ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยPhairoh Panyarachun ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
POWER POINT ประกอบการสอนหน่วยการเรียนรู้ที่ 1
4/3/2017 5:16 PM POWER POINT ประกอบการสอนหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ร่องรอยปทุมธานีในอดีต เรื่อง วิธีการทางประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดย นายสุนทร พุกสุข สพป ปทุมธานี เขต 1 © 2007 Microsoft Corporation. All rights reserved. Microsoft, Windows, Windows Vista and other product names are or may be registered trademarks and/or trademarks in the U.S. and/or other countries. The information herein is for informational purposes only and represents the current view of Microsoft Corporation as of the date of this presentation. Because Microsoft must respond to changing market conditions, it should not be interpreted to be a commitment on the part of Microsoft, and Microsoft cannot guarantee the accuracy of any information provided after the date of this presentation. MICROSOFT MAKES NO WARRANTIES, EXPRESS, IMPLIED OR STATUTORY, AS TO THE INFORMATION IN THIS PRESENTATION.
2
ผังมโนทัศน์หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
หลักฐานประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น วิธีการทางประวัติศาสตร์ ร่องรอยปทุมธานี ในอดีต แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น
3
ให้นักเรียนดูภาพหนังสือ
8-9 ภาพ
4
นวนิยายหงสารามัญ
5
หนังสือประวัติความเป็นมาของท้องถิ่น
6
หนังสือเตาสามโคก
7
ประวัติศาสตร์รามัญ
8
ของดีเมืองปทุม
9
ประวัติศาสตร์-โบราณคดี
10
100 ปี เมืองธัญญบูรี 2545
11
ครูไพบูลย์ บุตรขัน
12
หนังสือภูมิสังคมปทุมธานี
13
พาเที่ยวเมืองปทุมธานี
14
นักเรียนช่วยกันตอบคำถามเหล่านี้
1. การเขียนหนังสือประวัติศาสตร์แตกต่าง กับนวนิยายอย่างไร การเขียนเอกสาร ตำราทางประวัติศาสตร์ มีวิธีการเขียนอย่างไร การศึกษาประวัติศาสตร์ในท้องถิ่นมี ขั้นตอนอะไรบ้าง
15
นักเรียนตอบได้ไหม หากคิดคำตอบไม่ได้ ไม่เป็นไร เดี๋ยวเราไปศึกษาวิธีการทางประวัติศาสตร์ ของคุณหมอบัญชา พงษ์พานิชกันหน่อยเป็นไร
16
นักเรียนแต่ละกลุ่มหากยังคิดคำตอบไม่ได้
ให้ศึกษาใบความรู้ เรื่อง ตามรอยลูกปัด โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ (คิดเดี่ยว-คิดคู่-ร่วมกันคิด)
17
นักเรียนแต่ละกลุ่มตอบคำถามลงในใบกิจกรรมที่ 2.1
ตามประเด็น.. การกำหนดปัญหา วิธีการรวบรวมข้อมูล วิธีการตรวจสอบประเมินหลักฐาน(ลูกปัด) การวิเคราะห์/ตีความสิ่งที่พบ (หลักฐาน) วิธีการนำเสนอผลการศึกษา
18
จากตามรอยลูกปัด ของคุณหมอบัญชา พงษ์พานิช
นักเรียนพอจะทราบบ้างใช่ไหม ว่าวิธีการทางประวัติศาสตร์มีขั้นตอนอย่างไร… ไม่ยากใช่ไหม สนุกด้วย มีอะไรให้ท้าทายมากมาย
19
ต่อไปนี้เรามาสรุปความรู้กันซิว่า
วิธีการทางประวัติศาสตร์ มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง มาดูกันซิ...
20
วิธีการทางประวัติศาสตร์
21
บทนำ ประวัติศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วยเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีตของมนุษย์ โดยมีนักประวัติศาสตร์เป็นผู้ทำหน้าที่สืบสวนค้นคว้า หาข้อเท็จจริงต่างๆ จากหลักฐานที่หลงเหลืออยู่ เราสามารถนำความรู้ทาง ประวัติศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการพิจารณาเหตุการณ์ ในปัจจุบันหรือแก้ปัญหาสภาพสังคมปัจจุบันได้
22
ความหมายของวิธีการทางประวัติศาสตร์
หมายถึง ขั้นตอนหรือวิธีการ ที่นักประวัติศาสตร์ใช้ใน การศึกษา ค้นคว้าเรื่องราวของมนุษย์ในอดีต เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่ใกล้เคียงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มากที่สุด
23
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์
ขั้นกำหนดปัญหา ขั้นรวบรวมข้อมูล ขั้นตรวจสอบและประเมินหลักฐาน ขั้นวิเคราะห์และตีความ ขั้นเรียบเรียงและนำเสนอ
24
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์
ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหาหรือเรื่องที่จะศึกษา เป็นเรื่องที่ผู้สนใจอยากรู้ สงสัย จึงตั้งประเด็นปัญหา เรื่องที่จะศึกษา เช่น เกิดอะไรขึ้น (WHAT) เมื่อไร (WHEN) ที่ไหน (WHERE) กับใคร (WHO) เกิดขึ้นอย่างไร (HOW) ทำไมจึงเกิดขึ้น (WHY)
25
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์
ขั้นที่ 2 ขั้นรวบรวมหลักฐานข้อมูล ผู้ศึกษารวบรวมหลักฐานข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ เรื่องที่จะศึกษา จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เช่น ห้องสมุด หอจดหมายเหตุ พิพิธภัณฑ์ ผู้เชี่ยวชาญ แหล่งโบราณคดี เอกสารชั้นต้น เอกสารชั้นรอง ฯลฯ
26
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์
ขั้นที่ 3 ขั้นตรวจสอบและประเมินหลักฐาน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การประเมินคุณค่าหลักฐานภายนอก การประเมินคุณค่าหลักฐานภายใน
27
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์
ขั้นที่ 3 ขั้นตรวจสอบและประเมินหลักฐาน การประเมินคุณค่าหลักฐานภายนอก เป็นการประเมินที่มุ่งพิสูจน์หลักฐานว่าเป็นของจริง หรือปลอมโดยอาศัยการเปรียบเทียบกับหลักฐานอื่น ซึ่งจำเป็นต้องขอความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ ด้าน
28
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์
ขั้นที่ 3 ขั้นตรวจสอบและประเมินหลักฐาน การประเมินคุณค่าหลักฐานภายใน เป็นการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของหลักฐาน โดยพิจารณาความถูกต้องและคุณค่าของเนื้อหา จากความใกล้ชิดกับเหตุการณ์ ศักยภาพและ คุณธรรมของผู้ศึกษา
29
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์
ขั้นที่ 4 การตีความหลักฐาน ผู้ศึกษาต้องตีความหลักฐานอย่างมีระเบียบแบบ แผน พยายามค้นหาความหมายและความสำคัญที่แท้จริง ที่ปรากฏ การวิพากษ์วิจารณ์ และการแสดงความ คิดเห็นอย่างมีเหตุผล ยุติธรรม โดยเรียงเหตุการณ์ตามลำดับเวลาก่อนหลังที่ เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
30
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์
ขั้นที่ 4 การตีความหลักฐาน การตีความแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ การตีความขั้นต้น หรือ การตีความในแนวราบ การตีความขั้นลึก หรือ การตีความในแนวดิ่ง
31
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์
ขั้นที่ 4 การตีความหลักฐาน การตีความขั้นต้น (การตีความในแนวราบ) ถ้าเป็นหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ผู้ตีความ จะต้องบอกได้ว่าชิ้นส่วนวัตถุหรือซากที่พบเป็นส่วน หนึ่งของอะไร มีลวดลายหรือลักษณะสำคัญอย่างไร
32
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์
ขั้นที่ 4 การตีความหลักฐาน การตีความขั้นต้น (การตีความในแนวราบ) คุณลักษณะพิเศษของผู้ศึกษาจะต้องมีความรู้ เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อผู้เขียน หรือผู้สร้างหลักฐาน เช่น จารีตประเพณี ทัศนคติ ค่านิยม ของ ยุคสมัยนั้นๆ
33
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์
ขั้นที่ 4 การตีความหลักฐาน การตีความขั้นลึก (การตีความในแนวดิ่ง) เป็นการตีความเพื่อหาความหมายที่ผู้เขียน หรือผู้สร้างหลักฐานมิได้บอกไว้อย่างเปิดเผย ตรงไปตรงมา เช่น ทัศนคติและเจตนา หรือจุดมุ่งหมายของ ผู้เขียนหรือผู้สร้าง ข้อเท็จจริงบางประการที่ แฝงอยู่
34
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์
ขั้นที่ 4 การตีความหลักฐาน ตัวอย่างการตีความขั้นต้น จากศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ด้านที่ 1 บรรทัดที่ ซึ่งเขียนเป็นคำอ่านปัจจุบันว่า
35
....เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่เอาจกอบใน ไพร่ลู่ทาง เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ ค้าช้าง ค้า ใครจักใคร่ค้าม้า ค้า ใครจักใคร่ค้า เงือนค้าทองค้า....
36
เมื่อตีความขั้นต้นแล้วจะได้สาระสรุปว่า
....เมืองสุโขทัยในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีความอุดมสมบูรณ์ การค้าขายได้โดยสะดวก ไม่มีการเก็บภาษีผ่านด่าน ราษฎรค้าขายได้ตามชอบ....
37
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์
ขั้นที่ 4 การตีความหลักฐาน ตัวอย่างการตีความขั้นลึก ....เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี ใน น้ำมีปลา ในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ ลู่ทาง เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ ค้าช้าง ค้า ใครจักใคร่ค้าม้า ค้า ใครจักใคร่ค้า เงือนค้าทองค้า....
38
เมื่อตีความในขั้นลึกแล้ว จะได้ความหมายอื่นๆ ที่ไม่ได้บอกไว้ตรงๆ อีกหลายความหมาย เช่น
ผู้จารึกยกย่องพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และมี ทัศนคติที่มีต่อสุโขทัย จึงสรรเสริญสุโขทัยว่า อุดม สมบูรณ์ถึงขนาด ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ในขณะนั้นเมืองหรือแคว้นอื่นๆ อาจมีการเก็บ ภาษีผ่านด่าน แต่สุโขทัยไม่เก็บ จึงดีกว่าเมืองและ แคว้นอื่นๆ สุโขทัยเก็บภาษีหลายประเภท การยกเว้นภาษี ผ่านด่านคงไม่กระทบกระเทือนรายได้ของรัฐมาก นัก
39
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์
ขั้นที่ 5 การเรียบเรียงและการนำเสนอ คือ การนำข้อมูลที่ได้จากการตีความแล้วมา สังเคราะห์ คือการนำมารวมเข้าด้วยกัน หรือนำมาเชื่อมโยงปะติดปะต่อเป็นเรื่องเดียวกัน เพื่ออธิบายหรือตอบปัญหาที่กำหนดไว้ในขั้นตอนที่ 1 แล้วนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น บทความ หนังสือ การบรรยาย การอภิปรายเป็นต้น
40
ลองฝึกตีความกันหน่อยซิ (1)
“ถึงสามโคกโศกถวิลถึงปิ่นเกล้า พระพุทธเจ้าหลวงบำรุงซึ่งกรุงศรี ประทานนามสามโคกเป็นเมืองตรี ชื่อประทุมธานีเพราะมีบัว โอ้พระคุณสูญลับไม่กลับหลัง แต่ชื่อตั้งก็ยังอยู่เขารู้ทั่ว โอ้เรานี้ที่สุนทรประทานตัว ไม่รอดชั่วเช่นสามโคกยิ่งโศกใจ”
41
ลองฝึกตีความกันหน่อยซิ (2)
“จากเรือมาร่อนท้ง พญาเมือง เมืองเปล่าปลิวใจหาย น่าน้อง จากมาเยียมาเปลือง อกเปล่า อกเปล่าว่ายฟ้าร้อง ร่ำหารนภา”
42
ควรตีความขั้นต้นอย่างไร
43
ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าตามวิธีการทางประวัติศาสตร์
รอยลูกปัด ตัวอย่างหนังสือ ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าตามวิธีการทางประวัติศาสตร์
44
บรรณานุกรมภาพ http://www.rangsit.org/rangsit_travel/index.php
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.