ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยBaritharn Pookusuwan ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
A Design of Thai Identity Furniture Prototype for the Sustainability of Community’s Economic by Self-Sufficient Economy Concept การออกแบบเครื่องเรือนอัตลักษณ์ไทยต้นแบบ เพื่อความยั่งยืนของเศรษฐกิจชุมชน ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ศิริชัย ธนทิตย์ งานวิจัยการออกแบบเครื่องเรือนอัตลักษณ์ไทยต้นแบบ มีความมุ่งหมายหลักเพื่อสร้างเครื่องเรือนต้นแบบจำนวนหนึ่ง เพื่อเผยแพร่ให้ชุมชนนำไปผลิตจำหน่ายเพื่อความยั่งยืนทางเศรษฐกิจของชุมชนแต่ละแห่ง ในปัจจุบัน ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรมเครื่องเรือนของไทยมีขนาดของธุรกิจตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ต้องพึ่งพาตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อการอยู่รอดของธุรกิจ และส่วนใหญ่ไม่มีต้นแบบเครื่องเรือนของตนแบบ เพราะการทำต้นแบบเครื่องเรือนใช้ทุนทรัพย์สูงและใช้เวลามาก เป็นภาระอย่างมากสำหรับผู้ประกอบการ และแทบเป็นไปไม่ได้สำหรับผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อแก้ปัญหานี้ การสร้างต้นแบบเครื่องเรือนเพื่อเผยแพร่ให้นำไปผลิตจำหน่ายโดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ เป็นการแบ่งปันทรัพยากรให้ทั่วถึงกันและสามารถสร้างรายได้ให้แก่ตนเองและชุมชน ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เครื่องเรือนอัตลักษณ์ไทย ยังมีความสำคัญในประเด็นการสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทยให้สอดคล้องกับวิถีการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน และแสดงความเป็นไทยให้เป็นรู้จักในสังคมโลกอีกทางหนึ่ง และเพิ่มความน่าสนใจและการแข่งขันในตลาดโลก พัฒนาการของเครื่องเรือนสากล เครื่องเรือน(Furniture) เป็นเครื่องอำนวยความสะดวกอย่างหนึ่งในการดำเนินชีวิตประจำวันของคน มีลักษณะแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรมของสังคมนั้น ในปัจจุบัน เครื่องเรือนของวัฒนธรรมตะวันตกมีบทบาทสูง การศึกษาพัฒนาการของเครื่องเรือนตะวันตกจะช่วยให้เห็นแนวทางในการออกแบบเครื่องเรือนอัตลักษณ์ไทย เครื่องเรือนในไทย วัฒนธรรมไทยแต่อดีต มีเครื่องเรือนเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำกิจกรรมน้อย สาเหตุหนึ่งอาจเพราะการใช้พื้นที่อย่างอเนกประสงค์ จากการศึกษาสามารถประมวลหลักฐานเครื่องเรือนของไทยได้ดังนี้ การศึกษาเครื่องเรือนไทยจากภาพเขียนผนัง การศึกษาอัตลักษณ์ของรูปทรงและศิลปะไทย การศึกษาหารูปทรงที่แสดงความเป็นไทย เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการออกแบบเครื่องเรือน ด้วยการทำแบบสำรวจกลุ่มประชากรเป้าหมายต่างๆ โดยให้ผู้ถูกสำรวจเลือกว่ารูปทรงแต่ละข้อเป็นของชาติใด รูปทรงเหล่านี้จะแสดงเฉพาะโครงร่างไม่มีลวดลายใดๆ รูปทรงที่ได้รับการเลือกว่าเป็นของไทยมีตัวอย่างดังนี้ ภาพเขียนประดับผนังที่ปรากฏในอาคารทางศาสนา และสถานที่สำคัญ นอกจาก การบอกเล่าเรื่องราวตามจุดประสงค์หลักแล้ว การศึกษารายละเอียดขององค์ประกอบภาพสามารถสะท้อน เรื่องราวทางสังคมและชีวิตความเป็นอยู่ในช่วงเวลาที่จิตรกรเขียนภาพนั้นได้ ภาพเขียนในระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นเรื่องรามเกียรติ์ ได้แสดงให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ในตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์เป็นต้นมา และอาจถือได้ว่าเป็นความต่อเนื่องมาแต่กรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เครื่องเรือนที่ปรากฏมีดังนี้ 1. พระที่นั่ง ใช้เพื่อการประทับนั่ง มีผ้าปูและหลังคาคลุม 2. พระแท่น(แท่น) เป็นเครื่องเรือนสำหรับรองนั่ง เป็นแท่นยกพื้นสำหรับนั่ง ลวดลายและการตกแต่งแสดงฐานะของผู้ใช้ 3. พระราชรถ มีส่วนที่นั่ง ซึ่งคล้ายพระแท่นแบบสูง มีราวด้านข้างและพนักพิงด้านหลัง มีการประดับตกแต่งแบบต่างๆ 4. พระกูบ เป็นเครื่องประทับบนหลังช้าง มีการออกแบบส่วนขาเพื่อให้วางบนหลังช้างได้ 5. พระแท่นที่นอน มีลักษณะเหมือนพระแท่น แต่มีขนาดกว้างยาวเพียงพอสำหรับการนอนคนเดียว และสองคน มีผ้าปูเพื่อเพิ่มความสบายและความสวยงาม 6. ตั่งและโต๊ะ รูปร่างสี่เหลี่ยมมีขาแบบต่างๆ ใช้นั่งและวางข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ 7. ฉาก ใช้สำหรับกั้นพื้นที่และบังสายตา เครื่องเรือนต่างๆที่ปรากฏในภาพเขียนประดับผนังเหล่านี้ แสดงให้เห็นสภาพวัฒนธรรมการอยู่อาศัยและการดำเนินชีวิตของไทยว่า นิยมการนั่งราบบนพื้นเพื่อทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน การศึกษารูปแบบลวดลายต่างๆจากเอกสาร จากชิ้นงานจริงในสถานที่จริงหรือที่เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ที่แสดงความเป็นไทย สามารถนำมาใช้โดยตรงหรือนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสภาพการณ์และรสนิยมของผู้บริโภคในปัจจุบัน ดังตัวอย่างลวดลายต่อไปนี้ โทมัส ชิพเพนเดล ประวัติศาสตร์เครื่องเรือน แสดงให้เห็นถึงรสนิยมของการออกแบบเครื่องเรือนที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยของสังคม ตั้งแต่เอเชีย ยุโรป และต่อเนื่องถึงอาฟริกาตอนบน อารยธรรมของอียิปต์โบราณแสดงให้เห็นว่าเป็นศูนย์กลางการทำเครื่องเรือนที่สำคัญแห่งหนึ่ง อารยธรรมโรมัน มีเครื่องเรือนหลากหลายมากขึ้น รูปทรงเครื่องเรือนเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับรูปแบบของเครื่องเรือนอิตาลีและมีอิทธิพลต่อเครื่องเรือนในแถบยุโรปตะวันตก พัฒนาการออกแบบเครื่องเรือนมีความต่อเนื่องมาจนถึงการปฏิวัติอุตสาหกรรมในตอนปลายของศตวรรษที่18 โดยในช่วงแรก เครื่องเรือนเป็นของใช้สำหรับชนชั้นสูงในสังคม ช่างทำเครื่องเรือนอยู่ในอาณัติของผู้มีฐานะในสังคม เครื่องเรือนในยุคนี้จึงเรียกขานตามยุคสมัยการปกครอง เช่น เครื่องเรือนสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เป็นต้น ลักษณะเครื่องเรือนมีความสัมพันธ์กับรูปแบบสถาปัตยกรรมมาก ในตอนปลายจึงเริ่มมีการอ้างอิงชื่อผู้ออกแบบ ที่สำคัญได้แก่ โทมัส ชิพเพนเดล (Thomas Chippendale, ) จอร์จ เฮปเปิลไวท์ (George Happlewhite, -1786) โทมัส เชอราตัน (Thomas Sheraton, ) ดันแคน ฟีฟ์ (Duncan Phyfe, ) เป็นต้น ลักษณะก-ของเครื่องเรือนมีความเป็นตัวเองมากขึ้นกว่าเดิม หลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม นักออกแบบเครื่องเรือนหันมาให้ความสนใจกับการค้นหาแนวทางใหม่ วัสดุและเทคโนโลยีการผลิตใหม่ ที่น่าสนใจอาทิ การทำเก้าอี้ไม้ดัด ของไมเคิล โธเนท์ (Michael Thonet) เครื่องเรือนไม้ของอัลวา อัลโต (Alva Alto) เครื่องเรือนที่ใช้โครงโลหะของ มีส แวน เดอ โรห์ (Mies Van de Rohr) คอร์บูซิเอร์ (Corbusier) มาเซล บรูเออร์ (Marcel Breuer) และเก้าอี้โครงขึ้นรูปของ ชาร์ลส์ และ เรย์ อีมส์ (Charies and Ray Eames) เป็นต้น และน่าสังเกตว่า กลุ่มสถาปนิกนิยมออกแบบเครื่องเรือนเพื่อใช้ในสถาปัตยกรรมที่ตนออกแบบ ซึ่งบางชิ้นกลายเป็นเครื่องเรือนที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย แม้ในปัจจุบัน ไมเคิล โธเนท์ การศึกษาเครื่องเรือนไทยจากภาพถ่ายเก่า กรมขุนวรจักรธรานุภาพ ต้นสกุลปราโมช กำลังนั่งบนตั่ง (อเนก นาวิกมูล. ประวัติการถ่ายรูปยุคแรกของไทย.) การถ่ายภาพในประเทศไทย เริ่มในสมัยรัชกาลที่31 เริ่มจากหมู่ชาวต่างประเทศและชนชั้นสูงในสังคมไทย ก่อนที่จะแพร่หลายสู่คนทั่วไป ภาพถ่ายเหล่านี้สามารถสะท้อนภาพของสังคมในอดีตได้เป็นอย่างดี และแสดงหลักฐานในประเด็นต่อไปนี้ 1.เครื่องเรือนไทย มีการใช้ในกลุ่มคนที่มีฐานะและในกิจการทางศาสนา 2.อิทธิพลของจีน แสดงให้เห็นในเครื่องเรือนไทยบางอย่างในรูปแบบของลายแกะสลักและลายประดับ รวมถึงการรับเอาเครื่องเรือนจีนมาใช้งาน 3.อิทธิพลตะวันตก นิยมใช้งานในกลุ่มชาวต่างประเทศ กลุ่มชนชั้นสูงและผู้มีฐานะทางสังคม ความนิยมในเครื่องเรือนและวัฒนธรรมต่างชาติ ทำให้ลักษณะการดำเนินชีวิตของคนไทยเปลี่ยนไป จากวัฒนธรรมการนั่งบนพื้นเรือน เป็นการนั่งเก้าอี้และโต๊ะ ตลอดจนเครื่องเรือนอื่นๆ ในการทำกิจกรรมประจำวัน เครื่องเรือนไทยมีการใช้ในกิจกรรมทางศาสนาเป็นส่วนใหญ่ 1 อเนก นาวิกมูล. ประวัติการถ่ายรูปยุคแรกของไทย.–กรุงเทพฯ:สารคดี.๒๕๔๘ สำนักพิมพ์สารคดี ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จำกัด ที่มา:ภาพเครื่องทองจากหนังสือ “เครื่องทองสมัยอยุธยา” สรุปการวิจัย 1. เครื่องเรือนไทยเดิมพัฒนามาพร้อมกับวัฒนธรรมการนั่งราบบนพื้น เพื่อทำกิจกรรมต่างๆ จึงมีประเภทจำกัดและแตกต่างจากปัจจุบัน 2. เครื่องเรือนไทยมีการพัฒนาอัตลักษณ์ของตนเอง และมีการรับเอาศิลปะของอารยธรรมเอเชียอื่นๆมาร่วมด้วย 3. การรับเอาวัฒนธรรมของตะวันตกเข้ามา มีผลต่อการประเภทของเครื่องเรือนที่ใช้ในชีวิตประจำวัน 4. เครื่องเรือนไทยและเครื่องเรือนตะวันตกมีการพัฒนาของตนเองเรื่อยมา และเครื่องเรือนไทยไม่ได้พัฒนารูปแบบเมื่อรับเอาเครื่องเรือนตะวันตกเข้ามา 5. รูปทรงที่ผู้คนสามารถรับรู้ว่าเป็นของไทยนั้นมีอยู่จำนวนหนึ่ง และสามารถนำมาประยุกต์เพื่อการออกแบบได้ 6. ลวดลายศิลปะไทยประเภทต่างๆ สามารถนำมาใช้เพื่อให้เกิดลักษณะของผลงานที่แสดงอัตลักษณ์ไทย 7. เครื่องเรือนอัตลักษณ์ไทยควรใช้แนวทางการออกแบบที่แสดงความต่อเนื่องของพัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย มาเซล บรูเออร์ อัลวา อัลโต
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.