การจัดการงานคลังและงบประมาณ ครั้งที่ 6 อ.บุญวัฒน์ สว่างวงศ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การจัดการงานคลังและงบประมาณ ครั้งที่ 6 อ.บุญวัฒน์ สว่างวงศ์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การจัดการงานคลังและงบประมาณ ครั้งที่ 6 อ.บุญวัฒน์ สว่างวงศ์
การจัดการงานคลังและงบประมาณ ครั้งที่ 6 อ.บุญวัฒน์ สว่างวงศ์

2 นโยบายการเงิน & นโยบายการคลัง

3 นโยบายการเงิน (Monetary Policy)
คือ การที่รัฐบาลกลางของแต่ละประเทศใช้เครื่องมือทางการเงิน ซึ่งประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ 1. การเพิ่ม - ลดปริมาณเงินที่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ การวัดปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ ประกอบด้วย M1 หมายถึง ธนบัตร เหรียญ และเงินฝากในบัญชี ออมทรัพย์ M2 หมายถึง M1 และ เงินฝากประจำ M3 หมายถึง M2 และ สินทรัพย์ ตั๋วเงิน

4 นโยบายการเงิน (Monetary Policy)
2. ปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หรือดอกเบี้ยมาตรฐาน 3. ปรับเปลี่ยนอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อปรับภาวะเศรษฐกิจ ให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ ได้แก่ - ให้เศรษฐกิจเติบโต (Economic Growth) - ให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพ (Economic Stability) - ให้มีความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ (Economic Equality)

5 นโยบายการเงิน (Monetary Policy)
1. ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ เช่น มีเงินที่เป็นธนบัตร 1, และ เหรียญต่างๆ ซึ่งเท่ากับปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจซึ่งมีไว้เพื่อรองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจของภาคประชาชนและเอกชน 2. อัตราดอกเบี้ย เช่น อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 3. อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา

6 นโยบายการคลัง (Fiscal Policy)
คือ การที่รัฐบาลใช้เครื่องมือทางการคลัง ซึ่งประกอบด้วย 1. การเพิ่ม - ลดภาษี 2. ก่อหนี้สาธารณะเพิ่มหรือไม่ก่อหนี้เพิ่ม 3. เพิ่ม - ลดรายจ่ายสาธารณะ

7 นโยบายการคลัง (Fiscal Policy)
เพื่อปรับภาวะเศรษฐกิจให้บรรลุเป้าหมายทั้ง 3 ประการ เช่นเดียวกับนโยบายทางการเงิน ผู้รับผิดชอบในการใช้นโยบาย การคลัง คือ คณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยต้องผ่านสภาและตราเป็นพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปี โดยระบุว่ารัฐจะเก็บภาษีเท่าใด จะก่อหนี้หรือไม่ สาเหตุที่นโยบายการคลังต้องผ่านสภา เพราะ ตามหลักการ คือ ผู้เสียภาษีทุกคนควรมีตัวแทนในสภาตามหลักการของประเทศอังกฤษ (แต่เดิมผู้มีสิทธิเลือกตั้งคือผู้เสียภาษี) ดังนั้น เมื่อรัฐจะเอาเงินภาษีมาใช้ จึงต้องผ่านสภาเป็นเสมือนการตรวจสอบก่อนการนำไปใช้

8 นโยบายการคลัง (Fiscal Policy)
1. งบประมาณรายรับ หมายถึง ภาษีต่างๆ 2. งบประมาณรายจ่าย หมายถึง รายจ่ายของแผ่นดิน แบ่งออกเป็น

9 นโยบายการคลัง (Fiscal Policy)
2.1 งบลงทุนหรืองบพัฒนา หมายถึง การที่ภาครัฐลงทุนไปในสาธารณูปโภคที่ใช้ประโยชน์ได้นาน เช่น การสร้างเขื่อน โรงพยาบาล โรงเรียน ฯลฯ 2.2 งบประจำ หมายถึง เงินเดือนข้าราชการ เครื่องเขียน แบบพิมพ์ ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ฯลฯ หรือการที่รัฐ ใช้จ่ายในลักษณะที่สิ้นเปลืองหมดไปในปีนั้น

10 นโยบายการคลัง (Fiscal Policy)
3. หนี้สาธารณะ หมายถึง การที่ภาษีที่รัฐเก็บมาไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายจึงต้องไปกู้ ซึ่งเท่ากับเป็นการก่อหนี้สาธารณะ เช่น การออกพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งคือการที่รัฐบาลไม่มีเงิน จึงต้องมีการออกตราสารหนี้ ซึ่งในบางครั้งรัฐบาลก็ก่อหนี้สาธารณะโดยการกู้ภายในประเทศหรือบางครั้งก็กู้จากต่างประเทศ ซึ่งบางครั้งหนี้สาธารณะก็ถือเป็นงบประมาณรายรับ คือ เป็นรายรับจากการกู้ยืม และถ้าหนี้ถึงกำหนดชำระต้องจ่ายชำระคืน ก็ต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายไปชำระ ก็เท่ากับหนี้สาธารณะ เป็นงบประมาณรายจ่าย

11 แนวคิดเกี่ยวกับสินค้าและบริการ

12 1. เศรษฐทรัพย์ (Economic Goods) - สินค้าเอกชน (Private Goods)
ทบทวน ทรัพยากรการผลิต (Productive Factors) 1. เศรษฐทรัพย์ (Economic Goods) - สินค้าเอกชน (Private Goods) - สินค้าสาธารณะ (Public Goods) 2. ทรัพย์เสรี (Free Goods)

13 แนวคิดพื้นฐาน

14 แนวคิดพื้นฐาน แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับสินค้าและบริการระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคในกรณีที่อุปสงค์และอุปทานเกิดการเปลี่ยนแปลง ในระบบเศรษฐกิจที่มีการแข่งขันกันอย่างสมบูรณ์และสังคมมีการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ กลไกตลาด ( Market Mechanism) หรือกลไกราคา ( Price Mechanism) จะทำหน้าที่เป็นตัวประสานหรือปรับพฤติกรรมในการอุปโภคบริโภค หรือการผลิตระหว่างผู้บริโภคและผู้ผลิตให้มีความสัมพันธ์กัน และอำนวยทั้งประโยชน์สูงสุด ต่อผู้บริโภคและผู้ผลิตเพื่อให้ทุกคนอยู่ร่วมกันในสังคมได้

15 แนวคิดพื้นฐาน 1. กรณีอุปสงค์รวม (Aggregate Demand) ต่อสินค้าหนึ่งมากกว่าอุปทานรวม (Aggregate Supply) ของสินค้าเดียวกัน ผู้ที่ต้องการ จะบริโภคสินค้าหรือบริการนั้นมีมากกว่าปริมาณที่มีการผลิต สินค้าหรือบริการนั้นก็จะมีราคาแพงขึ้น การปรับตัวก็จะเกิดขึ้นใน ด้าน ดังนี้ 1.1 อุปสงค์จะปรับตัวลดลง โดยผู้อุปโภคบริโภคจะอุปโภคบริโภคสินค้านั้นน้อยลง และหันไปอุปโภคบริโภคสินค้าหรือบริการอื่นทดแทนกันได้ (เป็นการทดแทน)

16 แนวคิดพื้นฐาน 1.2 อุปทานจะปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น จะทำให้ผู้ผลิตทำการผลิตเพิ่มมากขึ้นให้เพียงพอ กับความต้องการของตลาด ผู้ผลิตสินค้าและบริการอื่นที่มีอุปสงค์ ในตลาดไม่มาก ก็จะหันมาผลิตสินค้าและบริการที่มีผู้ต้องการมาก โดยผู้ผลิตทุกคนก็จะต้องผลิตด้วยต้นทุนต่ำที่สุด เพื่อการแข่งขัน ในระบบการตลาด โดยมีการปรับตัวระหว่างผู้อุปโภคบริโภคและผู้ผลิต จะเกิดขึ้นจนกระทั่งปริมาณการผลิตหรืออุปทานเท่ากับปริมาณที่ผู้อุปโภคบริโภคต้องการหรือเท่ากับกับอุปสงค์

17 แนวคิดพื้นฐาน 2. กรณีอุปสงค์รวม (Aggregate Demand) ต่อสินค้าหนึ่ง น้อยกว่าอุปทานรวม (Aggregate Supply) ของสินค้าเดียวกัน จะทำให้ราคาสินค้าและบริการนั้นลดลงและเกิดการปรับตัวของอุปสงค์และอุปทาน ดังนี้ 2.1 อุปสงค์จะปรับตัวเพิ่มขึ้น ผู้บริโภคจะหันมาบริโภคสินค้าและบริการนั้นเพิ่มขึ้น

18 แนวคิดพื้นฐาน 2.2 อุปทานจะปรับตัวลดลง เนื่องจากราคาสินค้าและบริการมีราคาถูก ผู้ผลิตสินค้าและบริการจะผลิตสินค้าและบริการนั้นน้อยลง หรือหันไปผลิตสินค้าและบริการอื่นที่มี ผู้อุปโภคบริโภคมากกว่าแทน การปรับตัวก็จะเกิดขึ้นจนปริมาณการบริโภคสินค้าและบริการนั้นเท่ากับปริมาณรวมในการผลิตสินค้าและการบริการนั้น

19 ประเภทของสินค้าและบริการ

20 ประเภทของสินค้าและบริการ
Nicholas Henry ได้พิจารณาลักษณะของสินค้าและบริการสาธารณะ จากแนวคิดของนักวิชาการอีกสามคน ได้แก่ Vincent Ostrom’ Elinor Ostrom’ และ E.S. Savas ซึ่งทั้งสามเป็นนักวิชาการในสำนึกคิดกลุ่มทฤษฏีทางสาธารณะ (Public Choice Theory) ในการพิจารณาว่าสินค้าและบริการในลักษณะใดที่ภาครัฐ เป็นผู้บริการ สินค้าและบริการใดที่เอกชนควรเป็นผู้ให้บริการ ทั้งนี้โดยการนำเอาแนวคิดมาประกอบการพิจารณา คือ แนวคิดเกี่ยวกับการแบ่งแยกหรือการกีดกัน (Exclusion) ในการบริโภคได้หรือไม่ได้ และแนวคิดเกี่ยวกับการบริโภค (Consumption) หรือเป็นการบริโภคร่วมกัน (Jointly Consumed)

21 ประเภทของสินค้าและบริการ
Nicholas Henry ได้อธิบายลักษณะสินค้าและบริการตามแนวคิดของ Savas โดยแบ่งประเภทสินค้าและบริการตามลักษณะการแบ่งแยกและการกีดกันและลักษณะของการบริโภคออกเป็น 4 ประเภท

22 ประเภทของสินค้าและบริการ
1. สินค้าและบริการส่วนบุคคล (Private Goods and Serviced) หมายถึง สินค้าและบริการที่ปัจเจกบุคคลแต่ละคนแยกกันบริโภค และสามารถกีดกันในการบริโภคได้ สินค้าและบริการประเภทนี้ ได้แก่ สินค้าและบริการทั่วไป ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การซื้อของใช้อุปโภคบริโภคประจำวันของแต่ละปัจเจกบุคคลที่แบ่งแยกกันได้อย่างเด็ดขาด การเข้าร้านเสริมสวยหรือตัดผม การรับประทานอาหารในภัตตาคาร เป็นต้น บทบาทของรัฐในสินค้าและบริการประเภทนี้ส่วนใหญ่มักจะจำกัดเพียงในเรื่องการให้หลักประกันด้านความปลอดภัย (เช่น การตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยของอาคารสิ่งปลูกสร้าง)

23 ประเภทของสินค้าและบริการ
2. สินค้าและบริการที่ต้องการเสียค่าบริการ (Toll Goods) หมายถึงสินค้าและบริการที่ใช้บริโภคร่วมกัน (Jointly Consumed) แต่สามารถกีดกันในการบริโภคได้ สินค้าและบริการประเภทนี้ส่วนใหญ่มีลักษณะผูกขาด เช่น เคเบิ้ลทีวี บริการกระแสไฟฟ้า บริการโทรศัพท์ โรงภาพยนตร์ บริการน้ำประปา เป็นต้น บทบาทของภาครัฐในสินค้าและบริการประเภทนี้ คือ การให้หลักประกันในการให้มีสินค้าและบริการเหล่านี้อย่างเหมาะสม พอเพียง และไม่เกิดการเอารัดเอาเปรียบผู้ใช้บริการ

24 ประเภทของสินค้าและบริการ
3. สินค้าและบริการร่วม (Common – Pool Goods and Services) หมายถึง สินค้าและบริการที่ปัจเจกบุคคลแต่ละคนแยกกันบริโภค และไม่สามารถกีดกันในการบริโภคได้ สินค้าประเภทนี้ไม่มีปัญหาในด้านการให้บริการ เป็นสินค้าแบบได้เปล่าที่ผู้บริโภคไม่ต้องเสียค่าบริการ (Free) เช่น น้ำในบ่อน้ำสาธารณะ ปลาในมหาสมุทร และอากาศที่ใช้หายใจ เป็นต้น

25 ประเภทของสินค้าและบริการ
สินค้าและบริการประเภทนี้นำไปสู่ปัญหาที่ Garrett Hardin เรียกว่า เรื่องเศร้าของการที่ต้องการเป็นของส่วนรวม (Tragedy of the Common) กล่าวคือ สิ่งใดๆ ที่ทุกคนสามารถเป็นเจ้าของได้ ทำให้กลายเป็นสิ่งที่ปราศจากเจ้าของ เนื่องจาก มักจะนำไปสู่การใช้อย่างฟุ่มเฟือย ไม่ทะนุทะถนอม และกลายเป็นการใช้อย่างล้างผลาญไปในที่สุด ตัวอย่างที่ปรากฏเห็นโดยทั่วไปได้แก่ การที่ทุกคนสามารถนำเอาอากาศมาใช้ได้อย่างเสรีแล้วเป็นสาเหตุสำคัญ ที่ก่อให้เกิดมลภาวะในอากาศ ภาครัฐจึงจำเป็นต้องเข้ามามีบทบาทต่อสินค้าและบริการประเภทนี้มากกว่าสินค้าและบริการสองประเภทแรกมาก โดยที่ภาครัฐจะเข้ามาสร้างกฎเกณฑ์เพื่อป้องกันไม่ให้สินค้าและการบริการเหล่านี้ถูกทำลายจากการ ใช้สอยและบริโภคอย่างไร้ขอบเขต

26 4. ทฤษฎีสินค้าสาธารณะ

27 ทำไมต้องศึกษาทฤษฎีสินค้าสาธารณะ?
ทำให้เกิดความเข้าใจถึงบทบาทของรัฐในการผลิตสินค้า และบริการ ทำไมรัฐบาลจึงผลิตสินค้าและบริการบางประเภท ในขณะที่อีกประเภทรัฐบาลเข้าไปดำเนินการในกรณีที่จำเป็น หรือสินค้าบางประเภทรัฐบาลไม่ดำเนิน การผลิต แต่ปล่อยให้เอกชนเป็นผู้ผลิตแทน

28 ทฤษฎีสินค้าสาธารณะที่พิจารณาจากลักษณะของสินค้าและบริการ
แบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ ทฤษฎีสินค้าสาธารณะที่พิจารณาจากลักษณะของสินค้าและบริการ ทฤษฎีสินค้าสาธารณะที่พิจารณาจากลักษณะของความต้องการ

29 ทฤษฎีสินค้าสาธารณะที่พิจารณาจากลักษณะของสินค้าและบริการ

30 ทฤษฎีสินค้าสาธารณะที่พิจารณาจากลักษณะของสินค้าและบริการ
ลักษณะของสินค้าและบริการที่ผลิตขึ้น เป็นหลักเกณฑ์ที่สามารถนำมาใช้เพื่อกำหนดว่าสินค้าใดเป็นสินค้าสาธารณะ ซึ่งลักษณะของสินค้าและบริการ สามารถแบ่งได้อีก 2 ประเด็น ได้แก่ การแบ่งแยกการบริโภคออกจากกัน (exclusion principle) การเป็นปรปักษ์ในการบริโภค (rival consumption)

31 1. การแบ่งแยกการบริโภคออกจากกัน
1.1 การแบ่งแยกการบริโภคออกจากกันได้ (excludability) หมายถึง สินค้าที่ผู้บริโภคผู้ใดผู้หนึ่งสามารถซื้อไว้อุปโภคบริโภค โดยกีดกันไม่ให้ผู้บริโภคคนอื่นมีส่วนในการอุปโภคบริโภคได้ สินค้าและบริการประเภทนี้ จะสามารถใช้กลไกราคาหรือมาตรการบางอย่างเป็นเครื่องมือเพื่อที่จะกีดกันไม่ให้ผู้หนึ่งผู้ใดใช้หรืออุปโภคสินค้าและบริการนั้นได้ ถ้าหากผู้นั้นไม่ยอมจ่ายเงินหรือค่าตอบแทน หรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้มาซึ่งการบริโภคนั้น ตัวอย่าง? รัฐบาลจะทำหน้าที่เพียงการบังคับใช้กฎหมายและลงโทษ ผู้ที่ขัดขืน

32 1. การแบ่งแยกการบริโภคออกจากกัน
1.2 การแบ่งแยกการบริโภคออกจากกันไม่ได้ (nonexcludability) หมายถึง สินค้าที่ผู้อุปโภคบริโภคผู้ใดผู้หนึ่งไม่สามารถซื้อไว้อุปโภคบริโภคโดยกีดกันไม่ให้คนอื่น มีส่วนในการอุปโภคบริโภคด้วยได้ โดยไม่สามารถใช้กลไกราคาหรือมาตรการอย่างอื่นเป็นเครื่องมือเพื่อที่จะกีดกันไม่ให้ผู้หนึ่งผู้ใดใช้หรืออุปโภคสินค้าหรือบริการนั้นได้ ไม่ว่าผู้นั้นจะจ่ายเงินหรือค่าตอบแทนในการใช้สินค้าและบริการนั้นหรือไม่ก็ตาม ตัวอย่าง?

33 1. การแบ่งแยกการบริโภคออกจากกัน
สินค้าและบริการแบบนี้จะมีลักษณะที่ทุกคนสามารถใช้ร่วมกันได้ (joint consumption) ทำให้กลไกตลาดหรือกลไกราคา ไม่สามารถทำหน้าที่จัดสรรสินค้าและบริการดังกล่าวได้ เพราะทุกคนสามารถใช้ร่วมกัน แม้ว่าผู้บริโภคอาจจะไม่แสดงความต้องการออกมาก็ตาม แต่ไม่สามารถปฏิเสธการ ใช้บริการนั้นได้ เรียกว่าเป็น อุปทานร่วมกัน (joint supply)

34 2. การเป็นปรปักษ์ในการบริโภค
2.1 มีลักษณะการเป็นปรปักษ์ในการบริโภค (rival consumption) เป็นสินค้าหรือบริการที่มีลักษณะ คือ ถูกผู้บริโภค โดยบุคคลหนึ่งบุคคลใดมีผลขัดแย้งกับการบริโภคของผู้อื่น ทำให้ผู้อื่นไม่ได้ใช้หรือไม่ได้บริโภคสินค้านั้น หรือมีความ พึงพอใจในการบริโภคลดลง ตัวอย่าง?

35 2. การเป็นปรปักษ์ในการบริโภค
2.2 ไม่มีลักษณะการเป็นปรปักษ์ในการบริโภค (non-rival consumption) เป็นสินค้าหรือบริการที่การบริโภคของบุคคลหนึ่งไม่มีผลขัดแย้งกับการบริโภคของอีกบุคคลหนึ่ง จนทำให้บุคคลอื่นไม่สามารถใช้สินค้าหรือบริการนั้นได้ หรือไม่ทำให้ผู้อื่นที่ ร่วมใช้สินค้าหรือบริการนั้นได้รับความพึงพอใจลดลง แต่อย่างใด ตัวอย่าง?

36 2. การเป็นปรปักษ์ในการบริโภค
การที่มีผู้บริโภคสินค้าหรือบริการมากขึ้นจะไม่เป็นผลให้เกิดค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นหรือสูงขึ้นก็ไม่มากนัก การเรียกจัดเก็บจากประชาชนจะทำได้ยาก เพราะสินค้าหรือบริการนั้นทุกๆ คนสามารถบริโภคได้ และการบริโภคของผู้หนึ่งไม่มีผลหรือมีผลน้อยมากต่อผู้อื่น เป็นสินค้าที่ประชาชนสามารถ ใช้ร่วมกันได้ (joint use)

37 ทฤษฎีสินค้าสาธารณะที่พิจารณาจากลักษณะของสินค้าและบริการ
ลักษณะการบริโภค แบ่งแยกกันได้ แบ่งแยกไม่ได้ เป็นปรปักษ์ ในการบริโภค 1 (Pure Private goods) 2 ไม่เป็นปรปักษ์ ในการบริโภค 3 4 (Pure Public goods)

38 กรณีที่ 1 สินค้าหรือบริการที่แบ่งแยกการบริโภคได้และ เป็นปรปักษ์ต่อกัน
สินค้าหรือบริการที่แบ่งแยกการบริโภคได้และ เป็นปรปักษ์ต่อกัน มีลักษณะสำคัญ คือ มีผลประโยชน์ขัดกันและกีดกันได้ เป็นสินค้าที่พบได้ทั่วไป ซึ่งอาจเรียกได้ว่า สินค้าเอกชน (private goods) สามารถใช้กลไกราคาเป็นเครื่องมือจัดสรรการใช้ทรัพยากร ตัวอย่าง? ดังนั้น สินค้าประเภทนี้ รัฐไม่ควรผลิต ควรให้เอกชนดำเนินการผลิตเอง

39 กรณีที่ 2 สินค้าหรือบริการที่แบ่งแยกการบริโภคไม่ได้และ เป็นปรปักษ์ต่อกัน มีลักษณะสำคัญ คือ เป็นสินค้าที่มีลักษณะกีดกันไม่ได้หรือกีดกันได้ลำบาก แต่มีผลประโยชน์ขัดกัน เช่น การใช้ถนนในช่วงเวลาเร่งด่วน เป็นการเพิ่มความแออัดมากขึ้น ทำให้ผู้อื่นได้รับความพึงพอใจจากการบริโภคน้อยลง ดังนั้น ผู้ใช้ถนนในช่วงนี้จึงมีผลประโยชน์ขัดแย้ง เริ่มเป็น public goods (สินค้ากึ่งสาธารณะ)

40 กรณีที่ 2 สินค้าหรือบริการที่แบ่งแยกการบริโภคไม่ได้และ เป็นปรปักษ์ต่อกัน ในปัจจุบัน ได้มีหลายประเทศพยายามออกมาตรการ การกีดกันการบริโภคสินค้าประเภทนี้ เพราะถ้าประชาชน มาใช้กันอย่างมากจะเป็นผลเสียแก่ประเทศ เช่น การที่ประชาชนมาใช้ถนนพร้อมกันทำให้การจราจรติดขัด สูญเสียพลังงานโดยไม่จำเป็น รัฐบาลจึงต้องออกมาตรการมากีดกัน เช่น?

41 กรณีที่ 3 สินค้าหรือบริการที่แบ่งแยกการบริโภคออกจากกันได้แต่ไม่เป็นปรปักษ์ต่อการบริโภค เป็นสินค้าที่มีลักษณะกีดกันโดยใช้มาตรการบางอย่าง แต่ผลประโยชน์ไม่ขัดแย้งกัน การบริโภคสินค้าลักษณะนี้ ผู้ใช้ไม่มีผลประโยชน์ขัดกัน แต่การกีดกันสามารถกระทำได้โดยการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่าย ตัวอย่าง? เริ่มเป็น public goods (สินค้ากึ่งสาธารณะ)

42 กรณีที่ 3 สินค้าประเภทนี้รัฐจะเข้าดำเนินการผลิตเพื่อบริการสังคม โดยจะดำเนินการในลักษณะของรัฐวิสาหกิจ (public enterprise) เช่น การไฟฟ้านครหลวง การทางพิเศษแห่งประเทศไทย เป็นต้น การผลิตสินค้าและบริการต่างๆ สามารถกีดกัน โดยการจัดเก็บค่าธรรมเนียมเพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายของรัฐวิสาหกิจนั้น เมื่อมีกำไรก็ส่งให้รัฐบาล ทำให้เป็นแหล่งรายได้ของรัฐบาลอีกทางหนึ่ง

43 กรณีที่ 4 สินค้าหรือบริการที่ไม่อาจแบ่งแยกการบริโภคออกจากกันได้และมีลักษณะไม่เป็นปรปักษ์ต่อการบริโภค เป็นสินค้าประเภทที่ผลประโยชน์ไม่ขัดกันและกีดกันไม่ได้ สินค้าที่มีลักษณะ 2 ประการนี้ ถือเป็น สินค้าสาธารณะที่แท้จริง (pure public goods) ประชาชนทุกคนที่อยู่ในประเทศเดียวกัน ต่างได้รับผลจากการให้บริการของรัฐอย่างเท่าเทียมกัน และทุกคนได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานของรัฐบาลเท่าเทียมกัน

44 สินค้าสาธารณะ สินค้าสาธารณะ จึงหมายถึง สินค้าหรือบริการ ที่แตกต่างจากสินค้าเอกชน (private goods) ซึ่งเป็นสินค้าและบริการที่ขายในตลาด สินค้าเอกชนอาศัยกลไกราคา (price mechanism) ถ้าผู้ซื้อและผู้ขายตกลงกันได้สินค้าและบริการนั้นก็เปลี่ยนมือไป ดังนั้น สินค้าเอกชนจะสามารถกีดกัน การบริโภคหรือใช้งานของผู้อื่นได้

45 สรุปลักษณะของสินค้าสาธารณะ
ไม่มีการแข่งขันในการใช้ (non-rival consumption) คือ การบริโภคสินค้าของบุคคลหนึ่งไม่ทำให้สินค้าที่เหลือสำหรับบุคคลอื่นลดลง ไม่ต้องแย่งหรือแข่งกันใช้ ไม่สามารถกีดกันการใช้ของผู้อื่นได้ (non-excludable) คือ ไม่มีการกีดกันการใช้ ไม่มีเหตุในการกีดกัน เพราะการใช้ไม่ได้ทำให้เกิดต้นทุน


ดาวน์โหลด ppt การจัดการงานคลังและงบประมาณ ครั้งที่ 6 อ.บุญวัฒน์ สว่างวงศ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google