ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยPhitsamaï Tansoongnen ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
บทที่ 11 พฤติกรรมรวมหมู่ และขบวนการทางสังคม
(Collective Behavior & Social Movement)
2
พฤติกรรมรวมหมู่ (Collective Behavior) เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มกันทางสังคมและมีพฤติกรรมกลุ่มเกิดขึ้น อาทิเช่น ฝูงชน ม็อบ จลาจล หรือ Fad ข่าวลือ ฝูงชนตื่นตระหนก สาธารณะชน และการเกิดขึ้นของขบวนการสังคม
3
ลักษณะของพฤติกรรมรวมหมู่บางประเภท พฤติกรรมของกลุ่มบุคคลเป็นไปเอง (spontaneous) ไม่มีการเตรียมการหรือวางแผนที่จะให้เกิดพฤติกรรมร่วมกัน โครงสร้างของกลุ่มเป็นแบบหลวม ๆ (unstructured) สมาชิกมีอารมณ์พร้อมที่จะกระตุ้นให้โกรธ แสดงความรุนแรงได้ตลอดเวลา (emotional) ในแต่ละสังคมมีพฤติกรรมรวมหมู่มากน้อยไม่เท่ากัน ขึ้นกับสภาพแวดล้อมของสังคม
4
นักสังคมวิทยา สร้างทฤษีที่อธิบายถึงพฤติกรรมรวมหมู่ (Precondition of collective behavior) เอาไว้ว่า พฤติกรรมรวมหมู่เป็นพฤติกรรมที่มีสาเหตุ มิใช่เกิดขึ้นโดยไร้เหตุผล สาเหตุของพฤติกรรมรวมหมู่จะเกี่ยวข้องกับโครงสร้างสังคม และการสะสมความเครียดภายในสังคม ทำให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบรวมตัวกันเพื่อโต้ตอบกับสถานการณ์ที่พวกเขาเผชิญอยู่
5
ทฤษฎีของ Smelser สรุปขั้นตอนการเกิดพฤติกรรมรวมหมู่เป็น 6ขั้น ได้แก่
สรุปขั้นตอนการเกิดพฤติกรรมรวมหมู่เป็น 6ขั้น ได้แก่ 1.โครงสร้างสังคมที่เอื้อ Structural conduciveness 2.ความเครียดอันเกิดจากโครงสร้างสังคม Structural strain 3.การแพร่กระจายความเชื่อ Generalized belief
6
4.ปัจจัยกระตุ้น Precipitating factors
5.การมีพฤติกรรมรวมหมู่ของฝูงชน Mobilization for action 6.การเข้าควบคุมขององค์กรต่าง ๆ ภายในสังคม Operation of social control
7
แบบของพฤติกรรมรวมหมู่ แบ่งได้ 2 แบบดังนี้
1.พฤติกรรมรวมหมู่ในพื้นที่จำกัด (Spatially Proximate Collective Behaviors) หรือฝูงชน (Crowds) 2.พฤติกรรมรวมหมู่แบบกระจาย (Spatially Diffuse Collective Behaviors)
8
1.พฤติกรรมรวมหมู่ในพื้นที่จำกัด/ฝูงชน
ลักษณะเด่นได้แก่ การที่กลุ่มคนอยู่ในพื้นที่เดียวกัน แลเห็นกายกันได้ มีจุดสนใจร่วมกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่คาดฝันมาก่อน การรวมกลุ่มแบบหลวม ๆ เมื่อความสนใจหมดไปกลุ่มก็จะสลายไปเอง
9
Jonathan H. Turner (1978) อธิบายลักษณะเด่นของฝูงชนไว้เป็นลำดับดังนี้
1.ฝูงชนจะมีภาวะนิรนาม (Anonymity) 2.มีการชักจูงง่าย (Suggestible) 3.มีการแพร่ระบาดพฤติกรรม (Contagion/Interactional Amplification) 4.อารมณ์ถูกกระตุ้นได้ง่าย (Emotional Arousal)
10
Herbert Blumer (1939) จำแนกฝูงชน
ออกเป็น 4 แบบคือ 1.ฝูงชนบังเอิญ (Casual crowds) 2.ฝูงชนชุมนุมกัน (Conventional crowds) 3.ฝูงชนแสดงออก (Expressive crowds) 4.ฝูงชนลงมือทำ (Acting crowds)
11
2.พฤติกรรมรวมหมู่แบบกระจาย(Spatially Diffuse Collective Behaviors) แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ
1.มวลชน (mass) 2.สาธารณชน หรือ มหาชน (publics)
12
มวลชน หมายถึง กลุ่มบุคคลจำนวนมาก ที่มีความรู้สึกและความสนใจในบางสิ่งบางอย่างร่วมกัน สมาชิกของมวลชนไม่จำเป็นต้องมารวมกันในสถานที่แห่งเดียวกันโดยใกล้ชิด และไม่มีการปฏิสัมพันธ์ต่อกันหรือมีเพียงผิวเผิน
13
ไม่มีความรู้สึกเป็นกลุ่ม มีอิสระในการแสดงพฤติกรรม ไม่มีบรรทัดฐานเฉพาะกลุ่ม เช่น สมาชิกนิตยสาร กลุ่มคนที่สะสมแสตมป์ กลุ่มคนที่นิยมรถโฟลก์เต่า เป็นต้น
14
พฤติกรรมมวลชนที่พบเห็นกันบ่อย ๆ ได้แก่ แฟชั่น (fashions) หมายถึง วิถีประชาระยะสั้น แต่มีการหมุนเวียนกลับมาปฏิบัติใหม่อีก เช่น การนุ่งกระโปรงสั้น กระโปรงยาว เป็นต้น พฤติกรรมอีกประเภทซึ่งคล้ายกันได้แก่ ความคลั่งนิยมชั่วขณะ (fads) แตกต่างจากแฟชั่นตรงที่ไม่มีการหมุนเวียนกลับไปกลับมา เช่น การคลั่งดอกทิวลิปในยุโรปช่วงหนึ่ง ความนิยมโป่งขามในอดีตหรือหินสีในปัจจุบัน ของไทย
15
สาธารณชน หรือ มหาชน (publics)
หมายถึง กลุ่มประชาชนซึ่งมีความสนใจและไม่เห็นด้วยกับประเด็นปัญหาใดปัญหาหนึ่งที่ต้องการการอภิปราย หรือมีข้อโต้แย้ง
16
สาธารณชนไม่มีความรู้สึกเป็นกลุ่ม ไม่มีบรรทัดฐานของกลุ่ม ความคิดเห็นเป็นไปโดยเสรี การปฏิสัมพันธ์กันไม่มากนักหรือไม่มีเลย บางครั้งปฏิสัมพันธ์ผ่านทางสื่อ เช่น วิทยุ คอลัมน์หนังสือพิมพ์
17
ขบวนการสังคม (Social Movement)
18
ขบวนการสังคม หมายถึง การรวบรวมความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงบรรทัดฐานค่านิยมให้แก่สังคมใหม่ ขบวนการสังคมเป็นการรวมกลุ่มของสมาชิกสังคมที่มีระยะเวลาดำเนินการยาวนาน บางขบวนการอาจล้มเลิกไปก่อนที่เป้าหมายของขบวนการจะบรรลุ แต่บางขบวนการแม้เมื่อเป้าหมายบรรลุแล้ว ขบวนการก็ยังดำเนินต่อไป และขยายเป้าหมายใหม่ในการดำเนินการ
19
Blumer ได้อธิบายขั้นตอนการเกิดขบวนการสังคมออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ
1. สังคมมีความวุ่นวาย 2. ประชาชนตื่นตัวที่จะแก้ไขปัญหาความวุ่นวายนั้น 3. ประชาชนรวมตัวเป็นองค์กรเพื่อแก้ปัญหา และ ขั้นสุดท้าย 4. องค์กรกลายสภาพเป็นสำนักงานที่มีการทำงานเป็นระบบและกลายเป็นสถาบันสังคม
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.