ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ระบบย่อยอาหารและการสลายสารอาหารเพื่อให้ได้พลังงาน
อาหารและการย่อยอาหาร การย่อยอาหารของจุลินทรีย์
2
1. การย่อยอาหาร ของแบคทีเรียและรา(Mold)
- เป็นการย่อยภายนอกเซลล์ (Extracellular - digestion) - แบคทีเรียและรา ไม่สามารถนำสารโมเลกุลใหญ่เข้าสู่เซลล์ ต้องส่งน้ำย่อยหรือเอนไซม์ ออกมาย่อยสารโมเลกุลใหญ่
3
1. การย่อยอาหาร ของแบคทีเรียและรา(Mold)(ต่อ)
- การย่อยสลายโดยแบคทีเรียและรา จะขึ้นอยู่กับเอนไซม์ของจุลินทรีย์ชนิดนั้นๆ ว่าสามารถย่อยสารใดได้บ้าง - เช่น ยีสต์ มีเอนไซม์ในการย่อยสลายน้ำตาล แต่ไม่มีเอนไซม์ย่อยแป้ง
6
2. การย่อยอาหารของโพรโทซัว
- โพรโทซัวจัดเป็นโพรทิสต์ที่มีลักษณะคล้ายสัตว์เพราะสร้างอาหารเองไม่ได้ - ไม่มีผนังเซลล์ แต่สามารถเคลื่อนที่ได้ - ไม่มีระบบทางเดินอาหารและระบบย่อยอาหาร
7
2. การย่อยอาหาร ของโพรโทซัว(ต่อ)
- อาศัยส่วนต่างๆของเซลล์ในการนำน้ำและอาหารเข้าสู่เซลล์ - และเริ่มมีการย่อยภายในเซลล์ เรียกว่า การย่อยภายในเซลล์ (Intracellular- digestion) เช่น อะมีบา และพารามีเซียม
8
2.1 การย่อยอาหารของอะมีบา
- อะมีบานำอาหารเข้าสู่เซลล์ด้วยวิธีฟาโก-ไซโทซิส(Phagocytosis) - อาหารจะถูกย่อยด้วยเอนไซม์ในไลโซโซม ซึ่งน้ำย่อยของอะมีบาส่วนใหญ่ เป็น กรดเกลือ (HCl)
10
2.2 การย่อยอาหารของพารามีเซียม
- พารามีเซียมใช้ cilia ที่อยู่บริเวณร่องปาก (Oral groove) ทำหน้าที่ในการโบกพัดให้อาหารตกลงสู่ร่องปาก - ซึ่งเว้าเข้าไปภายในเซลล์เรียกว่า พิโนไซโทซิส (Pinocytosis)
11
2.2 การย่อยอาหาร ของพารามีเซียม(ต่อ)
- เมื่ออาหารเข้าไปอยู่ในฟูดแวคิวโอลแล้ว ฟูดแวคิวโอลจะไปรวมกับ ไลโซโซม (Lysosome) - ซึ่งฟูดแวคิวโอลนี้จะถูกย่อยโดยเอนไซม์จากไลโซโซม และเคลื่อนที่ไปรอบ ๆ เซลล์โดยการไหลเวียนของไซโทพลาซึม
12
2.2 การย่อยอาหาร ของพารามีเซียม(ต่อ)
- ในขณะที่ฟูดแวคิวโอลเคลื่อนที่ไปก็จะมีการย่อยอาหารเกิดขึ้นด้วย ทำให้ ฟูดแวคิวโอลมีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ - และสารอาหารที่ได้จากการย่อยก็จะกระจายและแพร่ไปได้ทั่วทุกส่วนของเซลล์
13
2.2 การย่อยอาหาร ของพารามีเซียม(ต่อ)
- ส่วนที่เหลือจากการย่อยก็จะถูกขับออกจากเซลล์ในรูปของกากอาหารต่อไป
16
3. การย่อยอาหารของสัตว์
การย่อยอาหารของสัตว์ที่ไม่มีทางเดินอาหาร - ฟองน้ำ (Sponge) จัดเป็นสัตว์กลุ่มแรก ซึ่งโครงสร้างที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการกินและแปรสภาพอาหารยังไม่พัฒนาให้เห็นชัดเจน
19
ฟองน้ำ (Sponge)(ต่อ) - การกินและการย่อยอาหารจึงต้องอาศัยเซลล์ที่มีลักษณะพิเศษ ซึ่งมีอยู่ 2 ชนิด คือ 1.คอลลาร์เซลล์ (Collar Cell) คือ โคแอนโน-ไซต์ (Choanocyte) เป็นเซลล์ขนาดเล็กคล้ายปลอกคอ มีแฟลเจลลัม (Flagellum) 1 เส้น ยื่นออกมาจากคอลลาร์เซลล์
21
ฟองน้ำ (Sponge)(ต่อ) 2. อะมิโบไซต์ (Amoebocyte)
- พบทั่วไปบริเวณผนังลำตัวของฟองน้ำ ย่อยอาหารจำพวกแบคทีเรียและอินทรียสารขนาดเล็กไม่เกิน 1 ไมครอน
22
ฟองน้ำ (Sponge)(ต่อ) - ไซโทพลาซึมจะรับอาหารเข้าสู่เซลล์แบบฟาโกไซโทซิส สร้างเป็น Food- Vacuole แล้วอาหารจะถูกย่อยโดยเอนไซม์จากไลโซโซม
23
ฟองน้ำ (Sponge)(ต่อ) - ส่วนอาหารขนาดใหญ่ประมาณ 5-50 ไมครอน อะมิโบไซต์ (Amoebocyte) สามารถจับแล้วสร้าง Food Vacuole และจะถูกย่อยโดยเอนไซม์จากไลโซโซมเช่นเดียวกัน
25
การย่อยอาหารของสัตว์ ที่มีทางเดินอาหารไม่สมบูรณ์
ไฮดรา (Hydra) - ไฮดราจะมีเข็มพิษ (Nematocyst) อยู่บริเวณหนวด (Tentacle) ซึ่งจะปล่อยพิษออกมาทำร้ายเหยื่อ(ไรน้ำ)
29
ไฮดรา (Hydra)(ต่อ) - แล้วจับเหยื่อส่งเข้าสู่ปากผ่านเข้าสู่ช่องกลางลำตัว (Gastrovascular Cavity) - ที่ผนังลำตัวจะมีเซลล์แกสโทรเดอร์มิส (Gastrodermis) ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการย่อยอาหาร ประกอบด้วยเซลล์ 2 ชนิด คือ
30
ไฮดรา (Hydra)(ต่อ) 1.เซลล์ต่อม (Gland Cell) เป็นเซลล์ขนาดเล็ก ทำหน้าที่สร้างน้ำย่อยส่งออกไปย่อยอาหารที่อยู่ใน Gastrovascular Cavity ซึ่งเป็นการย่อยภายนอกเซลล์ (Extracellular- Digestion) กากอาหารจะถูกขับถ่ายออกทางช่องปาก
31
ไฮดรา (Hydra)(ต่อ) 2.เซลล์ย่อยอาหาร (Digestive or Nutritive Cell) เป็นเซลล์ที่มีขนาดใหญ่กว่า Gland- Cell ส่วนปลายมีแฟลเจลลัมทำหน้าที่จับอาหารที่มีขนาดเล็กเข้าสู่เซลล์
32
ไฮดรา (Hydra)(ต่อ) - สามารถสร้าง Food Vacuole ได้แบบเดียวกับอะมีบา เกิดการย่อยภายในเซลล์ (Intracellular Digestion)
33
พลานาเรีย (Planaria) - โครงสร้างที่เกี่ยวกับการกินและการย่อยอาหารของพลานาเรียซับซ้อนกว่าไฮดราเล็กน้อย - เริ่มต้นจากช่องปาก ซึ่งเป็นช่องเปิดรับอาหารและขับถ่ายกากอาหาร
36
พลานาเรีย (Planaria)(ต่อ)
- ต่อจากปากเป็นคอหอย (Pharynx) ซึ่งมีลักษณะคล้ายงวงยาว - มีเซลล์กล้ามเนื้อแข็งแรงยืดตัวและหดตัวได้ สามารถยื่นออกมาจับสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กและอินทรียสารเป็นอาหารได้
37
พลานาเรีย (Planaria)(ต่อ)
- เมื่ออาหารผ่านเข้าสู่ปากจะเข้าสู่ทางเดินอาหารที่มีแขนงแยกออกไปสองข้างของลำตัวและแตกแขนงไปทั่วร่างกาย - ทำหน้าที่ย่อยอาหารโดยเฉพาะ อาหารที่ย่อยแล้วจะถูกดูดซึมผ่านเข้าสู่เซลล์ไปทั่วร่างกาย
38
การย่อยอาหารของสัตว์ที่มีทางเดินอาหารสมบูรณ์(Complete Digestive Tract)
ได้แก่ ไส้เดือนดิน แมลง ปลา สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เป็นต้น
39
ไส้เดือนดิน(EarthWorm)
โครงสร้างเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารของไส้เดือนดินประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้ 1. ปาก (Mouth) อยู่บริเวณปล้องแรกสุด มีริมฝีปาก 3 พู ใช้ขุดดินและช่วยในการเคลื่อนที่
43
ไส้เดือนดิน (Earth Worm)(ต่อ)
2. คอหอย (Pharynx) อยู่บริเวณปล้องที่ 4-6 ลักษณะพองออกเล็กน้อย มีกล้ามเนื้อหนาแข็งแรง ช่วยในการกลืนอาหารให้อาหารผ่านเข้าสู่กระเพาะพักอาหารได้
44
ไส้เดือนดิน (Earth Worm)(ต่อ)
3. หลอดอาหาร (Esophagus) อยู่บริเวณปล้องที่ 6-12 ลักษณะเป็นท่อขนาดเล็กกว่าคอหอย เป็นทางผ่านของอาหาร 4. กระเพาะพักอาหาร (Crop) อยู่บริเวณปล้องที่ ลักษณะเป็นถุงผนังบาง
45
ไส้เดือนดิน (Earth Worm)(ต่อ)
5. กึ๋น (Gizzard) ประกอบด้วยผนังกล้ามเนื้อที่แข็งแรงมาก ทำหน้าที่บดอาหารให้มีขนาดเล็กลง 6. ลำไส้ (Intestine) เป็นทางเดินอาหารที่ยาวที่สุด เซลล์ที่บุผนังลำไส้จะปล่อยน้ำย่อยออกมาย่อยอาหาร
46
ไส้เดือนดิน (Earth Worm)(ต่อ)
- อาหารที่ย่อยแล้วจะถูกดูดซึมเข้าสู่เซลล์ของร่างกาย 7. ทวารหนัก (Anus) เป็นช่องเปิดปลายสุด ทำหน้าที่ขับถ่ายกากอาหารออกนอกร่างกาย
47
ลำดับทางเดินอาหารของ ไส้เดือนดิน
ปาก คอหอย หลอดอาหาร กระเพาะพัก-อาหาร กึ๋น ลำไส้ ทวารหนัก
48
แมลง (Insect) โครงสร้างเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารของแมลงประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้ 1. ปาก (Mouth) แมลงมีปากหลายลักษณะตามความเหมาะสมในการกินอาหารและการใช้งาน เช่น
49
แมลง (Insect)(ต่อ) - ปากแบบกัดกิน (Chewing Type) มีกราม (Mandible) และฟัน (Maxilla) แข็งแรง เหมาะกับการกัดและเคี้ยว เช่น ตั๊กแตน เป็นต้น
52
แมลง (Insect)(ต่อ) - ปากแบบเจาะดูด (Piercing Sucking Type) เช่น ยุง เป็นต้น - ปากแบบดูดกิน (Siphoning Type) ได้แก่ ผีเสื้อ เป็นต้น
55
แมลง (Insect)(ต่อ) 2. ต่อมน้ำลาย (Salivary Gland) เป็นต่อมสีขาว รูปร่างคล้ายกิ่งไม้ อยู่ติดกันเป็นถุง น้ำลายของแมลงแต่ละชนิดก็มีประโยชน์แตกต่างกัน
57
แมลง (Insect)(ต่อ) 3. คอหอย (Pharynx) ลักษณะเป็นหลอดขนาดเล็ก กล้ามเนื้อหนาแข็งแรง 4. หลอดอาหาร (Esophagus) เป็นทางเดินอาหารที่ต่อจากคอหอย
58
แมลง (Insect)(ต่อ) 5. ถุงพักอาหาร (Crop) เป็นทางเดินอาหารที่พองออกจนเป็นถุงใหญ่สำหรับเก็บอาหาร 6. กึ๋น (Gizzard or Provintriculus) เป็นกระเปาะแข็งๆที่ประกอบด้วยกล้ามเนื้อแข็งแรง
59
แมลง (Insect)(ต่อ) - แมลงบางชนิดในกึ๋นจะมีหนามแหลมๆ ยื่นออกไปรวมกันตรงกลาง ช่วยในการย่อยเชิงกลและกรองอาหาร
60
แมลง (Insect)(ต่อ) 7. เฮพาติกซีกา (Hepatic Caeca or Digestive Caeca )ทำหน้าที่สร้างน้ำย่อยเข้าสู่ทางเดินอาหารส่วนกลาง (Mid Gut) 8. กระเพาะอาหาร (Stomach) มีลักษณะเป็นหลอดอยู่ระหว่างกึ๋นกับลำไส้เล็ก
61
แมลง (Insect)(ต่อ) - ทำหน้าที่ย่อยอาหารทางเคมีโดยรับน้ำย่อยจาก Hepatic Caeca 9. ลำไส้เล็ก (Ileum) ทำหน้าที่ย่อยอาหารทางเคมี และดูดซึมสารอาหาร 10. ลำไส้ใหญ่ (Colon) ลักษณะเป็นกล้ามเนื้อแข็งแรง
62
แมลง (Insect)(ต่อ) 11. ไส้ตรง (Rectum) ลักษณะพองโตเล็กน้อย
12. ทวารหนัก (Anus) เป็นช่องเปิดที่อยู่ตรงปลายสุดของทางเดินอาหาร ทำหน้าที่ขับถ่ายกากอาหารและของเสียในรูปของแข็ง
63
ลำดับทางเดินอาหารของแมลง
ปาก คอหอย หลอดอาหาร กระเพาะพัก-อาหาร กึ๋น เฮปาติกซีกัม กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ไส้ตรง ทวารหนัก
64
สัตว์ปีก(Poultry) 1. ปาก (Mouth) ปากของสัตว์ปีกแต่ละชนิดมีลักษณะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารที่กิน ในปากไม่มีฟัน 2. คอหอย (Pharynx) 3. หลอดอาหาร (Esophagus)
67
สัตว์ปีก(Poultry)(ต่อ)
4. ถุงพักอาหาร (Crop) ทำหน้าที่เก็บอาหารสำรองไว้ย่อยภายหลัง 5. กระเพาะอาหาร (Stomach) 6. กึ๋น (Gizzard) ทำหน้าที่บดอาหารให้ละเอียด หรือมีขนาดเล็กลง เป็นการย่อยเชิงกล
68
สัตว์ปีก(Poultry)(ต่อ)
7. ลำไส้ (Intestine) ทำหน้าที่ย่อยทางเคมี และดูดซึมสารอาหาร 8. ลำไส้ใหญ่ (Colon) ทำหน้าที่กำจัดกากอาหารออกนอกร่างกาย
69
สัตว์ปีก(Poultry)(ต่อ)
9. ทวารหนัก (Cloaca) เป็นช่องเปิดปลายสุดของลำไส้ใหญ่ ทำหน้าที่ขับถ่ายกากอาหาร และของเสียจำพวกกรดยูริกและยูเรีย
70
ลำดับทางเดินอาหารของสัตว์ปีก
ปาก หลอดอาหาร ถุงพักอาหาร กระเพาะ อาหาร กึ๋น ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ โคลเอกา
71
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (Mammal)
- สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นสัตว์ที่มีจำนวนมาก จึงมีทางเดินอาหารแตกต่างกัน - ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารที่กิน ตัวอย่างเช่น สัตว์กินพืช เช่น วัวและควาย จะมีโครงสร้างของทางเดินอาหารที่แตกต่างจากสัตว์อื่น
74
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (Mammal)(ต่อ)
- โดยเฉพาะกระเพาะอาหารจะแบ่งเป็น ส่วน คือ 1. รูเมน (Rumen) เรียกว่า ผ้าขี้ริ้ว มีลักษณะเป็นผนังยื่นออกมา ทำหน้าที่หมักอาหารโดยจุลินทรีย์ อาหารจะถูกส่งออกมาเคี้ยวเอื้องอีกครั้งหนึ่งเพื่อบดเส้นใยให้ละเอียด
75
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (Mammal)(ต่อ)
2. เรติคิวลัม (Reticulum) เรียกว่า กระเพาะรังผึ้ง 3. โอมาซัม (Omasum) เรียกว่า กระเพาะสามสิบกลีบ
76
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (Mammal)(ต่อ)
4. อะโบมาซัม (Abomasum) หรือกระเพาะจริง จะมีการย่อยอาหารทางเคมี และส่งอาหารต่อไปยังลำไส้เล็ก เพื่อย่อยอาหารที่กินเข้าไป ต่อไป
77
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (Mammal)(ต่อ)
- อาหารส่วนใหญ่ที่สัตว์เคี้ยวเอื้องกินเข้าไปเป็นพวกพืชที่มีเซลลูโลสซึ่งต้องใช้เวลาหลายวันในการย่อย - ดังนั้นสัตว์เคี้ยวเอื้องจึงต้องกินอาหารเหล่านี้ในปริมาณมาก เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
78
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (Mammal)(ต่อ)
- การที่สัตว์เคี้ยวเอื้องมีกระเพาะ 4 ส่วนจึงเป็นผลดีในการช่วยเก็บสำรองอาหารไว้ในกระเพาะอาหารเพื่อสำรอกออกมาเคี้ยวใหม่และกลืนกลับเข้าไป
79
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (Mammal)(ต่อ)
- อาหารที่อยู่ในกระเพาะเหล่านี้ จะถูกจุลินทรีย์ที่อยู่ในกระเพาะช่วยย่อยสลายเซลลูโลสให้เป็นกรดไขมันอย่างง่ายเพื่อใช้เป็นพลังงานต่อไป - นอกจากนี้จุลินทรีย์เหล่านี้ยังช่วยสังเคราะห์กรดอะมิโนและวิตามินบี12
80
การย่อยอาหารของคน แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
1. การย่อยเชิงกล(Mechanical digestion) 2. การย่อยทางเคมี(Chemical digestion)
82
การย่อยเชิงกล (Mechanical digestion)
- เป็นขั้นตอนที่อาหารชิ้นใหญ่ถูกทำให้เป็นชิ้นเล็กลง โดยการบดเคี้ยวด้วยฟัน หรือ การบีบตัวของทางเดินอาหาร
83
การย่อยทางเคมี (Chemical digestion)
- คือการเปลี่ยนแปลงขนาดโมเลกุลของสารอาหารโดยใช้เอนไซม์หรือน้ำย่อยที่เกี่ยวข้องทำให้โมเลกุลของสารอาหารเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ได้โมเลกุลที่มีขนาดเล็กลง
84
การย่อยอาหารในปาก - ปากเป็นอวัยวะสำคัญเริ่มแรกสำหรับการย่อยอาหารทำหน้าที่เป็นทางเข้าของอาหาร - ภายในปากมีส่วนประกอบที่สำคัญคือลิ้น ฟันและต่อมน้ำลายการย่อยอาหารในปากจึงมีทั้งการย่อยเชิงกลและการย่อยทางเคมี
85
ฟัน(Teeth) - ฟัน (Teeth) ทำหน้าที่บดเคี้ยวอาหารให้มีขนาดเล็กลง ถือว่าเป็นการย่อยเชิงกล ฟันของคนมี 2 ชุด คือ ฟันน้ำนม(Temporary Teeth)และ ฟันแท้(Permanent Teeth)
86
ฟันน้ำนม(Temporary Teeth)
- มี 20 ซี่ - เริ่มงอกเมื่ออายุประมาณ 6 เดือน - ขึ้นครบตอนประมาณ 2 ปี - หักหมดตอน ปี
87
ฟันแท้(Permanent Teeth)
- ฟันแท้มีทั้งสิ้น 32 ซี่ - ขึ้นครบเมื่ออายุ 21 ปี - ฟันแท้ประกอบด้วยฟัน 4 ชนิด คือ
88
ฟันแท้(Permanent Teeth)(ต่อ)
- ฟันแท้ประกอบด้วยฟัน 4 ชนิด คือ 1. ฟันตัดหรือฟันหน้า(Incisor หรือ I) 2. เขี้ยวหรือฟันฉีก(Canine หรือ C) 3. กรามหน้า(Premolar หรือ P) 4. กรามหลัง(Molar หรือ M)
89
สูตรชนิดของฟัน I 4⁄4 C 2⁄2 P 4⁄4 M 6⁄6
91
โครงสร้างของฟัน (Teeth Structure)
93
ต่อมน้ำลาย(Salivary gland)
- เป็นต่อมที่สร้างน้ำลายอยู่ภายในบริเวณช่องปาก พบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมและแมลง - สำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมจะผลิตน้ำลายเพื่อเป็นน้ำย่อยและคลุกเคล้าอาหาร ส่วนในแมลงจะใช้สำหรับสร้างกาวหรือใย
94
ต่อมน้ำลาย(Salivary gland)(ต่อ)
ต่อมน้ำลายคนเรามีด้วยกัน 3 คู่ คือ 1. Parotid gland พบได้ที่บริเวณกกหู ผลิตน้ำลาย ชนิดใส ใหญ่ที่สุด ผลิตน้ำลาย 25%
95
ต่อมน้ำลาย(Salivary gland)(ต่อ)
2. Sublingual gland พบได้ที่บริเวณใต้ลิ้น ผลิตน้ำลายทั้งชนิด เหนียว และ ใส แต่ชนิดเหนียวจะมากกว่า Amylase น้อย ผลิตน้ำลาย 5%
96
ต่อมน้ำลาย(Salivary gland)(ต่อ)
3. Submandibular gland พบได้ที่บริเวณขากรรไกรล่าง ผลิตน้ำลายทั้งชนิด เหนียว และ ใส แต่ชนิดใสจะมากกว่า ผลิตน้ำลาย 75%
99
น้ำลาย(Saliva) ส่วนประกอบของน้ำลาย
1. เอนไซม์อะไมเลส (amylase) ช่วยย่อยสลายคาร์โบ ไฮเดรต 2. น้ำ (99.5%) เป็นตัวทำละลายสารอาหาร
100
น้ำลาย(Saliva)(ต่อ) 3. เมือก(mucin) เป็นสารคาร์โบไฮเดรตผสมโปรตีน ทำให้ อาหารรวมกันเป็นก้อน ลื่น และกลืนสะดวก การหลั่งน้ำลาย (Salivation) จะเกิดเมื่อระบบประสาทถูกกระตุ้น
101
การกลืนอาหาร 1. ลิ้น(Tongue)จะดันอาหารไปด้านหลังของช่องปาก(Oral cavity) 2. อาหารจะดันลิ้นไก่(Uvula)และเพดานอ่อน(Soft palate)ขึ้นด้านบนปิดกั้นทางเดินของลมหายใจ
102
การกลืนอาหาร 3. อาหารเคลื่อนเข้าสู่หลอดอาหาร(Esophagus)
4. กล่องเสียง(Larynx)ยกตัวไปชนกับฝาปิดกล่องเสียง(Epiglottis)ทำให้อาหารไม่ตกลงไปยังหลอดลม(Windpipe)
105
เพอริสตัลซิส(peristalsis)
- คือการเคลื่อนที่ของอาหารที่เกิดจากการหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อที่อยู่รอบๆหลอดอาหาร
106
กระเพาะอาหาร(Stomach)
- กระเพาะอาหารเป็นอวัยวะที่เชื่อมต่อจากหลอดอาหาร - อยู่บริเวณด้านบนซ้ายของช่องท้อง ถัดจากกระบังลมลงมามีความยาวประมาณ 10 นิ้ว กว้าง 5 นิ้ว
109
กระเพาะอาหาร(Stomach)(ต่อ)
- จึงถือว่าเป็นส่วนของทางเดินอาหารที่มีขนาดใหญ่ที่สุด แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนคือ1. ส่วนบนสุด หรือส่วนใกล้หัวใจ (Cardiac Region หรือ Cardium) อยู่ต่อจากหลอดอาหาร มีกล้ามเนื้อหูรูด(Cardiac- Sphincter) 2. ฟันดัส (Fundus) เป็นส่วนที่ 2 มีลักษณะ เป็นกระพุ้ง 3. ไพโลรัส (Pylorus) เป็นส่วนปลายที่ติดต่อกับลำไส้เล็ก เป็นส่วนที่แคบกว่าส่วนอื่นๆ ตอนปลายของกระเพาะอาหารส่วนนี้มีกล้ามเนื้อหูรูด เรียกว่า ไพโลริด สฟิงก์เตอร์ (Pyloric Sphincter) ป้องกันมิให้อาหารเคลื่อนเลยกระเพาะอาหารขณะย่อย กระเพาะอาหารมีกล้ามเนื้อหนาแข็งแรงมาก และยืดหยุ่นขยายขนาดบรรจุได้ถึง ลูกบาศก์เซนติเมตร
110
กระเพาะอาหาร(Stomach)(ต่อ)
2. ฟันดัส(Fundus) เป็นส่วนที่ 2 มีลักษณะ เป็นกระพุ้งขยายออกมา 3. ไพโลรัส(Pylorus) เป็นส่วนปลายที่ติดต่อกับลำไส้เล็ก เป็นส่วนที่แคบกว่าส่วนอื่นๆ
111
กระเพาะอาหาร(Stomach)(ต่อ)
- ตอนปลายของกระเพาะอาหารส่วนนี้มีกล้ามเนื้อหูรูดเรียกว่า ไพโลริค สฟิงก์เตอร์ (Pyloric Sphincter) - ป้องกันมิให้อาหารเคลื่อนเลยกระเพาะอาหารขณะย่อย
113
กระเพาะอาหาร(Stomach)(ต่อ)
- กระเพาะอาหารมีกล้ามเนื้อหนา แข็งแรงและยืดหยุ่นขยายขนาดบรรจุได้ถึง ,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร
114
การย่อยในกระเพาะอาหาร
- อาหารจะถูกคลุกเคล้าอยู่ในกระเพาะด้วยการหดตัว และคลายตัวของกล้ามเนื้อที่แข็งแรงของกระเพาะ - เซลล์ที่ผนังกระเพาะอาหารส่วนท้ายจะหลั่งฮอร์โมนแกสตริน(Gastrin)
115
การย่อยในกระเพาะอาหาร(ต่อ)
- ไปกระตุ้นการหลั่งกรดไฮโดรคลอริก(HCL)และ เพปซิโนเจน(Pepsinogen) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ยังไม่พร้อมที่จะทำงาน - จนกว่า กรดไฮโดรคลอริก จะเปลี่ยนเพปซิ-โนเจน ให้กลายเป็น เพปซิน(Pepsin) ก่อนจึงจะสามารถย่อยโปรตีนได้
116
การย่อยในกระเพาะอาหาร(ต่อ)
- โปรตีนจะถูกย่อยในกระเพาะโดยน้ำย่อยเพปซิน ซึ่งย่อยพันธะบางชนิดของ เพปไทด์เท่านั้น - ดังนั้นโปรตีนที่ถูกเพปซินย่อยส่วนใหญ่จึงเป็นพอลิเพปไทด์ที่สั้นลง
117
การย่อยในกระเพาะอาหาร(ต่อ)
นอกจากนั้นยังมีเอนไซม์อีกตัวหนึ่งที่ทำหน้าที่ย่อยโปรตีนในน้ำนม คือ เอนไซม์โพรเรนนิน(Prorennin) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ยังไม่พร้อมที่จะทำงานเช่นกัน
118
การย่อยในกระเพาะอาหาร(ต่อ)
- จนกว่า กรดไฮโดรคลอริก จะเปลี่ยน โพรเรนนิน ให้กลายเป็นเรนนิน (rennin) - ส่วนเรนนินช่วยเปลี่ยนเคซีน (Casein) ซึ่งเป็นโปรตีนในน้ำนมให้เป็นพาราเคซีน(Paracasein)
119
การย่อยในกระเพาะอาหาร(ต่อ)
- แล้วรวมกับแคลเซียมทำให้มีลักษณะเป็นลิ่มๆจากนั้นจะถูกเพปซินย่อยต่อไป
120
สรุปการย่อยในกระเพาะ
เซลล์ที่ผนังกระเพาะอาหารส่วนท้าย Gastrin HCL Pepsinogen Pepsin ย่อย Protein
121
สรุปการย่อยในกระเพาะ
Gastrin HCL Prorennin Rennin ย่อยCasein Paracasein Paracasein+Calcuim = ลิ่ม(Protein) Pepsin
122
การย่อยในกระเพาะอาหาร(ต่อ)
- ในกระเพาะอาหาร น้ำย่อยลิเพสไม่สามารถทำงานได้ เนื่องจากมีสภาพเป็นกรด - โดยปกติอาหารจะอยู่ในกระเพาะอาหารนาน 30 นาทีถึง 6 ชั่วโมง ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารนั้นๆ
123
การย่อยในกระเพาะอาหาร(ต่อ)
- กระเพาะอาหารก็มีการดูดซึมอาหารบางชนิดได้ แต่ปริมาณน้อยมาก เช่น น้ำ แร่ธาตุ น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว - กระเพาะอาหารดูดซึมแอลกอฮอล์ได้ดี
124
การย่อยในกระเพาะอาหาร(ต่อ)
- อาหารโปรตีน เช่น เนื้อวัว ย่อยยากกว่าเนื้อปลา ในการปรุงอาหารเพื่อให้ย่อยง่าย อาจใช้การหมักหรือใส่สารบางอย่างลงไปในเนื้อสัตว์เหล่านั้น เช่น ยางมะละกอ หรือสับปะรด เป็นต้น
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2025 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.