งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เพียงครึ่งวัน สั้นนัก แต่รักแล้ว รักลูกแก้ว รักลูกศิษย์ สนิทสนม อย่าลืมสิ่ง ที่แนะนำ คำชื่นชม ค่านิยม ปลูกฝัง อย่างตั้งใจ ขอชื่นชม ทุกท่าน ในวันนี้ ทำหน้าที่

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เพียงครึ่งวัน สั้นนัก แต่รักแล้ว รักลูกแก้ว รักลูกศิษย์ สนิทสนม อย่าลืมสิ่ง ที่แนะนำ คำชื่นชม ค่านิยม ปลูกฝัง อย่างตั้งใจ ขอชื่นชม ทุกท่าน ในวันนี้ ทำหน้าที่"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เพียงครึ่งวัน สั้นนัก แต่รักแล้ว รักลูกแก้ว รักลูกศิษย์ สนิทสนม อย่าลืมสิ่ง ที่แนะนำ คำชื่นชม ค่านิยม ปลูกฝัง อย่างตั้งใจ ขอชื่นชม ทุกท่าน ในวันนี้ ทำหน้าที่ สรรค์สร้าง อย่างยิ่งใหญ่ มาอบรม ร่วมกัน วรรณคดีไทย เพื่อก้าวเดิน ต่อไป ในวันนี้

2 การสอนวรรณคดี ระดับประถมศึกษา
ว่าที่ร.อ.สามารถ นุธรรมโชติ

3 ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง
สาระที่ 5 วรรณคดีและวรรณกรรม มาตรฐานที่ 5.1 - เข้าใจ - แสดงความคิดเห็น - วิจารณ์อย่างเห็นคุณค่า - นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

4 ปริทรรศน์วรรณคดีไทยในระดับประถมศึกษา
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ได้บรรจุ สาระที่ 5 ว่าด้วยเรื่องของวรรณคดีและวรรณกรรม เมื่อพิจารณาวรรณคดีที่ปรากฏในหนังสือแบบเรียนวรรณคดีลำนำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

5 วรรณคดีมรดก เช่น เรื่องขุนช้าง ขุนแผน พระอภัยมณี ราชาธิราช เป็นต้น
วรรณคดีท้องถิ่น เช่น นิทานเรื่องตากับยาย นิทานเรื่องเกาะหนูเกาะแมว เป็นต้น วรรณกรรมเบ็ดเตล็ด เช่น นิทานอีสป เพลงกล่อมเด็ก เป็นต้น

6 วรรณคดีและวรรณกรรมในระดับ ป.4 - ป.6

7 วรรณคดีชั้นประถมศึกษาที่ 4
บทละครเงาะป่า ตอนคนังและไม้ไผ่ไปเที่ยวป่า นิทานคำกลอนเรื่องพระอภัยมณี ตอนกำเนิดสุดสาครและตอนสุดสาครเข้าเมืองการะเวก บทละครพูดคำกลอนเรื่องพระร่วง บทเห่กล่อมพระบรรทมเรื่องจับระบำ นิราศเดือน

8 วรรณคดีระดับชั้นประถมศึกษาที่ 5
บทละครนอกเรื่องสังข์ทอง ราชาธิราชตอนกำเนิดมะกะโท โคลงโลกนิติ

9 วรรณคดีระดับชั้นประถมศึกษาที่ 6
บทละครเรื่องรามเกียรติ์ตอนศึกไมยราพ เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดพลายงาม สุภาษิตสอนหญิง

10 นิทานที่สอนในระดับประถมศึกษา
ป.4 นิทานเทียบสุภาษิต เรื่องน้ำผึ้งหยดเดียวก่อเหตุ ป.5 นิทานสำหรับเด็ก เรื่องกระเช้าสีดา นิทานท้องถิ่น เรื่องเกาะหนู เกาะแมว ป.6 นิทานนายทองอิน ตอนนากพระโขนงที่สอง

11 วรรณคดีและวรรณกรรมที่เสนอให้เรียน
เสภาเรื่องขุนช้าง ขุนแผน ตอนกำเนิดพลายงาม บทละครพูดคำกลอนเรื่องพระร่วง บทเห่กล่อมพระบรรทม เห่เรื่องจับระบำ โคลงโลกนิติ สุภาษิตสอนหญิง นิทานเทียบสุภาษิต เรื่องน้ำผึ้งหยดเดียวก่อเหตุ นิทานสำหรับเด็กเรื่องกระเช้าสีดา นิราศเดือน

12 การวิเคราะห์องค์ประกอบ
ชื่อเรื่อง (Title) การตั้งชื่อเรื่องทำได้หลายวิธี เช่น - การนำชื่อตัวละครเอกของเรื่องมาตั้งเป็นชื่อเรื่อง เช่น พระอภัยมณี - การนำชื่อผู้แต่งมาตั้งเป็นชื่อเรื่อง เช่น สุภาษิต พระร่วง - นำชื่อสถานที่สำคัญในเรื่องมาตั้งเป็นชื่อเรื่อง เช่น นิราศภูเขาทอง - การนำวัตถุประสงค์ของเรื่องมาตั้งเป็นชื่อเรื่อง เช่น โคลงโลกนิติ

13 ตัวละคร (Character) คือ ผู้ที่มีบทบาทในเรื่อง เนื้อเรื่องจะดำเนินไปได้ต้องอาศัยการกระทำ หรือบทสนทนาของตัวละคร กลวิธีที่ผู้เขียนใช้สร้างตัวละครสามารถแบ่งได้เป็น 2 วิธี คือ วิธีที่ ผู้เขียนแนะนำตัวละครโดยตรง เช่น สุนทรภู่กล่าวถึงพระอภัยมณีว่า “ฝ่ายองค์พระอภัยวิไลโฉม” แสดงว่าพระอภัยมณีเป็นคนรูปงาม - ผู้เขียนใช้วิธีบอกผ่านพฤติกรรม เช่น นางผีเสื้อสมุทร ซึ่งดูเหมือนเป็นตัวละครฝ่ายร้าย มีรูปร่างหน้าตาอัปลักษณ์ และดุร้าย

14 ฉาก (Setting) คือ เวลาและสถานที่ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเรื่อง ซึ่งรวมถึงสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ฉากถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของงานวรรณกรรม วรรณคดีบางเรื่องมีฉากช่วยขับเน้นอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครให้ลึกซึ้งขึ้น เห็นได้จากเมื่อตัวละครเอกตกอยู่ในอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ฉากย่อยจะเป็นไปในทำนองเดียวกัน เช่น แสนวิตกอกเอ๋ยมาอ้างว้าง ในทุ่งกว้างเห็นแต่แขมแซมสลอน จนดึกดาวพราวพร่างกลางอัมพร กระเรียนร่อนร้องก้องเมื่อสองยาม (นิราศภูเขาทอง ของสุนทรภู่)

15 แนวคิด (Theme) แนวคิดหรือแก่นเรื่อง คือ สารสำคัญที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อให้ผู้อ่านได้รับรู้ การพิจารณาแนวคิดต้องพิจารณาจากเนื้อหาทั้งหมดของเรื่อง ผู้เขียนต้องการนำเสนอแนวคิดเรื่องใดเป็นสำคัญ โดยอาจจะพิจารณาจากเรื่องราวเหตุการณ์ หรือพฤติกรรมของตัวละครร่วมด้วยก็ได้ แนวคิดที่ปรากฏในวรรณคดีไทยส่วนใหญ่ มาจากพระพุทธศาสนา เช่น แนวคิดเรื่องกรรม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

16 การวิเคราะห์คุณค่าด้านวรรณศิลป์
การวิเคราะห์คุณค่าทางด้านวรรณศิลป์ พิจารณาจากกลวิธีที่ผู้เขียนใช้ใน 4 ประเภท คือ - การสรรคำ - การใช้ภาษาจินตภาพ - การใช้ภาพพจน์ - การใช้สัญลักษณ์

17 การสรรคำ (Diction) เป็นกลวิธีการใช้ภาษาวรรณศิลป์ประเภทหนึ่ง กวีจะนำถ้อยคำที่ได้เลือกสรรไว้แล้วมาเรียงต่อกันในตำแหน่งที่ถูกต้องตามระเบียบของภาษาเพื่อสื่อความหมาย สอดคล้องกับเนื้อหาและรูปแบบของงาน การสรรคำมีอยู่หลายรูปแบบด้วยกัน เช่น การสรรคำเพื่อความไพเราะทางด้านเสียงและลีลาจังหวะ การสรรคำเพื่อให้เหมาะกับเนื้อเรื่องและฐานะของตัวละคร เป็นต้น

18 การเล่นเสียงสระ หรือสัมผัสสระ
๏ ดูหนูสู่รูงู งูสุดสู้หนูสู้งู หนูงูสู้ดูอยู่ รูปงูทู่หนูมูทู ๏ ดูงูขู่ฝูดฝู้ พรูพรู หนูสู่รูงูงู สุดสู้ งูสู้หนูหนูสู้ งูอยู่ หนูรู้งูงูรู้ รูปถู้มูทู (กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร)

19 การเล่นเสียงพยัญชนะ หรือสัมผัสพยัญชนะ
ทั้งกบเขียดเกรียดกรีดจังหรีดเรื่อย พระพายเฉื่อยฉิวฉิววะหวิวหวาม วังเวงจิตคิดคะนึงรำพึงความ ถึงเมื่อยามยังอุดมโสมนัส (นิราศภูเขาทอง ของสุนทรภู่)

20 การเล่นเสียงวรรณยุกต์
๏ กลองทองตีครุ่มครึ้ม เดินเรียง ท้าตะเติงเติงเสียง ครุ่มครื้น เสียงปี่รี่เรื่อยเพียง การะเวก แตร้นแตร่นแตรฝรั่งขึ้น หวู่หวู้เสียงสังข์ (กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร)

21 การเล่นคำ (puns) ลิงไต่กระไดลิง ลิงโลดคว้าประสาลิงฯ
1. กลวิธีการประพันธ์ที่ใช้คำพ้องเสียงหรือคำพ้องรูป หัวลิงหมากลางลิง ต้นลางลิงแลหูลิง ลิงไต่กระไดลิง ลิงโลดคว้าประสาลิงฯ หัวลิงหมากเรียกไม้ ลางลิง ลางลิงหูลิงลิง หลอกขู้ ลิงไต่กะไดลิง ลิงห่ม ลิงโลดฉวยชมผู้ ฉีกคว้าประสาลิงฯ (กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร)

22 เสมออยู่หอแห่งเดียว ร่วมห้อง ชังกันบ่แลเหลียว ตาต่อ กันนา
2. การใช้คำตรงข้าม เช่น จะเล่น รัก-ชัง ทำให้เข้าใจชัดเจน รักกันอยู่ขอบฟ้า เขาเขียว เสมออยู่หอแห่งเดียว ร่วมห้อง ชังกันบ่แลเหลียว ตาต่อ กันนา เหมือนขอบฟ้ามาป้อง ป่าไม้มาบัง (โคลงโลกนิติ)

23 การซ้ำคำ (repetition)
เหลือบเห็นสตรีวิไลลักษณ์ พิศพักตร์ผ่องเพียงแขไข งามโอษฐ์งามแก้มงามอุไร งามนัยน์งามเนตรงามกร งามถันงามกรรณงามขนง งามองค์ยิ่งเทพอัปสร งามจริตกริยางามงอน งามเอวงามอ่อนทั้งกายา (บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช)

24 การใช้ภาษาจินตภาพ (imagery)
กระบวนจินตภาพ คือ วิธีการสร้างภาพขึ้นในใจด้วยถ้อยคำที่เลือกสรรมาเป็นพิเศษ เพื่อแทนความคิดอารมณ์ และประสบการณ์ด้านความรู้สึก และก่อให้เกิดภาพขึ้นในจิตหรือข้อคิดขึ้น จินตภาพแบ่งออกได้เป็น 5 ชนิด คือ จินตภาพทางการเห็น จินตภาพทางการได้ยิน จินตภาพทางการได้กลิ่น จินตภาพทางการลิ้มรส และจินตภาพทางการสัมผัส

25 ถึงประตูคูหาเห็นเปิดอยู่ เอ๊ะอกกูเกิดเข็ญเป็นไฉน
ถึงประตูคูหาเห็นเปิดอยู่ เอ๊ะอกกูเกิดเข็ญเป็นไฉน เข้าในห้องมองเขม้นไม่เห็นใคร ยิ่งตกใจเพียงจะดิ้นสิ้นชีวี แลดูปี่ที่เป่าเล่าก็หาย นางยักษ์ร้ายรู้ว่าพากันหนี เสียน้ำใจในอารมณ์ไม่สมประดี สองมือตีอกตูมฟูมน้ำตา ลงกลิ้งเกลือกเสือกกายร้องไห้โร่ เสียงโฮโฮดังก้องห้องคูหา พระรูปหล่อพ่อคุณของเมียอา ควรฤๅมาทิ้งขว้างหมองหมางเมีย พระลูกน้อยกลอยใจไปด้วยเล่า เหมือนควักเอาดวงใจน้องไปเสีย น้องร้อนรุ่มกลุ้มใจเหมือนไฟเลีย ทูนหัวเมียช่างไม่ไว้อาลัยเลย (พระอภัยมณี ของสุนทรภู่)

26 โอ้พระทูลกระหม่อมแก้ว ไม่รักเมียเสียแล้วหรือไฉน พระพาหญิงมาทิ้งขว้างไว้กลางไพร พระองค์มีหัวใจเหมือนไม่มี

27 การใช้ภาพพจน์ ๑. ภาพพจน์วาทศิลป์ คือ การเรียบเรียงถ้อยคำให้ผิดไปจากการใช้ภาษาตามปรกติ หรือผิดไปจากธรรมดาโดยไม่เปลี่ยนแปลงความหมายของคำ เช่น การพูดถึงสิ่งที่เป็นนามธรรม หรือสิ่งที่พูดไม่ได้ดุจดังบุคคล เพื่อให้เกิดผลทางอารมณ์ ๒. ภาพพจน์เปรียบเทียบ คือ การใช้ถ้อยคำที่ทำให้เกิดภาพโดยการเปลี่ยนแปลงความหมายของคำ เช่น ภาพพจน์อุปลักษณ์ เป็นต้น

28 อุปมา (Simile) ซอเจ้งจำเรียงเวียงวัง
๏ กลางไพรไก่ขันบรรเลง ฟังเสียงเพียงเพลง ซอเจ้งจำเรียงเวียงวัง ๏ ยูงทองร้องกะโต้งโห่งดัง เพียงฆ้องกลองระฆัง แตรสังข์กังสดาลขานเสียง (กาพย์พระไชยสุริยา ของสุนทรภู่)

29 อุปลักษณ์ (Metaphor) ชายข้าวเปลือกหญิงข้าวสารโบราณว่า
น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่าอัชฌาสัย เราก็จิตคิดดูเล่าเขาก็ใจ รักกันไว้ดีกว่าชังระวังการ (อิศรญาณภาษิต ของหม่อมเจ้าอิศรญาณ)

30 ๏ เสียงพลโห่ร้องเอาชัย เลื่อนลั่นสนั่นใน พิภพเพียงทำลาย
๏ เสียงพลโห่ร้องเอาชัย เลื่อนลั่นสนั่นใน พิภพเพียงทำลาย (บทพากย์เอราวัณ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย)

31 บุคคลวัต (Personification)
๏ นกเอ๋ยนกแสก จับจ้องร้องแจ๊กเพียงแถกขวัญ อยู่บนยอดหอระฆังบังแสงจันทร์ มีเถาวัลย์รุงรังถึงหลังคา เหมือนมันฟ้องดวงจันทร์ให้ผันดู คนมาสู่ซ่องพักมันรักษา ถือเป็นที่รโหฐานนมนานมา ให้เสื่อมผาสุกสันต์ของมันเอย (กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า ของพระยาอุปกิตศิลปสาร)

32 สัทพจน์ (Onomatopoeia)
๏ วังเอ๋ยวังเวง หง่างเหง่ง ! ย่ำค่ำระฆังขาน ฝูงวัวควายผ้ายลาทิวากาล ค่อยค่อยผ่านท้องทุ่งมุ่งถิ่นตน ชาวนาเหนื่อยอ่อนต่างจรกลับ ตะวันลับอับแสงทุกแห่งหน ทิ้งทุ่งให้มืดมัวทั่วมณฑล และทิ้งตนตูเปลี่ยวอยู่เดียวเอย (กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า ของพระยาอุปกิตศิลปสาร)

33 การใช้สัญลักษณ์ (Symbol)
๏ นาคีมีพิษเพี้ยง สุริโย เลื้อยบ่ทำเดโช แช่มช้า พิษน้อยหยิ่งโยโส แมลงป่อง ชูแต่หางเองอ้า อวดอ้างฤทธี (โคลงโลกนิติ ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร)

34 กลวิธีการเรียบเรียงเนื้อหาในบทเรียน
๑. การใช้สื่อยุคใหม่เข้ากับสมัย ๒. การใช้ตัวละครเด็ก การเล่าเรื่องผ่านตัวละครเด็ก โดยอยู่ในวัยใกล้เคียงกันกับผู้เรียน ๓. การเชื่อมโยงครอบครัวในเรื่องเล่า ๔. การโยงเหตุการณ์ปัจจุบันเข้ากับอดีตหรือกับวรรณคดี

35 คุณค่าของวรรณคดี จากบทเรียนชั้นประถมศึกษา
1. ความผูกพันระหว่างกันในครอบครัว 2. ความผูกพันกับธรรมชาติและวัฒนธรรมท้องถิ่น 3. คุณธรรมจริยธรรม 4. เน้นการพัฒนาทั้งร่างกาย จิตใจ และสมอง

36 การสอนวรรณคดีและวรรณกรรม
สามารถ นุธรรมโชติ

37 รสวรรณคดี เสาวรจนีย์ เป็นรสชมความงาม ความงามตัวละคร ความงามของบ้านเมือง ความงามของกองทัพ ความงามของธรรมชาติ รวมเรียกว่าเสาวรจนีย์ทั้งหมด เช่น ชมความงามของพระเพื่อนพระแพง โฉมสองเหมือนหยาดฟ้า ลงดิน งามเงื่อนอัปสรอิน สู่หล้า อย่าคิดอย่าควรถวิล ถึงยาก แลนา ชมยะแย้มทั่วหน้า หน่อท้าวมีบุญ (ลิลิตพระลอ)

38 รสวรรณคดี ๒. นารีปราโมทย์ เป็นรสแห่งการแสดงเรื่องความรัก การเกี้ยว
พาราสี การโอ้โลมปฏิโลม การพลอดรัก เช่น ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน แม้เกิดในใต้หล้าสุธาธาร ขอพบพานพิศวาสไม่คลาดคลา แม้เนื้อเย็นเป็นห้วงมหรรณพ พี่ขอพบศรีสวัสดิ์เป็นมัจฉา แม้เป็นบัวตัวพี่เป็นภุมรา เชยผกาโกสุมประทุมทอง (พระอภัยมณี ; สุนทรภู่)

39 รสวรรณคดี ๓. พิโรธวาทัง เป็นรสแสดงความโกรธ การตัดพ้อต่อว่า
๓. พิโรธวาทัง เป็นรสแสดงความโกรธ การตัดพ้อต่อว่า การพูดจาให้ร้ายเหน็บแนม เช่น ได้เอยได้ฟัง มืดคลุ้มกลุ้มคลั่งดังเพลิงผลาญ เหม่อ้ายโหรใหญ่ใจพาล ช่างเปรียบเทียบทัดทานด้วยมารยา มึงนี้ผูกจิตคิดคด จะขบถจริงจังกระมังหนา กูไซร้จะได้ลูกยา กีดหน้าขวางตาหรือว่าไร (สังข์ทอง ; รัชกาลที่ ๒)

40 รสวรรณคดี ๔. สัลลาปังคพิสัย เป็นรสอารมณ์โศกเศร้า ผิดหวัง คร่ำครวญ เช่น
๔. สัลลาปังคพิสัย เป็นรสอารมณ์โศกเศร้า ผิดหวัง คร่ำครวญ เช่น ไปพระแท่นดงรังตั้งแต่ครวญ มิได้ชวนขวัญใจไปด้วยกัน พี่อยู่ห่างต่างบ้านนานนานปะ เหมือนเลยละลืมนุชสุดกระสัน แต่น้ำจิตคิดถึงทุกคืนวัน จะจากกันทั้งรักพะวักพะวน (นิราศพระแท่นดงรัง ; นายมี)

41

42 การอ่านทำนองเสนาะการอ่านตีบท
การอ่านบทอาขยาน

43 เมื่อนั้น พระสังข์ซ่อนอยู่ก็รู้สิ้น
พระแม่ไปป่าเป็นอาจิณ ในจิตคิดถวิลทุกเวลา จะใคร่ออกช่วยพระแม่เจ้า สงสารผ่านเกล้าเป็นนักหนา เหนื่อยยากลำบากกายา กลับมาจนค่ำร่ำไร ไม่ว่าลูกน้อยเป็นหอยปู อุ้มชูชมชิดพิสมัย พระคุณล้ำลบภพไตร จะออกให้เห็นตัวก็กลัวการณ์ ไก่ป่าพาฝูงมากินข้าว ของพระแม่เจ้าอยู่ฉาวฉาน คุ้ยเขี่ยเรี่ยรายทั้งดินดาน พระมารดามาเห็นจะร่ำไร เยี่ยมลอดสอดดูทั้งซ้ายขวา จะเห็นใครไปมาก็หาไม่ ออกจากสังข์พลันทันใด ฉวยจับไม้ได้ไล่ตี

44 สินสมุทรลานางผีเสื้อ
สินสมุทรสุดแสนสงสารแม่  ชำเลืองแลดูหน้าน้ำตาไหล   จึงกราบกรานมารดาแล้วว่าไป  จะเข้าใกล้ทูนหัวลูกกลัวนัก   เมื่อวานนี้ตีข้าน้อยไปหรือ  ระบมมือเหมือนกระดูกลูกจะหัก   ซึ่งรักลูกลูกก็รู้อยู่ว่ารัก  มิใช่จักลืมคุณกรุณา   ถึงตัวไปใจลูกยังผูกคิด  พอปลดปลิดเรื่องธุระจะมาหา   อย่ากริ้วโกรธโปรดปรานเถิดมารดา ไปไสยาอยู่ในถ้ำให้สำราญ

45 นางเงือกน้ำกำสรดสลดจิต สุดจะคิดคับทรวงดวงสมร
สุดสาครลานางเงือก นางเงือกน้ำกำสรดสลดจิต สุดจะคิดคับทรวงดวงสมร  จะทานทัดขัดไว้มิให้จร สุดสาครของแม่จะแดดาล นางดูหน้าอาลัยใจจะขาด ดังฟ้าฟาดทรวงแยกให้แตกฉาน สะอื้นอั้นตันใจอาลัยลาน แสนสงสารโศกาแล้วว่าพลาง โอ้ทูนหัวตัวแม่นี้ไม่ห้าม สุดแต่ตามใจปองอย่าหมองหมาง แต่ปรานีที่ไม่แจ้งรู้แห่งทาง จะอ้างว้างวิญญาณ์ในวารี

46 ทั้งย่อมเยาเบาความได้สามปี เล็กเท่านี้นี่จะไปกระไรเลย
สุดสาครลานางเงือก เคยกินนมชมชื่นระรื่นรส พ่อจะอดนมหมองละอองศรี  ทั้งย่อมเยาเบาความได้สามปี เล็กเท่านี้นี่จะไปกระไรเลย ต้องลมแดดแผดเผาจะเศร้าสร้อย ทั้งกล้วยอ้อยพ่อจะได้ไหนเสวย กันดารแดนแสนไกลพ่อไม่เคย จะหลงเลยลดเลี้ยวอยู่เดียวโดย แสนสงสารมารดาอุตส่าห์ถนอม จะซูบผอมเผือดผิวจะหิวโหย เหมือนดอกไม้ไกลต้นจะหล่นโรย น้ำค้างโปรยปรายต้องจะหมอง มัว

47 เข้ากราบกรานมารดาแล้วว่าไป ลูกเติบใหญ่จะมาหาแม่คุณ
พลายงามลาแม่ เจ้าพลายงามความแสนสงสารแม่ ชำเลืองแลดูหน้าน้ำตาไหล เข้ากราบกรานมารดาแล้วว่าไป ลูกเติบใหญ่จะมาหาแม่คุณ แต่ครั้งนี้มีกรรมให้จำจาก ต้องพลัดพรากแม่ไปเพราะอ้ายขุน เที่ยวหาพ่อขอให้ปะเดชะบุญ ไม่ลืมคุณมารดาจะมาเยือน แม่รักลูกลูกก็รู้อยู่ว่ารัก คนอื่นสักหมื่นแสนไม่แม้นเหมือน จะกินนอนวอนว่าเมตตาเตือน จะจากเรือนร้างแม่ไปแต่ตัว แม่วันทองของลูกจงกลับบ้าน เขาจะพานว้าวุ่นแม่ทูนหัว จะก้มหน้าลาไปมิได้กลัว แม่อย่ามัวหมองนักจงหักใจ

48 นางกอดจูบลูบหลังแล้วสั่งสอน อำนวยพรพลายน้อยละห้อยไห้
พ่อไปดีศรีสวัสดิ์กำจัดภัย จนเติบใหญ่ยิ่งยวดได้บวชเรียน ลูกผู้ชายลายมือนั้นคือยศ เจ้าจงอตส่าห์ทำสม่ำเสมียน แล้วพาลูกออกมาข้างท่าเกวียน จะจากเจียนใจขาดอนาถใจ ลูกก็แลดูแม่แม่ดูลูก ต่างพันผูกเพียงว่าเลือดตาไหล สะอื้นร่ำอำลาด้วยอาลัย แล้วแข็งใจจากนางตามทางมา เหลียวหลังยังเห็นแม่แลเขม้น แม่ก็เห็นลูกน้อยละห้อยหา แต่เหลียวเหลียวเลี้ยวลับวับวิญญาณ์ โอ้เปล่าตาต่างสะอื้นยืนตะลึง

49

50 กลอนดอกสร้อยแมวเหมียวแยกเขี้ยวยิงฟัน ผู้แต่ง: นายทัด เปรียญ
กลอนดอกสร้อยแมวเหมียวแยกเขี้ยวยิงฟัน ผู้แต่ง: นายทัด เปรียญ แมวเอ๋ยแมวเหมียว รูปร่างประเปรียวเป็นนักหนา ร้องเรียกเหมียวเหมียวเดี๋ยวก็มา เคล้าแข้งเคล้าขาน่าเอ็นดู รู้จักเอารักเข้าต่อตั้ง ค่ำค่ำซ้ำนั่งระวังหนู ควรนับว่ามันกตัญญู พอดูอย่างไว้ใส่ใจเอย

51 กลอนสี่ รักเมืองไทย คนไทยนี้ดี เป็นพี่เป็นน้อง เมืองไทยเมืองทอง เป็นของคนไทย คนไทยเข้มแข็ง ร่วมแรงร่วมใจ รักชาติยิ่งใหญ่ ไทยสามัคคี ธงไทยไตรรงค์ เป็นธงสามสี ทั้งสามสิ่งนี้ เป็นที่บูชา

52 กลอนสี่ รักเมืองไทย สีแดงคือชาติ สีขาวศาสนา น้ำเงินงามตา พระมหากษัตริย์ไทย เรารักเพื่อนบ้าน ไม่รานรุกใคร เมื่อยามมีภัย ร่วมใจป้องกัน เรารักท้องถิ่น ทำกินแบ่งปัน ถิ่นไทยเรานั้น ช่วยกันดูแล

53 กลอนดอกสร้อย เด็กน้อย
เด็กเอ๋ยเด็กน้อย ความรู้เรายังด้อยเร่งศึกษา เมื่อเติบใหญ่เราจะได้มีวิชา เป็นเครื่องหาเลี้ยงชีพสำหรับตน ได้ประโยชน์หลายสถานเพราะการเรียน จงพากเพียรไปเถิดจะเกิดผล ถึงลำบากตรากตรำก็จำทน เกิดเป็นคนควรหมั่นขยันเอย ฯ

54 กาพย์สุรางคนางค์ 28 วิชาหนาเจ้า
เกิดมาเป็นคน หนังสือเป็นต้น วิชาหนาเจ้า ถ้าแม้นไม่รู้ อดสูอายเขา เพื่อนฝูงเยาะเย้า ว่าเง่าว่าโง่ ลางคนเกิดมา ไม่รู้วิชา เคอะอยู่จนโต ไปเป็นข้าเขา เพราะเง่าเพราะโง่ บ้างเป็นคนโซ เที่ยวขอก็มี ถ้ารู้วิชา ประเสริฐหนักหนา ชูหน้าราศี จะไปแห่งใด มีคนปราณี ยากไร้ไม่มี สวัสดีมงคล

55 พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี
พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา กฤษณาสอนน้อง สมเด็จกรมพระยาปรมานุชิตชิโนรส

56 สยามานุสติ พระราชนิพนธ์ในล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖
สยามานุสติ พระราชนิพนธ์ในล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ ใครรานใครรุกด้าว แดนไทย ไทยรบจนสุดใจ ขาดดิ้น เสียเนื้อเลือดหลั่งไหล ยอมสละ สิ้นแล เสียชีพไป่เสียสิ้น ชื่อก้องเกียรติงาม

57 สยามานุสติ พระราชนิพนธ์ในล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖
สยามานุสติ พระราชนิพนธ์ในล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ หากสยามยังอยู่ยั้ง ยืนยง เราก็เหมือนอยู่คง ชีพด้วย หากสยามพินาศลง ไทยอยู่ ได้ฤๅ เราก็เหมือนมอดม้วย หมดสิ้นสกุลไทย

58 ตนเป็นที่พึ่งแก่ตน เราเกิดมาทั้งทีชีวิตหนึ่ง อย่าหมายพึ่งผู้ใดให้เขาหยัน ควรคะนึงพึ่งตนทนกัดฟัน คิดบากบั่นตั้งหน้ามานะนำ กสิกิจพณิชยการงานมีเกียรติ อย่าหยามเหยียดพาลหาว่างานต่ำ หรือจะชอบวิชาอุตสาหกรรม เชิญเลือกทำตามถนัดอย่าผัดวัน เอาดวงใจเป็นทุนหนุนนำหน้า เอาปัญญาเป็นแรงมุ่งแข่งขัน เอาความเพียรเป็นยานประสานกัน ผลจะบรรลุสู่ประตูชัย เงินและทองกองอยู่ประตูหน้า คอยเปิดอ้ายิ้มรับไม่ขับไส ทรัพย์ในดินสินในน้ำออกคล่ำไป แหลมทองไทยพร้อมจะช่วยอำนวยเอย

59 เพลงเตาะแตะ / เอ่อ เออ ฮื้อ เฮอ เอิงเงย/ ฮื้อ เอ่อ เอิงเงย / เตาะแตะ เตาะแตะ ถีดทิง ถีดทิง/ ทิงทิง ดูดี ดูดิ่ง/ ดูดีดูดิง ล่ะแม่ทิงเถิดช้า/

60 ผู้ชนะ บุญเสริม แก้วพรหม
ผู้ชนะ บุญเสริม แก้วพรหม เมื่อทำการสิ่งใดด้วยใจรัก ถึงงานหนักก็เบาลงแล้วครึ่งหนึ่ง ด้วยใจรักเป็นแรงที่เร้ารึง ให้มุ่งมั่นฝันถึงซึ่งปลายทาง เมื่อทำการสิ่งใดใจบากบั่น ไม่ไหวหวั่นอุปสรรคเป็นขวากขวาง ถึงเหนื่อยยากพากเพียรไม่ละวาง งานทุกอย่างเสร็จเพราะกล้าพยายาม

61 เมื่อทำการสิ่งใดใจจดจ่อ คอยเติมต่อตั้งจิตไม่คิดขาม ทำด้วยใจเป็นชีวิตคอยติดตาม บังเกิดผลงอกงามตามต้องการ เมื่อทำการสิ่งใดใคร่ครวญคิด เห็นถูกผิดแก้ไขให้พ้นผ่าน ใช้สมองตรองตริคิดพิจารณ์ ปรากฏงานก้าวไกลไม่ลำเค็ญ ความสำเร็จจะว่าใกล้ก็ใช่ที่ จะว่าไกลฤาก็มีอยู่ให้เห็น ถ้าจริงจังตั้งใจไม่ยากเย็น แล้วจะเป็นผู้ชนะตลอดกาล

62 เป็นมนุษย์หรือเป็นคน พุทธทาสภิกขุ
เป็นมนุษย์หรือเป็นคน พุทธทาสภิกขุ เป็นมนุษย์ เป็นได้ เพราะใจสูง   เหมือนหนึ่งยูง มีดี ที่แววขน ถ้าใจต่ำ เป็นได้ แต่เพียงคน        ย่อมเสียที ที่ตน ได้เกิดมา ใจสะอาด ใจสว่าง ใจสงบ         ถ้ามีครบ ควรเรียก มนุสสา เพราะทำถูก พูดถูก ทุกเวลา        เปรมปรีดา คืนวัน สุขสันต์จริง ใจสกปรก มืดมัว และร้อนเร่า      ใครมีเข้า ควรเรียก ว่าผีสิง เพราะพูดผิด ทำผิด จิตประวิง      แต่ในสิ่ง นำตัว กลั้วอบาย คิดดูเถิด ถ้าใครไม่อยากตก      จงรีบยก ใจตน รีบขวนขวาย ให้ใจสูง เสียได้ ก่อนตัวตาย        ก็สมหมาย ที่เกิดมา อย่าเชือนเอย

63 จบแล้วจ้า สวัสดี


ดาวน์โหลด ppt เพียงครึ่งวัน สั้นนัก แต่รักแล้ว รักลูกแก้ว รักลูกศิษย์ สนิทสนม อย่าลืมสิ่ง ที่แนะนำ คำชื่นชม ค่านิยม ปลูกฝัง อย่างตั้งใจ ขอชื่นชม ทุกท่าน ในวันนี้ ทำหน้าที่

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google