งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การประชุมพัฒนาศักยภาพนักวิจัยคณะเภสัชศาสตร์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การประชุมพัฒนาศักยภาพนักวิจัยคณะเภสัชศาสตร์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การประชุมพัฒนาศักยภาพนักวิจัยคณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วันที่ 15 กันยายน 2554 เขียนโครงร่างงานวิจัยอย่างไร ให้ได้ทุนระดับชาติ ศาสตราจารย์ ดร. ภญ. มาลิน จุลศิริ กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช

2 เป้าหมายหลักของการวิจัย

3 การสร้างผลงานที่สามารถหรือมีโอกาสนำไปใช้ต่อยอดหรือสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม(ของประเทศและของโลก)ให้ดีขึ้น เช่น เสริมคุณภาพชีวิตคนหรือผลิตภัณฑ์ เพิ่มประสิทธิภาพของคน หรือผลิตภัณฑ์ สร้างความปลอดภัยแก่ชีวิตคนและทรัพย์สิน ฯลฯ *คัดลอกส่วนหนึ่งจากสำนักงานคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ

4 ยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ

5 “……เชื่อมโยงระบบการวิจัยตามแผนยุทธศาสตร์ของรัฐบาลและเชื่อมต่อระหว่างยุทธศาสตร์ของชาติ เพื่อให้ระบบการวิจัยของประเทศปรับตัวให้สามารถตอบสนองกับความต้องการของสังคมและก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของโลก……” “……เน้นการวิจัยแบบบูรณาการที่ให้แผนการวิจัยทั้งหมดเกิดความเชื่อมโยงทั้งระบบ เน้นการวิจัยเป็นกลุ่มกิจกรรมที่ก่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรม เกิดผลลัพธ์ที่เกิดประโยชน์ต่อประเทศอย่างชัดเจน ……” *คัดลอกส่วนหนึ่งจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

6 สาขาการวิจัย (ตามสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ)

7 2. สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ 3. สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
1. สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ 2. สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ 3. สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช 4. สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา 5. สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย สาขาปรัชญา สาขานิติศาสตร์ สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ สาขาเศรษฐศาสตร์ 10. สาขาสังคมวิทยา 11. สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศน์และนิเทศศาสตร์ 12. สาขาการศึกษา

8 แขนงวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช

9 เคมีแขนงต่าง ๆ เช่น - อินทรีย์เคมี - อนินทรีย์เคมี - ชีวเคมี - เคมีชีวภาพ - เคมีวิเคราะห์ - ฟิสิกค์เคมี - ปิโตรเคมี - โพลิเมอร์ - พฤกษเคมี - ฯลฯ เภสัชแขนงต่าง ๆ เช่น - เภส้ชเคมี - เภสัชพฤกษศาสตร์ - เภสัชศาสตร์ชีวภาพ - เภสัชวิเคราะห์ - ฟิสิกส์เภสัชกรรม - เทคโนโลยีเภสัชกรรม - เภสัชอุตสาหกรรม - เภสัชกรรมคลินิก - เภสัชกรรมชุมชน - ฯลฯ

10 การวิจัยและพัฒนาสาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช

11 - สารออกฤทธิ์ เช่น สารแก้ปวด สารให้ความชุ่มชื้น ฯลฯ
- ผลิตภัณฑ์ - วัตถุดิบ - สารออกฤทธิ์ เช่น สารแก้ปวด สารให้ความชุ่มชื้น ฯลฯ - สารปรุงแต่ง เช่น สี สารกันเสีย ฯลฯ - สินค้าสำเร็จรูป - อุปโภค เช่น สิ่งซักล้าง ฯลฯ - บริโภค เช่น ยา เครื่องสำอาง ฯลฯ กสิกรรม เช่น ปุ๋ย ฯลฯ - สี เช่น สีทาบ้าน หมึกพิมพ์ ฯลฯ - อื่น ๆ เช่น บรรจุภัณฑ์ ฯลฯ

12 - กรรมวิธีวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ เช่น หาชนิดและปริมาณยา ฯลฯ
- พลังงาน เช่น ไบโอดีเซล พลังงานนิวเคลียร์ ฯลฯ - สิ่งแวดล้อม เช่น การบำบัดน้ำเสีย สารฆ่าเชื้อนาโนเคลือบในหลอดไฟ ฯลฯ - ชุมชนและสังคม เช่น บริการการจ่ายยาที่ประทับใจในโรงพยาบาล การใช้ยาที่ถูกต้องของผู้บริโภค ฯลฯ - อื่น ๆ เช่น พลาสติคชีวภาพ ฯลฯ

13 ตำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี ต่อรัฐสภา วันที่ 23 สิงหาคม 2554 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 6. นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรม 6.1 เร่งพัฒนาให้ประเทศไทย เร่งสร้างนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และ ………. 6.3 สนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการลงทุนและความร่วมมือระหว่าง ภาครัฐและเอกชน รวมทั้งสถาบันการศึกษาชั้นสูง ให้เกิดการวิจัยและ พัฒนา และการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคม ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาคเกตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และ ………. 6.4 จัดระบบบริหารงานวิจัยให้เกิดประสิทธิภาพสูง โดยการจัด เครือข่ายความร่วมมือ……….เพื่อลดความซ้ำซ้อน และทวีศักยภาพ จัดทำแผนวิจัยแม่บทเพื่อมุ่งเป้าหมายของการวิจัยให้ชัดเจน เน้นให้ เกิดการวิจัยแบบครบวงจร ตั้งแต่การวิจัยพื้นฐานไปถึงการสร้าง ผลิตภัณฑ์……….ส่งเสริมการลงทุนด้านการวิจัย โดยมุ่งสู่ร้อยละ 2 ของผลิตภัณธ์มวลรวมของประเทศ 6.5 ส่งเสริมการใช้ข้อมูลเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ……….

14 การวิจัยให้ประสบความสำเร็จ

15 เทคนิคการเขียนข้อเสนอการวิจัยเพื่อขอรับทุน

16

17 - สิ่งที่ต้องคำนึง - สิ่งที่ต้องทำ - สิ่งที่ควรทำเพิ่มเติม - วิธีเขียน

18 สิ่งที่ต้องคำนึง (1) - ควรอ่านและทำความเข้าใจ กับทุนที่กำลังจะเขียนขอว่าเป็นทุนเกี่ยวกับอะไร ทุนทั่วไปหรือทุนจำเพาะ เงินทุนที่ให้จำกัดจำนวนเท่าไร ฯลฯ - ควรรู้ตัวว่ามีศักยภาพ โดยเฉพาะความรู้และความสามารถที่ต้องเกี่ยวข้องกับโครงงานวิจัยที่จะ เขียนขอหรือไม่

19 สิ่งที่ต้องคำนึง (2) - ควรประเมินปัจจัยที่ต้องเกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่จะเขียนว่าพร้อมหรือไม่ เช่น คน เงินทุนที่คาดว่าจะได้ เครื่องมืออุปกรณ์ เวลา ฯลฯ - ควรมีเป้าหมายของงานวิจัยที่จะเขียน ขอ โดยเน้นที่ประโยชน์ต่อส่วนรวม (เศรษฐกิจ สังคม หรืออื่น ๆ ) ว่ามีหรือไม่และมากน้อยเพียงใด *ถ้ายังมีปัญหาในปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ต้องคิดว่าจะแก้ไขหรือบริหารอย่างไร

20 สิ่งที่ต้องทำ (1) - สืบค้นและทำความเข้าใจกับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโครงงานวิจัยที่จะเขียนให้พร้อม เพื่อป้องกันจุดอ่อนหรือข้อสงสัยใด ๆ - หาผู้ร่วมงานที่มีเวลา และมึความมุ่งมั่นที่อยากทำงานวิจัย - หาผู้ร่วมงานที่จะสามารถนำผล งานไปประยุกต์ใช้(ถ้าทำได้) เพื่อก่อเกิดการขยายผลงาน และช่วยสร้างคุณค่าให้แก่งาน

21 สิ่งที่ต้องทำ (2) - คิดโครงการต่อเนื่องหรือต่อยอดผลงานจนครบวงจร เพื่อท้ายที่สุดสามารถนำผลงานไปประยุกต์ใช้เป็นรูปธรรม - การเขียนโครงการต่อเนื่อง ควรมีรายงานความก้าวหน้าของงานในปีที่ผ่านแนบมา รวมทั้งควรใช้หลัก PDCA วิเคราะห์ผลงานที่ผ่านมา เพื่อปรับปรุงการเขียนขอครั้งใหม่

22 สิ่งที่ควรทำเพิ่มเติม (1)
- ติดตามข้อมูลงานวิจัยหรือข่าวสารของประเทศและของโลกอย่างใกล้ชิด เพื่อจะเห็นทิศทางและแนวโน้มของงานวิจัย หรือความต้องการของส่วนรวมที่เกี่ยว ข้อง ซึ่งจะช่วยให้มีโอกาสสร้างสรรค์งานที่ทันสมัย หรือมีโอกาสนำไปประ-ยุกต์ใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม รู้วิธีบริหารคน เวลา และอื่น ๆ โดยเฉพาะเมื่อได้เงินทุนมาแล้วเพื่อจะสามารถสร้าง สรรค์งานได้ตามเป้าหมายและในเวลาที่กำหนด

23 สิ่งที่ควรทำเพิ่มเติม (2)
- คิดล่วงหน้าว่าจะแปรงงานวิจัยที่ทำภายหลังการได้รับทุนแล้วออกมาเป็นรูปธรรมต่าง ๆ ได้อย่างไร และแบบใด คิดตลอดเวลาว่าเงินทุนที่รับมาทำวิจัยจากแหล่งทุนของรัฐบาลหรือองค์กรมหาชน ส่วนหนึ่งมาจากภาษี จึงต้องใช้อย่างคุ้มค่าที่สุด

24 วิธีเขียน (1) เขียนตามแบบฟอร์มขอทุน ซึ่งมักมีหัวข้อต่อไปนี้ทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง 1. ชื่อโครงการ 2. ผู้รับผิดชอบ 3. ประเภทการวิจัย 4. สาขาวิชาการและกลุ่มวิจัยที่ทำการวิจัย 5. คำสำคัญ 6. ความสำคัญและที่มาของปัญหาที่ทำการวิจัย 7. วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย 8. ขอบเขตของการวิจัย 9. ทฤษฎี สมมติฐาน(ถ้ามี) และกรอบแนวความคิดของโครงการวิจัย 10. การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศที่เกี่ยวข้อง 11. เอกสารอ้างอิงของโครงการวิจัย 12. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ (เช่น การเผยแพร่ในวารสาร ) 13. แผนการถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือผลการวิจัยสู่กลุ่มเป้าหมาย 14. วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล 15. ระยะเวลาทำการวิจัย และแผนการดำเนินงานตลอดโครงการ 16. ปัจจัยที่เอี้อต่อการวิจัย (เช่น อุปกรณ์การวิจัย....) ระบุเฉพาะปัจจัยที่ต้อง การเพิ่มเติม 17. งบประมาณของโครงการวิจัย 18. ผลสำเร็จและความคุ้มค่าของการวิจัยที่คาดว่าจะได้รับ

25

26 วิธีเขียน (2) ส่วนที่อยากเน้นคือ - ชื่อโครงการวิจัย - ความสำคัญและที่มาของปัญหาที่ทำการวิจัย - ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ - งบประมาณของโครงการวิจัย

27 วิธีเขียน (3) ชื่อโครงการวิจัย
- ชัดเจนจากสาระสำคัญของงานที่ทำเพื่อให้เข้าใจตั้งแต่ต้นว่า โครงการเกี่ยวกับอะไร ความสำคัญและที่มาของปัญหาที่ทำการวิจัย - ข้อมูลชัดเจนจนปราศจากข้อสงสัยว่าผู้เสนอขอทุนเข้าใจในงานที่ทำ ทั้งอาจช่วยดึงดูดผู้พิจารณาคล้อยตาม - ข้อมูลสอดคล้องและเป็นไปในแนวเดียวกับทฤษฎี หรือสมมติฐาน (ถ้ามี) และกรอบแนวความคิดของโครงการวิจัย - ข้อมูลต่อยอดหรืออุดช่องโหว่ข้อมูลที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ

28 วิธีเขียน (4) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
- มีภาพหรือให้ข้อมูลชัดเจนว่า ผลประโยชน์ที่ได้จากการวิจัยมีเป้าหมายกับอะไร - ควรมีดรรชนีชี้วัดเป็นตัวเลขเพื่อแสดงความชัดเจนว่าโครงการที่เสนอขอทุนจะให้ประโยชน์ต่อเป้าหมายอย่างเป็นรูปธรรมได้เมื่อมีผลออกมา - ประโยชน์หนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามและมีประโยชน์มากคือ ความเป็นไปได้ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือผลการวิจัยสู่กลุ่มเป้าหมาย

29 วิธีเขียน (5) งบประมาณของโครงการวิจัย
- รู้หรือมีข้อมูลกฎระเบียบว่าด้วยการใช้จ่ายเงินในหมวดต่าง ๆ ของทางราชการหรือหน่วยงานให้ทุน เพื่อให้ง่ายต่อเขียนงบประมาณบางส่วน - คิดคำนวณงบประมาณให้สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจริงโดยสอดคล้องกับวิธีการดำเนินการวิจัยและระยะเวลาการวิจัย - คิดคำนวณถึงความเป็นไปได้และใช้อย่างคุ้มค่าที่สุด

30 - โครงการวิจัยลักษะเดียวกันที่ขอทุนมากกว่าหนึ่งแหล่ง
ตัวอย่างโครงการวิจัยที่มีโอกาสไม่ผ่านการพิจารณา - โครงการวิจัยที่ซ้ำซ้อน หรือเป็นโครงการที่มีการนำ เสนอค่อนข้างมาก (ถ้าไม่มีอะไรที่แสดงความแตกต่าง อย่างเด่นชัด) เช่น โครงการมังคุด ฯลฯ - โครงการวิจัยลักษะเดียวกันที่ขอทุนมากกว่าหนึ่งแหล่ง - โครงงานวิจัยคัดกรองฤทธิ์ โดยไม่แสดงความต่อเนื่อง ของโครงการหรือแสดงการวิจัยอย่างครบวงจร เช่น การคัดกรองฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านจุลชีพ ฯลฯ - โครงการวิจัยที่ไม่แสดงความชัดเจนหรือความเป็นไป ได้หรือความสำเร็จของผลงาน รวมทั้งประโยชน์ของ ผลงานที่จะได้ เช่น ทีมงานวิจัยที่ไม่แสดงความเชี่ยว ชาญหรือมีแนวทางที่จะทำให้กรรมการผู้พิจารณามั่นใจ ว่าจะทำโครงการวิจัยที่เสนอขอสำเร็จได้

31 ตัวอย่างโครงการวิจัยที่มีโอกาสไม่ผ่านการพิจารณา
- โครงการวิจัยที่ผลงานคาดว่าจะก่อเกิดผลกระทบต่อความปลอดภัยและความมั่นคงของส่วนรวม เช่น ไม่ได้มีการพิสูจน์ความปลอดภัยก่อนนำสารที่วิจัยมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ ฯลฯ - โครงการวิจัยที่หัวหน้าโครงการเคยได้รับทุนจากแหล่งเดียวกัน แต่ยังไม่เสร็จสิ้น โครงการวิจัยต่อเนื่องที่ไม่ส่งรายงานความก้าวหน้า อาจส่งผลไม่ได้รับการพิจารณาของทุนในปีถัดมา โครงการวิจัยที่ต้องการผู้ร่วมมือจากภาคเอกชน แต่ไม่มีหลักฐานแสดงความร่วมมือดังกล่าว - ฯลฯ

32 - อาจกำหนดเป้าหมายและทิศทางงานวิจัยบางรายการ
การสนับสนุนจากอง์กร - อาจกำหนดเป้าหมายและทิศทางงานวิจัยบางรายการ ควรมีหน่วยงานซึ่งสามารถช่วยหาข้อมูล หาช่องทาง หรือประสานงานให้นักวิจัย เพื่อให้นักวิจัยสามารถใช้ประโยชน์เป็นข้อมูลส่วนหนึ่งในการเขียนโครงการขอทุน หรือมีความมั่นในในการเขียนโครงการขอทุน เช่น ประสานงานกับผู้ที่จะใช้ผลงาน สามารถมองงานวิจัยแปรงให้ใช้ประโยชน์ได้อย่างจริงจัง ฯลฯ ร่วมช่วยเสริมบรรยากาศที่เอื้อต่อการวิจัย รวมถึงการให้กำลังใจ และส่งเสริมพัฒนานักวิจัย เช่น การจัดหาเครื่องมือวิจัย การจัดประชุมพัฒนาศักยภาพนักวิจัย ฯลฯ

33 ตัวอย่างการวิจัย ผลิตภัณฑ์ใช้ภาย นอกให้ครบวงจร

34 ใช้ความรู้ความสามารถและความมุ่งมั่น ความสำเร็จใด ๆ จะไม่ไกลเกินฝัน


ดาวน์โหลด ppt การประชุมพัฒนาศักยภาพนักวิจัยคณะเภสัชศาสตร์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google