งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ตัวอย่าง : 8 ขั้นตอนของกระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ตัวอย่าง : 8 ขั้นตอนของกระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยง"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ตัวอย่าง : 8 ขั้นตอนของกระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยง
หมายเหตุ ตัวอย่างของแผนบริหารความเสี่ยงนี้เป็นนำเสนอ การจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงในประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดที่ 2 โดยหน่วยงานของท่านสามารถนำตัวอย่างในการจัดทำแผนดังกล่าวไปใช้ได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ ขอให้ท่านโปรดส่งเอกสารแผนบริหารความเสี่ยงของหน่วยงานมายัง สำนักงานจังหวัดภายใน วันที่ 16 มิถุนายน 2551 และโปรดแนบไฟล์ของเอกสารดังกล่าวลงในแผ่นซีดี (CD) มาพร้อมกับเอกสารด้วย

2 ขั้นตอน 1: ระบุงานตามภารกิจ และ งานเชิงยุทธศาสตร์ที่มีความสำคัญ และ ควรได้รับความสนใจอย่างเร่งด่วน (งานที่จะนำมาลงในรายการเหล่านี้จะต้องได้รับการกลั่นกรองมาก่อนแล้วว่ามีความสำคัญ และ เร่งด่วนจริง)

3 ขั้นตอน 2: ประเมินระดับความเสี่ยงของแต่ละงานจาก ความถี่ในการเกิดขึ้นของปัญหา ความยากในการควบคุม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับงานนั้นๆ ผลกระทบจากปัจจัยภายนอก และ ระดับของผลกระทบที่ปัญหาจากงานนั้นจะมีต่อบุคคล หน่วยงาน และ/หรือ องค์กรอื่นๆ งานตามภารกิจ

4 งานตามประเด็นยุทธศาสตร์
ขั้นตอน 2: ประเมินระดับความเสี่ยงของแต่ละงานจาก ความถี่ในการเกิดขึ้นของปัญหา ความยากในการควบคุม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับงานนั้นๆ ผลกระทบจากปัจจัยภายนอก และ ระดับของผลกระทบที่ปัญหาจากงานนั้นจะมีต่อบุคคล หน่วยงาน และ/หรือ องค์กรอื่นๆ งานตามประเด็นยุทธศาสตร์

5 ขั้นตอน 3: Plot แผนภูมิที่แสดงให้เห็นว่า งานแต่ละประเภทที่ได้ถูกระบุในขั้นตอนแรกมีความเสี่ยงแตกต่างกันอย่างไร งานตามภารกิจ

6 ขั้นตอน 3: Plot แผนภูมิที่แสดงให้เห็นว่า งานแต่ละประเภทที่ได้ถูกระบุในขั้นตอนแรกมีความเสี่ยงในแต่ละมิติแตกต่างกันอย่างไร งานตามประเด็นยุทธศาสตร์

7 ขั้นตอน 4: ใช้แผนภูมิก้างปลาเพื่อช่วยระบุหาเหตุปัจจัยที่ทำให้งานแต่ละประเภทมีความเสี่ยง โดย อิงเหตุปัจจัยของความเสี่ยงจากหลักการ 7s และ SLEPT-ME (7S: Structure, Strategy, Systems, Style, Staffs, Skills, และ Shared Value; SLEPT-ME: S (Social), L (Law), E (Economy), P (Politics), T (Technology), M (Market), และ E (Environment) ) Staff Skills Systems Technology Social Structure Staffs Style Technology Law

8 ขั้นตอน 4: ใช้แผนภูมิก้างปลาเพื่อช่วยระบุหาเหตุปัจจัยที่ทำให้งานแต่ละประเภทมีความเสี่ยง โดย อิงเหตุปัจจัยของความเสี่ยงจากหลักการ 7s และ SLEPT-ME (7S: Structure, Strategy, Systems, Style, Staffs, Skills, และ Shared Value; SLEPT-ME: S (Social), L (Law), E (Economy), P (Politics), T (Technology), M (Market), และ E (Environment) ) Structure Staffs Style Economy Envi- -ronment Strategy Shared Value Style Technology Politics Staff Skills Systems Social Law

9 โครงการ และ/หรือ แผนปฏิบัติการป้องกันความเสี่ยง
ขั้นตอน 5: กำหนดโครงการที่จะช่วยลดความเสี่ยงโดยมุ่งเน้นไปที่การแก้ไขปรับปรุงที่เหตุปัจจัย งานตามภารกิจ โครงการ และ/หรือ แผนปฏิบัติการป้องกันความเสี่ยง

10 โครงการ และ/หรือ แผนปฏิบัติการ ป้องกันความเสี่ยง
ขั้นตอน 5: กำหนดโครงการที่จะช่วยลดความเสี่ยงโดยมุ่งเน้นไปที่การแก้ไขปรับปรุงที่เหตุปัจจัย โครงการ และ/หรือ แผนปฏิบัติการ ป้องกันความเสี่ยง

11 ขั้นตอน 6: นำรายละเอียดของโครงการและ/หรือแผนปฏิบัติการที่คิดขึ้นได้ในขั้นตอนที่ 5 นำไปใส่ในตารางข้างล่าง (ตัวอย่างที่ให้จะเป็นของงานตามภารกิจเท่านั้น) กลุ่มของงาน รายละเอียดของงาน ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น โครงการ และ ขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง ในการลดปัญหา และ บริหารจัดการความเสี่ยง เวลาที่จะเริ่มปฏิบัติ ผลที่คาดหวังและระยะเวลาหวังผล งานตามภารกิจ (Routine Task) งานจัดทำรายงาน PMQA SKILLS บุคลากรไม่เข้าใจกระบวนการจัดทำที่เหมาะสม Shared Value บุคลากรเห็นว่าเป็นงานที่น่าเบื่อ และ ทำให้สิ้นเปลืองเวลาโดยใช่เหตุ โครงการ พัฒนาทักษะและปลูกฝังทัศนคติที่ดีในการจัดทำ PMQA กำหนดทีมงาน ระบุประเภทของงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำ PMQA จัดฝึกอบรมเกี่ยวกับ PMQA จัดทำ WORKSHOP จัดทีมงานให้คำปรึกษา มีเบอร์ HOTLINE ที่จะช่วยให้คำปรึกษาและแก้ปัญหาได้ตลอดเวลาทำงาน ทำการเก็บตัวอย่างที่เหมาะสม และ นำลงบน Website ควบคุมคุณภาพ และ ติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ (ทุก 2 สัปดาห์) ช่วยปรับปรุง แก้ไขการรายงานผลทุกระยะ และ สานงานต่อจนเสร็จลุล่วงสมบูรณ์ 01/06/2551 ผลที่คาดหวัง ทำให้ผู้ปฏิบัติมีทักษะในการจัดทำ PMQA มากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ปฏิบัติรู้สึกอุ่นใจ และ สบายใจในการจัดทำ PMQA มากยิ่งขึ้น จังหวัดสามารถจัดทำการรายงานผลการปฏิบัติการตามข้อกำหนดของ PMQA ได้อย่างสมบูรณ์แบบและส่งผลได้ตรงเวลา ระยะเวลาที่คิดว่าจะแล้วเสร็จ: ตามหมายกำหนดการที่กำหนดโดย กพร

12 ขั้นตอน 7: นำโครงการที่ระบุในขั้นตอนที่ 6 ไปปฏิบัติจริง ทำการบันทึก เก็บเอกสาร รวบรวม เรียบเรียงเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำโครงการ และ/หรือ แผนปฏิบัติการทั้งหมดให้อยู่ในรูปเล่ม ขั้นตอน 8: หลังจากที่ได้จัดทำขั้นตอนที่ 7 แล้ว ให้ทำการรายงานผลทั้งหมดตามแบบฟอร์มข้างล่าง


ดาวน์โหลด ppt ตัวอย่าง : 8 ขั้นตอนของกระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google