งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

(Landslide or Mass movement)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "(Landslide or Mass movement)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 (Landslide or Mass movement)
ดินถล่ม  (Landslide or Mass movement)

2 ดินถล่มหรือโคลนถล่ม  เป็นภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นตามเชิงเขา โดยอาจจะเป็นการถล่มของโคลน น้ำ สิ่งปฏิกูล เศษขยะ ดินเปียก หลังจากฝนตกหนักและเกิดน้ำท่วมฉับพลัน หรือการเกิดแผ่นดินไหวสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโคลนถล่มก็คือ การตัดไม้ทำลายป่า ทำให้รากไม้ที่ยึดดิน ทำให้ดินถล่มได้ง่ายหลังจากฝนตกหนัก น้ำจะซึมลงไปในดินอย่างรวดเร็ว

3 บริเวณที่มักจะเกิดดินถล่ม
คือบริเวณที่ใกล้กับแนวรอยเลื่อนที่มีพลังและมีการยกตัวของแผ่นดินขึ้นเป็น ภูเขาสูง บริเวณที่ทางน้ำกัดเซาะเป็นโตรกเขาลึกและชัน บริเวณที่มีแนวรอยแตกและรอยแยกหนาแน่นบนลาดเขา  บริเวณที่มีการผุพังของหินและทําให้เกิดชั้นดินหนาบนลาดเขา ในบริเวณที่มีความลาดชันตํ่าและมีดินที่เกิดจากการผุพังของชั้นหินบนลาดเขา โดยประเทศไทยมีพื้นที่เสี่ยงดินถล่ม รวม 51 จังหวัด 323 อำเภอ 1,056 ตำบล 6,450 

4 (สรุป) ข้อสังเกตหรือสิ่งบอกเหตุ
- ฝนตกหนักถึงหนักมาก (มากกว่า 100 มิลลิเมตรต่อวัน) - น้ำในลำห้วยสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และเปลี่ยนเป็นสีของดินภูเขา - มีเสียงดังอื้ออึง ผิดปกติมาจากภูเขาและลำห้วย 

5 (สรุป) สาเหตุที่ทำให้ดินโคลนถล่มรุนแรงมากขึ้น
สภาพธรณีวิทยา เป็นหินเนื้อแน่น เมื่อเกิดการผุกร่อน ทำให้เกิดชั้นดินหนา  สภาพภูมิอากาศ เกิดฝนตกติดต่อกันเป็นเวลานาน  สภาพภูมิประเทศ เป็นภูเขาและหน้าผาลาดชัน  การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม โดยการตัดถนนผ่านไหล่เขาหรือภูเขาลาดชัน  การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตร โดยปลูกพืชชนิดเดียวบนที่ลาดเชิงเขา เช่น ยางพารา ข้าวโพด เป็นต้น ซึ่งพืชชนิดนี้มีรากตื้นและเกาะชั้นดินที่มีความลึกระดับเดียว ทำให้เสถียรภาพของชั้นดินลดลง      

6 (สรุป) การเตรียมความพร้อมรับมือดินโคลนถล่ม
 การอพยพหนีภัยดินถล่ม ให้อพยพไปตามเส้นทางที่พ้นจากแนวการไหลของดินถล่ม ขึ้นที่สูงหรือสถานที่ปลอดภัย หลีกเลี่ยงเส้นทางที่มีแนวการไหลของดิน และเส้นทางที่กระแสน้ำไหลเชี่ยวกราก หากจำเป็นต้องใช้เส้นทางดังกล่าว ให้ใช้เชือกผูกลำตัวแล้วยึดติดไว้กับต้นไม้หรือสิ่งปลูกสร้างที่มั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวกรากพัดจมน้ำ ห้ามว่ายน้ำหนีโดยเด็ดขาด เพราะอาจกระแทกกับซากต้นไม้หรือหินที่ไหลมาตามน้ำจนจมน้ำเสียชีวิตได้            

7  หลังเกิดดินถล่ม  ห้ามเข้าใกล้บริเวณที่เกิดดินโคลนถล่มหรือบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหาย เนื่องจากอาจเกิดการพังทลายซ้ำ กำหนดเขตปลอดภัย โดยติดตั้งป้ายเตือนว่าพื้นที่ใดปลอดภัยและพื้นที่ใดเสี่ยงต่อการเกิดดินโคลนถล่มซ้ำพร้อมเร่งระบายน้ำออกจากบริเวณที่ดินถล่มให้มากที่สุดโดยทำทางเบี่ยง เพื่อไม่ให้น้ำไหลลงมาสมทบเข้าไปในมวลดินเดิมที่มีความเสี่ยงอยู่แล้ว              

8 การหมั่นติดตามพยากรณ์อากาศ การปฏิบัติตนตามประกาศแจ้งเตือนภัยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด และรู้จักสังเกตสัญญาณเตือนภัยจากธรรมชาติ จะช่วยลดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินจากดินโคลนถล่ม 

9 ตัวอย่างเหตุการณ์

10 หินถล่มที่บ้านห้วยส้มไฟ อ.เมือง จ.กระบี่
ผู้เสียชีวิต 3 ราย บาดเจ็บ 1 ราย

11 ลักษณะของ Debris flow ที่เกิดขึ้นที่ประเทศเวเนซูเอลา เมื่อปี ค.ศ. 1999
มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 30,000 คน

12 ดินโคลนถล่มที่ตำบลกระทูน อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ 2531
 ดินโคลนถล่มที่ตำบลกระทูน  อำเภอพิปูน  จังหวัดนครศรีธรรมราช  พ.ศ 2531 มีผู้เสียชีวิต  ประมาณ  700 คน

13 ดินโคลนถล่มที่ตำบลน้ำก้อและตำบลน้ำชุน อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ พ
 ดินโคลนถล่มที่ตำบลน้ำก้อและตำบลน้ำชุน  อำเภอหล่มสัก  จังหวัดเพชรบูรณ์ พ.ศ 2544  มีผู้เสียชีวิตประมาณ  130  คน

14 เหตุการณ์ดินถล่มที่หมู่บ้านในหุบเขาคอมโพสเตลล่า จังหวัดปันตุกัน ของประเทศฟิลิปปินส์เมื่อวันที่ 5 ม.ค.2555 ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 25 คน และสูญหายอีกประมาณ 150 คน

15 แผ่นดินถล่ม  2  ครั้ง  ที่หมู่บ้านในมณฑลชานชีและมณฑลชื่อชวน ( เสฉวน )  ประเทศจีน  เมื่อ พ.ศ 2551
มีผู้เสียชีวิตประมาณ  500  คน

16 จบการนำเสนอ

17 รายชื่อสมาชิก นาย อธิชา มะลัยสิทธิ์ เลขที่ 5 นางสาว ชนกานต์ นิวัธน์มรรคา เลขที่ 22 นางสาว รัตนพร พลพิชัย เลขที่ 23 นางสาว กนกวรรณ ปานศรี เลขที่ 24 ชั้น ม.4/5


ดาวน์โหลด ppt (Landslide or Mass movement)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google