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องหลายประเด็นซึ่งสรุปได้ดังนี้ โครงสร้างพื้นฐาน การมีโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพ ราคาถูก และการบริการได้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ จะเป็นตัวสนับสนุนการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การรักษาความปลอดภัย ประเด็นที่สำคัญในส่วนนี้คือ การใช้เทคโนโลยีที่มีความปลอดภัยเพียงพอและการมี มาตรฐานการเข้ารหัสที่เป็นสากล รวมทั้งการจัดตั้งองค์กรรับรองเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อมารองรับรหัสประจำตัวของผู้ประกอบการและผู้บริโภค Electronic Commerce

36 ประเด็นในการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
การเงิน การศึกษาและวางมาตรการเพื่อที่ส่งเสริมการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในภาคเอกชนโดยที่ภาครัฐไม่เกิดความเสียหาในเรื่องระบบการเงินการคลังของประเทศ การคุ้มครองผู้บริโภค ควรมีมาตรการที่จะรองรับการคุ้มครองผู้บริโภคทั้งในเรื่องข้อมูลส่วนบุคคลและการคุ้มครองการทำธุรกรรมที่ผ่านอินเทอร์เน็ตทั้งการซื้อขายในและระหว่างประเทศเพื่อเตรียมรับมื้อกับ ข้อพิพาทที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต Electronic Commerce

37 ประเด็นในการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
การตลาด จัดสัมมนา ฝึกอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อให้สามารถนำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาเป็นเครื่องมือในการแข่งขันเชิงธุรกิจในยุคที่มีการแข่งขันอย่างรุนแรงและหลังการเปิดการค้าเสรีในอนาคต กฎหมาย การมีกฎหมายที่มีรองรับการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จะช่วยสร้าความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการและผู้บริโภค ซึ่งหลาย ๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังเร่งผลักดันกฎหมายต่าง ๆ ที่จะมารองรับ แต่ในระหว่างที่รอกฎหมายอยู่ผู้ประกอบการก็สามารถทำการไปได้เลย โดยสามารถนำกฎหมายที่มาอยู่มาประยุกต์ใช้ได้ Electronic Commerce

38 กระบวนการซื้อขายของระบบพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์
Searching & Advertising No Transaction Transaction Ordering Payment Delivery Electronic Delivery Physical Goods Electronic Commerce

39 การชำระเงินผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
Electronic Commerce

40 การชำระเงินผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
ผู้ซื้อตกลงใจว่าจะซื้อสินค้าแล้วก็จะทำการใส่ข้อมูลบัตรเครดิตลงไปในอินเทอร์เน็ต โดยที่ข้อมูลส่วนที่ใส่นี้ทางร้านค้าจะไม่สามารถเห็นได้ (1) ข้อมูลนี้จะถูกส่งไปยังธนาคารที่ทางฝ่ายร้านค้าใช้บริการอยู่(Acquiring Bank) (2) เพื่อส่งข้อมูลไปยังธนาคารผู้ออกบัตร(Issuing Bank) (3) ธนาคารผู้ออกบัตรจะตรวจสอบว่าบัตรดังกล่าวเป็นของจริงและยังสามารถซื้อของได้อยู่แล้วส่งข้อมูลไปยัง Acquiring Bank (4) และส่งต่อกลับไปยังร้านค้าและแจ้งกลับมายังผู้ซื้อเพื่อยืนยันคำสั่งซื้อต่อไปตามขั้นตอน (5-6) ทางร้านค้าจะไม่สามารถเก็บข้อมูลบัตรเครดิตไว้ได้ จึงปลอดภัยเนื่องจากข้อมูลจะส่งไปยังธนาคารผู้ออกบัตรเท่านั้น Electronic Commerce

41 การชำระเงินผ่านอินเทอร์เน็ต(ต่อ)
หลังจากตรวจสอบแล้วว่าบัตรนั้นสามารใช้งานได้และผู้ซื้อทำการยืนยันคำสั่งซื้อก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการชำระเงินโดยทาง Acquiring Bank จะทำการเรียกเก็บเงินจากธนาคารผู้ออกบัตร เพื่อโอนเงินไปยังบัญชีของร้านค้า ซึ่งร้าค้าก็จะจัดส่งสินค้าให้กับผู้ซื้อ หลังจานั้นธนาคารผู้ออกบัตรก็จะเรียกเก็บเงินจากเจ้าของบัตรตามระยะเวลาที่กำหนดต่อไป Electronic Commerce

42 ขั้นตอนเพื่อเข้าสู่โลกพาณิชย์ อิเลกทรอนิกส์
ขั้นตอนเพื่อเข้าสู่โลกพาณิชย์ อิเลกทรอนิกส์ ขั้นตอนที่ 1: ทำความเข้าใจว่าพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์จะเข้ามามีบทบาทต่อธุรกิจที่ดำเนินอยู่ได้อย่างไร เป็นพื้นฐานในการทำธุรกิจในอนาคต มีบทบาทตามธุรกิจขนาดไหน เพื่อที่จะกำหนดรูปแบบ ขั้นตอนที่ 2:วิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจและวางแผน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคู่ค้า ลูกค้าและพนักงาน ว่าขั้นตอนใดจะใช้สื่ออิเลกทรอนิกส์เป็นเครื่องมือ กำหนดงบประมาณ เวลา และปัจจัยที่มีผลต่อแผนงาน Electronic Commerce

43 ขั้นตอนเพื่อเข้าสู่โลกพาณิชย์ อิเลกทรอนิกส์
ขั้นตอนเพื่อเข้าสู่โลกพาณิชย์ อิเลกทรอนิกส์ ขั้นตอนที่ 3: การเลือกระหว่างพัฒนาเองหรือจ้างบุคคลภายนอก พัฒนาเอง ต้องมีบุคลากรที่ดูแลเองได้ ต้องจ้างพนักงานเพิ่ม ลงทุนอุปกรณ์เป็นเงินเท่าไร จ้างผู้ชำนาญการดำเนินการแทนซึ่งประหยัดงบประมาณมากกว่า แต่ต้องมีการตรวจสอบ มีการประสานงานและติดตามผล ต้องศึกษาถึงประสบการณ์ของบริษัทที่ผ่านมาว่าทำแล้วประสบผลสำเร็จมากน้อยแค่ไหน ขั้นตอนที่ 4:การออกแบบ การออกแบบที่เรียบง่าย มีโครงสร้างไม่ซับซ้อน สามารถหาข้อมูลได้ง่าย ไม่ใส่ลูกเล่น ภาพขนาดใหญ่มากเกินไป มีข้อมูลที่น่าสนใจชวนติดตาม มีระบบการรักษาความปลอดภัยที่ดี Electronic Commerce

44 ขั้นตอนเพื่อเข้าสู่โลกพาณิชย์ อิเลกทรอนิกส์
ขั้นตอนเพื่อเข้าสู่โลกพาณิชย์ อิเลกทรอนิกส์ ขั้นตอนที่ 5: การเตรียมความพร้อมสำหรับธุรกิจแบบใหม่ ระหว่างพัฒนาระบบควรเตรียมการปรับกระบวนการในการทำธุรกิจ วางแผนเรื่องความปลอดภัยของระบบ การจัดเก็บข้อมูลลูกค้า จะเก็บแบบใด เก็บที่ไหน ใครดูแล การจัดการเรื่องการใช้ข้อมูล ขั้นตอนที่ 6:หมั่นปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์อย่างสม่ำเสมอ การปรับปรุงเว็บไซต์อย่างสม่ำเสมอเป็นหัวใจสำคัญ การดูแลเรื่องโปรโมชัน สต็อกสินค้า การเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์อื่น ใช้นานๆข้อมูลมากขึ้นอาจทำให้ช้า Electronic Commerce

45 ขั้นตอนเพื่อเข้าสู่โลกพาณิชย์ อิเลกทรอนิกส์
ขั้นตอนเพื่อเข้าสู่โลกพาณิชย์ อิเลกทรอนิกส์ ขั้นตอนที่ 7: การให้บริการลูกค้า บริการลูกค้าสัมพันธ์หรือ บริการหลังการขาย สร้างระบบบริการให้ครบถ้วน การให้ข้อมูลวิธีการใช้สินค้า การให้ข่าวสารที่เป็นประโยชน์ การรับข้อเสนอแนะจากลูกค้า ขั้นตอนที่ 8:การประชาสัมพันธ์ ทำอย่างไรจึงจะทำให้คนเข้ามารู้จักเว็บไซต์เรา ประกาศทางสื่อ สิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ การประกาศในเว็บบอร์ดต่างๆ การวางแบรนเนอร์ในเว็บท่าต่างๆ Electronic Commerce

46 ขั้นตอนเพื่อเข้าสู่โลกพาณิชย์ อิเลกทรอนิกส์
ขั้นตอนเพื่อเข้าสู่โลกพาณิชย์ อิเลกทรอนิกส์ ขั้นตอนที่ 9: กระตุ้นการใช้งาน การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาว Electronic Commerce

47 Electronic Commerce


ดาวน์โหลด ppt 310471:Electronic Commerce การพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google