ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
แนวทางการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม
ผู้ป่วยนอกประสาทจิตเวชศาสตร์ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา นารีรัตน์ ทองยินดี
2
แนวทางการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมและ
การจัดการปัญหา การรับประทานอาหาร จำไม่ได้ว่ารับประทานอาหารไปแล้ว แนวทางการจัดการกับปัญหา - ควรให้อาหารระหว่างมื้อน้อยๆ และว่างตั้งไว้เพื่อได้เตือนความจำผู้ป่วย - ตรวจดูสุขภาพเหงือกฟัน - ทำอาหารชนิดที่คุ้นเคย เคี้ยวง่าย
3
การรับประทานยา ผู้ป่วยส่วนใหญ่ต้องรับประทานยาเป็นประจำและอาจทานยามากเกินไป
แนวทางการจัดการกับปัญหา - ควรให้ผู้ดูแลเป็นผู้คอยจัดยาให้ - ควรหาอุปกรณ์จ่ายยาสำหรับหนึ่งวันหรือหนึ่งสัปดาห์
4
การนอน มักพบไม่ยอมนอนตอนกลางคืน ลุกเดินไปมา และนอนมากในเวลากลางวัน
แนวทางการจัดการกับปัญหา - พยายามจัดเวลานอนให้เป็นประจำคงที่สม่ำเสมอ - หลีกเลี่ยงการนอนระหว่างวัน แต่ให้งีบหลับได้บ้าง - กระตุ้นให้มีกิจกรรมการเคลื่อนไหว เช่น พาเดิน - หลีกเลี่ยงคาเฟอีน - มีแสงสว่างพอเพียงในห้องนอน - ควรปรึกษาแพทย์
5
แนวทางการจัดการปัญหา
การถามซ้ำๆ ผู้ป่วยมักถามเรื่องเดิมซ้ำๆ อาจเนื่องจากจำไม่ได้ว่าได้รับคำตอบว่าอะไร อาการเหล่านี้สร้างความอึดอัด และรำคาญให้กับผู้ดูแล แนวทางการจัดการปัญหา - กรณีที่ผู้ป่วยพออ่านหนังสือได้ อาจจะจดคำตอบลงในกระดาษ - เบี่ยงเบนความสนใจ - ไม่ควรถามย้อนกลับมาถามผู้ป่วยอีก หากผู้ป่วยลืมไปแล้ว
6
การแต่งตัว ไม่รู้ว่าเสื้อผ้ามีเอาไว้ทำอะไร ไม่ทราบวิธีการใส่
ไม่ทราบว่าจะต้องใส่อะไรก่อน-หลัง เป็นต้น แนวทางการจัดการกับปัญหา - เตรียมเสื้อผ้าไว้ให้ใส่ตามลำดับ - ให้เวลากับผู้ป่วยในการแต่งตัวบ้าง - ควรเลือกเสื้อผ้าที่ใส่สบายและง่าย
7
การอาบน้ำ มักจะลืมที่จะอาบน้ำ หรือไม่ยอมอาบน้ำ
แนวทางการจัดการปัญหา - คงเวลาการอาบน้ำไว้ให้เหมือนเดิม - ควรมีความยึดหยุ่นเวลาออกไปบ้าง หลังจากอารมณ์ดีขึ้น - ควรอาบน้ำด้วยฝักบัวจะเป็นวิธีการสะดวกกว่า - ระวังความปลอดภัยของผู้ป่วยด้วย เช่น ควรมีราวจับ ผ้ายางกันลื่น เก้าอี้ไว้นั่งอาบน้ำ
8
การขับถ่าย มักไม่ทราบว่าจะเข้าห้องน้ำเมื่อไหร่ กลั่นอุจจาระไม่ได้ หาห้องน้ำไม่เจอ เข้าไปห้องน้ำแล้วไม่รู้ทำอะไร แนวทางการจัดการกับปัญหา - จัดเวลาการเข้าห้องน้ำให้เป็นประจำ เช่น หลังรับประทานอาหารทุกมื้อ และก่อนนอน - จำกัดเครื่องดื่มเมื่อใกล้เวลานอน - เปิดไฟไว้ห้องน้ำ ติดป้ายสัญลักษณ์แสดงว่าเป็นห้องน้ำ - รับประทานอาหารที่มีกากใย - ควรสวมเสื้อผ้าที่ถอดออกง่าย - เตรียมกระโถนปัสสาวะไว้ใกล้ๆ ที่นอน
9
การสื่อสาร จะค่อยๆ ลืมชื่อคน สถานที่ และสรรพนามจนพูดลำบาก
แนวทางการจัดการปัญหา - ผู้ดูแลอาจเป็นผู้ช่วยพูดคำต่างๆ ที่คิดว่าเป็นคำที่ผู้ป่วยต้องการจะพูด - ผู้ดูแลควรลองเดาดูโดยบอกผู้ป่วยว่าคุณคิดว่าผู้ป่วยกำลังจะบอกอะไรกับคุณ - ควรใช้คำหรือประโยคง่ายๆ
10
การเข้าร่วมกิจกรรม ให้ผู้ป่วยมีกิจกรรมที่เพลิดเพลินทำให้ไม่รู้สึกเหงา
แนวทางการจัดการกับปัญหา - ผู้ดูแลต้องกระตุ้นให้ผู้ป่วยอยากทำกิจกรรม เช่น งานฝีมือ ถัก เย็บ ปั้น หรืองานไม้ ที่ผู้ป่วยสนใจยังสามารถงานเหล่านั้นได้
11
การพาผู้ป่วยสมองเสื่อมออกนอกสถานที่
เพื่อเดินเล่น ออกกำลังกาย จะช่วยให้สภาพร่างกายและจิตใจสดชื่นได้ การพาผู้สูงอายุสมองเสื่อมออกนอกสถานที่อาจมีปัญหา เช่น การพลัดหลง แนวทางการจัดการปัญหา - ทำบัตรประจำตัว หรือ ปักชื่อที่เสื้อ โดยเขียน ที่อยู่ ชื่อบุคคลใกล้ชิดที่ติดต่อได้ให้ผู้ป่วยพกไว้ติดตัวตลอดเวลา
12
แนวทางการจัดการกับปัญหา
อาการหวาดระแวง หลงผิด ประสาทหลอน อาการหวาดระแวงที่พบในผู้ป่วยสมองเสื่อมมักจะมีความหวาดระแวงที่ไม่สมเหตุสมผล แนวทางการจัดการกับปัญหา - อย่าโต้เถียงหรือประจันหน้ากับผู้ป่วย แต่ให้พยายามพูดอย่างนุ่มนวลอธิบายด้วยเหตุผล -พยายามหันเหความสนใจของผู้ป่วย โดยผู้ดูแลจะต้องใช้มีความอดทนสูง - หากควบคุมไม่ได้ ควรปรึกษาจิตแพทย์
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.