ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
สื่อการสอนโดยใช้โปรแกรม Power Point
เรื่องการใช้ภาษาในการโต้แย้ง ผู้สอน ครูศิริพรรณ รักร่วม
2
การโต้แย้ง หมายถึง การแสดงทรรศนะที่แตกต่างกันระหว่างบุคคล ๓ ฝ่าย ซึ่งแต่ละฝ่ายจะต้องพยายามหาหลักฐาน เหตุผล ข้อมูล มาสนับสนุนทรรศนะของตนให้น่าเชื่อถือ
3
โครงสร้างของการโต้แย้ง
โครงสร้างของการโต้แย้ง ประกอบด้วย ข้อสรุป เหตุผล หัวข้อและเนื้อหาของการโต้แย้ง ไม่จำกัดขอบเขต แต่ควรกำหนดให้ชัดเจนว่าจะโต้แย้งในหัวข้อใด
4
กระบวนการโต้แย้ง การโต้แย้ง แบ่งได้เป็น ๔ ขั้นตอน ดังนี้
การโต้แย้ง แบ่งได้เป็น ๔ ขั้นตอน ดังนี้ ๑. การตั้งประเด็นในการโต้แย้ง ๒. การนิยามคำและกลุ่มคำสำคัญที่อยู่ในประเด็นของ การโต้แย้ง ๓. การค้นหาและเรียบเรียงข้อสนับสนุนทรรศนะของตน ๔. การชี้ให้เห็นจุดอ่อนและความผิดพลาดของทรรศนะ ของฝ่ายตรงกันข้าม
5
ขั้นที่ ๑ การตั้งประเด็นในการโต้แย้ง
ขั้นที่ ๑ การตั้งประเด็นในการโต้แย้ง ประเด็นในการโต้แย้ง คือ คำถามที่ก่อให้เกิดการโต้แย้ง ประกอบด้วยประเด็นหลักและประเด็นรอง มีลักษณะเป็นคำถาม ผู้โต้ จะต้องรู้ว่ากำลังโต้แย้งเกี่ยวกับทรรศนะประเภทใดและโต้แย้งให้ตรงประเด็น คือ
6
๑. ถ้าเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับนโยบายหรือข้อเสนอเพื่อให้ เปลี่ยนแปลงจากสภาพเดิม มี ๓ ประเด็น ดังนี้
ประเด็นที่ ๑ สภาพเดิมที่เป็นอยู่นั้นมีข้อบกพร่อง หรือไม่ อย่างไร ประเด็นที่ ๒ ข้อเสนอเพื่อการเปลี่ยนแปลงนั้น จะแก้ไขข้อบกพร่องได้หรือไม่ ประเด็นที่ ๓ ผลดีที่เกิดจากข้อเสนอนั้นมีเพียงใด
7
๒. ถ้าเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับข้อเท็จจริง มี ๒ ประเด็น ดังนี้
๒. ถ้าเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับข้อเท็จจริง มี ๒ ประเด็น ดังนี้ ประเด็นที่ ๑ ข้อเท็จจริงที่อ้างถึง มีหรือเป็นเช่นนั้นจริง หรือไม่ อยู่ที่ไหน ประเด็นที่ ๒ การตรวจสอบข้อเท็จจริงนั้นทำได้หรือไม่ ด้วยวิธีใด ๓. ถ้าเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับคุณค่า จะเป็นการโต้แย้งที่มีความรู้สึกส่วนตัวแทรกอยู่ ไม่อาจกำหนดประเด็นที่แน่นอนลงไปได้
8
ขั้นที่ ๒ การนิยามคำและกลุ่มคำสำคัญที่อยู่ใน ประเด็นของการโต้แย้ง
ขั้นที่ ๒ การนิยามคำและกลุ่มคำสำคัญที่อยู่ใน ประเด็นของการโต้แย้ง การนิยาม คือ การกำหนดความหมายของคำหรือกลุ่มคำที่ใช้ในการโต้แย้งให้ชัดเจน เข้าใจตรงกัน ไม่สับสน จะโต้แย้งกันได้ถูกทิศทาง
9
วิธีนิยาม อาจนิยามได้ดังนี้
วิธีนิยาม อาจนิยามได้ดังนี้ นิยามตามพจนานุกรมหรือสารานุกรม นิยามตามคำอธิบายของผู้รู้ที่เขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร นิยามด้วยการเปรียบเทียบ นิยามด้วยการยกตัวอย่าง
10
ขั้นที่ ๓ การค้นหาและเรียบเรียงข้อสนับสนุนทรรศนะ ของตน
ขั้นที่ ๓ การค้นหาและเรียบเรียงข้อสนับสนุนทรรศนะ ของตน การค้นหาข้อสนับสนุนทรรศนะของตน อาจค้นได้จาก การอ่าน การฟัง การสัมภาษณ์และการสังเกตด้วยตนเอง ทรรศนะนั้นจะน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับ ข้อสนับสนุนที่มาจากหลักฐาน สถิติ ข้อเท็จจริงต่างๆ
11
ขั้นที่ ๔ การชี้ให้เห็นจุดอ่อนและความผิดพลาด ของทรรศนะของฝ่ายตรงกันข้าม
จุดอ่อนในการนิยามคำสำคัญ โดยชี้ให้เห็นว่า การนิยามนั้นวกวน ข้อความที่นำมาใช้ในนิยามบางคำอาจเข้าใจยาก หรือเป็นนิยามโดยอคติ เพื่อให้ประโยชน์แก่ฝ่ายตน ๒. จุดอ่อนในด้านปริมาณของความถูกต้องของข้อมูล โดยชี้ให้เห็นว่าข้อมูลที่อีกฝ่ายหนึ่งเสนอมานั้นมีข้อผิดพลาด หรือมีน้อยเกินไป หรือไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ
12
จุดอ่อนของสมมุติฐานและวิธีการอนุมาน - สมมุติฐาน คือ หลักทั่วไปที่ต้องยอมรับเสียก่อน และจากสมมุติฐานนั้น ผู้แสดงทรรศนะจะใช้วิธีอนุมานนำไปสู่ข้อสรุป - ส่วนวิธีการอนุมาน หมายถึง กระบวนการหาข้อสรุปจากสมมุติฐานที่มีอยู่ ในการโต้แย้งจะต้องชี้ให้เห็นว่า สมมุติฐานของฝ่ายตรงข้าม ยังไม่ใช่หลักที่เป็นที่ยอมรับ หรือวิธีการอนุมานนั้น ยังมีความผิดพลาดอยู่ เป็นต้น
13
การวินิจฉัยเพื่อตัดสินข้อโต้แย้ง
มี ๒ แบบ ดังนี้ พิจารณาเฉพาะเนื้อหาสาระที่แต่ละฝ่ายนำมาโต้แย้งกัน ผู้ตัดสินต้องวางตัวเป็นกลาง ไม่นำความรู้หรือประสบการณ์ของตนเองมาใช้ในการตัดสิน เช่น การตัดสินคดี การตัดสินโต้วาที วินิจฉัยโดยใช้ดุลพินิจของตนมาประกอบการพิจารณาคำ-โต้แย้งของทั้งสองฝ่ายโดยละเอียด เช่น การลงมติในที่ประชุม การตัดสินใจเลือกพรรคการเมือง
14
ข้อควรระวังในการโต้แย้ง
หลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์ มีมารยาทในการใช้ภาษาทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษา เลือกประเด็นในการโต้แย้งที่เป็นประโยชน์และสร้างสรรค์
15
เรื่องการใช้ภาษาเพื่อโน้มน้าวใจ
พบกันในตอนต่อไป เรื่องการใช้ภาษาเพื่อโน้มน้าวใจ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.