งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ Health Literacy

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ Health Literacy"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ Health Literacy
นายทีปวัฑฒ์ มีแสง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ หัวหน้าฝ่ายสุขศึกษาและประชาสัมพันธ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา

2 สุขภาพดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับ ปัจจัยหลัก 3 ด้าน
1. ปัจเจกบุคคล กรรมพันธุ์ พฤติกรรม ความเชื่อ จิตวิญญาณ 2. สภาพแวดล้อม กายภาพ ชีวภาพ เศรษฐกิจ วัฒนธรรม,ศาสนา ประชากร การศึกษา ความมั่นคง การสื่อสาร,คมนาคม เทคโนโลยี การเมือง ไม่ดี สุขภาพ ดี 3.ระบบสาธารณสุข ความครอบคลุม ประเภทบริการ ประสิทธิภาพ รัฐ/เอกชน ระดับบริการ

3 ปัจจัยด้าน ปัจเจกบุคคล สามารถเปลี่ยนแปลงพัฒนาให้ไปสู่...การมีสุขภาพดี
กรรมพันธุ์ พฤติกรรม ความรู้ ความเข้าใจ ความเชื่อ ทัศนคติ ไม่ดี สุขภาพ ดี

4 กายภาพ ชีวภาพ สังคม วัฒนธรรม
ปัจจัยกำหนดสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ พันธุกรรม บุคคล ครอบครัว ชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม กายภาพ ชีวภาพ สังคม วัฒนธรรม การบริการ สุขภาพ

5 Health Education :สุขศึกษา
กระบวนการจัดโอกาสการเรียนรู้และพัฒนาทักษะด้าน สุขภาพ รวมถึงปัจจัยอื่นๆเกี่ยวกับสภาวะทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพอันจะ นำไปสู่ความรอบรู้ด้านสุขภาพ การปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพ และธำรงพฤติกรรมสุขภาพที่ดีของ บุคคล ครอบครัว และชุมชน นิยามเมื่อ 1 กรกฎาคม 2557

6 ปัจจัยเอื้อ(Enabling Factors)
การวิเคราะห์สาเหตุของพฤติกรรม PRECEDE Framework ( Predisposing Reinforcing and Enabling Causes in Educational Diagnosis and Evaluation :กระบวนการวิเคราะห์เพื่อการวางแผนการดำเนินงานสุขศึกษา ปัญหาสาธารณสุข สาเหตุด้านพฤติกรรม สาเหตุอื่น ๆ ปัจจัยนำ(Predisposing Factors) ปัจจัยเอื้อ(Enabling Factors) ปัจจัยเสริม(Reinforcing Factors)

7 ปรับเปลี่ยนด้วยการจัดการเรียนรู้
ปัจจัยนำ ปัจจัยภายในบุคคล ที่จูงใจให้บุคคลมีแนวโน้ม ที่จะปฏิบัติ หรือไม่ปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ ความรู้ ทัศนคติ ความเชื่อ/การรับรู้ ค่านิยม ความตั้งใจ ปรับเปลี่ยนด้วยการจัดการเรียนรู้

8 ปัจจัยเอื้อ สิ่งที่จำเป็นต่อการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ
ปรับเปลี่ยนโดยพัฒนาทักษะ ที่จำเป็น และ การจัดปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อพฤติกรรม ทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติ การมี การเข้าถึง การยอมรับ วัสดุ อุปกรณ์ บริการ กิจกรรมเพื่อสุขภาพ

9 ปัจจัยเสริม ปัจจัยแวดล้อมภายนอก ที่เกี่ยวข้องกับ คำชมเชย ความสนใจ การยอมรับ เห็นพ้อง ติเตียน ลงโทษ จากบุคคลหรือกลุ่มบุคคล ปรับเปลี่ยนโดยจัดการเรียนรู้ ให้บุคคลรอบข้าง ให้สนับสนุนและช่วยจัดปัจจัย แวดล้อมที่เอื้อ ต่อพฤติกรรม

10 ความรอบรู้ ด้านสุขภาพ (Health literacy)

11 ความรอบรู้ด้านสุขภาพ
ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลความรู้ ความเข้าใจ เพื่อวิเคราะห์ ประเมินการปฏิบัติ และจัดการตนเอง รวมทั้งสามารถชี้แนะเรื่องสุขภาพ ส่วนบุคคล ครอบครัวและชุมชนเพื่อสุขภาพที่ดี (กองสุขศึกษา 2554) ความรอบรู้ด้านสุขภาพ ( Health Literacy : HL )

12 ทักษะเพื่อนำไปสู่การมี Health Literacy
S A M A R T MODEL ทักษะเพื่อนำไปสู่การมี Health Literacy

13 S = SEARCHING การเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ
เลือกแหล่งข้อมูลด้านสุขภาพ รู้วิธีการค้นหาและการใช้ อุปกรณ์ในการค้นหา ค้นหาข้อมูลที่ถูกต้อง สามารถตรวจสอบข้อมูลจากหลายแหล่งได้

14 มีความรู้และจำในเนื้อหาสาระสำคัญด้านสุขภาพ
A = ACKNOWLEDGE ความรู้ความเข้าใจ มีความรู้และจำในเนื้อหาสาระสำคัญด้านสุขภาพ สามารถอธิบายถึงความเข้าใจในประเด็นเนื้อหาสาระด้าน สุขภาพในการที่จะนำไปปฏิบัติ

15 M = MASS COMMUNICATION ทักษะการสื่อสารเพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญด้านสุขภาพ สามารถสื่อสารข้อมูลความรู้ด้านสุขภาพด้วยวิธีการพูด อ่าน เขียนให้บุคคลอื่นเข้าใจ สามารถโน้มน้าวให้บุคคลอื่นยอมรับข้อมูลด้านสุขภาพ

16 A = ANALYSIS ทักษะการตัดสินใจ
กำหนดทางเลือกและปฏิเสธ/หลีกเลี่ยงหรือเลือกวิธีการปฏิบัติเพื่อให้มี สุขภาพดี ใช้เหตุผลหรือวิเคราะห์ผลดี-ผลเสียเพื่อการปฏิเสธ/หลีกเลี่ยง/เลือกวิธีการ ปฏิบัติ สามารถแสดงทางเลือกที่เกิดผลกระทบน้อยต่อตนเองและผู้อื่น

17 R = RESERCH การรู้เท่าทันสื่อ
สามารถตรวจสอบความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือของข้อมูลสุขภาพที่สื่อนำเสนอ สามารถเปรียบเทียบวิธีการเลือกรับสื่อเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับตนเองและผู้อื่น

18 T = TAKE ACTION การจัดการตนเอง
สามารถกำหนดเป้าหมายและวางแผนการปฏิบัติ สามารถปฏิบัติตามแผนที่กำหนดได้

19

20 2.วิเคราะห์ 6.รู้เท่าทันสื่อ 3.ประเมินการปฏิบัติ 4.จัดการตนเอง
ความรอบรู้ ด้านสุขภาพ(Health Literacy) 1.เข้าถึงข้อมูลความรู้ ความเข้าใจ 2.วิเคราะห์ 3.ประเมินการปฏิบัติ 4.จัดการตนเอง 5.ชี้แนะบุคคล/ครอบครัว/ชุมชน 6.รู้เท่าทันสื่อ องค์ประกอบ ของ HL

21 องค์ประกอบความรอบรู้ทางสุขภาพ
1. การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพและบริการสุขภาพ (access) 2. ความรู้ ความเข้าใจ (cognitive) 3. ทักษะการสื่อสาร (communication skill) 4. ทักษะการตัดสินใจ (decision skill) 5. การจัดการตนเอง ( self-management) 6. การรู้เท่าทันสื่อ (media literacy)

22 2. สามารถโน้มน้าวให้บุคคลอื่นยอมรับข้อมูลด้านสุขภาพ
องค์ประกอบ คุณลักษณะสำคัญ 1.การเข้าถึงข้อมูล สุขภาพและ บริการสุขภาพ 1. เลือก/รู้วิธีการค้นหาและการใช้อุปกรณ์ในการค้นหาแหล่งข้อมูลด้านสุขภาพ และบริการสุขภาพ 2. ค้นหาข้อมูลสุขภาพและบริการสุขภาพที่ถูกต้อง 3. สามารถตรวจสอบข้อมูลจากหลายแหล่งได้ เพื่อยืนยันความเข้าใจของตนเอง และได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ สำหรับนำไปใช้ในการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง 2. ความรู้ ความเข้าใจ 1. มีความรู้และจำในเนื้อหาสาระสำคัญด้านสุขภาพ 2. สามารถอธิบายถึงความเข้าใจในประเด็นเนื้อหาสาระด้านสุขภาพในการ ที่จะนำไปปฏิบัติ 3. สามารถวิเคราะห์ เปรียบเทียบเนื้อหา/แนวทางการปฏิบัติด้านสุขภาพได้ อย่างมีเหตุผล 3.ทักษะการสื่อสาร 1. สามารถสื่อสารข้อมูลความรู้ด้านสุขภาพด้วยวิธีการพูด อ่าน เขียน ให้บุคคลอื่นเข้าใจ 2. สามารถโน้มน้าวให้บุคคลอื่นยอมรับข้อมูลด้านสุขภาพ

23 องค์ประกอบ คุณลักษณะสำคัญ 4.ทักษะการ ตัดสินใจ
1. กำหนดทางเลือกและปฏิเสธ/หลีกเลี่ยงหรือเลือกวิธีการปฏิบัติเพื่อให้มีสุขภาพดี 2. ใช้เหตุผลหรือวิเคราะห์ผลดี-ผลเสียเพื่อการปฏิเสธ/หลีกเลี่ยง/เลือกวิธีการปฏิบัติ 3. สามารถแสดงทางเลือกที่เกิดผลกระทบน้อยต่อตนเองและผู้อื่น 5.ทักษะการจัดการ ตนเอง 1. สามารถกำหนดเป้าหมายและวางแผนการปฏิบัติ 2. สามารถปฏิบัติตามแผนที่กำหนดได้ 3. มีการทบทวนและปรับเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติตนเพื่อให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง 6.การรู้เท่าทันสื่อ 1. ตรวจสอบความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือของข้อมูลสุขภาพที่สื่อนำเสนอ 2. เปรียบเทียบวิธีการเลือกรับสื่อเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับตนเองและผู้อื่น 3. ประเมินข้อความสื่อเพื่อชี้แนะแนวทางให้กับชุมชนหรือสังคม

24 กิจกรรมการเรียนรู้ -ประเมิน วิเคราะห์การรับรู้/ความต้องการข้อมูลข่าวสาร /แหล่งข้อมูล/ช่องทางการเผยแพร่ -ประสานและสร้างความร่วมมือเครือข่ายการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร -ส่งเสริมให้มีการเผยแพร่ข้อมูลความรู้ที่ถูกต้อง ช่องทางหลากหลาย -รณรงค์สร้างกระแสการรับรู้ที่ถูกต้อง จัดปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ -จัดหาสื่อ/ช่องทางการสื่อสาร -จัดทำแหล่งเรียนรู้ข้อมูลข่าวสารสุขภาพในชุมชน เช่น ศูนย์การเรียนรู้ฯ/ฐานการเรียนรู้ต่างๆ 1.การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพและบริการสุขภาพ -เข้าถึงแหล่งข้อมูล /เลือกแหล่งข้อมูล /ตรวจสอบข้อมูลด้านสุขภาพได้

25 กิจกรรมการเรียนรู้ -จัดกิจกรรมเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง/รูปแบบหลากหลาย -จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ -จัดอบรมหรือค่าย -ส่งเสริมการเรียนรู้โดยกระบวนการกลุ่มในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ -จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ หรือ บุคคลที่เป็นแบบอย่างสุขภาพ จัดปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ -มีสถานที่ในการจัดกิจกรรมฯ เพื่อให้คนเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ -จัดให้มีสถานที่ให้คำปรึกษาฯ/สายด่วน 2.ความรู้ความเข้าใจ -รับรู้เนื้อหา/อธิบายเนื้อหาสุขภาพ /วิเคราะห์เปรียบเทียบเนื้อหาด้านสุขภาพได้

26 3.ทักษะการสื่อสาร -สื่อสาร/แลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพได้
กิจกรรมการเรียนรู้ -จัดกิจกรรมเสริมทักษะการสื่อสารด้วยวิธีการที่หลากหลาย -พัฒนาแกนนำ อสม.และ อสค.ให้เป็นนักสื่อสารสุขภาพในครอบครัวและชุมชน -ส่งเสริม พัฒนาให้มีกิจกรรมการสื่อสารสองทางในชุมชน เช่น ชุมชนนักปฏิบัติ ,จัดกระบวนกลุ่มแลกเปลี่ยน เรียนรู้,สร้างโอกาสพบปะ จัดเสวนา จัดปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ -มีสถานที่ในการจัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯ -จัดแหล่งสื่อสารข้อมูลข่าวสารสุขภาพในชุมชนให้เข้าถึงง่าย เช่น หอกระจายข่าว วิทยุชุมชน 3.ทักษะการสื่อสาร -สื่อสาร/แลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพได้

27 กิจกรรมการเรียนรู้ -จัดกิจกรรมเสริมทักษะให้ฝึกวิเคราะห์ด้วยตนเอง เรื่อง การใช้สื่อที่ถูกต้อง/ประเมินเนื้อหาที่จำเป็นและถูกต้อง/ประเมินสื่อ ข้อความ เนื้อหาสื่อ -ประสานและสร้างความร่วมมือเครือข่ายสื่อมวลชน สื่อท้องถิ่นในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง -เฝ้าระวังข่าวสาร/โฆษณาที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของชุมชน -ประเมินผลการรับรู้ข่าวสารและนำข้อมูลที่ได้จากการประเมินแจ้งคืนให้ประชาชนทราบ จัดปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ -จัดทำสื่อและเผยแพร่ข้อมูลฯที่ถูกต้องในชุมชน -จัดช่องทางที่เชื่อถือได้ในชุมชน เช่น หอ กระจายข่าว วิทยุชุมชน สื่อบุคคล 4.การรู้เท่าทันสื่อ / ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลจากสื่อ/ประเมินข้อมูลจากสื่อ

28 กิจกรรมการเรียนรู้ -จัดกิจกรรมให้ประชาชนฝึกทักษะการเจรจาต่อรอง/ปฏิเสธสิ่งที่เป็นผลเสียต่อสุขภาพ -สร้างโอกาสให้ประชาชนเรียนรู้ทางเลือก ในการปฏิบัติที่เหมาะสม เช่น ศึกษาดูงาน จัดแสดงผลงานเด่น /บุคคลดีเด่น จัดปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ -จัดหาแหล่งเรียนรู้เพื่อการปฏิบัติด้านสุขภาพ -สร้างบุคคลต้นแบบด้านสุขภาพ 5.ทักษะการตัดสินใจ /กำหนดทางเลือกปฏิบัติ/วิเคราะห์ข้อดี-ข้อเสีย/เลือกวิธีปฏิบัติที่เหมาะสม

29 กิจกรรมการเรียนรู้ -จัดโปรแกรมด้านสุขภาพ -ส่งเสริมให้ประชาชนกำหนดเป้าหมายปฏิทิน การปฏิบัติตนด้านสุขภาพ -ส่งเสริมฯให้มีการบันทึกความก้าวหน้าของการปฏิบัติตนตามแผน/เป้าหมายฯ -ส่งเสริมฯให้มีการติดตามเฝ้าระวังสุขภาพตนเอง ตามแบบ”ตนเตือนตน”ของกองสุขศึกษา -จัดประกวด/ยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคลที่ปฏิบัติถูกต้องเป็นแบบอย่าง -ส่งเสริมให้ครอบครัวมีการจัดการดูแลสมาชิกในครอบครัวและพัฒนาเป็นครอบครัวตัวอย่าง จัดปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ -จัดปัจจัยเอื้อต่อการปฏิบัติตนทั้งระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชน -กำหนดมาตรการทางสังคม/ข้อตกลงในการปฏิบัติด้านสุขภาพ 6.การจัดการตนเอง/กำหนดเป้าหมายการปฏิบัติตนได้/ลงมือปฏิบัติ/ทบทวน ปรับแนวทางการปฏิบัติด้านสุขภาพได้

30 ฝ่ายสุขศึกษาและประชาสัมพันธ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา
ทีปวัฑฒ์ มีแสง ฝ่ายสุขศึกษาและประชาสัมพันธ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา teepawat FB : teepawat meesaeng


ดาวน์โหลด ppt การสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ Health Literacy

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google