ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
บทที่ 2 วัฒนธรรม CULTURE
2
ความหมายของวัฒนธรรม ในความหมายของนักสังคมศาสตร์จะหมายถึงระบบความคิด ค่านิยม ความรู้ บรรทัดฐาน และเทคโนโลยี ที่มีอยู่ร่วมกันในสังคม ๆ หนึ่ง วัฒนธรรมจึงมีความแตกต่างกันไปในแต่ละสังคม วัฒนธรรมไม่ได้เกิดขึ้นในตัวเราเองเหมือนการจาม การหายใจ แต่เป็นสิ่งที่เราต้องเรียนรู้จากครอบครัว เพื่อน ชุมชน หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ทุก ๆ สิ่งที่เราสัมผัสหรือติดต่อด้วย
3
ลักษณะพื้นฐานของวัฒนธรรม
1. เป็นความคิดร่วม 2. เป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องเรียนรู้ 3. มีพื้นฐานมาจากการใช้สัญลักษณ์ร่วมกัน 4. เป็นองค์รวมของความรู้ และภูมิปัญญา 5. กระบวนการที่มนุษย์กำหนดนิยามความหมายให้กับชีวิตและสิ่งต่าง ๆ 6. เป็นสิ่งที่ไม่หยุดนิ่ง เปลี่ยนแปลงเสมอ 7. Reproductionได่แก่ enculture กับ diffusion
4
องค์ประกอบของวัฒนธรรม
1. สัญลักษณ์ 2. ภาษา 3. ค่านิยม 4. บรรทัดฐาน 5. เทคโนโลยีและวัฒนธรรมทางวัตถุ
5
1. สัญลักษณ์ Symbol หมายถึง สิ่งหนึ่งซึ่งนำมาใช้แสดงความหมายแทนอีกสิ่งหนึ่ง ทั้งนี้สัญลักษณ์ไม่จำเป็นต้องมีความคล้ายคลึง หรือมีความสัมพันธ์กับสิ่งที่นำไปแทน เช่น “โดม” “พระเกี้ยว” “บางมด” “หอไอเฟล” ระบบสัญลักษณ์อีกอย่างหนึ่ง คือ (Sign) สัญญานไฟ เขียวแดง ห้องน้ำหญิงชาย คำต่าง ๆ
6
2. ภาษา ภาษาจะมีลักษณะเด่นกว่าระบบสัญลักษณ์อื่น ๆ เพราะมีความเฉพาะเจาะจงมากกว่า เช่น การใช้คำ “เก้าอี้” “ดอกกุหลาบ” “ปลา” และทำให้เราสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นได้โดยละเอียด ทั้งในเรื่องรูปธรรมและนามธรรม นักสังคมศาสตร์ถือว่าภาษาเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้มนุษย์สามารถสร้างความเจริญก้าวหน้าให้เกิดขึ้น ซึ่งทำให้มนุษย์แตกต่างไปจากสัตว์ ภาษายังมีอิทธิพลต่อการรับรู้และพฤติกรรมของเราด้วย
7
3. ค่านิยม หมายถึง ความคิดร่วมกันของคนในสังคม อันเกี่ยวกับการให้ความสำคัญและคุณค่ากับสิ่งใด หรือไม่ให้ความสำคัญและคุณค่ากับสิ่งใด ค่านิยม เป็นผลผลิตของสังคม สมาชิกได้มันมาโดยการเรียนรู้จากสังคมของเขา แต่ละสังคมก็จะมีค่านิยมแตกต่างกันออกไปขึ้นกับวิวัฒนาการของสังคมนั้น
8
4. บรรทัดฐาน 1.วิถีประชา 2.จารีต 3.กฎหมาย
เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม หมายถึง กฎแห่งการกระทำและความคาดหวังของสังคมต่อพฤติกรรม ว่าเราควรปฏิบัติ หรือไม่ควรปฏิบัติอย่างไรในสถานการณ์ต่าง ๆ บรรทัดฐาน แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ 1.วิถีประชา 2.จารีต 3.กฎหมาย
9
5. เทคโนโลยีและวัฒนธรรมทางวัตถุ
หมายถึง การนำวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิต และรูปแบบการดำเนินชีวิต เทคโนโลยีมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมของมนุษย์มาก ขณะเดียวกันผลผลิตที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีก็มักจะสะท้อนระบบความคิด ความเชื่อ ค่านิยม และบรรทัดฐานของสังคมด้วย
10
Relativism มนุษย์ในสังคมโลกประกอบไปด้วยกลุ่มต่าง ๆ แต่ละกลุ่มก็จะมีวัฒนธรรมเฉพาะของกลุ่มตัวเอง ซึ่งเป็นตัวกำหนดคุณค่า ความถูกต้องดีงาม ความจริงของแต่ละสังคม ดังนั้นจึงไม่มีความจริงแท้หรือความดีงามแท้อยู่จริง และเราไม่สามารถเปรียบเทียบได้ว่าวัฒนธรรมของสังคมใดดีกว่าอีกสังคมหนึ่ง
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2025 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.