งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การปั้นหม้อดินบ้านลิพอน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การปั้นหม้อดินบ้านลิพอน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การปั้นหม้อดินบ้านลิพอน
ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต

2 ประเภทผลงาน หม้อปั้นดินเผา

3 ข้อมูลช่าง นางพริ้ง มุลิกบูรณ์ เกิดวันที่ มีนาคม อายุ 76 ปี ที่อยู่ บ้านเลขที่ 92 หมู่ที่ 2 ตำบล ศรีสุนทร อำเภอ ถลาง จังหวัด ภูเก็ต รหัสไปรษณีย์ 83110

4 ลักษณะพิเศษ ประวัติความเป็นมา
ได้รับการถ่ายทอดมาจากมารดาของช่างคือ นางหยาด ลิพอนพล ซึ่งได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษสืบต่อกันมา เป็นการปั้นหม้อตามที่ต้องการด้วยมือ และลวดลายที่ปรากฏบนหม้อจะเป็นลวดลายที่ได้จากไม้ที่ใช้ตี ซึ่งเป็นหม้อที่มีลักษณะลวดลายสวยงามแตกต่างจากที่อื่น ลักษณะพิเศษ

5 เครื่องมือและอุปกรณ์
เขียง สากไม้

6 ลูกดุ้ง แป้นหมุน ตระแกรงร่อน
ไม้ตีหม้อ แป้นหมุน ตระแกรงร่อน

7 ขั้นเตรียมการ ขุดดินจากจอมปลวกที่มีต้นสาบเสือ ส้มป่อย และข่อย โดยให้ดินที่เป็นดินเหนียวปนทรายจากความลึกของหลุม 1 เมตร นำดินที่ได้มาผึ่งแดดให้แห้ง แล้วใช้สากไม้ตำให้ร่วนละเอียด นำมาร่อนผ่านตะแกรง

8 นำดินที่ผ่านการร่อนแล้วมาผสมกับน้ำ
ขั้นการผลิต

9 ปั้นดินให้เป็นรูปสี่เหลี่ยม

10 นำไปเข้าแป้นหมุนให้เป็นรูปร่างกลม โดยใช้ดุ้งดันดินจากภายใน

11 ตากแดดให้แห้งพอหมาด

12 เข้าแป้นตั้งรูปทรงอีกครั้ง โดยใช้ไม้ที่มีลวดลายตีภายนอก พร้อมกับใช้ดุ้งดันจากภายใน แล้วใช้ผ้าด้ายชุบน้ำให้ชุ่มตกแต่งปากหม้อให้เรียบโดยการหมุนแป้น เพื่อให้ได้รูปทรงตามต้องการ

13 ขั้นหลังการผลิต นำหม้อที่ได้ไปตากแดดประมาณ 10 วัน
นำหม้อที่ผ่านการตากแดดแล้วไปเข้าเตาเผา โดยบรรจุหม้อจำนวน 100 ใบ ต่อการเผา 1 ครั้ง หลุมที่ใช้เผ้าไม้หม้อจะมีความลึกประมาณ 1.50 เมตร ซึ่งรองก้นหลุมด้วยไม้ผุ ฟางข้าว แล้วใช้แกลบคลุมด้านบน โดยเรียงหม้อให้ด้านทิศทางลม ใช้เวลาเผานาน 15 ชั่วโมง เนื่องจากการปั้นหม้อที่บ้านลิพอนมิได้มีการทำอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันจึงไม่พบหลุมที่ใช้เผาขนาดใหญ่ มีแต่เพียงการเผาหม้อเพื่อเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือนเท่านั้น

14 ภาพแสดงการเผา

15 สวัสดี


ดาวน์โหลด ppt การปั้นหม้อดินบ้านลิพอน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google