งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ครูฉัตรชัย สัตบุษ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ สพม.3

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ครูฉัตรชัย สัตบุษ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ สพม.3"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ครูฉัตรชัย สัตบุษ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ สพม.3
สื่อประกอบการเรียนรู้ ทวีปแอฟริกา ครูฉัตรชัย สัตบุษ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ สพม.3

2 ครูฉัตรชัย สัตบุษ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ สพม.3
ลักษณะทางกายภาพ ทวีปแอฟริกา เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปเอเชีย ทั้งในแง่ของพื้นที่และจำนวนประชากร ด้วยพื้นที่ประมาณ 30.2 ล้านตารางกิโลเมตร (11.7 ล้านตารางไมล์) รวมทั้งเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ข้างเคียง ทวีปแอฟริกามีพื้นที่ประมาณร้อยละ 6 ของพื้นผิวโลกทั้งหมด และนับเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 20.4 ของพื้นดินทั้งหมด ประชากรมากกว่า 1,000 ล้านคน (พ.ศ. 2552) ในดินแดน 61 ดินแดน นับเป็นร้อยละ ของประชากรโลก ทวีปแอฟริกาถูกล้อมรอบด้วยทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตอนเหนือ คลองสุเอซและทะเลแดง บริเวณคาบสมุทรไซนายทางตะวันออกเฉียงเหนือ มหาสมุทรอินเดียทางตะวันออกเฉียงใต้และมหาสมุทรแอตแลนติกทางตะวันตก ประกอบด้วย 54 รัฐ รวมทั้งมาดากัสการ์ หมู่เกาะต่าง ๆ และสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรัชซาห์ราวี ซึ่งเป็นสมาชิกของสหภาพแอฟริกา แต่ยังคงถูกโต้แย้งเรื่องสถานภาพความเป็นอธิปไตยโดยโมร็อกโก ครูฉัตรชัย สัตบุษ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ สพม.3

3 ครูฉัตรชัย สัตบุษ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ สพม.3
ลักษณะทางกายภาพ ทวีปแอฟริกา ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 37 ํ เหนือ ถึง 35 ํ ใต้ โดยประมาณ คือ ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของทวีปยุโรป และทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย มีเส้นละติจูดที่ 0 ํ หรือเส้น ศูนย์สูตร ลากผ่านกลางทวีป ทิศเหนือ  ติดต่อกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศตะวันออก ติดต่อกับทะเลแดง และมหาสมุทรอินเดีย ทิศใต้ ติดต่อกับมหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแอตแลนติก ทิศตะวันตก ติดต่อกับมหาสมุทรแอตแลนติก ครูฉัตรชัย สัตบุษ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ สพม.3

4 ครูฉัตรชัย สัตบุษ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ สพม.3
ลักษณะทางกายภาพ 3. เขตที่ราบสูงภาคตะวันตก เป็นที่ราบสูงหินเก่า มีอาณาเขตจาก ทะเลทรายสะฮารา ไปจนถึงอ่าวกินี ภูเขาที่สำคัญคือ ภูเขาอะฮักการ์ และภูเขาทีเบสตี ทวีปแอฟริกา จำแนกลักษณะภูมิประเทศเป็น 4 เขต ดังนี้ 1. เขตภูเขาโก่งตัวยุคใหม่ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ได้แก่บริเวณเทือกเขา แอตลาสที่ราบสูง หุบเขา และที่ราบชายฝั่งทะเลที่อุดมสมบูรณ์ ส่วนบริเวณด้านใต้ของเทือกเขาแอตลาสคือทะเลทรายสะฮารา 2. เขตที่ราบสูง ภูเขาภาคตะวันออกและภาคใต้ เขตที่ราบสูงและภูเขาสูงทางภาคตะวันออก เป็นเขตที่มีความ สูงมาก เต็มไปด้วยภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่นและดับแล้ว มียอดเขา คิลิมานจาโร เป็นยอดเขาสูงสุดในทวีป ทางตะวันออกมีแอ่งแผ่นดิน ที่ทรุดต่ำกลายเป็นทะเลสาบอยู่หลายแห่ง ครูฉัตรชัย สัตบุษ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ สพม.3

5 ครูฉัตรชัย สัตบุษ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ สพม.3
ลักษณะทางกายภาพ ที่ราบลุ่มแม่น้ำไนเจอร์ ที่ราบลุ่มแม่น้ำไนล์ ที่ราบลุ่มแม่น้ำแซมเบซี ที่ราบลุ่มแม่น้ำคองโก 4.เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ ระหว่างที่ราบสูงต่างๆ จะมีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่าน ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดจากที่สูงตอนในของทวีป และไหลลงสู่ทะเลโดยรอบ มีลักษณะเป็น ที่ราบแคบๆ ลุ่มแม่น้ำ และบางตอนเต็มไปด้วยแก่งหินและน้ำตก ทำให้กระแสน้ำ ไหลแรง ไม่มีประโยชน์ด้านการคมนาคม แต่สามารถใช้ประโยชน์ด้านการผลิต กระแสไฟฟ้า ครูฉัตรชัย สัตบุษ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ สพม.3

6 ครูฉัตรชัย สัตบุษ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ สพม.3
ลักษณะทางกายภาพ การแบ่งเขตภูมิอากาศของทวีปแอฟริกามีเขตภูมิอากาศต่างๆ รวม 6 เขต ดังนี้ 1.เขตร้อนชื้น หรือป่าไม้เขตร้อน เขตภูมิอากาศแบบป่าเมืองร้อน หรือป่าดิบชื้น ได้แก่บริเวณลุ่มแม่น้ำคองโก ชายฝั่งรอบอ่าวกินี ชายฝั่งตะวันออกของเกาะมาดากัสการ์ มีอากาศร้อน ฝนตกชุก 6.เขตภูมิอากาศแบบชื้นกึ่งร้อนหรืออบอุ่นชื้นได้แก่ บริเวณชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของสาธารัฐแอฟริกาใต้ และภาคใต้ของโมแซมบิก มีลักษณะอากาศอบอุ่นและชื้น ฝนตกในฤดูร้อนและอบอุ่นในฤดูหนาว อุณหภูมิปานกลาง 5. เขตเมดิเตอร์เรเนียน ได้แก่ดินแดนทางตะวันตกเฉียงเหนือ บริเวณริมฝั่งบาบาร์รี ในประเทศแอลจีเรีย และตูนีเซีย และตะวันตกเฉียงใต้ของทวีป แถบเมืองเคปทาวน์ในประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ 3.เขตภูมิอากาศแบบทะเลทราย ตอนเหนือของทวีปได้แก่ทะเลทราย สะฮารา และทะเลทรายลิเบีย ตอนใต้ของทวีปได้แก่ ทะเลทรายนามิบ และคาลาฮารี มีอากาศร้อน และแห้งแล้ง เป็นเขตที่มีปริมาณน้ำฝนต่ำมาก พืชพรรณธรรมชาติคือตะบองเพชร 4.เขตทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย พบทางตอนกลางของทวีป และทางใต้ของเส้นศูนย์สูตร ลักษณะอากาศไม่แห้งแล้งมากเหมือนในทะเลทราย แต่มีฝนตกน้อยกว่า 2. เขตร้อนชื้นสลับแล้ง หรือแบบทุ่งหญ้าเขตร้อนคือบริเวณตอนเหนือและใต้แนวศูนย์สูตร มีฝนตกชุกในฤดูร้อน และแห้งแล้งในฤดูหนาว ครูฉัตรชัย สัตบุษ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ สพม.3

7 ครูฉัตรชัย สัตบุษ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ สพม.3
ลักษณะทางกายภาพ ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญในทวีปแอฟริกาได้แก่ ทรัพยากรป่าไม้แหล่งป่าไม้ที่สำคัญอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำคองโกบริเวณชายฝั่งอ่าวกินี ส่วนใหญ่เป็นไม้เนื้อแข็ง ถ้าเปรียบเทียบกับทวีปอื่นแล้ว แอฟริกาผลิตไม้ได้น้อย ทรัพยากรแร่ธาตุ แร่ธาตุสำคัญได้แก่ ทองคำ เพชร ทองแดง เหล็ก ยูเรเนียม น้ำมัน ดีบุก ถ่านหิน แมงกานีส มีมากใน 5 ประเทศ คือ สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ลิเบีย ไนจีเรีย และแซมเบีย ครูฉัตรชัย สัตบุษ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ สพม.3

8 ครูฉัตรชัย สัตบุษ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ สพม.3
ประชากร ทวีปแอฟริกามีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากทวีปเอเชีย ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดคือประเทศไนจีเรีย รองลงมาคือ ประเทศอียิปต์ อัตราการเพิ่มของประชากรสูง ความหนาแน่น 22 คนต่อ 1 ตารางกิโลเมตร เชื้อสายของประชากร 1 นิกรอยด์ - บันตู อยู่ในแถบแอฟริกาตะวันออก กลาง และใต้ เช่น เผ่าคิคูยู วาตูซี มาไซ - ซูดานนิโกร อยู่ในแถบแอฟริกาตะวันตกและทะเลทรายสะฮารา - ปิกมี บริเวณลุ่มแม่น้ำคองโก - บุชแมนและฮอตเทนทอต บริเวณทะเลทรายกาลาฮารี 2 คอเคซอยด์ มาจากคาบสมุทรอาหรับ อยู่ในแถบอียิปต์และซูดาน และ จากชาวยุโรป บริเวณแหลมกู๊ดโฮป และตอนเหนือของทวีป 3 กลุ่มยุโรป เป็นเชื้อสายของชาวยุโรปที่เข้ามาปกครองดินแดนแอฟริกา อาศัยอยู่ในเขตอบอุ่น บริเวณชายฝั่งตอนเหนือ ตะวันตกเฉียงเหนือ และบริเวณใต้สุด ของทวีป ครูฉัตรชัย สัตบุษ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ สพม.3

9 ครูฉัตรชัย สัตบุษ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ สพม.3
ประชากร ศาสนาในทวีปแอฟริกา ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม รองลงมาคือศาสนาคริสต์ และยิว ในทวีปแอฟริกา ประชากรยังมีความเชื่อ เรื่องจิตวิญญาณ อำนาจของดวงดาว สิ่งมหัศจรรย์ และปฏิบัติตามความเชื่อนั้นสืบต่อกันมา ในปัจจุบัน มีนักสอนศาสนาคริสต์นิกายต่างๆ พยายามเผยแพร่คำสอนไปสู่ชาวแอฟริกัน ทำให้มีจำนวนผู้เลื่อมใสเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ครูฉัตรชัย สัตบุษ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ สพม.3

10 ครูฉัตรชัย สัตบุษ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ สพม.3
ประชากร ภาษา ในทวีปแอฟริกามีภาษาพูดอยู่ไม่น้อยกว่า 1,000 ภาษา ทั้งนี้เนื่องจากเป็นทวีปที่มีประชากรอยู่หลายเผ่าพันธุ์ แต่อาจแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม             1) กลุ่มภาษาเซมิติก ได้แก่ ภาษาอาหรับ เป็นภาษาของคนส่วนใหญ่ในแอฟริกาเหนือ และบางส่วนในแอฟริกาตะวันออก ส่วนกลุ่มภาษาเซมิติกของชาวยุโรปเป็นภาษาของเจ้าอาณานิคมที่เข้ามาปกครอง เป็นภาษที่ใช้กันแพร่หลายเมื่อไม่นานมานี้ ได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอังกฤษ และภาษาดัตช์             2) กลุ่มภาษาซูดาน เป็นภาษาของประชากรในประเทศต่างๆ ซึ่งตั้งอยู่ในเขตทุ่งหญ้าสะวันนาทางตอนใต้ของทะเลทรายสะฮารา             3) กลุ่มภาษาบันตู เป็นภาษาของประชากรในประเทศต่างๆ ซึ่งตั้งอยู่ทางภาคกลางและภาคตะวันออกของทวีป รวมทั้งบางประเทศที่อยู่ทางตอนใต้ด้วย             4) กลุ่มภาษาเฮาซา เป็นกลุ่มภาษาทางการค้าของประชากรทางภาคตะวันตกของทวีป ครูฉัตรชัย สัตบุษ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ สพม.3

11 ครูฉัตรชัย สัตบุษ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ สพม.3
ประชากร การกระจายของประชากร ประชากรของทวีปแอฟริกาตั้งถิ่นฐาน อยู่หนาแน่นบริเวณ ต่างๆ ดังนี้ 1 ที่ราบลุ่มแม่น้ำไนล์ อยู่ในเขตประเทศอียิปต์ ซูดาน 2 ที่ราบชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือ อยู่ในเขตประเทศโมร็อกโก แอลจีเรีย ตูนีเซีย 3 ที่ราบชายฝั่งตะวันตก คือกลุ่มประเทศที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของอ่าวกินี 4 ที่ราบชายฝั่งทางด้านใต้ และตะวันออกเฉียงใต้ อยู่ในเขตประเทศ สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ โมซัมบิก 5. ที่ราบสูงชายฝั่งตะวันออก ได้แก่บริเวณรอบๆทะเลสาบวิกตอเรีย บริเวณ ที่มีประชากร เบาบาง ได้แก่บริเวณที่แห้งแล้ง เป็นทะเลทราย ครูฉัตรชัย สัตบุษ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ สพม.3

12 ครูฉัตรชัย สัตบุษ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ สพม.3
ลักษณะทางเศรษฐกิจ 5 การอุตสาหกรรม   แอฟริกาเป็นทวีปที่มีความล้าหลังทางด้านอุตสาหกรรม ประเทศที่มีความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรม คือสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ประเทศที่มีผลผลิตทางด้านอุตสาหกรรมทำรายได้เข้าประเทศบ้าง ได้แก่ ซิมบับเว   สวาซิแลนด์ โมร็อกโก เซเนกัล ส่วนประเทศที่เป็นแหล่งอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ได้แก่ ตูนิเซีย โมร็อกโก อียิปต์ เคนยา แอลจีเรีย 1. การเพาะปลูก   ลักษณะการเพาะปลูกมีความแตกต่างกันไปตามสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศ คือ       1) เขตร้อนชื้น ได้แก่ แอฟริกาตะวันตก เช่น โกโก้ ปลูกมากที่สุด ประเทศกานาเป็นประเทศที่ส่งเมล็ดโกโก้ออกจำหน่ายมากที่สุดในโลก พืชสำคัญอื่นๆ ได้แก่ เผือก มัน ปาล์มน้ำมัน กาแฟ ถั่วลิสง อ้อย ยางพารา      2) เขตลุ่มน้ำไนล์ มีอากาศร้อนและแห้งแล้งแต่ได้รับน้ำจากการชลประทาน พืชสำคัญได้แก่ ฝ้าย ชา อินทผลัมและข้าวฟ่าง      3) เขตเมดิเตอร์เรเนียน ได้แก่ ตอนเหนือสุดและใต้สุดของทวีป มีการปลูกพืชผลเมดิเตอร์เรเนียน เช่น ส้ม องุ่น มะกอก ข้าวสาลี เป็นต้น      4) เขตอบอุ่นชื้น ได้แก่ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีป มีการปลูกข้าวสาลี ข้าวโพด และไม้ผล 3 การทำป่าไม้  เขตที่มีความสำคัญในการทำป่าไม้ในแอฟริกา คือ บริเวณทางชายฝั่งอ่าวกินี และบริเวณลุ่มแม่น้ำคองโก เป็นแหล่งที่มีป่าไม้อยู่มากและอยู่ใกล้ทะเล ซึ่งสามารถขนส่งได้ง่าย กับเขตที่ราบสูงของแอฟริกาตะวันออก 2. การประมง   การประมงไม่ได้เป็นอาชีพสำคัญของชาวแอฟริกาจะมีบ้าง ได้แก่ การจับปลาเล็กๆ น้อยๆในแม่น้ำต่างๆ ส่วนการประมงน้ำเค็มมีน้อยมาก แหล่งจับปลาน้ำเค็ม ได้แก่ น่านน้ำชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้เป็นประเทศที่จับปลาได้มากที่สุดในแอฟริกา 4 การทำเหมืองแร่   แร่ที่สำคัญของแอฟริกา ได้แก่ เพชร ทองคำ ยูเรเนียม ถ่านหิน ใยหิน เหล็ก แมงกานีส ทองแดง ดีบุก บอกไซต์ และฟอสเฟต ครูฉัตรชัย สัตบุษ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ สพม.3

13 ครูฉัตรชัย สัตบุษ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ สพม.3
ลักษณะทางเศรษฐกิจ การค้ากับต่างประเทศ    การค้าระหว่างประเทศต่างๆ ในแอฟริกากับภูมิภาคอื่นของโลก ส่วนใหญ่เป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้า จะมีประเทศที่ได้เปรียบดุลการค้าบ้างก็เฉพาะประเทศผู้ผลติน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ กับประเทศโกตดิวัวร์และรวันดาเท่านั้น ที่ได้ดุลการค้าในการค้าขายกับต่างประเทศ ลักษณะการค้ากับต่างประเทศ ดังนี้       1) สินค้าออก ที่สำคัญได้แก่ น้ำมันดิบ แก๊สธรรมชาติ อาหาร ยาสูบ และวัตถุดิบต่างๆ ตลาดรับซื้อสินค้าจากแอฟริกา ได้แก่ กลุ่มสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และประเทศต่างๆในยุโรปตะวันออก       2) สินค้าเข้า ที่สำคัญได้แก่ เครื่องจักรกล ยานยนต์ อุปกรณ์การขนส่งสินค้าจากโรงงานอุตสาหกรรม น้ำมันดิบ และแก๊สธรรมชาติ แหล่งที่ส่งสินค้าเข้าสู่แอฟริกา ได้แก่ กลุ่มสหภาพยุโรป กลุ่มโอเปค สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ครูฉัตรชัย สัตบุษ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ สพม.3

14 ครูฉัตรชัย สัตบุษ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ สพม.3
การคมนาคมขนส่ง   ทวีปแอฟริกาเป็นทวีปที่มีความล้าหลังทางการคมนาคมขนส่งมากกว่าทุกทวีป ทั้งเพราะประเทศ   ส่วนใหญ่ยากจน ไม่มีเงินทุนเพียงพอที่จะนำมาพัฒนาในด้านนี้ และนอกจากนี้ทวีปแอฟริกายังมีลักษณะภูมิประเทศและสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการคมนาคมขนส่งด้วย       1) ทางบก นอกจากความขาดแคลนทางด้านเศรษฐกิจแล้ว แอฟริกายังมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นอุปสรรคต่อการสร้างถนนและทางรถไฟ เพราะภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง และมีเขตทะเลทรายอันกว้างขวางทางตอนเหนือและตอนใต้ เป็นบริเวณที่ไม่มีค่าทางเศรษฐกิจและแทบไม่มีประชากรอาศัยอยู่ การสร้างเส้นทางคมนาคมในเขตนี้จึงไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ส่วนเขตแม่น้ำคองโกทางภาคกลางเป็นเขตที่ราบลุ่มที่ปกคลุมด้วยป่าดิบอันกว้างขวาง ก็เป็นอุปสรรคต่อการก่อสร้างเส้นทางคมนาคมขนส่ง ทั้งยังประชากรอาศัยอยู่เบาบางมาก พื้นที่ดังกล่าวจึงแทบไม่มีถนนอยู่เลย         2) ทางน้ำ เส้นทางคมนาคมทางทะเลมีความสำคัญต่อแอฟริกามาก ทั้งนี้เพราะแอฟริกาตั้งอยู่ในเส้นทางเดินเรือระหว่างทวีปยุโรปกับทวีปเอเชีย และทวีปยุโรปกับทวีปออสเตรเลีย หลายประเทศในทวีปนี้ ได้มีการปรับปรุงเมืองท่าน้ำลึกให้เรือสินค้าและเรือเดินสมุทรเข้าเทียบท่าได้ และกลายเป็นเมืองท่าขนาดใหญ่หลายเมือง เช่น อะเล็กซานเดรีย ในอียิปต์ เคปทาวน์ในสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ คาซาบลังกาในโมร็อกโก มันโรเวียในไลบีเรีย เป็นต้น       3) ทางอากาศ แอฟริกาเป็นทวีปมีสายการบินที่ใช้ติดต่อกันทั้งภายในทวีปและระหว่างทวีป ศูนย์กลางคมนาคมทางอากาศ ได้แก่ ไคโรในอียิปต์ คาร์ทูมในซูดาน แอลเจียร์ในแอลจีเรีย ไนโรบีในเคนยา ลากอสในไนจีเรีย โจฮันเนสเบิร์กและเคปทาวน์ในสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ครูฉัตรชัย สัตบุษ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ สพม.3

15 สื่อประกอบการเรียนรู้ หนังสือแบบเรียนภูมิศาสตร์ ม2 สำนักพิมพ์ วพ.
ทวีปแอฟริกา หนังสือแบบเรียนภูมิศาสตร์ ม2 สำนักพิมพ์ วพ.

16 ครูฉัตรชัย สัตบุษ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ สพม.3
สื่อประกอบการเรียนรู้ ทวีปแอฟริกา ครูฉัตรชัย สัตบุษ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ สพม.3


ดาวน์โหลด ppt ครูฉัตรชัย สัตบุษ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ สพม.3

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google