งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

กฎ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัย เรื่องร้องทุกข์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ( แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๕๒ )

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "กฎ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัย เรื่องร้องทุกข์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ( แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๕๒ )"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 กฎ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัย เรื่องร้องทุกข์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ( แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๕๒ )

2 ข้อ ๖ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นระหว่างกันควรจะได้ปรึกษาหารือทำความเข้าใจกัน ถ้าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้มีความคับข้องใจนั้นไม่ประสงค์จะปรึกษาหารือ หรือปรึกษาหารือแล้วไม่ได้รับคำชี้แจง หรือได้รับ คำชี้แจงแล้วไม่เป็นที่พอใจ ก็ให้ร้องทุกข์ตาม กฎ ก.พ.ค. นี้ มีปั

3 ข้อ ๗ การปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติต่อตนของผู้บังคับบัญชา ซึ่งทำให้เกิดความคับข้องใจต้องมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้ ๑. ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสั่งหรือปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติอื่นใด โดยไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น หรือโดยไม่สุจริต หรือมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมหรือมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็นหรือสร้างภาระให้เกิดขึ้นเกินสมควรหรือเป็นการใช้ดุลยพินิจโดยมิชอบ

4 ข้อ ๗ (ต่อ) ๒. ไม่มอบหมายงานให้ปฏิบัติ ๓. ประวิงเวลาหรือหน่วงเหนี่ยวการดำเนินการบางเรื่องอันเป็นเหตุให้เสียสิทธิหรือไม่ได้รับสิทธิประโยชน์อันพึงมี พึงได้ในเวลาอันสมควร ๔. ไม่เป็นไปตามหรือขัดกับระบบคุณธรรม

5 ข้อ ๘ การร้องทุกข์ให้ร้องได้สำหรับตนเองเท่านั้นจะร้องทุกข์สำหรับผู้อื่นไม่ได้ และให้ทำคำร้องทุกข์เป็นหนังสือยื่นต่อผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบหรือถือว่าทราบเหตุแห่งการร้องทุกข์

6 ข้อ ๒๐ ให้ร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาดังนี้ ๑. ในกรณีที่เหตุเกิดจากผู้บังคับบัญชาในราชการบริหารส่วนภูมิภาคที่ต่ำกว่าผู้ว่าราชการจังหวัด ให้ร้องทุกข์ต่อผู้ว่าราชการจังหวัด และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์ ๒. ในกรณีที่เหตุเกิดจากผู้บังคับบัญชาในราชการบริหารส่วนกลางที่ต่ำกว่าอธิบดีให้ร้องทุกข์ต่ออธิบดี และให้อธิบดีเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์ ๓. ในกรณีที่เหตุเกิดจากผู้ว่าราชการจังหวัดหรืออธิบดีให้ร้องทุกข์ต่อปลัดกระทรวงซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของผู้ร้องทุกข์และให้ปลัดกระทรวงเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์

7 ข้อ ๓๑ ในกรณีที่เหตุเกิดจากปลัดกระทรวง รัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือนายกรัฐมนตรี ให้ร้องทุกข์ต่อ ก.พ.ค. ที่สำนักงาน ก.พ หรือส่งคำร้องทุกข์ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังสำนักงาน ก.พ. ก็ได้

8 ข้อ ๕๖ เมื่อได้วินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์แล้ว คำวินิจฉัยนั้นให้เป็นที่สุด
ในกรณีที่ผู้ร้องทุกข์ไม่เห็นด้วยกับ คำวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองขั้นต้นต่อไปได้


ดาวน์โหลด ppt กฎ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัย เรื่องร้องทุกข์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ( แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๕๒ )

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google