ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การเขียนบทความ
2
นิยาม งานเขียนที่เป็นความเรียงประเภทหนึ่ง ซึ่งมุ่งเสนอความเห็นหรือทัศนะในเรื่องใด เรื่องหนึ่ง หรือมุ่งโน้มน้าวใจผู้อ่าน โดยมีหลักฐาน ข้อมูลอ้างอิง และผู้เขียนต้องแทรกข้อคิด ความเห็นในเชิงวิจารณ์หรือสร้างสรรค์ไว้ด้วย
3
ลักษณะเฉพาะของบทความ
เป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของผู้อ่านส่วนใหญ่ มีสาระ ให้ความรู้ มีข้อมูลหลักฐานน่าเชื่อถือ มีข้อคิดเห็น มุมมองของผู้เขียนที่มีต่อเรื่องนั้น เนื้อหาสาระเหมาะกับผู้อ่านที่มีการศึกษา มีลีลาการเขียนที่ชวนอ่าน สร้างความเพลิดเพลิน กระตุ้นให้เกิดความคิดไปกับเรื่องที่ผู้เขียนนำเสนอ
4
วัตถุประสงค์ของบทความ
เพื่ออธิบาย ชี้แจง หรือให้ความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อบรรยายให้ผู้อ่านเห็นภาพไปตามสิ่งที่ผู้เขียนนำเสนอ เพื่อโน้มน้าว ชักจูงใจผู้อ่าน เพื่อแสดงความเห็นในเชิงอภิปรายต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมขณะนั้น และชี้นำให้ผู้อ่านเห็นด้วยหรือปฏิบัติตามที่ผู้เขียนเสนอ
5
บทความวิชาการ เนื้อหาแสดงข้อเท็จจริง ข้อความรู้ทางวิชาการเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งโดยเฉพาะ อาจจะเสนอเฉพาะเนื้อหาสาระทางวิชาการหรือเสนอทั้งเนื้อหาสาระข้อเท็จจริง และแสดงความคิดเห็นในเชิงวิเคราะห์ วิจารณ์ก็ได้ หรืออาจเสนอผลการวิจัย (บทความวิจัย)
6
ลักษณะของบทความที่ดี
มีเอกภาพ มีสารัตถภาพ มีสัมพันธภาพ มีความสมบูรณ์
7
หลักการเขียนบทความ การเลือกเรื่อง (สนใจ น่าสนใจ ทันสมัย ทันเหตุการณ์ เลือกเรื่องที่ผู้เขียนมีความรู้ มีประสบการณ์ สามารถหาแหล่งค้นคว้า หรือหาข้อมูลมานำเสนอในงานเขียน เลือกเรื่องที่มีความยาว ความยาก ความง่าย พอเหมาะกับความสามารถของผู้เขียน) การกำหนดวัตถุประสงค์ กำหนดแนวคิดสำคัญ หรือประเด็นสำคัญ หรือแก่นเรื่อง การวางโครงเรื่อง โดยเป็นการจัดลำดับเนื้อหา ความคิด และข้อโต้แย้งให้ครบถ้วน
8
หลักการเขียนบทความ(ต่อ)
การเรียบเรียงเนื้อหา คือ ขั้นตอนของการลงมือเขียนตามโครงเรื่องที่ได้วางไว้ โดยนำเสนอประเด็นหลักให้ชัดเจน แล้วจึงเพิ่มประเด็นย่อยและตัวอย่างเพื่อความชัดเจน ทบทวนสาระของเรื่องว่าตรงกับชื่อเรื่องที่ ตั้งไว้ และครอบคลุมหรือไม่
9
โครงสร้างของบทความ ชื่อเรื่อง ความนำ เนื้อเรื่อง การแสดงความเห็น
ความสรุป
10
ส่วนประกอบ (2-3 หน้า) ส่วนที่ 1 : ชื่อเรื่อง, ประเด็นสำคัญ
ส่วนที่ 2 : เนื้อเรื่อง (นำประเด็นสำคัญมาอธิบายและหาเหตุผล ประกอบ ได้แก่ สถิติ , หลักฐานเชิงประจักษ์ ส่วนที่ 3 : สรุป (นำส่วนที่ 1 และ 2 มาสรุปให้เป็นประเด็นใหม่ คือ ข้อค้นพบที่ได้จากการเขียน 4-5 บรรทัด) (2-3 หน้า)
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.