ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
สื่อประกอบการเรียนรู้
เรื่อง ทวีปยุโรป ครูฉัตรชัย สัตบุษ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ สพม.3
2
ผังมโนทัศน์เป้าหมายการจัดการเรียนรู้และขอบข่ายภาระงาน/ชิ้นงาน
ทวีปยุโรป ความรู้ 1. ลักษณะทางกายภาพของทวีปยุโรป 2. ลักษณะทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของทวีปยุโรป คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม 1. ใฝ่เรียนรู้ 2. มีวินัย 3. รับผิดชอบ 4. มุ่งมั่นในการทำงาน ทักษะ/กระบวนการ 1. การสืบค้น 2. การคิด 3. การใช้เทคโนโลยี 4. กระบวนการกลุ่ม ภาระ/ชิ้นงาน 1. การนำเสนอผลงาน 2. การบันทึกความรู้ 3. การทำแบบทดสอบ 4. การสร้างแผนที่ความคิด 5. วาดภาพระบายสี ครูฉัตรชัย สัตบุษ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ สพม.3
3
ลักษณะทางกายภาพของทวีปยุโรป
ทวีปยุโรปมีพื้นที่10,600,000 ตร.กม. เล็กที่สุดเป็นอันดับสองรองจากทวีปออสเตรเลียแต่มีจำนวนประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 3 รองจากทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา ปี พ.ศ. 2546 ยุโรปมีประชากรราว 799,566,000 คน หรือประมาณ 1 ใน 8 ของประชากรโลก พิกัดทางภูมิศาสตร์ ละติจูด 36 °1 ‘ N – 71 °10′ N ลองจิจูด 66 °E – 9 °30 ‘W ครูฉัตรชัย สัตบุษ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ สพม.3
4
ลักษณะทางกายภาพของทวีปยุโรป
อาณาเขตติดต่อ -ทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก -ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก -ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และทะเลดำ -ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขาอูราลและทะเลแคสเปียน ครูฉัตรชัย สัตบุษ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ สพม.3
5
ลักษณะทางกายภาพของทวีปยุโรป
การแบ่งภูมิภาคใหญ่ๆ ของทวีปยุโรป สีน้ำเงิน ยุโรปเหนือ สีแดง ยุโรปตะวันออก สีเขียว ยุโรปใต้ สีฟ้ายุโรปตะวันตก ครูฉัตรชัย สัตบุษ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ สพม.3
6
ลักษณะทางกายภาพของทวีปยุโรป
ลักษณะทางธรณีวิทยา แบ่งเป็น 2 บริเวณคือ 1. ยุโรปตะวันตกและยุโรปใต้ -เขตเทือกเขาสูงชัน ที่ราบสูง เกาะบางแห่งเป็นเกาะภูเขาไฟมีแผ่นดินไหวบ่อยๆ เช่นเทือกเขาแอลป์ 2. ยุโรปเหนือและยุโรปตะวันออก -มีความมั่นคง มีภูเขาที่ไม่สูงชันเหมือนบริเวณแรก ประมาณ 200,000-10,000 ปีมานี้เป็นยุคน้ำแข็งปกคลุมภาคเหนือ ต่อมาน้ำแข็งละลายเกิดภูมิประเทศแบบฟยอร์ด เกิดทะเลสาบ ครูฉัตรชัย สัตบุษ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ สพม.3
7
ลักษณะทางกายภาพของทวีปยุโรป
ลักษณะทางภูมิประเทศ เขตหินเก่าทางตะวันตกเฉียงเหนือ -คาบสมุทรสแกนดิเนียเวีย ประเทศฟินแลนด์ -ฟยอร์ด -ชายฝั่งทะเลประเทศนอร์เวย์ -หมู่เกาะบริติช เช่น เทือกเขาเซอเลน ทิวเขาแกรมเปียน ครูฉัตรชัย สัตบุษ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ สพม.3
8
ลักษณะทางกายภาพของทวีปยุโรป
4. เขตภูเขาหินใหม่ภาคใต้ -เขตที่เกิดจากการโก่งตัวของเปลือกโลก มีอายุใกล้เคียงเทือกเขาหิมาลัยในทวีปเอเชีย -เป็นเขตภูเขาหินใหม่ที่เปลือกโลกยังไม่สงบตัวทำให้เกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟปะทุ ในประเทศอิตาลี กรีซ แอลเบเนียบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา โครเอเชีย เป็นต้น -ภูเขาต่อเนื่องกันเป็นแนวยาวและมีความสูงมาก เพราะผ่านการสึกกร่อนพังทลายน้อยกว่าเขตอื่น เทือกเขาที่สำคัญคือ เทือกเขาแอลป์ คือ ยอดเขามงบล็อง (Mont Blanc) 3. เขตที่ราบสูงภาคกลาง -อดีตเป็นภูเขาสูง ต่อมาสึกกร่อนพังทลายเป็นที่ราบสูงและมีเทือกเขาเตี้ยๆ กระจัดกระจายทั่วไป -ที่ราบสูงเมเซตา (Meseta) บริเวณภาคกลางของคาบสมุทรไอบีเรีย ประเทศโปรตุเกสและสเปน -ที่ราบสูงทางตอนกลางของประเทศฝรั่งเศส เรียกว่า มาซีฟซองตราล -ที่ราบสูงภาคกลางและภาคใต้ ของประเทศเยอรมันนี เรียกว่า แบล็กฟอเรสต์ และที่ราบสูงโบฮีเมีย 2. เขตที่ราบใหญ่ภาคกลาง -พื้นที่ทางตอนใต้ของสหราชอาณาจักร -ทางตะวันตกของประเทศฝรั่งเศส เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก -ภาคเหนือของประเทศเยอรมันนี โปแลนด์ ลิทัวเนีย ลัตเวีย เอสโตเนีย ฟินแลนด์ -พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย ครูฉัตรชัย สัตบุษ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ สพม.3
9
ลักษณะทางกายภาพของทวีปยุโรป
แหล่งน้ำที่สำคัญ 2. แม่น้ำดานูบ เป็นแม่น้ำสายยาวสายเดียวของทวีปที่ไหลจากทิศ Wไปยังทิศ E เกิดจากเขตที่สูงทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศเยอรมันนี ลงสู่ทะเลดำสองฝั่งแม่น้ำนี้ได้ชื่อว่ามีทิวทัศน์ที่สวยงาม และมีการสร้างเขื่อนเพื่อนำน้ำมาใช้หลายแห่ง 1.3 แม่น้ำไรน์ เป็นแม่น้ำในยุโรปตะวันตก เกิดจากเทือกเขาแอลป์ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ไหลผ่านเยอรมันนี ฝรั่งเศส ไหลลงสู่ทะเลเหนือ 1. แม่น้ำวอลกา ยาวที่สุดในทวีปยุโรป เกิดจากเขตที่สูงทางตะวันตกเฉียงเหนือของรัสเซีย ไหลลงสู่ทะเลแคสเปียน เดินเรือได้เกือบตลอดสาย ครูฉัตรชัย สัตบุษ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ สพม.3
10
ลักษณะทางกายภาพของทวีปยุโรป
เขตภูมิอากาศของทวีปยุโรป ครูฉัตรชัย สัตบุษ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ สพม.3
11
ลักษณะทางกายภาพของทวีปยุโรป
เขตภูมิอากาศของทวีปยุโรป บริเวณเขตเมดิเตอร์เรเนียน ในยุโรปแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนพบแพะป่า และแกะป่า อาศัยอยู่ในป่าใกล้เชิงเขา แมวป่า และหมูป่าอยู่บนเกาะคอร์ซิก้า เกาะซาร์ดิเนียมีงูรวมทั้งงูพิษ สัตว์เลื้อยคลาน และเต่าอาศัยอยู่ในบริเวณนี้ในเขตนี้ บริเวณทุนดร้า ในบริเวณทุนดร้านั้นมีฝูงกวางคาริบูซึ่งจะอพยพไปทางใต้เมื่อถึงฤดูหนาวและจะกินตะไคร่น้ำ พืชชนิดอื่นๆ และกินเนื้อโดยเฉพาะเนื้อของเลมมิ่งและหนูท้องนา บริเวณป่าสน ป่าเขตหนาว ในบริเวณป่าสน ป่าเขตหนาวนี้ เคยมีสัตว์และนกอาศัยอยู่อย่างชุกชุม บริเวณทุ่งหญ้าสเตปป์ ปัจจุบันสัตว์ขนาดใหญ่จำพวก เนื้อและกวางไม่เหลือให้เห็นบริเวณทุ่งหญ้าสเตปป์จะมีก็แต่สัตว์จำพวกหนู เช่น มาร์มอต เจอร์บัว แฮมเต้อร์ ครูฉัตรชัย สัตบุษ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ สพม.3
12
ครูฉัตรชัย สัตบุษ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ สพม.3
ประชากรของทวีปยุโรป ทวีปยุโรปมีประชากรประมาณ 813,319,5111 คน (พ.ศ. 2553) มีจำนวนประชากรมาเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากทวีปเอเชีย และทวีปแอฟริกา 1. เขตที่มีประชากรหนาแน่น ได้แก่ บริเวณยุโรปตะวันตกและยุโรปกลาง คือ นับตั้งแต่ภาคตะวันออกของเกาะอังกฤษ ภาคเหนือของประเทศฝรั่งเศส ประเทศเบลเยียม เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ที่ราบใหญ่ภาคกลางและภาคตะวันตกของยูเครน 2. เขตที่มีประชากรเบาบาง ได้แก่ บริเวณที่มีลักษณะภูมิอากาศและภูมิประเทศไม่ส่งเสริมต่อการอยู่อาศัย เช่น คาบสมุทรสแกนดิเนเวีย ประเทศฟินแลนด์ และตอนเหนือของประเทศรัสเซีย เป็นต้น ซึ่งเป็นดินแดนที่มีภูมิอากาศหนาวเย็นตลอดปี ครูฉัตรชัย สัตบุษ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ สพม.3
13
ครูฉัตรชัย สัตบุษ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ สพม.3
ประชากรของทวีปยุโรป เชื้อชาติ ชาวยุโรปส่วนใหญ่เป็นพวกผิวขาว (Caucasoid) ซึ่งเป็นชาติพันธุ์ดังเดิมของทวีปนี้ แม้ในระยะหลังจะมีพวกผิวดำ(Negroid) และผิวเหลือง (Mongoloid) อพยพเข้ามาอาศัยด้วย แต่ก็นับว่ามีจำนวนน้อยมาก ยุโรปปัจจุบันจึงยังคงเป็นทวีปของคนผิวขาว ซึ่งจำแนกได้ 3 กลุ่ม 3. กลุ่มเมดิเตอร์เรเนียน เป็นกลุ่มเชื้อชาติที่อพยพมาจาเอเชียเข้ามาอาศัยอยู่แถบชายฝั่งทะเล เมดิเตอร์เรเนียน ลักษณะรูปร่างสูงปานกลาง ผิวสีน้ำตาล olive – brown ตาสีดำ ผมสีเข้มคือสีน้ำตาลเข้มหรือดำ กะโหลกศีรษะมีความยาวมากว่าความกว้าง ปัจจุบันกลุ่มเชื้อชาติเมดิเตอร์เรเนียนอาศัยอยู่บริเวณตอนใต้ของยุโรป เช่นในประเทศ สเปน ฝรั่งเศส อิตาลี โปรตุเกส เป็นต้น 2. กลุ่มอัลไพน์ กลุ่มเชื้อชาติอัลไพน์อพยพมาจากเอเชียไมเนอร์ เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ทางยุโรปกลางเขตเชิงเขาแอลป์และแถบคาบสมุทรบอลข่าน กลุ่มอัลไพน์มีรูปร่างลักษณะบึกบึน แข็งแรง ผิวสีอ่อน กะโหลกศีรษะมีส่วนกว้างมาก ปัจจุบันอาศัยอยู่ทางตอนกลางของประเทศเยอรมนี ตอนกลางของฝรั่งเศส ตอนเหนือของสเปน และบริเวณคาบสมุทรบอลข่าน 1. กลุ่มนอร์ดิก กลุ่มนี้อพยพมากจากเอเชียเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ในทวีปยุโรปตอนเหนือ มีลักษณะรูปร่างสูงใหญ่ ผิวขาว ผมสีอ่อน ตาสีอ่อน ปัจจุบันคือ ประชากรในแถบคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย กระจายลงมาตอนใต้ของเยอรมนี ตอนใต้ของเบลเยี่ยม ตอนเหนือของฝรั่งเศส เป็นบริเวณที่ประชากรส่วนใหญ่มีเชื้อชาติผสมระหว่างนอร์ดิกและอัลไพน์ ครูฉัตรชัย สัตบุษ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ สพม.3
14
ครูฉัตรชัย สัตบุษ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ สพม.3
ประชากรของทวีปยุโรป ภาษา ที่ใช้ในทวีปยุโรป เป็นตระกูล ภาษาอินโด-ยุโรเปียน ซึ่งแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ 1. กลุ่มภาษาเยอร์มานิก (ติวโตนิก) ใช้กันในกลุ่มสแกนดิเนเวีย เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ออสเตรีย ไอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และบางส่วนของสวิตเซอร์แลนด์ เบลเยี่ยม 2. กลุ่มภาษาโรแมนซ์ หรือกลุ่มภาษาละติน ใช้กันใน อิตาลี สเปน ฝรั่งเศส โปรตุเกส และโรมาเนีย 3. กลุ่มภาษาสลาวิก (สลาฟ) ใช้กันในภาคกลางและภาคตะวันออกของยุโรป ในคาบสมุทรบอลข่าน และสหพันธรัฐรัสเซีย ศาสนา ชาวยุโรปส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 นิกาย คือ 1. โรมันคาทอลิก เป็นศาสนาของผู้ใช้ภาษาละติน เช่นในเบลเยี่ยม ฝรั่งเศส โปรตุเกส อิตาลี ออสเตรีย สโลวัก เช็ก และโปแลนด์ 2. กรีกออร์โธดอกซ์ นับถือศาสนาในกรีซ และยูโกสลาเวีย 3. โปรเตสแตนด์ นับถือกันใน สแกนดิเนเวีย เอสโทเนีย แลตเวีย เนเธอร์แลนด์สหราชอาณาจักร ครูฉัตรชัย สัตบุษ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ สพม.3
15
ลักษณะเศรษฐกิจของทวีปยุโรป
การเกษตร การเพาะปลูก เขตเพาะปลูกอยู่ในยุโรปตะวันตก ภาคตะวันออกและภาคใต้ของอังกฤษ ภาคเหนือและภาคตะวันตกของฝรั่งเศส ตอนเหนือของเยอรมนี ยูเครน พืชที่สำคัญคือ ข้าวสาลี ปลูกได้มากที่สุดคือ ยูเครน รองลงไปคือ ฝรั่งเศส อิตาลี สเปน โรมาเนีย บัลแกเรีย เยอรมนี ฮังการี ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ ข้าวไรย์ ถั่ว มันฝรั่ง ปลูกได้โดยทั่วไป องุ่น ส้ม มะกอก มะนาว แอปเปิลและผลไม้ชนิดต่างๆ ปลูกได้มากเขตอากาศแบบเมดิเตอร์เนียน ได้แก่ประเทศอิตาลี ฝรั่งเศส สเปน กรีซ ต้นแฟล็กซ์ ใช้ใบทำป่านลินิน ปลูกมากในโปแลนด์ เบลเยียม ไอร์แลนด์ ครูฉัตรชัย สัตบุษ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ สพม.3
16
ลักษณะเศรษฐกิจของทวีปยุโรป
การทำเหมืองแร่ การทำเหมืองแร่ ยุโรปเป็นทวีปที่มีแร่เหล็กและถ่านหินอุดมสมบูรณ์ 1 ถ่านหิน แหล่งสำคัญอยู่ทางภาคเหนือของสหราชอาณาจักร 2 เหล็ก แหล่งสำคัญคือ แหล่งคิรูนาและเยลีวาร์ทางตอนเหนือของสวีเดน 3 น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ แหล่งสำคัญของยุโรปอยู่ในบริเวณทะเลเหนือ และรอบๆทะเลสาบแคสเปียน 4 บอกไซต์ เมื่อนำถลุงแล้วได้อะลูมิเนียม แหล่งผลิตสำคัญอยู่ทางภาคใต้ของฝรั่งเศส ยูโกสลาเวีย ฮังการี เทือกเขาอูราลในรัสเซีย 5 โพแทช ใช้ในอุตสาหกรรมปุ๋ยและสบู่ แหล่งผลิตอยู่ในประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี สเปน รัสเซีย การประมง การประมง แหล่งประมงที่สำคัญ ได้แก่ ทะเลเหนือ โดยเฉพาะบริเวณที่กระแสน้ำอุ่นแอตแลนติกเหนือบรรจบกับกระแสน้ำเย็นกรีนแลนด์ตะวันออก เกิดเป็นแหล่งที่มีปลาชุกชุมมากแห่งหนึ่งของโลกเรียกว่า ดอกเกอร์แบงก์ การทำป่าไม้ การทำป่าไม้ พบมากในประเทศฟินแลนด์ สวีเดน รัสเซีย นอร์เวย์ ในบริเวณป่าสน ซึ่งเป็นไม้เนื้ออ่อน นำมาผลิตเป็นเยื่อกระดาษ ครูฉัตรชัย สัตบุษ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ สพม.3
17
ลักษณะเศรษฐกิจของทวีปยุโรป
อุตสาหกรรม อุตสาหกรรม ยุโรปได้ชื่อว่าเป็นทวีปอุตสาหกรรม เพราะเกือบทุกประเทศประชากร ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่อยู่ในภาคอุตสาหกรรม แหล่งอุตสาหกรรมส่วนใหญ่อยู่ในยุโรปตะวันตก เช่น สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ ส่วนยุโรปตะวันออกอยู่ใน รัสเซีย ยูเครน เบลารุส ครูฉัตรชัย สัตบุษ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ สพม.3
18
ลักษณะเศรษฐกิจของทวีปยุโรป
การค้าขาย การค้าขาย เนื่องจากยุโรปความเจริญก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ทำให้ยุโรปมีการติดต่อค้าขายกับภูมิภาคอื่นและมีการตั้งกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เช่น 1 สหภาพยุโรป (EU-European Union) 2 สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (EFTA-European Free Trade Association) ตลาดการค้าขายระหว่างประเทศ ได้แก่ ประเทศต่างๆที่อยู่ในยุโรปและประเทศอเมริกาเหนือ ครูฉัตรชัย สัตบุษ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ สพม.3
19
ครูฉัตรชัย สัตบุษ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ สพม.3
การคมนาคม การคมนาคมขนส่ง ยุโรปเป็นทวีปที่มีการคมนาคมขนส่งเจริญก้าวหน้ามาก ทางรถยนต์ มีทางหลวงเชื่อมระหว่างเมือง เขตอุตสาหกรรมและประเทศต่างๆ มีระยะทางยาวประมาณ 1 ใน 5 ของทางรถยนต์ของโลก ทางรถไฟ ทวีปยุโรปมีทางรถไฟยาว 1 ใน 3 ของทางรถไฟในโลก ประเทศที่มีทางรถไฟยาวเมื่อเฉลี่ยต่อเนื้อที่แล้วมากที่สุด คือ เบลเยียม รองลงมาคือ สหราชอาณาจักร สวิตเซอร์แลนด์ เมืองที่เป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางรถไฟคือ ปารีส ลอนดอน เบอร์ลิน วอร์ซอ มอสโก ทางอากาศ แต่ละประเทศต่างก็มีสายการบินเป็นของตนเอง ใช้ติดต่อระหว่างเมืองภายในประเทศ ระหว่างประเทศ และระหว่างทวีป ศูนย์กลางการบินส่วนใหญ่เป็นเมืองหลวงของแต่ละประเทศ ทางน้ำ แม่น้ำสำคัญที่ใช้ในการคมนาคมขนส่งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ได้แก่ แม่น้ำไรน์ แม่น้ำเซน แม่น้ำดานูบ แม่น้ำโวลกา แม่น้ำโอเดอร์ และมีการขุดคลองเพื่อการคมนาคม เช่น คลองคีล ในเยอรมนี เชื่อมระหว่างทะเลบอลติกกับทะเลเหนือ คลองมีดีในฝรั่งเศสเชื่อมทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับมหาสมุทรแอตแลนติก ครูฉัตรชัย สัตบุษ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ สพม.3
20
หนังสือแบบเรียนภูมิศาสตร์ ม2 สำนักพิมพ์ วพ.
อ้างอิง หนังสือแบบเรียนภูมิศาสตร์ ม2 สำนักพิมพ์ วพ. END ครูฉัตรชัย สัตบุษ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ สพม.3
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.