ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยKasan Meesang ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
ประวัติพัฒนาการสหกรณ์ แนวคิด ปรัชญา อุดมการณ์ หลักการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นุกูล กรยืนยงค์ ภาควิชาสหกรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2
นุกูล กรยืนยงค์ วท.บ.(เศรษฐศาสตร์สหกรณ์) เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง มก.
วท.บ.(เศรษฐศาสตร์สหกรณ์) เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง มก. พบ.ม. (การบริหารการเงิน) เกียรตินิยมดีมาก NIDA Dip. in Agri. Coop. Management ผู้ช่วยศาสตราจารย์
3
ตัวแบบวิสาหกิจทั่วไป
4
ตัวแบบวิสาหกิจสหกรณ์
5
ตัวแบบวิสาหกิจสหกรณ์
6
ตัวแบบวิสาหกิจสหกรณ์
8
สำนักภาคสหกรณ์ (ต่อ) (The Cooperative Sector School)
ในระบบเศรษฐกิจใด ๆ นั้น ควรจะมีการจัดองค์ประกอบเป็น 3 ส่วน คือ ภาครัฐบาล (Public Sector) ภาคเอกชน (Private Sector) และ ภาคสหกรณ์ (Co-operative Sector) หรือ ภาคประชาชน People Sector (NGO’s)
9
ส่วนประกอบในโครงสร้างเศรษฐกิจ
ภาคเอกชน Private Sector ภาครัฐ Public Sector ภาคสหกรณ์ Co-op Sector ภาคประชาชน People Sector
10
ด้านสถานการณ์ เหตุการณ์สำคัญที่เป็นแรงผลักดัน (ต่อ)
มีผู้นำทางความคิดในการประกอบการอย่างเสรีหลายคน เช่น อดัม สมิธ (Adam Smith: ) เขียนหนังสือชื่อ ความมั่งคั่งของประชาชาติ (The Wealth of Nations) ในปี 1776 สนับสนุนการประกอบการอย่างเสรีโดยเอกชน การแบ่งงานกันทำตามความถนัดโดยที่รัฐบาลควรมีบทบาทแต่น้อย จัดว่าเป็นหนังสือที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก
11
ด้านสถานการณ์ เหตุการณ์สำคัญที่เป็นแรงผลักดัน (ต่อ)
เดวิด ริคาโด (David Ricardo : ) กับแนวความคิดเกี่ยวกับค่าเช่า โรเบอร์ต มัลทัส (Thomas Robert Malthus : ) กับแนวคิดด้านประชากร บุคคลเหล่านี้ ทางเศรษฐศาสตร์จัดไว้เป็นนักเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิค (The Classical School)
12
สรุปปัจจัยด้านสถานการณ์ / เหตุการณ์สำคัญที่เป็นแรงผลักดัน
แนวความคิดระบบทุนนิยม(Capitalism) จึงเติบกล้า อย่างรวดเร็ว ช่วงปลายศตวรรษที่ 18 จนถึงต้นศตวรรษที่ 19 (~~~1770~~~1830) การปฏิวัติทางอุตสาหกรรม การประกอบการอย่างเสรี การปฏิวัติฝรั่งเศส ก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมที่หมักหมม และ ต้องแก้ไข ตามมา
13
สรุปปัจจัยด้านสถานการณ์ / เหตุการณ์สำคัญที่เป็นแรงผลักดัน
ปัญหาการว่างงาน อันเนื่องมาจากการใช้ เครื่องจักรแทนแรงงานคน ปัญหาการเอารัดเอาเปรียบของนายจ้างต่อลูกจ้าง เนื่องจากมีแรงงานส่วนเกิน จำนวนมาก ปัญหาความเสื่อมโทรมของสังคม อันเนื่องมาจากการว่างงาน เด็กอนาถา อาชญากรรม ปัญหาทางสังคมที่หมักหมม และ ต้องแก้ไข หาทางออก
14
ตัวแบบวิสาหกิจสหกรณ์
15
ด้านตัวบุคคล ปฐมาจารย์ทางสหกรณ์
ในขณะนั้นมีหลายท่าน แต่จะกล่าวถึงเพียงบางท่านอย่างย่อ ๆ คือ โรเบอร์ต โอเวน (Robert Owen : ) ชาร์ลส ฟูริเอ (Charles Marie Fourier : ) นายแพทย์วิลเลียม คิง (Dr.William King : )
16
Robert Owen 1771-1858 เป็นชาวเวลส์ เกิดที่เมืองนิวทาวน์
บิดาเป็นช่างทำอานม้า -พ่อค้าเครื่องเหล็ก เป็นผู้ที่ต้องต่อสู้กับชีวิตมาตั้งแต่เด็ก โดยเป็นลูกจ้างในร้านค้าของเอกชน มาตั้งแต่อายุ 10 ขวบ ด้วยเหตุที่เป็นคนฉลาดและมีเพื่อนมากจึงมีความคิดก้าวหน้าในที่สุดได้เป็นหุ้นส่วนกิจการโรงงานปั่นฝ้ายที่แมนเชสเตอร์และเป็นผู้จัดการโรงงานทอผ้า ประสบการณ์ที่เขาได้รับที่เมืองแมนเชสเตอร์ มีอิทธิพลต่อโอเวนอย่างมาก ทั้งในเรื่องอุตสาหกรรมการทอผ้า และปัญหาในโรงงาน
17
เค้าโครงนิคมสหกรณ์ตามความคิดของโอเวน
18
ความคิดของโอเวน 2 เมื่องานด้านนิคมสหกรณ์ไม่ได้ผลอย่างที่ตั้งใจ แต่ความเชื่อมั่นไม่ได้ลดลง โอเวนก็ได้เดินทางกลับมาลอนดอนและทำงานเป็นนักเขียน มีหนังสือพิมพ์ของตนเอง ชื่อ The Crisis เพื่อเผยแพร่ความคิดของตน โดยเฉพาะด้านแรงงาน ได้แสดงปาฐกถาใน ที่ต่าง ๆ และได้เสนอแนวความคิดในเรื่อง สำนักงานแลกเปลี่ยนแรงงานอันเที่ยงธรรม (The Equitable Labour Exchange) และ บัตรแรงงาน (Labour Notes) ขึ้น เพื่อการขจัดกำไรด้วยความคิดที่ว่า กำไร เป็นบ่อเกิดของความเลวร้ายทั้งปวง และที่มาของกำไรเกิดจากการใช้เงินตราเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
19
บัตรแรงงาน ใช้แทนเงินตราตามความคิดของโอเวน
แม้จะมีการทดลองตั้งสถานแลกเปลี่ยนแรงงานขึ้น แต่การดำเนินงานตามแนวความคิดของโอเวนก็ไม่ประสบความสำเร็จในทางปฏิบัติ
20
บันทึกเกี่ยวกับ Robert Owen
The Museum tells the remarkable story of Robert Owen, born in Newtown (Powys) in A village boy who hobnobbed with royalty, A shop assistant who became a factory manager, An educator with little education, A rich man who fought for the poor, A capitalist who became the first "socialist", An individualist who inspired the Co-operative movement
21
François Marie Charles Fourier (1772-1837)
ฟูริเอ ได้เสนอความคิดเกี่ยวกับ ฟาลังก์สแตร์ (Phalanstere) ซึ่งมีลักษณะคล้ายนิคมสหกรณ์ของโอเวน แต่ต่างกันที่การยอมรับนับถือในกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของเอกชน หรือความแตกต่างของบุคคล ฟูริเอมีระดับการยอมรับมากกว่าโอเวน
22
Dr.William King(1786-7865) นายแพทย์คิง
เป็นแพทย์อยู่ที่เมืองไบรก์ตัน Brighton เป็นผู้ที่สนใจสถานการณ์บ้านเมือง และคลุกคลีอยู่กับคนงานในโรงงานอุตสาหกรรมมาก เป็นผู้หนึ่งที่สนใจติดตามความคิดของ โอเวนมาตลอด และมีความเห็นว่า แม้ความคิดของ โอเวนในเรื่องนิคมสหกรณ์จะเป็นเรื่องดี แต่ยังไม่ถูกต้องตามวิธีปฏิบัติ
23
นอกจากนั้น ยังส่งถ่ายแนวคิดเป็นบทความลงในหนังสือพิมพ์ชื่อ นักสหกรณ์
(The Cooperator) ซึ่งถือว่า เป็นนิตยสารทางสหกรณ์เล่มแรก ซึ่งได้รับความนิยมแพร่หลายมากในช่วงปี
24
ตอนที่ 3 กำเนิดสหกรณ์แห่งแรกของโลก
สมาคมของผู้นำอันเที่ยงธรรมแห่งเมืองรอชเดล The Rochdale Society of Equitable Pioneers เมืองรอชเดล (Rochdale) อยู่ในมณฑลแลงคัชเชียร์ ทางเหนือของเมืองแมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ เป็นเมืองเล็ก ๆ ที่มีอุตสาหกรรมการทอผ้า และได้รับผลกระทบจากการปฏิวัติทางอุตสาหกรรมเช่นเดียวกับเมืองอื่น ๆ ชาวเมืองรอชเดลได้ดิ้นรนต่อสู้กับความยากลำบากมาตลอด ตั้งแต่ปลายคริสศตวรรษที่ 18 จนถึงกลางคริสศตวรรษที่ ปัญหาต่าง ๆ ทวีความรุนแรงขึ้น และเข้าสู่จุดวิกฤตในช่วงเวลาของ ทศวรรษแห่งความอดอยาก หิวโหย (The Hungry Forties) คือ ทศวรรษ 1840s
25
ก่อนหน้าที่จะมีการก่อตั้งสมาคมสหกรณ์ที่รู้จักกันดีในชื่อ สหกรณ์รอชเดล ขึ้นมานั้น ชาวเมืองรอชเดลได้เข้าร่วมกิจกรรมหลายอย่าง เช่น สมาคมกรรมกร (Trade Union) สมาคมสงเคราะห์เพื่อน (Friendly Society) และ ขบวนการทางการเมืองอื่น ๆ เพื่อการแก้ปัญหาที่ประสบอยู่ นอกจากนั้นยังมีประสบการณ์ในการตั้งร้านจำหน่ายสินค้า ตามแนวความคิดของนายแพทย์คิง ถึงสองครั้ง ในเมืองนี้ แม้ว่าจะไม่ประสบความสำเร็จแต่ก็เป็นประสบการณ์และรากฐานทางความคิดที่สำคัญ ในเวลาต่อมา
26
ที่สำคัญก็คือชาวเมืองรอชเดลยังมีความเชื่อมั่นในแนวความคิด เกี่ยวกับนิคมสหกรณ์ตามแนวของโอเวนอยู่ และมีการนำเอาเรื่องนี้มาปรึกษาหารือกันเสมอ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหา ทั้งนี้เพื่อให้พวกคนงานมีโรงงานทอผ้า ที่นา บ้านพัก และโรงเรียน เป็นของชุมชนเอง สามารถจัดหาสิ่งของที่สมาชิกต้องการมาเองโดยไม่ต้องตกอยู่ใต้อำนาจกดขี่ของคนอื่น หรือต้องไปทำงานเพื่อหากำไรให้แก่นายจ้างที่เป็นนายทุนหากแต่ได้ทำงานในโรงงานของตนเอง เป็นนายตนเอง คนงานเหล่านี้ทราบดีว่าพวกเขาไม่มีทุนพอที่จะดำเนินการ เช่นนั้นได้ทันที เพราะรายได้ต่ำจนไม่มีความสามารถในการออม การนัดหยุดงานเพื่อต่อรอง ค่าแรงกับนายจ้างก็ไม่ได้ผลเพราะมีคนว่างงานที่ต้องการทำงานอยู่มาก
27
ทางออกเฉพาะหน้าในเวลาที่คับขันเช่นนั้น ก็คือต้องหาทางที่จะใช้จ่ายเงินค่าจ้างที่ได้รับมาให้เป็นประโยชน์มากที่สุด ท่ามกลางภาวะตลาดที่สินค้ามีราคาแพงเกินจริง คุณภาพเลว ซ้ำยังปลอมปน หรือการจำยอมซื้อสินค้าจากร้านค้าที่เจ้าของโรงงานตั้งขึ้นและขายเป็นเงินเชื่อ (ให้เชื่อนาน ๆ และดอกเบี้ยแพง หรือบังคับให้ซื้อจากเงินค่าจ้างที่ได้รับ) ทางที่เป็นไปได้คือการตั้งร้านขายของของตนเองขึ้นในเบื้องต้น และขยายงานไปตามแนวทางที่กำหนดเพื่อเป็นนิคมสหกรณ์ในที่สุด
28
ตัวแบบวิสาหกิจสหกรณ์
29
หลักปฏิบัติของนักสหกรณ์รอชเดล
ซึ่งต่อมามักเรียกว่า หลักสหกรณ์รอชเดล ได้แก่ 1. การควบคุมแบบประชาธิปไตย (หนึ่งคน หนึ่งเสียง) 2. การมีเสรีภาพในการเข้าเป็นสมาชิก (สมัครใจ) 3. การจ่ายดอกเบี้ยแก่เงินทุนในอัตราจำกัด 4. การเฉลี่ยคืนตามส่วนแห่งการซื้อ 5. การขายสินค้าเป็นเงินสด ไม่ปลอมปน ไม่โกงตาชั่ง 6. การส่งเสริมการศึกษาในหมู่สมาชิก 7. การเป็นกลางทางการเมืองและศาสนา หลักเหล่านี้เป็นต้นทางของการพัฒนาไปสู่หลักการสหกรณ์สากลในระยะต่อ ๆ ไป
30
ภาพใน Museum
34
ตอนที่ 4 กำเนิดสหกรณ์เครดิต และ สหกรณ์แปรรูปทางการเกษตร
ตอนที่ 4 กำเนิดสหกรณ์เครดิต และ สหกรณ์แปรรูปทางการเกษตร กำเนิดสหกรณ์เครดิตในประเทศเยอรมัน กำเนิดสหกรณ์แปรรูปทางการเกษตรในประเทศเดนมาร์ค
35
สหกรณ์เครดิตในเมือง (Urban Credit Society)
สหกรณ์รูปนี้มีกำเนิดขึ้นในย่านธุรกิจด้านตะวันออกของประเทศเยอรมัน (ขณะนั้นเรียกว่า ปรัสเซีย) ใน ปี 1852 ที่เมืองเดลิทซ์ (Delitzsch) โดยการริเริ่มของชูลส์ เดลิทซ์ ซึ่งเป็นสมาชิกรัฐสภาปรัสเซีย Franz Hermann Schulze-Delitzsch (August 29, April 29, 1883)
36
สหกรณ์เครดิตในชนบท (Rural Credit Society)
สหกรณ์รูปนี้มีกำเนิดในซีกตะวันตกของเยอรมันแถบแคว้นไรน์ ซึ่งเป็นด้านเกษตรกรรมในชนบท โดยไรฟไฟเซนซึ่งเป็นนายกเทศมนตรีเมืองเฮดเดรสดอฟ (Heddesdorf) (ปัจจุบันคือเมือง Neuwied ) Raiffeisen เป็นนายกเทศมนตรีอยู่หลายเมือง ในช่วงปี Friedrich Wilhelm Raiffeisen (May 3, 1818 – May 11, 1888)
37
กำเนิดสหกรณ์แปรรูปทางการเกษตร ในประเทศเดนมาร์ค
สหกรณ์แปรรูปนมเนยในเดนมาร์กตั้งขึ้น ที่เมือง Hjedding ปี ค.ศ. 1882 ผลของทศวรรษแห่งความหิวโหย (The Hungry Forties) มีผลกระทบต่อการเกษตรของเดนมาร์คซึ่งเป็นแหล่งปลูกข้าวสาลีของยุโรปอย่างมาก จนเป็นเหตุให้เดนมาร์คหันมาทำการปศุสัตว์แทน โดยพื้นฐานสำคัญมาจาก Folk High Schools ซึ่งก่อตั้งครั้งแรกเมื่อปี 1844 ที่เมือง Rødding โดย Kristen Kold ตามแนวคิดของ Bishop Grundtwig (Nikolaj Frederik Severin Grundtvig) Bishop Grundtwig
38
กำเนิดหลักการสหกรณ์ หลักการสหกรณ์ กำเนิดมาพร้อมกับกำเนิดของสหกรณ์แห่งแรก ของโลก คือ สมาคมของผู้นำอันเที่ยงธรรมแห่งเมืองรอชเดล เมื่อ ค.ศ หรือกว่า 160 ปีมาแล้ว ในวาระของกำเนิดสหกรณ์รอชเดลนั้น ผู้นำรอชเดลได้มีการกำหนดหลักปฏิบัติของนักสหกรณ์รอชเดลไว้หลายประการเพื่อเป็นแนวทางสำหรับสหกรณ์อื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในระยะต่อมา หลักปฏิบัติของนักสหกรณ์รอชเดลเหล่านี้ ต่อมาได้มีการประมวลไว้เป็นหลักสำคัญรวม 7 ประการ ซึ่งเป็นที่มาของหลักสหกรณ์สากล
39
กำเนิดหลักการสหกรณ์ เมื่อมีหลักปฏิบัติของนักสหกรณ์รอชเดล 7 ประการ แล้วตั้งแต่ปี ค.ศ ก็ได้ใช้เป็นแนวปฏิบัติของสหกรณ์ต่าง ๆ ที่กำเนิดขึ้นในระยะต่อมาเรื่อยมา ต่อมาเมื่อมีการก่อตั้ง สัมพันธภาพสหกรณ์ระหว่างประเทศ (International Cooperative Alliance : ICA) ขึ้นในปี ค.ศ.1895 ICA จึงเริ่มเข้ามามีบทบาทในการรับรองหลักการสหกรณ์สากล โดยใช้แนวปฏิบัติของสหกรณ์รอชเดลเป็นหลักในการพิจารณาความเป็น “สหกรณ์” ของประเทศต่าง ๆ ที่สมัครเข้าเป็นสมาชิก ของ ICA
40
พัฒนาการของหลักการสหกรณ์สากล
หลักสหกรณ์รอชเดล 1844 การปรับปรุงหลักสหกรณ์รอชเดลไปสู่หลักสหกรณ์สากล การปรับปรุงหลักสหกรณ์สากล ครั้งที่ 1 : ค.ศ. 1937 การปรับปรุงหลักสหกรณ์สากล ครั้งที่ 2 : ค.ศ. 1966 การปรับปรุงหลักสหกรณ์สากล ครั้งที่ 3 : ค.ศ. 1995 หลักสหกรณ์สากลในปัจจุบัน
41
หลักสหกรณ์รอชเดล 1844 1. การเปิดรับสมาชิกทั่วไป Open Membership 2. การควบคุมแบบประชาธิปไตย (หนึ่งคนหนึ่งเสียง) Democratic Control (One Man, One Vote) 3. การเฉลี่ยคืนส่วนเกินตามส่วนแห่งการซื้อ Distribution of Surplus in Proportion to Trade 4. การจ่ายดอกเบี้ยแก่เงินทุนในอัตราจำกัด Payment of Limited Interest on Capital 5. การเป็นกลางทางการเมืองและศาสนา Political and Religious Neutrality 6. การทำการค้าด้วยเงินสด Cash Trading 7. การส่งเสริมการศึกษา Promotion of Education
42
หลักสหกรณ์สากล 1937 หลักมูลฐาน Fundamental Principles 4 ประการ หลักประกอบ Subsidiary Principles 3 ประการ หลักมูลฐาน Fundamental Principles 1.การเปิดรับสมาชิกทั่วไป Open Membership 2.การควบคุมแบบประชาธิปไตย (หนึ่งคนหนึ่งเสียง) Democratic Control (One Man, One Vote) 3.การเฉลี่ยคืนส่วนเกินตามส่วนแห่งการซื้อ Distribution of Surplus in Proportion to Trade 4.การจ่ายดอกเบี้ยแก่เงินทุนในอัตราจำกัด Payment of Limited Interest on Capital
43
หลักมูลฐาน Fundamental Principles หลักประกอบ Subsidiary Principles
หลักสหกรณ์สากล 1937 (ต่อ) หลักมูลฐาน Fundamental Principles หลักประกอบ Subsidiary Principles หลักประกอบ Subsidiary Principles 3 ประการ 5.การเป็นกลางทางการเมืองและศาสนา Political and Religious Neutrality 6.การทำการค้าด้วยเงินสด Cash Trading 7.การส่งเสริมการศึกษา Promotion of Education
44
หลักสหกรณ์สากล 1966 1.การเป็นสมาชิกด้วยความสมัครใจ และไม่กีดกันการเข้าเป็นสมาชิก Voluntary Membership ; unrestricted membership wherever possible; 2.การควบคุมตามหลักประชาธิปไตย และการดำเนินงานเป็นอิสระ Democratic control (one member, one vote) ; autonomy; 3.การจำกัดดอกเบี้ยที่ให้แก่ทุนเรือนหุ้น Limited interest on share capital, if any return is involved;
45
หลักสหกรณ์สากล 1966 (ต่อ) 4.การจัดสรรเงินส่วนเกินเพื่อการพัฒนาสหกรณ์ เพื่อจัดบริการเพื่อส่วนรวม และ เฉลี่ยคืนแก่สมาชิกตามส่วนแห่งธุรกิจที่ทำกับสหกรณ์ The economic results to be devoted to the development of the cooperative, to the provision of the common services, or to bedistributed to members in proportion to their transactions with the society; 5.การส่งเสริมการศึกษาอบรมทางสหกรณ์ Measures for the provision of education; 6.การร่วมมือกันระหว่างสหกรณ์ทั้งปวง Cooperation among cooperatives at all levels;
46
หลักสหกรณ์ 1995 1.การเปิดรับสมาชิกทั่วไปและด้วยความสมัครใจ Voluntary and Open Membership 2.การควบคุมโดยสมาชิกตามหลักประชาธิปไตย Democratic Member Control 3.การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจโดยสมาชิก Member Economic Participation 4.การปกครองตนเองและความเป็นอิสระ Autonomy and Independence 5.การศึกษา การฝึกอบรม และข่าวสาร Education, Training and Information 6.การร่วมมือระหว่างสหกรณ์ Co-operation among Co-operatives 7.ความเอื้ออาทรต่อชุมชน Concern for Community
47
หลักการสหกรณ์ ตามที่ปรากฏในแถลงการณ์ว่าด้วยเอกลักษณ์ของการสหกรณ์ในปี 1995 มีด้วยกัน 7 ประการ ประกอบด้วย หลักการเปิดรับสมาชิกทั่วไปด้วยความสมัครใจ หลักการควบคุมแบบประชาธิปไตยโดยมวลสมาชิก หลักการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจโดยมวลสมาชิก หลักการปกครองตนเองและความมีอิสระ หลักการให้การศึกษา การฝึกอบรม และข่าวสาร หลักการร่วมมือกันระหว่างสหกรณ์ และหลักการเอื้ออาทรต่อชุมชน หลักสามประการแรก ถือว่าเป็นสภาพพลวัตภายในที่มีความสำคัญมากสำหรับแต่ละสหกรณ์ ส่วนหลักสี่ประการหลัง จะเกี่ยวข้องทั้งกับการดำเนินงานภายใน และความสัมพันธ์ที่สหกรณ์มีกับภายนอกด้วย
48
1.การเปิดรับสมาชิกทั่วไปและด้วยความสมัครใจ Voluntary and Open Membership 2.การควบคุมโดยสมาชิกตามหลักประชาธิปไตย Democratic Member Control 3.การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจโดยสมาชิก Member Economic Participation 4.การปกครองตนเองและความเป็นอิสระ Autonomy and Independence 5.การศึกษา การฝึกอบรม และข่าวสาร Education, Training and Information 6.การร่วมมือระหว่างสหกรณ์ Co-operation among Co-operatives 7.ความเอื้ออาทรต่อชุมชน Concern for Community
49
เหตุผลที่ต้องมีการทบทวนหลักการสหกรณ์
ในช่วงปี ค.ศ.1970 ถึง เศรษฐกิจแบบตลาดได้มีการขยายตัวอย่างสูงและมีผลกระทบไปทั่วโลกอย่างเห็นได้ชัด ข้อจำกัดหรือการกีดกันทางการค้าที่มีอยู่เดิมได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนั้น เช่น การกำหนดเขตการค้าเสรี การลดการอุดหนุนสินค้าเกษตรกรรมของรัฐบาล การทบทวนกฎเกณฑ์ในอุตสาหกรรมการเงิน ล้วนแต่คุกคามโครงข่ายทางเศรษฐกิจที่เคยครอบคลุมกิจกรรมของสหกรณ์ต่าง ๆ ที่ดำเนินมานานติดต่อกันหลายทศวรรษ
50
เนื้อหาของหลักการสหกรณ์สากลแต่ละข้อ (1995)
51
หลักการที่ 1 : การเปิดรับสมาชิกทั่วไปและด้วยความสมัครใจ
หลักการที่ 1 : การเปิดรับสมาชิกทั่วไปและด้วยความสมัครใจ สหกรณ์เป็นองค์การแห่งความสมัครใจที่เปิดรับบุคคลทั้งหลายที่สามารถใช้บริการของสหกรณ์ และเต็มใจรับผิดชอบในฐานะสมาชิกเข้าเป็นสมาชิก โดยปราศจากการกีดกันทางเพศ สังคม เชื้อชาติ การเมือง หรือศาสนา
52
หลักการที่ 2 : การควบคุมโดยสมาชิกตามหลักประชาธิปไตย
หลักการที่ 2 : การควบคุมโดยสมาชิกตามหลักประชาธิปไตย สหกรณ์เป็นองค์การประชาธิปไตยที่ควบคุมโดย มวลสมาชิก ผู้มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการกำหนดนโยบายและการตัดสินใจ บุรุษและสตรีผู้ที่ได้รับ การเลือกเป็นผู้แทนสมาชิกต้องรับผิดชอบต่อ มวลสมาชิก ในสหกรณ์ ขั้นปฐมสมาชิกมีสิทธิในการออกเสียงเท่าเทียมกัน (สมาชิกหนึ่งคนหนึ่งเสียง) สำหรับ สหกรณ์ในระดับอื่นให้ดำเนินไปตามแนวทางประชาธิปไตยด้วยเช่นกัน
53
หลักการที่ 3 : การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจโดยสมาชิก
หลักการที่ 3 : การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจโดยสมาชิก สมาชิกสหกรณ์ พึงมีความเที่ยงธรรมในการให้ และควบคุมการใช้เงินทุนในสหกรณ์ตามแนวทางประชาธิปไตย ทุนของสหกรณ์อย่างน้อยส่วนหนึ่งต้องเป็นทรัพย์สินส่วนรวมของสหกรณ์ สมาชิกจะได้รับผลตอบแทนสำหรับเงินทุนตามเงื่อนไขแห่งสมาชิกภาพในอัตราที่จำกัด(ถ้ามี) มวลสมาชิกเป็นผู้จัดสรรผลประโยชน์ส่วนเกินเพื่อจุดมุ่งหมายประการใดประการหนึ่งหรือทั้งหมด จากดังต่อไปนี้ คือ เพื่อการพัฒนาสหกรณ์ของตนโดยจัดให้เป็นทุนของสหกรณ์ ซึ่งส่วนหนึ่งของทุนนี้ต้องไม่นำมาแบ่งปันกัน เพื่อเป็นผลประโยชน์แก่สมาชิกตามส่วน ของปริมาณธุรกิจที่ทำกับสหกรณ์ และเพื่อสนับสนุนกิจกรรมอื่นใดที่มวลสมาชิกเห็นชอบ
54
หลักการที่ 4 : การปกครองตนเองและความเป็นอิสระ
หลักการที่ 4 : การปกครองตนเองและความเป็นอิสระ สหกรณ์เป็นองค์การที่พึ่งพาและปกครองตนเอง โดยการควบคุมของสมาชิก ในกรณีที่สหกรณ์จำต้องมีข้อตกลงหรือผูกพันกับองค์การอื่น ๆ รวมถึงองค์การของรัฐ หรือต้องแสวงหาทุนจากแหล่งภายนอก สหกรณ์ต้องกระทำภายใต้เงื่อนไขอันเป็นที่มั่นใจได้ว่า มวลสมาชิกจะยังคงไว้ซึ่งอำนาจในการควบคุมตามแนวทางประชาธิปไตย และยังคงดำรงความเป็นอิสระของสหกรณ์
55
หลักการที่ 5 : การศึกษา การฝึกอบรม และ ข่าวสาร
หลักการที่ 5 : การศึกษา การฝึกอบรม และ ข่าวสาร สหกรณ์พึงให้การให้การศึกษาและการฝึกอบรมแก่ มวลสมาชิก ผู้แทนจากการเลือกตั้ง ผู้จัดการ พนักงาน เพื่อบุคคลเหล่านั้นสามารถมีส่วนช่วยพัฒนาสหกรณ์ของตนได้อย่างมีประสิทธิผล และสามารถให้ข่าวสารแก่สาธารณชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่เยาวชนและบรรดาผู้นำทางความคิด ในเรื่องคุณลักษณะและคุณประโยชน์ของสหกรณ์ได้
56
หลักการที่ 6 : การร่วมมือระหว่างสหกรณ์
หลักการที่ 6 : การร่วมมือระหว่างสหกรณ์ สหกรณ์สามารถให้บริการแก่สมาชิกได้อย่างมีประสิทธิผลสูงสุด และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ขบวนการสหกรณ์ได้ โดยการประสานความร่วมมือกันในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ
57
หลักการที่ 7 : ความเอื้ออาทรต่อชุมชน
หลักการที่ 7 : ความเอื้ออาทรต่อชุมชน สหกรณ์พึงดำเนินกิจกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชน ตามนโยบายที่มวลสมาชิกให้ความเห็นชอบ
58
ข้อสรุป หลักการสหกรณ์ นั้น
หลักการสหกรณ์ นั้น เป็นเสมือนโลหิตที่หล่อเลี้ยงชีวิตของขบวนการสหกรณ์ เป็นพัฒนาการที่มีมาจากค่านิยมที่ได้ทำให้ขบวนการนี้แผ่ขยายมานับแต่การก่อกำเนิด เป็นส่วนช่วยในการขึ้นรูปโครงสร้าง และให้แนวคิดในการสร้างเป้าหมายของขบวนการที่แจ่มชัด เป็นเสมือนคำแนะนำสำหรับสหกรณ์ทั้งหลายในการพัฒนาองค์การของตน เป็นหลักในการปฏิบัติที่ได้รับการปรุงแต่ง จากประสบการณ์ที่สะสมมาเท่า ๆ กับจากปรัชญาความคิด มีความทันสมัย ยืดหยุ่น และสามารถปรับใช้ได้กับสหกรณ์หลากหลายประเภท ในหลากหลายสถานการณ์
59
เศรษฐกิจ ศก+ สค - ศก+ สค+ ศก++ สค++ ศก- สค- ศก+++ สค+++ สังคม
60
การสืบค้นประวัติบุคคล และสหกรณ์รูปต่าง ๆ สามารถสืบค้นได้จากแหล่งทาง internet โดยการใช้ search engine ที่มีอยู่ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจอย่างมาก ที่จะได้ทั้งความรู้ทางสหกรณ์ และภาษาอังกฤษ ไปพร้อม ๆ กันด้วย นอกจากนั้นยังสามารถสืบค้นข้อมูลสหกรณ์ของประเทศต่าง ๆ ในปัจจุบันได้ด้วย อย่าคิดแต่จะหาเอกสารที่เป็นภาษาไทย เพราะท่านจะอยู่แต่ในวงจำกัด หากมีคำแนะนำ หรือ ต้องการคำแนะนำ ติดต่อที่ หรือที่
61
Thank You
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.