ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
สมาคมประชาชาติแห่ง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
2
ASEAN Association of South East Asian Nations
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
3
ASEAN Community ปฏิญญาอาเซียน
การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนของทั้ง 5 ประเทศผู้ร่วมก่อตั้งนี้ โดยมุ่งส่งเสริมความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ การเกษตร อุตสาหกรรม การคมนาคม รวมทั้งการยกระดับรายได้ ความเป็นอยู่ของประชาชน เพื่อวางรากฐานความรุ่งเรืองให้กับอาเซียน โดยเริ่มจากอารัมภบทการลงนามจัดตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปฏิญญาอาเซียน
4
ASEAN Community ประชาคมอาเซียน
การรวมตัวของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนให้เป็นชุมชนที่มีความแข็งแกร่ง สามารถสร้างโอกาสและรับมือส่งท้าท้าย ทั้งด้านการเมืองความมั่นคง เศรษฐกิจ และภัยคุกคามรูปแบบใหม่ โดยสมาชิกในชุมชนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี สามารถประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น และสมาชิก ในชุมชนมีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ww.themegallery.com
5
ASEAN Community ประชาคมอาเซียน
อาเซียนแรกเริ่มนั้นมีสมาชิกผู้ก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย ต่อมาบูรไนได้เข้ามาเป็นสมาชิเพิ่ม ตามด้วย เวียดนาม ลาว เมียนม่าร์ และกัมพูชา ตามลำดับ อาเซียนรวมมีทั้งหมด 10 ประเทศ ในฐานะที่เราเป็นประเทศสมาชิกของอาเซียน จึงต้องศึกษาเรื่องของอาเซียนให้เข้าใจ เพื่อจะได้ปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง
6
จุดกำเนิดอาเซียน บ้านพักรับรองบนชายหาดบางแสนของ จอมพลสกฤษดิ์ ธนะรัชต์ อดีตนายกรัฐมนตรี เดิมใช้ชื่อสมาคมความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วัตถุประสงค์เน้นความร่วมมือทางเศรษฐกิจมากกว่าการเมือง วันอังคารที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ลงนาม ณ วังสราญรมย์(กระทรวงการต่างประเทศ) ชื่อว่า ASEAN อ่านว่า อาเซียน สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เสริมรากฐานการเป็นประชาคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
7
จุดเริ่มต้นอาเซียน สมาคมแห่งประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อตั้งโดยปฏิญญาอาเซียน หรือปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) เมื่อ 8 สิงหาคม ค.ศ.1967 (พ.ศ. 2510) 7
8
แนวทางการใช้ชื่อ“อาเซียน”
1.ชื่อว่า ASEAN อ่านว่า อาเซียน หมายถึง สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2.แนวทางเหล่านี้ระบุถึงขั้นตอนการขอและอนุญาติสำหรับการใช้ชื่ออาเซียน 3.แนวทางเหล่านี้จะใช้กับหน่วยงานที่ขอใช้ชื่ออาเซียนและจะไม่ใช้บังคับดังต่อไปนี้ 3.1องค์กรของอาเซียนภายใต้สี่บทของกฎบัตรอาเซียนซึ่งรวมไปถึงกลไก กิจกรรมแลโครงการต่างๆ 3.2กลไกของอาเซียนที่จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการโดยประเทศสมาชิกอาเซียน
9
แนวทางการใช้ชื่อ“อาเซียน”
3.3หน่วยงานที่เป็นรัฐบาลหรือกิจกรรมที่จัดโดยรัฐบาลของประเทศสมาชิกอาเซียน 3.4หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับอาเซียน ตามข้อ 16 ของกฎบัตรอาเซียน คือ ภาวะที่มีความสัมพันธ์กับอาเซียน คือ 1.องค์การรัฐสภา 2.องค์การภาคธุรกิจ 3.สถาบันวิชาการ 4.องค์การภาคประชาสังคม
10
การรวมกลุ่มประเทศแบบภูมภาคนิยมในกรณีอาเซียน
นักวิชาการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้ใช้กรอบแนวคิดและทฤษฎีที่แตกต่างกันในการวิเคราะห์และอธิบายความร่วมมือระดับภูมิภาคในอาเซียน ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 สำนักด้วยกัน คือ 1.สำนักสัจนิยม (Realism) ที่เน้นอำนาจและผลประโยชน์แห่งชาติที่มักนำไปสู่ความขัดแย้งของรัฐ 2.สำนักเสรีนิยมใหม่ (Neo-liberalism) ที่เน้นผลประโยชน์ร่วมกันและองค์กรระหว่างประเทศที่นำไปสู่ความร่วมมือระหว่างรัฐ 3.สำนักสรรค์สร้างนิยม (Constructivism) ที่เน้นบทบาทของความคิดและอัตลักษณ์ที่อำนาจไปสู่ความร่วมมือหรือความขัดแย้งก็ได้ *เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับความสนใจในทางทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมากขึ้น กล่าวคือ สำนักสัจนิยมใหม่ได้พบกับคู่ต่อสู้จากสำนักเสรีนิยมใหม่
11
ปัจจัยที่ผลักดันให้เกิดการก่อตั้ง “อาเซียน”
ปัจจัยภายนอก แนวคิดร่วมกันในการต่อต้านลัทธิจักรวรรดินิยม และมุ่งเน้นนโยบายต่างประเทศที่เป็นอิสระ ความแพร่หลายของแนวคิดภูมิภาคนิยม ปัญหาของการรวมตัวที่มีอยู่เดิมและการพยายามแก้ปัญหาความขัดแย้งในปัจจุบัน
12
(ศักยภาพผลักดันภายในของสมาชิกแต่ละประเทศ)
ปัจจัยที่ผลักดันให้เกิดการก่อตั้ง “อาเซียน” ปัจจัยภายใน (ศักยภาพผลักดันภายในของสมาชิกแต่ละประเทศ) อินโดนีเซีย - การเปลี่ยนแปลงผู้นำอินโดนีเซีย - ต้องการมีนโยบายต่างประเทศที่เป็นผู้นำของภูมิภาค - สภาวะทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ
13
ปัจจัยที่ผลักดันให้เกิดการก่อตั้ง “อาเซียน”
ไทย - เสริมสร้างความมั่นคงของประเทศ โดยไม่ต้องพึ่งพิงมหาอำนาจตะวันตก - ตระหนักถึงประโยชน์ของความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคว่าจะมีประโยชน์ในอนาคต ฟิลิปปินส์ - ต้องการแสดงว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาค - ผลประโยชน์ด้านการเมืองและเศรษฐกิจในระยะยาว
14
ปัจจัยที่ผลักดันให้เกิดการก่อตั้ง “อาเซียน”
สิงคโปร์ - ผลประโยชน์ด้านการเมืองและความมั่นคง - ผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ มาเลเซีย - ต้องการแก้ไขความขัดแย้งกับประเทศสมาชิก - ผลประโยชน์ด้านการเมืองและเศรษฐกิจ
15
วัตถุประสงค์การก่อตั้งอาเซียน (ปฏิญญากรุงเทพฯ)
เร่งรัดความเจริญทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคม และวัฒนธรรม ส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค ส่งเสริมความร่วมมือในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริหาร อำนวยความสะดวกในด้านการฝึกอบรมและวิจัย ด้านการศึกษาวิชาชีพ วิชาการ และการบริหาร ร่วมมือด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ส่งเสริมการศึกษา ร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศส่วนภูมิภาค 15 15
16
เป้าหมายสร้างความร่วมมือ 3 ส่วน
เป้าหมายสร้างความร่วมมือ 3 ส่วน 1. เสริมสร้างสันติสุข ด้วยการแก้ไขข้อพิพาทภายในภูมิภาค และการรับมือภัยคุกคามรูปแบบใหม่
17
เป้าหมายสร้างความร่วมมือ 3 ส่วน
เป้าหมายสร้างความร่วมมือ 3 ส่วน 2. เสริมสร้างความมั่งคั่งในภูมิภาค การส่งเสริมให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน และลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคม การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคม พัฒนาความร่วมมือด้านกฎหมาย การเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือแรงงาน
18
เป้าหมายสร้างความร่วมมือ 3 ส่วน
เป้าหมายสร้างความร่วมมือ 3 ส่วน 3. พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนและเสริมสร้างอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของอาเซียน โดยกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาพลเมืองอาเซียนให้มีคุณลักษณะที่สำคัญ ได้แก่ มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต มีศักยภาพในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สามารถเข้าถึงการฝึกอบรมและนวัตกรรมต่าง ๆ และได้รับโอกาสที่ทัดเทียมกัน ในการเข้าถึงการพัฒนามนุษย์ สวัสดิการสังคม และความยุติธรรม
19
การขยายประเทศสมาชิก อาเซียนเริ่มต้นด้วยสมาชิกห้าประเทศ
คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมามีสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้นอีกห้าประเทศ ได้แก่ ลำดับที่ 6 บรูไน วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2527 ลำดับที่ 7 เวียดนาม วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ลำดับที่ 8 , 9 ลาว และเมียนม่าร์ วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 ลำดับที่ 10 กัมพูชา วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2542
20
ผู้แทนที่ร่วมลงนามในปฏิญญาอาเซียน
นายอาดัม มาลิก จากอินโดนีเซีย รัฐมนตรีฝ่ายการเมือง / รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายตุน อับดุล ราซัค บิน ฮุสเซน จากมาเลเซีย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ นายนาซิสโซ รามอส จากฟิลิปปินส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายเอส. ราชารัตนัม จากสิงคโปร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ พันเอก (พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ จากไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
21
หลักการพื้นฐานของอาเซียน
การตัดสินใจโดยหลักฉันทามติ การไม่แทรกแซงกิจการภายใน ของกันและกัน ความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน ความร่วมมือ เพื่อพัฒนาอาเซียน
22
กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter)
เปรียบเสมือนธรรมนูญของอาเซียน กรอบกฎหมาย โครงสร้างองค์กร เป้าหมาย หลักการ และกลไกสำคัญต่าง ๆ จัดทำขึ้นที่สิงคโปร์ วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 วันบังคับใช้ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เป็นสนธิสัญญาที่ทำร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกของอาเซียน บทบัญญัติ 13 หมวด รวม 55 ข้อย่อย
23
กฎบัตรอาเซียน หมวดที่ 1 ความมุ่งประสงค์และหลักการ
หมวดที่ 1 ความมุ่งประสงค์และหลักการ หมวดที่ 2 สภาพบุคคลตามกฎหมาย หมวดที่ 3 สมาชิกภาพ หมวดที่ 4 องค์กร หมวดที่ 5 องคภาวะที่มีความสัมพันธ์กับอาเซียน หมวดที่ 6 ความคุ้มกันและเอกสิทธิ์ หมวดที่ 7 การตัดสินใจ
24
กฎบัตรอาเซียน (ต่อ) หมวดที่ 8 การระงับข้อพิพาท
หมวดที่ 9 งบประมาณและการเงิน หมวดที่ 10 การบริหารและขั้นตอนการดำเนินงาน หมวดที่ 11 อัตลักษณ์และสัญลักษณ์ หมวดที่ 12 ความสัมพันธ์ภายนอก หมวดที่ 13 บทบัญญัติทั่วไปและบทบัญญัติสุดท้าย
25
ผู้ลงนามในกฎบัตรอาเซียน
กฎบัตรอาเซียนซึ่งผู้นำสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ลงนามกันที่โรงแรมแชงกรีลาในสิงคโปร์ซิตี เมื่อวันที่ 20 พ.ย ตัวแทนจากประเทศไทย คือ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์
26
สำนักงานเลขาธิการอาเซียน
ตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย มีเลขาธิการอาเซียนเป็นผู้ดูแลการทำงานและเป็นหัวหน้าใหญ่ของสำนักงาน เลขาธิการอาเซียน จะอยู่ในตำแหน่ง 5 ปี วาระเดียว คนไทยคนแรกที่เป็นเลขาธิการอาเซียน คือ นายแผน วรรณเมธี (2527 – 2529) คนไทยคนที่สองที่เป็นเลขาธิการอาเซียน คือ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ (2550 – 2555) เลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบัน ชื่อ นายเล เลือง มินห์ (เล ลุง มินห์)ประเทศเวียดนาม (คนที่ 13) ( )
27
การดำเนินงานความร่วมมือในอาเซียน
ปรับเปลี่ยนทัศนคติลดปัญหาความขัดแย้งเป็น การพัฒนาสังคม วัฒนธรรมและสารสนเทศ ขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอาเซียน ก่อตั้ง เขตเสรีการค้าอาเซียน เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ กำหนดวิสัยทัศน์อาเซียน ปัจจุบัน ปรับปรุงองค์กรให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่ เปลี่ยนแปลงไป เน้นการรวมตัวของอาเซียน เพื่อเร่งรัดพัฒนาด้านเศรษฐกิจ และสังคม
28
ประเทศอินโดนีเซีย (เขตภาคพื้นสมุทร)
29
ประเทศอินโดนีเซีย (เขตภาคพื้นสมุทร)
อินโดนีเซียมีพื้นที่ 1,919,440 ตารางกิโลเมตร เป็นแผ่นดิน 1,826,440 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่ทะเล 93,000 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศหมู่เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ประกอบด้วยเกาะใหญ่น้อยกว่า 17,508เกาะ รวมอยู่ในพื้นที่ 4 ส่วน คือ - หมู่เกาะซุนดาใหญ่ ประกอบด้วยเกาะชวา สุมาตรา บอร์เนียว และสุลาเวสี - หมู่เกาะซุนดาน้อย ประกอบด้วยเกาะเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของเกาะชวา มีเกาะบาหลี ลอมบอก ซุมบาวา ซุมบา ฟอลเรส และติมอร์ - หมู่เกาะมาลุกุ หรือ หมู่เกาะเครื่องเทศ ตั้งอยู่ระหว่างสุลาเวสี กับอิเรียนจายาบนเกาะ นิวกีนี - อีเรียนจายา อยู่ทางทิศตะวันตกของปาปัวนิวกินี - อินโดนีเซียตั้งอยู่บนเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย และเป็นสะพานเชื่อมระหว่างทวีปเอเชียกับออสเตรเลีย
30
ประเทศฟิลิปปินส์ (เขตภาคพื้นสมุทร)
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์มีพื้นที่ประมาณ 298,170 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะ 7,107 เกาะ ชายฝั่งทะเลยาว 34,600 กิโลเมตร อยู่ห่างจังหวัดกรุงเทพฯประมาณ 1,800 กิโลเมตร ทำเลที่ตั้งของหมู่เกาะฟิลิปปินส์ตั้งอยู่ตรงศูนย์กลางการติดต่อระหว่างเอเชียตะวันออกกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ **ทิศเหนือและทิศตะวันตก จรดทะเลจีนใต้ **ไกลออกไปทางเหนือคือ ดินแดนของไต้หวัน จีน ฮ่องกง และญี่ปุ่น **ทิศตะวันตก คือ เวียดนาม **ทิศใต้จรดทะเลเซลีเบสหรือสุลาเวสี อินโดนีเซีย และมาเลเซีย **ทิศตะวันออกจรดมหาสมุทรแปซิฟิก
31
ภูมิประเทศของฟิลิปปินส์แบ่งออกเป็น 3 หมู่เกาะ ดังนี้
ประเทศฟิลิปปินส์ (เขตภาคพื้นสมุทร) ภูมิประเทศของฟิลิปปินส์แบ่งออกเป็น 3 หมู่เกาะ ดังนี้ 1) ลูซอน : เป็นหมู่เกาะทางตอนเหนือของประเทศ ที่ราบกว้างอยู่ 2 บริเวณ คือ ที่ราบลุ่มแม่น้ำคากายัน,ที่ราบมะนิลา 2) วิสายาส์ : อยู่ทางตอนกลางของประเทศ ประกอบด้วยเกาะเนกรอส , ปาไน,เลเต ,เซบู ,โบโฮล ,มินโดโร ,ซามาร์ ,มาสบาเต 3) มินดาเนา : อยู่ทางตอนใต้มีที่ราบกว้างอยู่ 2 บริเวณ คือ ที่ราบลุ่มอกูซาน , ที่ราบลุ่มแม่น้ำมินดาเนา
32
ประเทศฟิลิปปินส์ (เขตภาคพื้นสมุทร)
33
ประเทศมาเลเซีย (เขตภาคพื้นสมุทร)
ประเทศมาเลเซีย แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่ตั้งอยู่บนคาบสมุทรเรียกว่า มาเลเซียตะวันตก และส่วนที่อยู่ในเกาะบอร์เนียว เรียกว่า มาเลเซียตะวันออก มีขนาดพื้นที่ 329,750 ตารางกิโลเมตร พื้นดิน 328,550 ตารางกิโลเมตร พื้นน้ำ 1,200 ตารางกิโลเมตร ทั้งสองส่วนนี้ประกอบด้วยรัฐต่าง ๆ ๑๓ รัฐ อยู่ในมาเลเซียตะวันตก ๑๑ รัฐ อยู่ในมาเลเซียตะวันออก ๒ รัฐ
34
ประเทศบรูไน (เขตภาคพื้นสมุทร)
บรูไน (Brunei) หรือ รัฐบรูไนดารุสซาลาม (State of Brunei Darussalam)ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียว ทิศตะวันออก ตะวันตกและทิศใต้ ติดเขตซาราวัก ประเทศมาเลเซีย โดยพื้นที่ร้อยละ 70 เป็นป่าไม้ บรูไนมีขนาดพื้นที่ 5,770 ตารางกิโลเมตร แบ่งเป็น 4 เขต คือ บรูไน-มัวรา (Brunei-Muara), เบอไลต์ (Belait) เติมบูรง (Temburong) และ เขตตูรง (Tutong) มีพื้นดิน 5,270 ตารางกิโลเมตร และเป็นพื้นน้ำ 500 ตารางกิโลเมตร พรมแดนติดมาเลเซีย 381 กิโลเมตร มีความยาวชายฝั่งทะเล 161 กิโลเมตร
35
ประเทศสิงคโปร์ (เขตภาคพื้นสมุทร)
สิงคโปร์ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของคาบสมุทรมลายู ใกล้เส้นศูนย์สูตร อยู่ที่ละติจูด 1°17'35" เหนือ ลองจิจูด 103°51'20" ตะวันออก ทางใต้ของรัฐยะโฮร์ของประเทศมาเลเซีย ทางเหนือของหมู่เกาะเรียวประเทศอินโดนีเซีย ประกอบด้วยเกาะสิงคโปร์ และเกาะเล็กๆ อีกกว่า 50 กว่าเกาะ มีพื้นที่ทั้งหมด 699.4 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตดังนี้ ทิศเหนือ ติดกับช่องแคบยะโฮร์ ทิศตะวันออก ติดกับทะเลจีนใต้ ทิศใต้ ติดกับช่องแคบสิ งคโปร์ ทิศตะวันตก ติดกับช่องแคบมะละกา
36
ประเทศสิงคโปร์ (เขตภาคพื้นสมุทร)
37
ประเทศเมียนม่าร์ (เขตภาคพื้นทวีป)
สหภาพมีพรมแดนติดต่อกับ 5 ประเทศ ดังนี้ -ทิศเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ ติดกับจีน (2,185 กิโลเมตร) -ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ติดกับลาว (235 กิโลเมตร) และไทย (2,401 กิโลเมตร ทิศตะวันตก ติดกับอินเดีย (1,463 กิโลเมตร) และบังกลาเทศ(193 กิโลเมตร) -ทิศใต้ ติดกับทะเลอันดามันและอ่าวเบงกอล สหภาพพม่า มีพื้นที่ทั้งหมด 678,500 ตารางกิโลเมตร หรือมีขนาดประมาณ 1.3 เท่าของประเทศไทย มีพื้นน้ำ 20,760 ตารางกิโลเมตร และพื้นที่ดิน 657,740 ตารางกิโลเมตร
38
ประเทศเมียนม่าร์ (เขตภาคพื้นทวีป)
39
ประเทศไทย (เขตภาคพื้นทวีป)
ที่ตั้งของประเทศไทย ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอินโดจีน อยู่ในทวีปเอเซียในดินแดนที่เรียกว่า "ภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้" ขนาด ประเทศไทยมีเนื้อที่ประมาณ 513,115 ตารางกิโลเมตร (198,454 ตารางไมล์) มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ รองจากอินโดนีเซียและพม่า ส่วนที่กว้างที่สุดของไทย มีความยาวประมาณ 780 กิโลเมตร คือ จากด่านเจดีย์สามองค์ อำเภอสังขละบุรีจังหวัดกาญจนบุรี ถึงช่องเม็ก อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี สำหรับส่วนที่แคบที่สุดมีความกว้างประมาณ 10.6 กิโลเมตร อยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และความยาวจากเหนือสุดจากอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ถึงอำเภอเบตง จังหวัดยะลา มีความยาวประมาณ 1,640 กิโลเมตร
40
ประเทศไทย (เขตภาคพื้นทวีป)
41
ประเทศเวียดนาม (เขตภาคพื้นทวีป)
เวียดนาม มีแหล่งที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เวียดนาม มีพรมแดนติดต่อกับ 3 ประเทศ ดังนี้ ทิศเหนือ ติดกับสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นระยะทาง 1,281 กิโลเมตร ทิศใต้ ติดกับทะเลจีนใต้ ทิศตะวันตก ติดกับ สปป.ลาว เป็นระยะทาง 2,130 กิโลเมตร กัมพูชา เป็นระยะทาง 1,228 กิโลเมตรและ อ่าวไทย ทิศตะวันออก ติดกับอ่าวตังเกี๋ย และทะเลจีนใต้ มีพื้นที่ 331,033 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็น เท่าของ ประเทศไทย ประเทศมีลักษณะเป็นแนวยาว โดยมีความยาวจากเหนือจรดใต้ 1,650 กิโลเมตร ขนานไปตามแนวยาวของคาบสมุทรอินโดจีน นอกจากนี้ ยังมีไหล่เขาและหมู่เกาะต่างๆ อีกนับพันเกาะเรียงรายตั้งแต่อ่าวตังเกี๋ยไปจนถึงอ่าวไทย
42
ประเทศเวียดนาม (เขตภาคพื้นทวีป)
43
ประเทศลาว (เขตภาคพื้นทวีป)
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือเรียกทั่วไปว่า สปป.ลาว มีพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตรแบ่งเขตการปกครอง 16 แขวง แขวงที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ที่สุด คือ แขวงสะหวันนะเขต มีพื้นที่ 21,774 ตารางกิโลเมตร แขวงที่มีพื้นที่เล็กที่สุด คือ นครหลวงเวียงจันทร์ มีพื้นที่ 3,960 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตทิศเหนือติดกับจีน 505 กิโลเมตร ทิศตะวันออกติดกับเวียดนาม 2,069 กิโลเมตร ทิศใต้ติดกับกัมพูชา 435 กิโลเมตร ทิศตะวันตกติดกับไทย 1,835 กิโลเมตร ทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับเมียนม่าร์ 236 กิโลเมตร
44
ประเทศลาว (เขตภาคพื้นทวีป)
45
ประเทศกัมพูชา (เขตภาคพื้นทวีป)
ราชอาณาจักรกัมพูชาหรืออาณาจักรขอม คนไทยมักเรียกว่า เขมร มีขนาดพื้นที่รวม 181,035 ตารางกิโลเมตร หรือมีขนาดประมาณ 1 ใน 3ของประเทศไทย เส้นเขตแดนโดยรอบประเทศยาวประมาณ 2,000 กิโลเมตร โดยมีเส้นเขตแดนติดต่อกับประเทศไทยยาว 798 กิโลเมตร
46
ขนาดพื้นที่ประเทศสมาชิกอาเซียน
ลำดับที่ ประเทศสมาชิกอาเซียน พื้นที่ 1 อินโดนีเซีย 1,919,440 ตารางกิโลเมตร 2 เมียนม่าร์ 678,500 ตารางกิโลเมตร 3 ไทย 513,115 ตารางกิโลเมตร 4 เวียดนาม 331,033 ตารางกิโลเมตร 5 มาเลเซีย 329,750 ตารางกิโลเมตร 6 ฟิลิปปินส์ 298,170 ตารางกิโลเมตร 7 ลาว 236,800 ตารางกิโลเมตร 8 กัมพูชา 181,035 ตารางกิโลเมตร 9 บูรไน 5,770 ตารางกิโลเมตร 10 สิงคโปร์ 699.4 ตารางกิโลเมตร
47
ความหมายของตราสัญลักษณ์อาเซียน
รวงข้าว แสดงถึง ความฝันของกลุ่มผู้ก่อตั้งอาเซียน รวงข้าวสีเหลือง 10 รวงมัดรวมกัน หมายถึง ประเทศที่รวมตัวกัน 10 ประเทศ เพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน พื้นที่วงกลมสีขาว สีแดง และสีน้ำเงิน หมายถึง ความเป็นเอกภาพของอาเซียน ตัวอักษรคำว่า asean สีน้ำเงินอยู่ใต้รวงข้าว หมายถึง ความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกัน
48
ธงอาเซียน สีน้ำเงิน สันติภาพและความมั่นคง สีแดง ความกล้าหาญและก้าวหน้า
เป็นสิ่งที่แสดงถึงความมั่นคง สันติภาพ ความเป็นเอกภาพ และพลวัตของอาเซียน สีน้ำเงิน สันติภาพและความมั่นคง สีแดง ความกล้าหาญและก้าวหน้า สีเหลือง ความเจริญรุ่งเรือง ขาว ความบริสุทธิ์
49
คำขวัญ "One Vision , One Identity , One Community (หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม)
50
เพลงประจำชาติอาเซียน
The ASEAN Way คำแปล Raise our flag high, sky high. Embrace the pride in our heart. ASEAN we are bonded as one. Look 'in out to the world. For peace our goal from the very start And prosperity to last. We dare to dream, We care to share. Together for ASEAN. We dare to dream, We care to share For it's the way of ASEAN. ชูธงเราให้สูงสุดฟ้า โอบเอาความภาคภูมิไว้ในใจเรา อาเซียนเราผูกพันเป็นหนึ่ง มองมุ่งไปยังโลกกว้าง สันติภาพ คือ เป้าหมายแรกเริ่ม ความเจริญ คือ ปลายทางสุดท้าย เรากล้าฝัน และใส่ใจต่อการแบ่งปัน ร่วมกันเพื่ออาเซียน เรากล้าฝัน และใส่ใจต่อการแบ่งปัน นี่คือวิถีอาเซียน
51
เพลงประจำชาติอาเซียน (ต่อ)
วิถีแห่งอาเซียน พลิ้วลู่ลม โบกสะบัด ใต้หมู่ธงปลิวไสว สัญญาณแห่งสัญญาทางใจ วันที่เรามาพบกัน อาเซียนเป็นหนึ่งดังที่ใจเราปรารถนา เราพร้อมเดินหน้าไปทางนั้น หล่อหลอมจิตใจ ให้เป็นหนึ่งเดียว อาเซียนยึดเหนี่ยวสัมพันธ์ ให้สังคมนี้ มีแต่แบ่งปัน เศรษฐกิจมั่นคงก้าวไกล
52
ASEAN Community สรุปประชาคมอาเซียน
ประชาคมอาเซียน(Asean Communitr:AC)เป็นเป้าหมายในการยกระดับความร่วมมือของอาเซียนมี 3 ด้านสำคัญหรือเรียกว่า 3 เสา ประกอบไปด้วย ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม
53
สรุปความหมายของอาเซียน
ASEAN Community อาเซียนหรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นองค์การความร่วมมือระดับภูมิภาค ถือเป็น “องค์การระหว่างรัฐบาล” ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ เพื่อส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและส่งเสริมสันติภาพ และเสถียรภาพในภูมิภาคโดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาอาเซียนมีความร่วมมือในหลายด้านที่ได้สนองตอบผลประโยชน์และความต้องการของประเทศสมาชิก
54
คำถามทบทวนบทที่ 2 1.จงสรุปคำกล่าวสุนทรพจน์ที่จุดประกายความคิดการก่อตั้งอาเซียน 2.ปฏิญญาอาเซียน คืออะไร 3.จงอธิบายที่ตั้งและอาณาเขตประเทศหรือรัฐสมาชิกอาเซียนในเขตภาคพื้นสมุทร 4. จงอธิบายที่ตั้งและอาณาเขตประเทศหรือรัฐสมาชิกอาเซียนในเขตภาคพื้นทวีป 5.จงสรุปสาระสำคัญของแนวทางการใช้ชื่ออาเซียน 6.จงอธิบายการรวมกลุ่มประเทศแบบภูมิภาคนิยมในกรณีอาเซียน 6.1 มุมมองสำนักสัจนิยม 6.2 มุมมองสำนักเสรีนิยมใหม่ 6.3 มุมมองสำนักสรรค์สร้างนิยม 7.สรุปความหมายของอาเซียน 8.สรุปความหมายของประชาคมอาเซียน
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2025 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.