ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ประภัสสร คำยวง นักวิชาการสาธารณสุข
หลักการเขียนโครงการ ประภัสสร คำยวง นักวิชาการสาธารณสุข
2
ความหมาย โครงการ คือ การวางแผนล่วงหน้าที่จัดทำขึ้นอย่างมีระบบ ประกอบด้วยกิจกรรมย่อยหลายกิจกรรมที่ต้องใช้ทรัพยากรในการดำเนินงาน และคาดหวังที่จะได้ผลตอบแทนอย่างคุ้มค่า มักจะไม่ใช่ภาระหน้าที่โดยปกติแต่จะถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อต้องการจะแก้ไขปัญหาหรือพัฒนางานที่ทำอยู่ปกติหรือเป็นเรื่องที่จะต้องดำเนินการเร่งด่วนเป็นกรณีพิเศษเพราะเป็นนโยบายของต้นสังกัดก็ได้
3
ลักษณะของโครงการที่ดี
สามารถแก้ปัญหาขององค์การหรือหน่วยงานนั้น ๆ ได้ มีรายละเอียด วัตถุประสงค์เป้าหมายต่าง ๆ ชัดเจน สามารถดำเนินงานได้ /มีความเป็นไปได้ รายละเอียดของโครงการมีความต่อเนื่อง สอดคล้องสัมพันธ์กัน ตอบสนองความต้องการของกลุ่มชน สังคมและประเทศชาติ
4
ปฏิบัติแล้วสอดคล้องกับแผนงานหลักขององค์การ
กำหนดขึ้นอย่างมีข้อมูลความจริงและ เป็นข้อมูลที่ได้รับการวิเคราะห์อย่างรอบคอบ ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารทุกด้าน โดยเฉพาะด้านทรัพยากรที่จำเป็น มีระยะเวลาในการดำเนินงานแน่นอน สามารถติดตามประเมินผลได้
5
ก่อนลงมือ ต้องตั้งคำถามและตอบคำถาม 5 W 1H
WHAT โครงการอะไร WHY ทำไมต้องทำโครงการ WHO ใครเป็นผู้ดำเนินงาน WHEN ทำเมื่อใดและนานแค่ไหน WHERE ทำที่ไหน ใช้ทรัพยากรเท่าใด จากไหน HOW ทำอย่างไร
6
องค์ประกอบของโครงการ
1. ชื่อโครงการ 2. หลักการและเหตุผล 3. วัตถุประสงค์ของโครงการ 4. เป้าหมายโครงการ 5. วิธีดำเนินงาน 6.ระยะเวลาดำเนินการ
7
7. สถานที่ดำเนินการ 8. งบประมาณ 9. การประเมินผลโครงการ 10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ 11. ผู้รับผิดชอบโครงการ 12.ผังควบคุมกำกับงาน
8
1. ชื่อโครงการ(Project Title)
ชื่อโครงการ ต้องมีความชัดเจน เหมาะสม เฉพาะเจาะจงว่าจะทำอะไรเป็นที่เข้าใจง่าย แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือผู้นำโครงการไปใช้ ชื่อโครงการที่ดี ต้อง แสดงลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติ แสดงลักษณะเฉพาะของโครงการ บอกได้ว่า โครงการเกี่ยวข้องกับเรื่องใด
9
2. หลักการและเหตุผล (Statement of the Problem)
ส่วนที่แสดงถึงปัญหา และความจำเป็นที่ต้องมีโครงการ ควรเขียนระบุปัญหา เหตุผล โดยมีข้อสนับสนุนอย่างชัดเจน หยิบยกทฤษฎีต่าง ๆ เข้ามาสนับสนุน ให้สมเหตุผล
10
อาจย้ำให้เห็นชัดเจนว่า โครงการสอดคล้องกับแผนและนโยบายของหน่วยงานหรือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้จริง ผู้เขียนโครงการต้องพยายามหาเหตุผลต่างๆเพื่อแสดงให้ผู้พิจารณาโครงการเห็นความจำเป็น และความสำคัญของโครงการ เพื่อที่จะสนับสนุนต่อไป back
11
3. วัตถุประสงค์ของโครงการ (Project Objectives)
แสดงถึงความต้องการที่จะทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้ปรากฏ เป็นเครื่องชี้แนวทางการดำเนินงานของโครงการ เป็นตัวกำหนดส่วนประกอบอื่นๆ ของโครงการ วัตถุประสงค์ที่ดีต้อง ชัดเจน ไม่คลุมเครือ และ ควรเขียนเป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมและ กำหนดวัตถุประสงค์ในสิ่งที่เป็นไปได้ สามารถวัดได้
12
ตัวอย่างวัตถุประสงค์
โครงการน้ำพระทัยขจัดภัยวัณโรค เพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรคเชิงรุกในกลุ่มเสี่ยงต่าง ๆ ได้แก่ ผู้ติดเชื้อเอดส์ ผู้สัมผัสโรค แรงงานต่างด้าว ผู้ต้องขังในเรือนจำ และอื่น ๆ เพื่อให้ผู้ป่วยวัณโรคทุกคนได้รับการรักษาจนหายขาด เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนทั่วไปและผู้ป่วยได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม และได้รับความรู้ ความเข้าใจในเรื่องวัณโรค
13
4. เป้าหมาย (Project goals)
ความต้องการ หรือทิศทางในการปฏิบัติงาน เชิงปริมาณ หรือ เชิงคุณภาพ ควรกำหนดให้เฉพาะเจาะจงและชัดเจน ไม่มีคำว่า “คาดว่า” ตัวอย่าง การคัดกรองวัณโรคในกลุ่มผู้สูงอายุอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 900 คน
14
5. วิธีดำเนินงาน (Project Methods)
เป็นภารกิจที่ต้องปฏิบัติให้บรรลุวัตถุประสงค์ ตามโครงการ อาจจำแนกเป็นกิจกรรมย่อยหลายกิจกรรม แสดงขั้นตอนภารกิจที่จะต้องทำและระยะเวลา ในการปฏิบัติแต่ละขั้นตอน เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณา ความเป็นไปได้ของโครงการ
15
บางครั้งนิยมเขียนเป็นรูปปฏิทิน
รวมกับระยะเวลาดำเนินงาน มีการระบุเวลาที่เริ่มต้นและสิ้นสุด โครงการและสถานที่ ที่จะทำโครงการ เพื่อสะดวกในการพิจารณา และติดตามผลของโครงการ
16
กำหนดการดำเนินงาน 1 สำรวจปัญหา 2 ประชุมชี้แจง 3 คัดกรองกลุ่มเสี่ยง
กิจกรรม กำหนดการ (เดือน) มค. กพ มีค เมย พค มิย กค สค กย ตค พย ธค 1 สำรวจปัญหา 2 ประชุมชี้แจง 3 คัดกรองกลุ่มเสี่ยง 4 นำกลุ่มเสี่ยงมาตรวจ 5 อบรมความรู้กลุ่มเสี่ยง 6 สรุปผลการดำเนินงาน
19
6. ระยะเวลาดำเนินโครงการ ระบุระยะเวลาเริ่มต้นเมื่อใด และสิ้นสุดเมื่อใด
6. ระยะเวลาดำเนินโครงการ ระบุระยะเวลาเริ่มต้นเมื่อใด และสิ้นสุดเมื่อใด 7. ผู้รับผิดชอบโครงการ การเขียนโครงการต้องระบุ ผู้รับผิดชอบว่าเป็นผู้ใด หรือหน่วยงานใด
20
8. งบประมาณ (Project Budget)
งบประมาณหรือทรัพยากรที่ต้องใช้ ระบุยอดเงินและทรัพยากรอื่น ๆ ที่ใช้ แสดงยอดรวมงบประมาณทั้งหมด ที่ใช้ในการดำเนินโครงการ และแยกรายละเอียดค่าใช้จ่ายที่ชัดเจนว่าเป็นค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง
21
9. การประเมินผลโครงการ (Project Evaluation)
ควรระบุวิธีประเมินผลและอาจระบุผู้รับผิดชอบในการประเมินผล เป็นการระบุว่าหากได้มีการดำเนินโครงการแล้ว จะมีการติดตามดูผลได้อย่างไร เมื่อใด การประเมินผล อาจทำ ก่อนเริ่มโครงการ ระหว่างดำเนินโครงการ หรือ โครงการสิ้นสุด อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือจะทำทั้ง 2 ช่วง หรือทั้ง 3 ช่วง ก็ได้
22
10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ เป็นการแสดงถึงผลประโยชน์ที่พึงได้รับ
จากความสำเร็จของโครงการ ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม เป็นการระบุว่าใครจะได้รับผลประโยชน์และผลกระทบ หรือ มีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องอะไร ทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ และ ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์
23
ตัวอย่างผลที่คาดว่าจะได้รับ
โครงการพัฒนาการใช้ทักษะการใช้ Microsoft Office ของ รพ. บุคลากร มีความรู้และทักษะการใช้ Microsoft Office และสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ บุคลากร ตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยี โรงพยาบาลมีบุคลากรที่มีความสามารถในด้านเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น
24
(ชื่อเต็ม) ตำแหน่ง ผู้จัดทำโครงการ ผู้เสนอโครง (ชื่อเต็ม) (ชื่อเต็ม)
ผู้อนุมัติโครงการ (ชื่อเต็ม) ตำแหน่ง ผู้เห็นชอบโครง (ชื่อเต็ม) ตำแหน่ง
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.