ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยBusaba Prapanpoj ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
สื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง วิชา ฟิสิกส์ เรื่อง คลื่น ระดับช่วงชั้นที่ 4
คำชี้แจง สื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง วิชา ฟิสิกส์ เรื่อง คลื่น ระดับช่วงชั้นที่ 4 1. บทเรียนเรื่อง คลื่น ระดับช่วงชั้นที่ 4 นักเรียนสามารถศึกษา ความรู้ตามลำดับขั้น 2. ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ที่ได้จัดองค์ความรู้ เกี่ยวกับเรื่อง คลื่น เพื่อให้นักเรียนได้มีความรู้และนำไปใช้ ในชีวิตประจำวัน ผู้ผลิตมิได้มุ่งหวังทางการค้าใดๆทั้งสิ้น 3. ขอขอบคุณครูไตรรัตน์ เชื้อทองพิทักษ์ ผู้พัฒนาโปรแกรม สร้างแบบทดสอบ เข้าสู่บทเรียน
2
วิชาฟิสิกส์ เรื่อง คลื่น (WAVE)
3
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ โรงเรียนกัลยาณวัตร
นายฉลอง รักษาภักดี ครูอันดับ คศ.2 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ โรงเรียนกัลยาณวัตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 1
4
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
สืบค้นข้อมูล อภิปราย และอธิบายถึงความหมาย การจำแนกและลักษณะของปรากฏการณ์คลื่น สาระสำคัญ คลื่น เป็นปรากฏการณ์แสดงลักษณะการถ่ายทอดพลังงานจากแหล่งกำเนิดออกไปยังบริเวณโดยรอบ การจำแนกคลื่น แบ่งได้หลายประเภท เช่น คลื่นกล คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คลื่นตามขวาง คลื่นตามยาว คลื่นดล และคลื่นต่อเนื่อง
5
การดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้
1.นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนเรื่องความหมายและ การจำแนกคลื่น บันทึกผลลงในแผ่นดิสก์ส่ง 2.นักเรียนศึกษา ปรากฏการณ์ของคลื่น ตามหัวข้อต่อไปนี้ ความหมายของคลื่น การจำแนกคลื่นโดยเอาการอาศัยตัวกลางเป็นเกณฑ์ การจำแนกคลื่นโดยเอาการสั่นของตัวกลางเป็นเกณฑ์ การจำแนกคลื่นโดยเอาการกำเนิดคลื่นเป็นเกณฑ์ 3.นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนเรื่องความหมายและการ จำแนกคลื่น บันทึกผลลงในแผ่นดิสก์ส่ง
6
ความหมายของคลื่น คลิกที่ภาพเพื่อศึกษาตัวอย่างคลื่น คลื่น(Wave) หมายถึงปรากฏการณ์แสดงลักษณะการถ่ายทอดพลังงานจากแหล่ง กำเนิดออกไปยังบริเวณโดยรอบ
7
การจำแนกคลื่นโดยการอาศัยตัวกลางเป็นเกณฑ์
แบ่งได้ 2 ประเภท คือ คลิกที่ภาพเพื่อศึกษาตัวอย่างคลื่น 1.คลื่นกล (Mechanical Wave) คือ คลื่นที่จำเป็นต้องอาศัยตัวกลางใน การถ่ายทอดพลังงาน เช่น คลื่นน้ำ คลื่นในขดลวด คลื่นเสียง เป็นต้น
8
การจำแนกคลื่นโดยการอาศัยตัวกลางเป็นเกณฑ์
แบ่งได้ 2 ประเภท คือ 2.คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Wave) คือ คลื่นที่ไม่จำเป็น ต้องอาศัยตัวกลางในการถ่ายทอดพลังงาน เช่น คลื่นวิทยุ คลื่นไมโครเวฟ คลื่น อินฟราเรด คลื่นแสง คลื่นอัลตราไวโอเลต คลื่นรังสีเอ็กซ์ คลื่นรังสีแกมมา
9
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Wave) เป็นคลื่นที่เกิดจาก
การเปลี่ยนแปลงของสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กเหนี่ยวนำต่อเนื่องกันไป โดยระนาบของสนามทั้งสองตั้งฉากซึ่งกันและกันและตั้งฉากกับทิศของคลื่น ดังรูป
10
การจำแนกคลื่นโดยอาศัยการสั่นตัวกลางเป็นเกณฑ์
แบ่งได้ 2 ประเภท คือ คลิกที่ภาพเพื่อศึกษาตัวอย่างคลื่น 1.คลื่นตามขวาง (Transverse Wave) คือ คลื่นที่ทำให้ตัวกลางสั่นในแนวตั้งฉากกับ แนวการถ่ายทอดพลังงานหรือแนวการเคลื่อนที่ของคลื่น เช่น คลื่นน้ำ คลื่นในขดลวด คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทุกชนิด เป็นต้น
11
1.คลื่นตามขวาง (Transverse Wave) เป็นคลื่นที่ทำให้เกิดส่วนที่โค้งสลับ
กันในทิศตรงข้าม ดังรูป
12
การจำแนกคลื่นโดยอาศัยการสั่นตัวกลางเป็นเกณฑ์
แบ่งได้ 2 ประเภท คือ คลิกที่ภาพเพื่อศึกษาตัวอย่างคลื่น 2.คลื่นตามยาว (Longitudinal Wave) คือ คลื่นที่ทำให้ตัวกลางสั่นใน แนวเดียวกับแนวการถ่ายทอดพลังงานหรือแนวการเคลื่อนที่ของคลื่น เช่น คลื่นเสียงคลื่นในขดลวด เป็นต้น
13
2.คลื่นตามยาว (Longitudinal Wave) เป็นคลื่นที่ทำให้เกิดบริเวณที่เป็น
ส่วนอัด ส่วนขยายขึ้นในตัวกลางที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่านไป ดังรูป
14
การจำแนกคลื่นโดยอาศัยการกำเนิดคลื่นเป็นเกณฑ์
แบ่งได้ 2 ประเภท คือ คลิกที่ภาพเพื่อศึกษาตัวอย่างคลื่น 1.คลื่นดล (Pulse Wave) คือ คลื่นที่เกิดเพียง 1-2 ลูก หรือเกิดขึ้นใน ช่วงเวลาสั้น ๆ
15
1.คลื่นดล (Pulse Wave) เป็นคลื่นที่เกิดจากแหล่งกำเนิดที่สั่นหรือถูก
รบกวนเพียงครั้งเดียวหรือสองครั้ง เช่นสะบัดปลายขดลวดเพียงครั้งเดียว ดังรูป
16
การจำแนกคลื่นโดยอาศัยการกำเนิดคลื่นเป็นเกณฑ์
แบ่งได้ 2 ประเภท คือ คลิกที่ภาพเพื่อศึกษาตัวอย่างคลื่น 2.คลื่นต่อเนื่อง (Continuous Wave) คือ คลื่นที่เกิดมากกว่า 2 ลูก หรือเกิดขึ้นในช่วงเวลานาน ๆ
17
สึนามิ สวัสดี
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.