ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การจัดทำความตกลงการค้าเสรี อาเซียน - สหภาพยุโรป
30 ตุลาคม 2550 การจัดทำความตกลงการค้าเสรี อาเซียน - สหภาพยุโรป เก็จพิรุณ เกาะสุวรรณ์ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดหน้าต่าง ASEAN - EU FTA
2
หัวข้อการบรรยาย ความเป็นมา สถานะการเจรจา ความคืบหน้าการเจรจา
ทิศทางการเจรจา
3
30 ตุลาคม 2550 ความเป็นมา การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนและสหภาพยุโรป (AEM – EU Consultations) ครั้งที่ 6 เมื่อเดือนเมษายน 2005 Vision Group ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ 11 คนจากอาเซียน 10 ประเทศและ 1 คนจากสหภาพยุโรป ทำหน้าที่เสนอแนวทางกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนและสหภาพยุโรป รวมทั้งศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างอาเซียนและสหภาพยุโรป Transregional Partnership for Shared and Sustainable Prosperity 2 แนวทางควบคู่กัน การทำความตกลงการค้าเสรีและ การเพิ่มความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความร่วมมือที่จะช่วยให้อาเซียนสามารถเจรจาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงจากการเปิดเสรีและช่วยในการรวมตัวของอาเซียน (ASEAN Integration) แนวคิดที่จะจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างอาเซียนและสหภาพยุโรปเกิดขึ้นในช่วงการประชุมระหว่างรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนและกรรมาธิการการค้ายุโรป (นาย Peter Mandelson) เมื่อเดือนเมษายน 2005 ที่ประชุมมีความเห็นว่าอาเซียนและสหภาพยุโรปมีความร่วมมือกันมาเป็นเวลานาน สมควรจะยกระดับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจให้แน่นแฟ้นขึ้น นาย Mandelson จึงเสนอให้มีการจัดตั้ง Vision Group ขึ้น ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากทั้ง 2 ฝ่ายรวม 11 คน เพื่อทำการศึกษาและเสนอแนะแนวทางกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนและสหภาพยุโรป รวมทั้งศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างกัน โดย Vision Group เสนอรายงานต่อรัฐมนตรีในการประชุม ครั้งที่ 7 เปิดหน้าต่าง ASEAN - EU FTA
4
ความเป็นมา ที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนและสหภาพยุโรป ครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2006 มีมติรับทราบและมอบหมายให้เจ้าหน้าที่อาวุโสของทั้งสองฝ่ายหาแนวทางที่จะเริ่มการเจรจา ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนและสหภาพยุโรป ครั้งที่ 8 ณ ประเทศบรูไน เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2007 ทั้งสองฝ่ายได้ประกาศเจตนารมณ์ที่จะเจรจาความตกลงการค้าเสรีระหว่างอาเซียนและสหภาพยุโรปโดยเป็นการเจรจาระหว่างภูมิภาคต่อภูมิภาค โดยได้จัดตั้ง Joint Committee เพื่อทำหน้าที่กำหนดรูปแบบการเจรจา กรอบการเจรจา และระยะเวลาการเจรจา สำหรับพม่าสามารถเข้าร่วมการเจรจาในฐานะหนึ่งในประเทศสมาชิกอาเซียนในการเจรจาความตกลงการค้าเสรีระหว่างอาเซียนและสหภาพยุโรปได้
5
สถานะการเจรจา คณะกรรมการร่วมจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน – สหภาพยุโรป ผู้แทนจากอาเซียน 10 ประเทศ เวียดนามเป็นผู้ประสานงาน ผู้แทนจากกรรมาธิการการค้ายุโรป ครั้งที่ 1 กรกฎาคม ณ เมืองดานัง ประเทศเวียดนาม ครั้งที่ 2 ตุลาคม ณ ประเทศสิงคโปร์ ครั้งที่ 3 มกราคม 2551 ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม
6
ความคืบหน้าการเจรจา ระยะเวลาการเจรจา: เจรจาปีละ 4 ครั้ง กรอบการเจรจา
การเปิดตลาดการค้าสินค้า การเปิดตลาดการค้าบริการ การเปิดตลาดการลงทุน ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ เรื่องอื่น ๆ ตามแต่จะตกลงกัน เช่น ทรัพย์สินทางปัญญา การจัดซื้อโดยรัฐ การแข่งขัน การอำนวยความสะดวกทางการค้า การพัฒนาที่ยั่งยืน รูปแบบโครงสร้างการเจรจา คณะกรรมการร่วม คณะทำงาน
7
การดำเนินงานของภาครัฐ
จัดจ้างศึกษาผลดีผลเสียจากการทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน – สหภาพยุโรปต่อประเทศไทย เชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ จัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นและแจ้งความคืบหน้าการเจรจา กรุงเทพฯ ต่างจังหวัด จัดตั้งคณะเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน – สหภาพยุโรป จัดประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกำหนดท่าทีและแจ้งความคืบหน้าการเจรจา เตรียมเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ
8
www.dtn.go.th www.thaifta.com
ความเห็น ข้อเสนอแนะ อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ 44/100 ถนนนนทบุรี 1 ตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี โทรศัพท์ โทรสาร
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.