ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
บทเรียนโปรแกรม POWER POINT
เรื่องกาพย์เห่เรือ นางศิริพรรณ รักร่วม ผู้สอน
2
สรุปความรู้เพิ่มเติม จากเรื่องกาพย์เห่เรือ
ผู้นิพนธ์ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ หรือ เจ้าฟ้ากรมขุนเสนาพิทักษ์ (เจ้าฟ้ากุ้ง)พระราชโอรสพระองค์แรกในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงเป็นกวีเอกในสมัย กรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ผลงาน ทางคดีธรรม มี 2 เรื่อง คือ นันโทปนันทสูตรคำหลวง และพระมาลัยคำหลวง ทางคดีโลก มี กาพย์เห่เรือ กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง และ กาพย์ห่อโคลงนิราศพระบาท
3
1. การเห่เรือหลวง มี 3 จังหวะ ดังนี้ 1
1. การเห่เรือหลวง มี 3 จังหวะ ดังนี้ ช้าลวะเห่ มีทำนองช้า ใช้เห่เมื่อ เรือเริ่มออกจากท่า มูลเห่ มีทำนองเร็ว ใช้เห่ต่อจาก ช้าลวะเห่และเมื่อเรือพาย ทวนน้ำ สวะเห่ ใช้เห่เมื่อเรือเทียบท่า การเห่เรือ การเห่เรือของไทย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การเห่เรือหลวง การเห่เรือเล่น 2. การเห่เรือเล่น เป็นการเห่สำหรับเล่นเรือเที่ยวเตร่กัน มี 2 จังหวะ คือจังหวะจ้ำและจังหวะปกติ
4
เมื่อขึ้นเนื้อเรื่องตอนใหม่ก็ต้องแต่งโคลงสี่สุภาพบทหนึ่งนำเสมอ
ลักษณะคำประพันธ์ แต่งเป็นกาพย์ห่อโคลง คือ นำด้วยโคลงสี่สุภาพ 1 บท ตามด้วย กาพย์ยานี หลายบท เมื่อขึ้นเนื้อเรื่องตอนใหม่ก็ต้องแต่งโคลงสี่สุภาพบทหนึ่งนำเสมอ
5
เนื้อเรื่องโดยสังเขป
มีการดำเนินเรื่องด้วยการเห่ชมเรือ เช้า เห่ชมกระบวนเรือพยุหยาตรา สาย เห่ชมปลา บ่าย เห่ชมไม้ เย็น เห่ชมนก ค่ำ เห่ครวญ ถึงนางที่รัก การพรรณนาความตั้งแต่ ตอนชมปลาเป็นต้นไป จะมีการพรรณนาพาดพิงไปถึง นางผู้เป็นที่รัก เข้าลักษณะนิราศ
6
ให้ความรู้ด้านต่างๆ เช่น ชื่อพันธุ์ไม้ พันธุ์นก
คุณค่าที่ได้รับ ให้ความรู้ด้านต่างๆ เช่น ชื่อพันธุ์ไม้ พันธุ์นก สะท้อนให้เห็นขนบธรรมเนียมประเพณี ค่านิยมของคนไทย มีคุณค่าด้านวรรณศิลป์ และด้านสังคม
7
สะท้อนภาพชีวิต ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ค่านิยมของคนไทย ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ดังนี้
1. ในสมัยนั้นใช้การคมนาคมทางน้ำเป็นสำคัญ มีประเพณีที่เกิดจากการคมนาคมทางน้ำ คือ การเห่เรือ และศิลปะที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการที่พระมหากษัตริย์เสด็จประพาสทาง ชลมารค คือ วรรณศิลป์ (กาพย์เห่เรือ) สังคีตศิลป์ (ลำนำการเห่เรือ) เป็นต้น
8
3. วัฒนธรรมการแต่งกายของหญิงชาววังในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา เช่น คิดอนงค์องค์เอวอร ผมประบ่าอ่าเอี่ยมไร เพียนทองงามดั่งทอง ไม่เหมือนน้องห่มตาดพราย 4. สะท้อนความเชื่อเกี่ยวกับกรรมสนองกรรม เช่น เวรามาทันแล้ว จึงจำแคล้วแก้วโกมล 5. แสดงค่านิยมเกี่ยวกับความงามของสตรี เช่น งามทรงวงดั่งวาด งามมารยาทนาดกรกราย งามพริ้มยิ้มแย้มพราย งามคำหวานลานใจถวิล
9
6. ให้ความรู้เกี่ยวกับขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ชื่อปลา ชื่อไม้ ชื่อนก เช่น นวลจันทร์ คางเบือน แก้มช้ำ / นางแย้ม จำปา ลำดวน / สร้อยทอง สาลิกา แขกเต้า แก้วฟ้า เช่น 7. ให้ความรู้เกี่ยวกับเทพนิยาย เช่น “เรือครุฑยุดนาคหิ้ว ลิ่วลอยมาพาผันผยอง” ครุฑยุดนาค พาหนะของพระนารายณ์ คือ ครุฑ
10
คุณค่าด้านวรรณศิลป์ 1. ใช้รูปแบบกาพย์เห่เรือเหมาะสมกับเนื้อหาที่เกี่ยวกับการเสด็จประพาสทางชลมารค 2. ใช้ศิลปะการประพันธ์และโวหารภาพพจน์ ที่ก่อให้เกิดอารมณ์สุนทรี เข้าถึง ความงดงามของธรรมชาติและก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ ดังนี้ - สัทพจน์ (เลียนเสียงธรรมชาติ) พลพายกรายพายทอง ร้องโห่เห่โอ้เห่มา เล่นคำ นวลจันทร์เป็นนวลจริง เจ้างามพริ้งยิ่งนวลปลา ซ้ำคำ เรื่อยเรื่อยมารอนรอน ทิพากรจะตกต่ำ
12
- ซ้ำคำเล่นคำ. รอนรอนสุริยโอ้. อัสดง เรื่อยเรื่อยลับเมรุลง
- ซ้ำคำเล่นคำ รอนรอนสุริยโอ้ อัสดง เรื่อยเรื่อยลับเมรุลง ค่ำแล้ว รอนรอนจิตจำนง นุชพี่ เพียงแม่ เรื่อยเรื่อยเรียมคอยแก้ว คลับคล้ายเรียมเหลียว อัพภาส (การซ้ำอักษรหน้าศัพท์ เช่น ยิ้ม - ยะยิ้ม) เสียงสรวลระรี่นี้ เสียงแก้วพี่หรือเสียงใคร - สรรคำให้เกิดภาพ สุวรรณหงส์ทรงพู่ห้อย งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์
13
- โวหารภาพพจน์ กวีใช้โวหารภาพพจน์เพื่อก่อให้เกิดจินตภาพ เช่น อุปมา : สรมุขมุขสี่ด้าน เพียงพิมานผ่านเมฆา อุปลักษณ์ : น้ำเงินคือเงินยวง ขาวพรายช่วงสีสำอาง สัญลักษณ์ : เรื่อยเรื่อยเรียมคอยแก้ว คลับคล้ายเรียมเหลียว
14
งานที่มอบหมาย ให้นักเรียนเลือกบทประพันธ์ที่ชอบจากเรื่องกาพย์เห่เรือมา 4-8 บท หรือจนจบเนื้อหาตอนที่ชอบ บอกเหตุผลที่ชอบ บอกประโยชน์/ข้อคิด ที่ได้รับจากเรื่อง (เฉพาะตอนที่เลือก) ทำในกระดาษ A4 ส่งภายใน 1 สัปดาห์ หลังจากที่เรียนเรื่องนี้จบ หมายเหตุ ชิ้นงานใดที่ส่งมาซ้ำกัน จะประเมินโดยนำไปเปรียบเทียบกันและจะต้องไม่ซ้ำกันเกิน ๓ คน หากเกินให้ทำใหม่
15
ตัวอย่างรูปแบบการทำชิ้นงาน
บทประพันธ์ที่ชอบ เรื่องกาพย์เห่เรือ ตอน เหตุผลที่ชอบ ข้อคิด/ประโยชน์ที่ได้จากตอนที่ชอบ ชื่อ ชั้น เลขที่ ตัวอย่างรูปแบบการทำชิ้นงาน ( วรรณคดีวิจักษ์ ม.๖ หน้า บทที่ ) ๔-๘บท
16
สวัสดีค่ะ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2025 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.